1 / 19

“เพชรพิจิตร พิชิตงาน” บ้านเนินพลวง หมู่ ๘ ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร

“เพชรพิจิตร พิชิตงาน” บ้านเนินพลวง หมู่ ๘ ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร. ความเป็นมา ประวัติหมู่บ้าน.

toya
Download Presentation

“เพชรพิจิตร พิชิตงาน” บ้านเนินพลวง หมู่ ๘ ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. “เพชรพิจิตร พิชิตงาน” บ้านเนินพลวง หมู่ ๘ ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร

  2. ความเป็นมา ประวัติหมู่บ้าน • บ้านเนินพลวง หมู่ที่ 8 ตำบลเนินปอ แยกออกมาจากหมู่ที่ 1 ตำบลเนินปอ เมื่อปี พ.ศ. 2508 มีผู้เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านได้แก่ 1.) นายพัน บางแดง 2.) นายปอย แพทอง 3.) นายเฟื้อง พุกกลิ่น 4.) นายมวล ผะอบเหล็ก 5.) นายเสน่ห์ มิชิฉัยยะ • ที่มาของชื่อบ้าน เมื่อสมัยก่อนประมาณ พ.ศ. 2470 มีชาวบ้านมาอาศัยทำกินในพื้นที่หมู่บ้านซึ่งเป็นที่ราบสูงและมีต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อ ต้นควง เป็นจำนวนมาก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2506 ได้มีราษฎรจากบ้านเนินปอ หมู่ที่ 1 ประมาณ 20 ครอบครัว ได้มาพักแรมทำนาและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งในขณะนั้นการเดินทางไปมาลำบากมากเนื่องจากไม่มีถนนเหมือนปัจจุบัน และได้ชักชวนญาติบ้างเพื่อนบ้างให้มาอยู่จับจองบุกป่าซึ่งรกมาก บริเวณนี้เหมาะที่จะสร้างบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นที่ทำมาหากินที่สมบูรณ์ที่สุดและได้ตั้งชื่อ หมู่บ้านว่า “บ้านเนินควง” ตามลักษณะของธรรมชาติ แต่ต่อมาชาวบ้านเห็นว่าเป็นชื่อที่ไม่ไพเราะจึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “บ้านเนินพลวง” เมื่อปี พ.ศ. 2516

  3. รายชื่อทีมผู้เชี่ยวชาญ บ้านเนินพลวง หมู่ ๘ ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม นายสำเนียง เล็กชม ผู้ใหญ่บ้าน นายจีระพัฒนากร โพธิ์ศรี กรรมการหมู่บ้าน นายสมศักดิ์ เล็กชม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นางอมรัตน์ ดิตต์โพธิ์ กรรมการสตรีฯ นายปรีชา เกษร กรรมการกองทุนแม่ฯ

  4. ๑.๑ หมู่บ้านมีค่าคะแนนเพิ่มขึ้น (เกณฑ์ ๒๓ ตัวชี้วัดกระทรวงมหาดไทย) ด้านที่ ๑ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดี มีความสุข (๒๓ ตัวชี้วัด)

  5. ด้านที่ ๑ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดี มีความสุข (๒๓ ตัวชี้วัด) (ต่อ)

  6. ๑.๒ ครัวเรือนหมู่บ้านพิจิตรร่มเย็นได้เข้าร่วมกิจกรรมลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส - มีกิจกรรมลดรายจ่าย ปลูกพืชผักสวนครัว ในทุกบ้านจะมีปลูกผักสวนครัว ไว้กินเอง บางบ้านอาจจะมาก บางบ้านอาจจะน้อย ต่างกันที่พื้นที่ - มีกิจกรรมเพิ่มรายได้ จากอาชีพหลัก เช่น เลี้ยงไก่พื้นเมือง ไก่ไข่ เอาไว้กินและขาย เลี้ยงจิ้งหรีด ไว้ขาย เสริมจากอาชีพทำนา เป็นต้น

  7. ด้านที่ ๒ เสริมสร้างขีดความสามารถ การบริหารงานชุมชน “ชุมชนมีขีดความสามารถในการบริหารจัดการแบบบูรณาการ” ๒.๑ ผู้นำกลุ่ม/องค์กรได้รับการพัฒนาศักยภาพ (มชช.,อบรม,สัมมนา,ศึกษาดูงาน) ผู้นำในหมู่บ้าน ได้รับการฝึกอบรมและศึกษาดูงานในการพัฒนาด้านต่าง เช่น ๑ อบรมเวทีประชาคมต่อต้านยาเสพติด ๑ รุ่น จำนวน คน๒ อบรมหลักสูตรความรู้เบื้องต้นทางกฎหมายและการระงับข้อพิพาททางแพ่งในระดับท้องถิ่น ๑ รุ่น จำนวน คน๓ อบรมอาสาสมัครประชาธิปไตย (อสป.) ๑ รุ่น จำนวน คน ๔ ได้รับการอบรมตามหลักสูตรคณะกรรมการหมู่บ้าน ๑ รุ่น จำนวน คน๕ ได้รับการอบรมการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านของคณะกรรมการหมู่บ้าน๖ ได้รับการอบรมการจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้าน ๑ รุ่น จำนวน ๑๑ คน๗ ได้รับการฝึกอบรมการทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยอินทรีย์ ๑ รุ่น จำนวน คน ๘ อบรมตามโครงการ การขับรถยกไฟฟ้าอย่างปลอดภัย ๑ รุ่น จำนวน คน๙ อบรมหลักสูตรคอมพิวเตอร์พื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ ๑ รุ่น จำนวน คน ๑๐ อบรมหลักสูตรอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ๑ รุ่น จำนวน คน ๑๑ เตรียมศึกษาดูงานศูนย์ชัยพัฒนาการเกษตรสิรินธร สิงหาคม ๒๕๕๗ จำนวน ๓๐ คน ฯลฯ

  8. ๒.๒ มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ (VDR , สารสนเทศชุมชน) ได้นำข้อมูลที่มีอยู่หมู่บ้านมาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน เช่น จปฐ.กชช.๒ค. ข้อมูลสาธารณสุขมูลฐาน จาก รพสต. ข้อมูลเกษตรกร จาก เกษตรอำเภอ และได้มีการเผยแพร่องค์ความรู้ตามสื่อต่างๆ เช่น facebook

  9. ๒.๓ มีแผนชุมชนที่มีคุณภาพ (ผ่านการรับรองมาตรฐานแผนชุมชนสู่การเชื่อมโยงแผนท้องถิ่น) หมู่บ้านได้รับการรับรองมาตรฐานแผนชุมชน ปี ๒๕๕๖ พร้อมกับเชื่อมโยงนำแผนพัฒนาหมู่บ้านเข้าสู่แผนพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลตำบลเนินปอ ประจำทุกปี ประชุมแผนพัฒนาหมู่บ้าน อบรมวิทยากรแผนชุมชน ร่วมจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นกับเทศบาลเนินปอ

  10. ๒.๔ หมู่บ้านได้รับการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนตามที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด เดิม บ้านเนินพลวงไม่มีการวมกลุ่ม และยังไม่จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ ในปี ๒๕๕๗ บ้านเนินพลวง ได้รับงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชนให้จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน ซึ่งจะเริ่มเปิดศูนย์เรียนรู้ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๗ โดยนายอำเภอสามง่าม นายสุวิทย์ เดชครุฑ เป็นประธาน ขณะนี้จึงอยู่ระหว่างการเตรียมพื้นที่ ประชาชน และข้อมูลเพื่อพร้อมที่จะเป็นศูนย์เรียนรู้ต่อไป

  11. ๒.๕ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ได้ดำเนินการกิจกรรมต่างๆเพื่อรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ๑.ร่วมกับ รพสต.เนินพลวง รณรงค์ต่อต้านยากเสพติดและภัยของยาเสพติด ๒. ประชาสัมพันธ์ เสียงตามสาย และประชุมประจำเดือนทุกวันที่ ๒๘ ๓. ขยายคุ้มบ้านให้ถี่ขึ้นจากเดิม ๘ คุ้ม เป็น ๑๑ คุ้มเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมดูแล ๔. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน ปี ๒๕๕๗

  12. ๒.๖ หมู่บ้านมีการจัดเวทีเผยแพร่ผลการจัดเวทีประชาเสวนาหาทางออกประเทศไทย และกิจกรรมปรองดองในหมู่บ้าน

  13. ด้านที่ ๓ ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์“ภูมิปัญญาท้องถิ่นยกระดับไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ๓.๑ ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น(สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่ครัวเรือนและมีกลุ่มอาชีพ(คกสต.)และกลุ่มอื่น ๆ) บ้านเนินพลวงเดิมมีการรวมกลุ่ม จัดเป็นกลุ่มอาชีพ ซึ่งยังไม่ได้ลงทะเบียนกับหน่วยงานราชการต่างๆ คือ กลุ่มดอกไม้จัน และกลุ่มทำไม้กวาด ปี ๒๕๕๗ จึงจัดทำแผนการที่จะจดทะเบียนกลุ่มอาชีพกับหน่วยงานราชการขึ้น โดยเบื้องต้น มี ๓ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีด กลุ่มทำดอกไม้จัน และกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง หรือไก่ไข่

  14. ด้านที่ ๔ เสริมสร้างธรรมาภิบาลและความมั่นคงของทุนชุมชน“ชุมชนมีธรรมาภิบาล และมีความมั่นคง” ๔.๑กองทุนชุมชนมีธรรมาภิบาล (ตรวจสุขภาพกลุ่มออมทรัพย์ ,กข.คจ.,กทบ.) บ้านเนินพลวง เป็นเป้าหมายในการดำเนินการตรวจสุขภาพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และ กข.คจ. ปี ๒๕๕๖ โดยอยู่ในระดับพอใช้ ซึ่งปัจจุบันก็มีการพัฒนาเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับ พอใช้ และมีแผนจะพัฒนาเกณฑ์ที่ยังไม่ผ่านต่อไป

  15. ๔.๒ มีการจัดสวัสดิการชุมชน (เกิด แก่ เจ็บ ตาย ,สาธารณประโยชน์) ได้จัดตั้งกองทุนสวัสดิการขึ้น โดยมีหลักการคือกลุ่มทุนทุกกลุ่มในหมู่บ้าน เช่น กองทุนหมู่บ้าน(เงินล้าน) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุน กข.คจ. กลุ่มเลี้ยงหมู กลุ่มเลี้ยงกระบือ กลุ่มปุ๋ย กลุ่มผู้ใช้น้ำประปา กองทุนเครื่องปั่นไฟ ต้องจัดสรรไว้เป็นทุนสวัสดิการ ๑๐% และนำมาเข้ากองทุนสวัสดิการของหมู่บ้าน รวมกัน จากนั้นจึงนำมาปันผลให้กับสมาชิก และจัดแบ่งในรูปสวัสดิการชุมชนต่อไป ตัวอย่างระเบียบ/ข้อบังคับ กองทุนต่างๆในหมู่บ้าน

  16. ๔.๓ มีการนำทุนชุมชนไปใช้ในการแก้ปัญหาของชุมชน (จำนำข้าว /แก้หนี้นอกระบบ/อื่น ๆ) ในปี ๒๕๕๖ ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากนโยบายจำนำข้าว กองทุนต่างๆ จึงมีมติช่วยเหลือเกษตรกรในหมู่บ้าน โดย ผ่อนผันการชำระหนี้แก่ผู้ที่เดือดร้อนตามนโยบายเป็นลำดับแรกก่อน

  17. แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบการประเมิน ๒ ครั้ง

  18. ประเมินครั้งที่ ๒ ประชุมทีมเชี่ยวชาญ ประเมินครั้งที่ ๑

  19. จบการนำเสนอ

More Related