1 / 160

โครงสร้างอะตอม

โครงสร้างอะตอม. Atomic structure. แบบจำลองอะตอมของทอมสัน. ทฤษฎีอะตอมของบอห์ร. ทฤษฎีอะตอมของดาลตัน. แบบจำลองอะตอมของรัทเธอร์ฟอร์ด. ดาลตัน. (DALTON ). www.bwc.ac.th/stuchem44/m4/pp03/page2.html#Rutherford. ทฤษฎีอะตอมของดาลตัน.

trilby
Download Presentation

โครงสร้างอะตอม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงสร้างอะตอม Atomic structure

  2. แบบจำลองอะตอมของทอมสันแบบจำลองอะตอมของทอมสัน ทฤษฎีอะตอมของบอห์ร ทฤษฎีอะตอมของดาลตัน แบบจำลองอะตอมของรัทเธอร์ฟอร์ด

  3. ดาลตัน (DALTON ) www.bwc.ac.th/stuchem44/m4/pp03/page2.html#Rutherford

  4. ทฤษฎีอะตอมของดาลตัน จอห์นดอลตัน ชาวอังกฤษได้รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับอะตอมและตั้งเป็นทฤษฎีขึ้นเรียกว่า ทฤษฎีอะตอมของดาลตัน ซึ่งนับเป็นก้าวแรกที่ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับอะตอมมากขึ้น ทฤษฎีอะตอมของดาลตันมีใจความสำคัญดังนี้

  5. 1. สสารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุดเรียกว่าอะตอมซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกต่อไปได้ 2. อะตอมไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่หรือทำให้สูญหายไปได้ 3. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันย่อมเหมือนกันกล่าวคือมีสมบัติเหมือนกันทั้งทางกายภาพและทางเคมี

  6. 4.อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันย่อมมีมวลหรือน้ำหนักเท่ากัน 4.อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันย่อมมีมวลหรือน้ำหนักเท่ากัน 5. สารประกอบเกิดจากการรวมตัวทางเคมีระหว่างอะตอมของธาตุต่างชนิดกันด้วยอัตราส่วนของจำนวนอะตอมเป็นเลขลงตัวน้อยๆ6. อะตอมของธาตุสองชนิดขึ้นไปอาจรวมกันเป็นสารประกอบด้วยอัตราส่วนที่มากกว่าหนึ่งอย่างเพื่อเกิดสารประกอบมากกว่า 1 ชนิด

  7. จากทฤษฎีอะตอมของดาลตัน แบบจำลองอะตอม มีลักษณะดังรูป www.bwc.ac.th

  8. ทอมสัน (THOMSON) www.bwc.ac.th/stuchem44/m4/pp03/page2.html# THomson

  9. แบบจำลองอะตอมของทอมสันแบบจำลองอะตอมของทอมสัน แบบจำลองนี้อธิบายสมบัติต่างๆของธาตุรวมทั้งทฤษฎีพันธะเคมีด้วย ซึ่งก็ใช้ได้บ้างในบางกรณี จนในปี ค.ศ. 1911 แบบจำลองนี้ก็ยกเลิกไป เมื่อ อี อาร์ รัทเธอร์ฟอร์ด ศึกษาการกระเจิง (scattering) ของรังสีแอลฟาในแผ่นโลหะบางๆ แล้วพบว่าแบบจำลองอะตอมของ ทอมสัน ใช้อธิบายผลการทดลองไม่ได้

  10. แบบจำลองอะตอมตามทฤษฎีอะตอมของทอมสันแบบจำลองอะตอมตามทฤษฎีอะตอมของทอมสัน มีลักษณะดังรูป • - • - - • - - - - • - • - + + + + + + + + + + www.bwc.ac.th

  11. รัทเธอร์ฟอร์ด ( RUTHERFORD ) www.bwc.ac.th/stuchem44/m4/pp03/page2.html#Rutherford

  12. แบบจำลองอะตอมของรัทเธอร์ฟอร์ดแบบจำลองอะตอมของรัทเธอร์ฟอร์ด รัทเธอร์ฟอร์ด พบว่ารังสีส่วนใหญ่ไม่เบี่ยงเบน และส่วนน้อยที่เบี่ยงเบนนั้น ทำมุมเบี่ยงเบนใหญ่มาก บางส่วนยังเบี่ยงเบนกลับทิศทางเดิมด้วย จำนวนรังสีที่เบี่ยงเบนจะมากขึ้นถ้าความหนาแน่นของแผ่นโลหะเพิ่มขึ้น

  13. www.bwc.ac.th

  14. จากการคำนวณ รัทเธอร์ฟอร์ดพบว่า ในบรรดาอนุภาคแอลฟา108 อนุภาคจะมีเพียงอนุภาคเดียวเท่านั้นที่จะถูกกระจายกลับทางเดิม รัทเธอร์ฟอร์ดจึงเสนอว่าพื้นที่หน้าตัดของนิวเคลียสเป็นเพียงราว 10-8 ของพื้นที่อะตอมหรือรัศมีของนิวเคลียสเป็นเพียง 10-4เท่าของรัศมีอะตอม นั่นคือนิวเคลียสมีรัศมีประมาณ 10-14 เมตร

  15. บอห์ร (BOHR) www.bwc.ac.th/stuchem44/m4/pp03/page2.html#Bohr

  16. ทฤษฎีอะตอมของบอห์รและการทดลองที่เกี่ยวข้องสเปกตรัมของไฮโดรเจน จากการศึกษาเกี่ยวกับการเปล่งรังสีของวัตถุร้อนทำให้ทราบว่า ถ้าให้ความร้อนแก่อะตอมจนมากพอ จะทำให้อะตอมเปล่งแสง เมื่อทำการวิเคราะห์แสงที่เปล่งออกมาอย่างละเอียดโดยใช้ปริซึมหรือเกรตติงพบว่าสเปกตรัมนั้นประกอบด้วยแสงที่มีค่าความถี่หรือความยาวคลื่นเรียงตัวอย่างมีระเบียบเป็นชุดๆ

  17. - บาล์มเมอร์ (Balmer) ได้ทำการทดลองพบสเปกตรัมของไฮโดรเจนในช่วงแสงขาวซึ่งตามองเห็นได้ และหาสูตรสำหรับคำนวณความถี่ต่าง ๆในสเปกตรัมชุดที่พบ (อนุกรมบาล์มเมอร์) - ไลแมน (Lyman) ทำการทดลองพบสเปกตรัมในช่วงรังสีอัลตราไวโอเลต(อนุกรมไลแมน)

  18. * ปาสเชน(Paschen) พบสเปกตรัมในช่วงรังสีอินฟราเรด (อนุกรมปาสเชน) * นอกจากนี้ยังมีอีก 2 ชุด ในช่วงพลังงานที่ต่ำลงไปอีกคือ อนุกรม แบรกเกตต์ (Brackett) และ ฟุนด์ (Pfund)

  19. ริดเบอร์ก(J.R. Rydberg) ได้เสนอสมการที่ใช้คำนวณหาwave number ของสเปกตรัมทุกชุดดังนี้ R คือค่าคงที่ของริดเบอร์ก มีค่า 1.09678 x 105 n1, n2 เป็นเลขจำนวนเต็ม (n2 > n1)

  20. นำสมการของริดเบอร์กไปคำนวณหา wave function ของสเปกตรัมในอนุกรมต่างๆ โดยแทนค่า n1และ n2 ดังนี้ อนุกรมไลแมน n1 คงที่ = 1 n2 = 2,3,4,... อนุกรมบาล์มเมอร์ n1 คงที่ = 2 n2 = 3,4,5.... อนุกรมปาสเชน n1 คงที่ = 3 n2 = 4,5,6... อนุกรมแบรกเกตต์ n1 คงที่ = 4 n2 = 5,6,7... อนุกรมฟุนด์ n1 คงที่ = 5 n2 = 6,7,8...

  21. ทฤษฎีของบอห์รสำหรับไฮโดรเจนอะตอมทฤษฎีของบอห์รสำหรับไฮโดรเจนอะตอม นีลส์ บอห์ร ได้รวบรวมผลการทดลองต่างๆ และเสนอแบบจำลองของอะตอมขึ้น โดยตั้งสมมุติฐานไว้ดังนี้ 1. อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบๆนิวเคลียสจะมีโมเมนตัมเชิงมุม (angular momentum)เป็นค่าเฉพาะ โดยมีค่าเป็นจำนวนเท่าของค่าคงที่ค่าหนึ่ง คือ h/2p ถ้าการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน (มีมวล me)เป็นวงกลม (รัศมี r) และความเร็ว v

  22. www.bwc.ac.th ดังนั้น m evr = nh/2p h เป็นค่าคงที่ของพลังค์ n เป็นเลขจำนวนเต็ม (1,2,3...)

  23. n จะบ่งถึงพลังงานของอิเล็กตรอนในวงโคจรหนึ่งๆ ซึ่งเรียกว่าเลขควอนตัม (quantum number) การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในลักษณะนี้จะไม่มีการสูญเสียพลังงาน พลังงานของอิเล็กตรอนจะคงตัว ระดับพลังงานของวงโคจรที่ n เรียก En อิเล็กตรอนที่มีค่า n ต่ำ จะมีพลังงานต่ำสถานะของอะตอมที่มีระดับพลังงานต่ำสุดเรียกว่าสถานะพื้น (ground state) ส่วนสถานะอื่นๆ ทีมีพลังงานสูงกว่าเรียกว่าสถานะกระตุ้น (excited state)

  24. ดูดพลังงาน คายพลังงาน 2. เมื่ออิเล็กตรอนเปลี่ยนวงโคจรจะมีการดูดกลืนหรือเปล่งรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า วงโคจรของอิเล็กตรอนที่มีค่า n1 จะมีพลังงานน้อยกว่า n2ดังนั้น E1 < E2 www.bwc.ac.th/stuchem44/m4/pp03/page2.htm

  25. * การเปลี่ยนวงโคจรจาก n1 ไปสู่วงโคจร n2 จะเป็นการดูดกลืนรังสี * การเปลี่ยนวงโคจรจาก n2 ไปสู่วงโคจร n1 จะเป็นการเปล่งรังสีเนื่องจาก DE = hu ดังนั้นความถี่(u) ของรังสีที่เปล่งออกมาจะมีค่าสูงหรือต่ำจะขึ้นอยู่กับผลต่างของระดับพลังงานทั้งสอง( DE) บอห์รได้เสนอสูตรสำหรับหา En โดยอาศัยกฎทางกลศาสตร์และไฟฟ้าดังนี้

  26. En = -(2p2meZ2e4) /n2h2 me คือ มวลของอิเล็กตรอน (9.11 x 10-28g) e เป็นประจุของอิเล็กตรอน (4.8 x 10-10 esu) z เป็นเลขอะตอมมิกของไฮโดรเจน (1) h คือค่าคงที่ของพลังค์ (6.62 x 10-27 erg-sec) เมื่อแทนค่า me, e, z, h ที่อยู่ในวงเล็บ ค่าในวงเล็บคือ 2.18 x 10 -11 erg หรือ 13.6 eV หรือ 1311.65 kJ mol-1 สูตรของบอห์ร สำหรับหารัศมีของวงโคจรอิเล็กตรอนที่มีเลขควอนตัม n คือ

  27. สูตรของบอห์ร สำหรับหารัศมีของวงโคจรอิเล็กตรอนที่มีเลขควอนตัม n คือ r = n2a0 a0 = ค่าคงที่เรียกว่า รัศมีของบอห์ร (Bohr radius) = h2/4p2 mee2 =0.529 Ao อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบนิวเคลียสที่ระดับพลังงาน n = 1 จะมีพลังงานต่ำสุด (มีค่าเป็นลบ) เมื่อ n มีค่าสูงขึ้นจนกระทั่ง n = infinity จะมีพลังงานสูงสุดคือ เท่ากับศูนย์

  28. แบบจำลองอะตอมตามทฤษฎีอะตอมของบอห์รแบบจำลองอะตอมตามทฤษฎีอะตอมของบอห์ร มีลักษณะดังรูป www.bwc.ac.th/stuchem44/m4/pp03/page4.html

  29. จุดอ่อนทฤษฎีของบอห์รและการค้นคว้าหาทฤษฎีใหม่จุดอ่อนทฤษฎีของบอห์รและการค้นคว้าหาทฤษฎีใหม่ ทฤษฎีของบอห์รใช้อธิบายได้กับสเปกตรัมของอะตอมหรือไอออนที่มีเพียง 1 อิเล็กตรอน เช่น H, He+, Li+ แต่ใช้อธิบายสเปกตรัมทั่วไปที่มีหลายอิเล็กตรอนไม่ได้ นอกจากนั้นตามทฤษฎีของบอห์รจะอธิบายโครงสร้างของอะตอมในระดับสองมิติเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์จึงค้นคว้าทดลองหาข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้อธิบายโครงสร้างของอะตอมให้ถูกต้องยิ่งขึ้น

  30. ผลงานที่สำคัญที่ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของอิเล็กตรอนที่จะนำไปสู่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอะตอมมากขึ้น คือ ผลงานของเดอบรอยล์ (Louis de Bröglie) เกี่ยวกับหลักทวิภาพ อนุภาค-คลื่นของสาร และของไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg) เกี่ยวกับหลักความไม่แน่นอน (uncertainty principle)

  31. สเปกตรัม การเปล่งรังสีของวัตถุร้อน จุดเริ่มต้นของทฤษฎีควอนตัม ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก

  32. การเปล่งรังสีของวัตถุการเปล่งรังสีของวัตถุ แสงเป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าความยาวคลื่น หรือ ความถี่ต่างๆกัน รังสีที่มีพลังงานสูงจะมีความยาวคลื่นสั้น ส่วนรังสีที่มีพลังงานต่ำมีความยาวคลื่นยาวรังสีในช่วงที่ตาคนมองได้ (แสงขาว) มีความยาวคลื่น 400 nm ถึง 700 nm

  33. เมื่อนำแสงขาวมาผ่านปริซึมจะเกิดการหักเหของแสงได้สเปกตรัมของแสง ซึ่งมีสีเรียงตามลำดับจากความยาวคลื่นสั้นไปหายาว คือ ม่วง น้ำเงินเขียว เหลือง ส้ม แดง เหมือนสีรุ้ง นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเปล่งรังสีของวัตถุร้อนพบว่า เมื่อให้ความร้อนแก่โลหะต่างๆ จะมีการเปล่งรังสีออกมาเป็นแสงสีต่างๆ ขึ้นกับความร้อนที่ให้แก่แท่งเหล็ก แสดงว่าอะตอมของโลหะ สามารถเปล่งแสงออกมาเมื่อได้รับความร้อน

  34. ในคริสตศตวรรษที่ 19 ปรากฏการณ์เกี่ยวกับการแผ่รังสีความร้อนสรุปได้ 2 ประการ คือ ถ้าให้ความร้อนแก่วัตถุมาก วัตถุนั้นจะเปล่งรังสีออกมามากด้วย ทั้งในรูปของความร้อนและแสงความเข้มของรังสีขึ้นกับอุณหภูมิของวัตถุ เช่น ถ้าเพิ่มอุณหภูมิเป็นสามเท่า ความเข้มอาจเพิ่มขึ้นถึง 100 เท่า

  35. สี (หรือชนิด) ของรังสีที่วัตถุเปล่งออกมาขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ เช่น ถ้าเราใช้ไฟเผาแท่งเหล็กซึ่งเดิมมีสีคล้ำ แต่เมื่อเผาไฟไปนานพอ เหล็กจะเริ่มเปล่งรังสีสีแดงถ้าเผาให้ร้อนขึ้นกว่านั้นจะเป็นสีส้มและสีเหลือง และในที่สุดจะเป็นสีขาว นักวิทยาศาสตร์พยายามจะเข้าใจปรากฏการณ์ของ รังสีความร้อน และผลจากการทดลองนี้ เพื่อให้สะดวกจึง ตั้งแบบจำลอง โดยสมมติให้วัตถุที่ใช้ศึกษาเป็นชนิดที่ดูดและคายรังสีความร้อนได้ดีที่สุด นั่นคือต้องเป็น วัตถุดำ (black body)

  36. ทฤษฎีที่ว่าด้วยวัตถุดำในยุคแรกนั้นเป็นผลงานของเรย์เลห์ (Rayleigh) จีนส์ (Jeans) เคอร์ชฮอฟฟ์(Kirchhoff) และวีน(Wien) ซึ่งใช้ทฤษฎีคลาสสิกของฟิสิกส์อธิบาย โดยพิจารณาว่าแสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและถูกเปล่งออกมา เนื่องจากการสั่นสะเทือนของวัตถุที่มีประจุคือ อิเล็กตรอน เนื่องจากอิเล็กตรอนจะสั่นด้วยความถี่เท่าใดก็ได้ไม่จำกัด ดังนั้นรังสีที่เปล่งออกมาจากวัตถุดำที่ร้อน (ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของแสงหรือความร้อน) จึงน่าจะมีความถี่เป็นค่าต่อเนื่อง เมื่อคำนวณความเข้มและพลังงานของแสงที่มีความถี่ต่างๆ

  37. โดยหาจำนวนอิเล็กตรอนในอะตอมที่สั่นสะเทือนด้วยความถี่นั้นๆเสียก่อน ก็ปรากฏว่าผลการคำนวณไม่ตรงกับผลการทดลอง และไม่สามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดวัตถุที่อุณหภูมิหนึ่งจึงเปล่งแสงที่มีความเข้มสูงสุดในช่วงความถี่หนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้จากทฤษฎีของเรย์เลห์และจีนส์ จะพบว่ายิ่งความถี่ ของแสงที่เปล่งออกมาสูงขึ้น ความเข้มของแสงก็ยิ่งสูงขี้นไม่มีขอบเขตจำกัด ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ

  38. จุดเริ่มต้นของทฤษฎีควอนตัม แมกซ์ พลังค์ ได้เสนอทฤษฎีควอนตัม (quantum theory) และอธิบายเกี่ยวกับการเปล่งรังสีว่า รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปล่งออกมามีลักษณะเป็นกลุ่มๆ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยเล็กๆเรียกว่า ควอนตัม (quantum) ขนาดของควอนตัมขึ้นกับความถี่ของรังสี และแต่ละควอนตัมมีพลังงาน(E)โดยที่ E เป็นปฏิภาคโดยตรงกับความถี่(u) ดังนี้ E = hu

  39. เมื่อ E = พลังงานหนึ่งควอนตัมแสง (J) h = ค่าคงที่ของพลังค์ (6.62 x 10-34 Js) u = ความถี่ (s-1) จากทฤษฎีควอนตัมนี้ กลุ่มของอะตอมที่สั่นด้วยความถี่สูงจะเปล่งแสงที่มีพลังงานสูงๆ เท่านั้น ที่อุณหภูมิหนึ่งๆ โอกาสที่จะพบอะตอมที่สั่นสะเทือนด้วยความสูงมากๆ หรือต่ำมากๆนั้นมีน้อย ดังนั้นความเข้ม

  40. (ซึ่งขึ้นกับพลังงานและจำนวนอะตอม)ของพวกที่มีความถี่ดังกล่าวจึงน้อยกว่า ซึ่งตรงกับผลการทดลองที่กราฟเส้นโค้งลดลงในบริเวณที่มีความถี่สูงมาก และต่ำมากหรือถ้าคิดเป็นความยาวคลื่นก็กลับกัน) นอกจากนี้ แม้อะตอมต่างๆ จะสั่นด้วยความถี่ต่างกัน จะมีความถี่ค่าหนึ่งที่เป็นของอะตอมส่วนใหญ่ ความถี่ค่านี้เพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งใช้อธิบายการเปลี่ยนจุดสูงสุดของกราฟกับอุณหภูมิได้

  41. ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก เมื่อแสงที่มีความถี่เหมาะสมตกกระทบผิวหน้าของโลหะ จะมีอิเล็กตรอนหลุดออกมา ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก และเรียกอิเล็กตรอนนั้นว่าโฟโตอิเล็กตรอน จากการศึกษาอย่างละเอียดพบว่า

  42. 1. โฟโตอิเล็กตรอนจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อแสงตกกระทบมีความถี่สูงกว่าค่าหนึ่งซึ่งเป็นค่าจำเพาะสำหรับสารนั้นๆ ความถี่ต่ำสุดที่ทำให้เกิดโฟโตอิเล็กตรอนได้นี้เรียกว่า ความถี่ขีดเริ่ม (threshold frequency) 2. ถ้าใช้แสงที่มีความถี่สูงกว่าความถี่ขีดเริ่ม พลังงานส่วนที่เกินนี้จะไปทำให้โฟโตอิเล็กตรอนมีพลังงานจลน์เพิ่มขึ้น ปรากฏว่าพลังงานจลน์สูงสุดของโฟโตอิเล็กตรอนไม่ขึ้นกับความเข้มของแสงนั้นๆแต่ขึ้นกับความถี่

  43. 3. จำนวนโฟโตอิเล็กตรอนขึ้นกับความเข้มของแสง ถ้าลดความเข้มของแสงลง จำนวนโฟโตอิเล็กตรอนจะลดลงด้วย ผลข้อ 2 ขัดกับทฤษฎีคลาสสิกของฟิสิกส์อย่างยิ่ง เพราะตามทฤษฏีดังกล่าว พลังงานของโฟโตอิเล็กตรอนควรจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงโดยตรง ส่วนผลข้อ 3 นั้น ทฤษฎีคลาสสิกอธิบายไม่ได้เลย

  44. ในปี ค.ศ.1905 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์(Albert Einstein)สามารถอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตรอนนี้ได้อย่างถูกต้อง เขาเสนอว่าแสงควรมีคุณสมบัติเป็นอนุภาคได้ด้วย เรียกว่า โฟตอน(photon) และใช้ทฤษฏีของพลังค์กำหนดค่าพลังงานของโฟตอนนั้น

  45. กล่าวคือ อนุภาคแสง 1 โฟตอนที่มีความถี่u มีพลังงาน Eu = hu คิดเป็น 1 ควอนตัม ค่าพลังงานของโฟตอนเป็นค่าเฉพาะสำหรับแสงที่มีความถี่หนึ่งๆ เท่านั้น ดังนั้นพลังงานของ 1 ควอนตัมของแสงสีแดง 1 โฟตอน มีค่าน้อยกว่าพลังงาน 1 ควอนตัมของแสงสีนำเงิน 1 โฟตอน (แสงสีน้ำเงินมีความถี่สูงกว่า)

  46. คำอธิบายของไอน์สไตน์สำหรับผลการทดลองแต่ละข้อเป็นดังนี้คำอธิบายของไอน์สไตน์สำหรับผลการทดลองแต่ละข้อเป็นดังนี้ 1. ปัญหาของความถี่ขีดเริ่ม การที่จะดึงอิเล็กตรอนให้หลุดออกมาจากผิวหน้าโลหะได้ ต้องใช้พลังงานอย่างน้อยที่สุดเท่ากับแรงดึงดูดที่โลหะมีต่ออิเล็กตรอนนั้น จากทฤษฎีของพลังค์ พลังงานของแสงแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับความถี่ ดังนั้นถ้าเขียนแทนความถี่ต่ำสุดว่า umin และแรงดึงดูดของอิเล็กตรอนว่า W (work function) ดังนั้น W = hu min

  47. 2. ปัญหาพลังงานจลน์สูงสุดของโฟโตอิเล็กตรอนจากแสงชนิดหนึ่งๆ ถ้าเราใช้แสงที่มีความถี่ u พลังงานของแสงคือ hu ( u มากกว่า umin ส่วนที่เหลือจะใช้เป็นพลังงานของอิเล็กตรอนนั้น) ดังนั้น พลังงานจลน์ของอิเล็กตรอน = h( u- umin) uminมีค่าคงที่สำหรับโลหะชนิดหนึ่งๆ ดังนั้นพลังงานจลน์สูงสุดจึงแปรผันโดยตรงกับ u

  48. 3. ปัญหาความเข้มของแสงกับจำนวนโฟโตอิเล็กตรอน เนื่องจากความเข้มของแสงขึ้นอยู่กับพลังงานของแสงโดยตรง (ความเข้ม คือ พลังงานต่อหน่วยพื้นที่ต่อหน่วยเวลา) ถ้าให้พลังงานของแสงทั้งหมดที่ตกกระทบต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ของผิวหน้าโลหะเป็น Er ดังนั้น จำนวนโฟตอนที่ตกกระทบ = Et/hu และ จำนวนโฟตอนที่ตกกระทบต่อ 1 วินาที = I/hu

  49. Et คือพลังงานของแสงทั้งหมดที่ตกกระทบ hu คือ พลังงานของแสง 1 โฟตอน I คือความเข้มของแสง จากนี้ไอน์สไตน์ให้ข้อสมมุติฐานที่สำคัญอีกข้อหนึ่งว่า "1 โฟตอนจะทำให้เกิด 1 โฟโตอิเล็กตรอนเท่านั้น“ จำนวนโฟโตอิเล็กตรอน a จำนวนโฟตอน a ความเข้มของแสง ผลงานของไอน์สไตน์ชิ้นนี้เป็นจุดเริ่มต้นของความคิดที่ว่าแสงมีสมบัติเป็นอนุภาคที่เรียกว่า โฟตอน นอกเหนือจากความเป็นคลื่นตามที่เคยทราบกันมาแต่ก่อน

  50. สมมุติฐานของเดอบรอยล์ ( ลักษณะทวิภาค ) เดอบรอยล์ ได้เสนอแนวความคิดว่าสารทุกชนิดนอกจากจะเป็นอนุภาคแล้วยังมีสมบัติความเป็นคลื่นอยู่ในตัวด้วย และสามารถยกตัวอย่างของสารที่แสดงสมบัติเป็นคลื่น ที่มีระดับพลังงานเป็นช่วงๆ (quantized energy level)นั่นคือการสั่นของเชือกที่ปลายทั้งสองข้างไม่เคลื่อนที่ เชือกหรือลวดพวกนี้สามารถสั่นด้วยความถี่บางค่าเท่านั้น (ดังที่นิยมเรียกกันว่าความถี่ขั้นมูลฐานและโอเวอร์โทนต่างๆ) และการสั่นแบบนี้อยู่ในลักษณะของ คลื่นนิ่ง (standing wave)

More Related