1 / 78

สำนักงบประมาณ ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลการศึกษาโครงการพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจาก การใช้จ่ายงบประมาณ (Performance Assessment Rating Tool – PART) ระยะที่ 2. สำนักงบประมาณ ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วัตถุประสงค์.

trish
Download Presentation

สำนักงบประมาณ ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผลการศึกษาโครงการพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจาก การใช้จ่ายงบประมาณ (Performance Assessment Rating Tool – PART) ระยะที่ 2 สำนักงบประมาณ ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  2. วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาออกแบบและประยุกต์การใช้เครื่องมือ PART ให้เหมาะสมกับพื้นที่ (Area) ของแต่ละจังหวัด / กลุ่มจังหวัด สามารถนำเครื่องมือ PART ไปใช้ในการประเมินตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

  3. ขอบเขตการดำเนินงาน • จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่เจ้าหน้าที่ของกลุ่มจังหวัด / จังหวัด นำร่อง 5 กลุ่มจังหวัด เพื่อออกแบบการประยุกต์ใช้เครื่องมือ PART ให้ใช้ได้กับกลุ่มจังหวัด / จังหวัดอย่างเหมาะสม • ทดสอบชุดคำถามกับกลุ่มจังหวัด / จังหวัด นำร่อง 5 กลุ่มจังหวัด • ติดตามผลการใช้เครื่องมือ PART ของหน่วยงานต่างๆ ของกลุ่มจังหวัด / จังหวัด นำร่อง 5 กลุ่มจังหวัด • ข้อเสนอแนะรูปแบบการนำ PART มาใช้กับกลุ่มจังหวัด / จังหวัด นำร่อง 5 กลุ่มจังหวัดจัดประชุมสัมมนาเพื่อรองรับการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ (PART) ให้กับเจ้าหน้าที่กลุ่มจังหวัด / จังหวัด จำนวน 5 ภาค เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ PART

  4. กลุ่มจังหวัด 18กลุ่ม ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 10. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลย 11. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 มุกดาหาร สกลนคร นครพนม 12. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ 13. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร 15. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน 16. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน 17. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ 18. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร พิจิตร 1. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สระบุรี 2. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง 4. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม กาญจนบุรี 5. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร 14. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ 3. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี 9. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด 6. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย สุราษฎร์ธานี ชุมพรนครศรีธรรมราช พัทลุง 7. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง 8. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา สตูล

  5. PART เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณของผลผลิตของหน่วยงานที่ขอรับงบประมาณในระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน • Performance = ความสำเร็จของการดำเนินงานของผลผลิต (จากการใช้จ่ายงบประมาณ) • Assessment = ประเมิน (ก่อนให้งบประมาณ โดยดูความพร้อมเกี่ยวกับการออกแบบทิศทางและกลยุทธ์เพื่ออนาคต แผนปฏิบัติการและต้นทุนที่ของบประมาณ กิจกรรมสนับสนุนในปัจจุบัน และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา) • Rating = การจัดระดับหรืออันดับ • Tool = เครื่องมือ (หรือวิธีการ หรือเทคนิค) ไม่ใช่ระบบ (System)

  6. เข้าใจ PART ได้ด้วยกระดาษแผ่นเดียว • ด้วย .....แผนภูมิแสดงโครงสร้างงบประมาณตามยุทธศาสตร์ • ตามคู่มือปฏิบัติการจัดทำคำของบประมาณประจำปี

  7. สภาพแวดล้อมภายนอก สภาพแวดล้อมภายนอก

  8. จ-3 จ-5 ก-2 ก-6 ก-1 ก-5 ก-2 ข-1 ข-7 ก-3 ก-4 ข-3 ข-5 ข-6 ข-2 ข-4 ค-1 ค-5 ค-3 ค-2 ค-4 ง-4 ง-1 ง-2 ง-3 ง-6 ง-7 ง-5 จ-1 จ-2 จ-4

  9. แผนพัฒนาจังหวัดไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างค่าเป้าหมายของเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดผลลัพธ์ของโครงการและค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดผลผลิตของโครงการ • เขียนผลสัมฤทธิ์ของโครงการโดยใช้ตัวชี้วัดผลผลิตแทนตัวชี้วัดผลลัพธ์ • เขียนผลสัมฤทธิ์ของโครงการโดยใช้ข้อความผลลัพธ์โดยไม่ระบุตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่สามารถวัดและประเมินได้ • เขียนผลสัมฤทธิ์ของโครงการโดยเขียนตัวชี้วัดผลลัพธ์โดยไม่ระบุค่าเป้าหมาย • เขียนผลสัมฤทธิ์ของโครงการโดยเขียนค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดผลลัพธ์แต่ไม่สามารถเชื่อมโยงค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดเป้าประสงค์ได้จริง หรือไม่สื่อความเชื่อมโยงตัวชี้วัดเป้าประสงค์ได้

  10. คำถาม PART จังหวัดกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 โดยใช้คำย่อว่า “พ.ร.ฎ.บริหารงานจังหวัดฯ” และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 โดยใช้คำย่อว่า “พ.ร.ฎ.บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี”

  11. หมวด ก. จุดมุ่งหมายและรูปแบบ • พ.ร.ฎ.บริหารงานจังหวัดฯ “มาตรา 14 เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปตามหลักการตามที่กำหนดในมาตรา 6 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (1) บริหารงานจังหวัดโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งนโยบายของรัฐบาล และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด”

  12. พ.ร.ฎ.บริหารงานจังหวัดฯ “มาตรา 18 ให้ ก.บ.จ. ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด โดยคำนึงถึงความต้องการและศักยภาพของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด รวมตลอดถึงความพร้อมของภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนและยุทธศาสตร์ระดับชาติแผนพัฒนาจังหวัดอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของวิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และกลยุทธ์ให้แผนพัฒนาจังหวัดมีระยะเวลาสี่ปีเพื่อให้ทราบถึงความต้องการและศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.บ.จ.สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัดตามวิธีการที่ ก.น.จ. กำหนด แต่ ก.บ.จ.อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับอำเภอดำเนินการประสานงานกับองค์กรต่างๆ ในพื้นที่ของอำเภอเพื่อให้ได้ความคิดเห็นของประชาชนเสนอเป็นข้อมูลต่อ ก.บ.จ. แทนการสำรวจความคิดเห็นก็ได้”

  13. พ.ร.ฎ.บริหารงานจังหวัดฯ “มาตรา 19 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันกับบุคคลดังต่อไปนี้เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาจังหวัดที่ ก.บ.จ. จัดทำตามมาตรา 18 (1) หัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานที่ตั้งทำการอยู่ในจังหวัดหรือมีเขตอำนาจหน้าที่ในจังหวัดไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคหรือราชการบริหารส่วนกลาง (2) หัวหน้าหน่วยงานที่เป็นรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ บรรดาที่มีสถานที่ตั้งทำการอยู่ในจังหวัดหรือมีเขตอำนาจหน้าที่ในจังหวัด (3) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดในจังหวัด (4) ผู้แทนภาคประชาสังคม (5) ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนเมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ ก.บ.จ. นำผลการประชุมปรึกษาหารือ และความคิดเห็นของที่ประชุมมาปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดให้สมบูรณ์ แล้วส่ง ก.น.จ. เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้ ให้ส่งสำเนาให้ ก.บ.ก. ทราบด้วย”

  14. พ.ร.ฎ.บริหารงานจังหวัดฯ “มาตรา 6 การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการให้คำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้ (1) การบริหารงานให้เป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัดหรือแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แล้วแต่กรณี (2) การสร้างโอกาสและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคมในจังหวัด เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (3) การกระจายอำนาจการตัดสินใจลงไปสู่ระดับผู้ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ (4) การส่งเสริมและสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีความพร้อมในการรองรับการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (5) การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีความโปร่งใส และมีการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการ (6) การบริหารงบประมาณจังหวัดให้เป็นไปตามวิธีการบริหารงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติตามที่ ก.น.จ. กำหนดตามข้อเสนอแนะของสำนักงบประมาณ”

  15. พ.ร.ฎ.บริหารงานจังหวัดฯ “มาตรา 14 เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปตามหลักการตามที่กำหนดในมาตรา 6 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (6) เสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้จังหวัดมีขีดสมรรถนะรองรับกระแสโลกาภิวัตน์” • พ.ร.ฎ.บริหารงานจังหวัดฯ “มาตรา 25 เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัดแล้ว ให้ ก.บ.จ. จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด โดยอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของโครงการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน หน่วยงานผู้รับผิดชอบ และงบประมาณที่จะต้องใช้ดำเนินการและต้องระบุให้ชัดเจนว่าโครงการหรืองานใดที่จังหวัดประสงค์จะขอตั้งงบประมาณจากสำนักงบประมาณโดยตรง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.น.จ. กำหนด”

  16. หมวด ข. การวางแผนกลยุทธ์ • พ.ร.ฎ.บริหารงานจังหวัดฯ “มาตรา 18 ให้ ก.บ.จ. ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด โดยคำนึงถึงความต้องการและศักยภาพของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด รวมตลอดถึงความพร้อมของภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนและยุทธศาสตร์ระดับชาติ • แผนพัฒนาจังหวัดอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของวิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และกลยุทธ์ • ให้แผนพัฒนาจังหวัดมีระยะเวลาสี่ปี”

  17. พ.ร.ฎ.บริหารงานจังหวัดฯ “มาตรา 34 เพื่อให้การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการสัมฤทธิ์ผล ให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด รวมทั้งการบริหารงบประมาณจังหวัดและงบประมาณกลุ่มจังหวัดให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยรายงานผลการติดตามและประเมินผลตามวรรคหนึ่งต่อ ก.น.จ. อย่างน้อยปีละสองครั้ง” • พ.ร.ฎ.บริหารงานจังหวัดฯ “มาตรา 11 ก.บ.จ. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (3) ส่งเสริม ประสานความร่วมมือการพัฒนาระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจเอกชน เพื่อสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนและชักชวนภาคธุรกิจเอกชนมาลงทุนในจังหวัดและให้มีการพัฒนาให้เป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัดอย่างยั่งยืน”

  18. “มาตรา 14 เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปตามหลักการตามที่กำหนดในมาตรา 6 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติ ดังต่อไปนี้(1) บริหารงานจังหวัดโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งนโยบายของรัฐบาล และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด (2) ประสานและเชื่อมโยงหน่วยงานของรัฐ ซึ่งรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจเอกชน เพื่อร่วมกันวางยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดให้เหมาะสมกับโอกาสและศักยภาพของจังหวัด โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย” • พ.ร.ฎ.บริหารงานจังหวัดฯ “มาตรา 20 ในกรณีมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดใหม่ก่อนสิ้นอายุของแผนให้ดำเนินการตามมาตรา 18 และมาตรา 19”.

  19. หมวด ค. การเชื่อมโยงงบประมาณ • พ.ร.ฎ.บริหารงานจังหวัดฯ “มาตรา 25 เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัดแล้ว ให้ ก.บ.จ. จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด โดยอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของโครงการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน หน่วยงานผู้รับผิดชอบ และงบประมาณที่จะต้องใช้ดำเนินการและต้องระบุให้ชัดเจนว่าโครงการหรืองานใดที่จังหวัดประสงค์จะขอตั้งงบประมาณจากสำนักงบประมาณโดยตรง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.น.จ. กำหนด”

  20. พ.ร.ฎ.บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี “มาตรา 9 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้(1) ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า”(2) การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม (1) ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอนเป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ(3) ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติ ตามแผนปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กำหนด(4) ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม”

  21. พ.ร.ฎ.บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี “มาตรา 21 ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด”

  22. หมวด ง. การบริหารจัดการกิจกรรมสนับสนุน • พ.ร.ฎ.บริหารงานจังหวัดฯ “มาตรา 11 ก.บ.จ. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (6) กำกับ ให้คำแนะนำ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และรายงาน ก.น.จ.” • พ.ร.ฎ.บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี “มาตรา 21 ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด” • พ.ร.ฎ.บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี “มาตรา 6 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้ .............. (3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ”

  23. พ.ร.ฎ.บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี “มาตรา 22 ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณร่วมกันจัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่ เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีสำหรับเป็นแนวทางในการพิจารณาว่าภารกิจใดสมควรจะได้ดำเนินการต่อไปหรือยุบเลิก และเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการในปีต่อไป ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนดในการประเมินความคุ้มค่าตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงประเภทและสภาพของแต่ละภารกิจ ความเป็นไปได้ของภารกิจหรือโครงการที่ดำเนินการ ประโยชน์ที่รัฐและประชาชนจะพึงได้และรายจ่ายที่ต้องเสียไปก่อนและหลังที่ส่วนราชการดำเนินการด้วยความคุ้มค่าตามมาตรานี้ ให้หมายความถึงประโยชน์หรือผลเสียทางสังคม และประโยชน์หรือผลเสียอื่น ซึ่งไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้ด้วย”

  24. พ.ร.ฎ.บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี “มาตรา 33 ให้ส่วนราชการจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตนว่าภารกิจใดมีความจำเป็น หรือสมควรที่จะได้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ โดยคำนึงถึงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน นโยบายของคณะรัฐมนตรี กำลังเงินงบประมาณของประเทศ ความคุ้มค่าของภารกิจและสถานการณ์อื่นประกอบกัน”

  25. พ.ร.ฎ.บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี “มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการ ดังต่อไปนี้.....................(2) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น” • พ.ร.ฎ.บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี “มาตรา 47 ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ให้ส่วนราชการประเมินโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานเฉพาะตัวของข้าราชการผู้นั้นในตำแหน่งที่ปฏิบัติ ประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ที่หน่วยงานที่ข้าราชการผู้นั้นสังกัดได้รับจากการปฏิบัติงานของข้าราชการผู้นั้น”.

  26. หมวด จ. การประเมินผลผลิตและผลลัพธ์ • พ.ร.ฎ.บริหารงานจังหวัดฯ “มาตรา 11 ก.บ.จ. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (6) กำกับ ให้คำแนะนำ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และรายงาน ก.น.จ.” • พ.ร.ฎ.บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี “มาตรา 6 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้ ................. (7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ” • พ.ร.ฎ.บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี “มาตรา 16 ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น โดยจัดทำเป็นแผนสี่ปี ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินตาม มาตรา 13.......... เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทำรายงาน แสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี”

  27. พ.ร.ฎ.บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี “มาตรา 22 ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณร่วมกันจัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่ เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีสำหรับเป็นแนวทางในการพิจารณาว่าภารกิจใดสมควรจะได้ดำเนินการต่อไปหรือยุบเลิก และเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการในปีต่อไป ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด • พ.ร.ฎ.บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี “มาตรา 33 ให้ส่วนราชการจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตนว่าภารกิจใดมีความจำเป็น หรือสมควรที่จะได้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ โดยคำนึงถึงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน นโยบายของคณะรัฐมนตรี กำลังเงินงบประมาณของประเทศ ความคุ้มค่าของภารกิจและสถานการณ์อื่นประกอบกัน”

  28. พ.ร.ฎ.บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี “มาตรา 21 ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนดให้ส่วนราชการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้น ตามระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนด และรายงานให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร. ทราบในกรณีที่รายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะใดของส่วนราชการใดสูงกว่า รายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะประเภทและคุณภาพเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันของส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการนั้นจัดทำแผนการลดรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะดังกล่าวเสนอสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร. ทราบ และถ้ามิได้มีข้อทักท้วงประการใดภายในสิบห้าวันก็ให้ส่วนราชการดังกล่าวถือปฏิบัติ ตามแผนการลดรายจ่ายนั้นต่อไปได้”

  29. พ.ร.ฎ.บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี “มาตรา 45 นอกจากการจัดให้มีการประเมินผลตาม มาตรา 9 (3) แล้ว ให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ ก.พ.ร.กำหนด”

  30. แบบ จ. 1 วิสัยทัศน์ : ..........(1).....หมายถึง ภาพที่แสดงให้เห็นทิศทางที่จังหวัดจะดำเนินไปในอนาคตประเด็นยุทธศาสตร์ที่ .......(2)........ : ประเด็นหลักในการพัฒนาจังหวัด หรือ ประเด็นหลักที่หน่วยงานในจังหวัดจะต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ แบบฟอร์มการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด พ.ศ......... – พ.ศ......... ค่าเป้าหมาย

  31. แบบ จ. 2 แบบฟอร์มการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด พ.ศ................วิสัยทัศน์ : ...............(1).............................................ประเด็นยุทธศาสตร์ที่.........(2).......... : .................................................................กลยุทธ์..............(3)....................................กลยุทธ์ หมายถึง วิธีการดำเนินงาน ที่คาดว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ของจังหวัดเป้าหมาย/ผลสัมฤทธิ์ของโครงการหมายถึง เป้าหมายของโครงการโดยให้ระบุเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดและประเมินได้

  32. คำถาม PART จังหวัดและกลุ่มจังหวัด

  33. ก. ยุทธศาสตร์ชาติ Cascading Stakeholders ข. แผนกลยุทธ์ Strategic Risk Output-Outcome Indicator ค. แผนปฏิบัติการ Action Plan Unit-cost ง. กิจกรรมสนับสนุน Monitoring Information-system Auditing Personal-Scorecard จ. การประเมินผล Value-for-Money Independent-Evaluation External-Benchmark แผนภูมิแสดงโครงสร้างงบประมาณตามยุทธศาสตร์มาจาก 13 ประเด็นคำถามหลัก ดังนี้

  34. คำถามของเครื่องมือ PART กฎเบื้องต้น • ความชัดเจนของเอกสารประกอบถือเป็นกฎเบื้องต้นของการประเมินด้วยเครื่องมือ PART ถ้าไม่มีเอกสารประกอบมาแสดงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด คำตอบคือ “ไม่ใช่” ในข้อนั้น • ถ้ามีเอกสารประกอบมาแสดง แต่ไม่ใช่เอกสารที่อ้างอิงหรือเกี่ยวข้องอย่างชัดเจนกับคำตอบ ให้ถือว่าเอกสารนั้นไม่เกี่ยวข้องกับคำตอบ

  35. ใครเป็นผู้ที่ตอบคำถาม PART มาตรา 10 ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการคณะหนึ่งประกอบด้วย • (1) ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ • (2) รองผู้ว่าราชการจังหวัดทุกคน เป็นกรรมการ • (3) ผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการที่มีสำนักงานอยู่ในจังหวัดไม่ว่าจะมีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคหรือราชการบริหารส่วนกลาง เป็นกรรมการ • (4) ผู้แทนรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ในจังหวัด เป็นกรรมการ • (5) ผู้แทนหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีสำนักงานอยู่ในจังหวัด เป็นกรรมการ • (6) ผู้แทนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกรรมการ • (7) ผู้แทนภาคประชาสังคม เป็นกรรมการ • (8) ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัด และประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด เป็นกรรมการ…ให้หัวหน้าสำนักงานจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ (พรฎ.การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551)

  36. หมวด ก. จุดมุ่งหมายและรูปแบบ • ก-1 แผนพัฒนาจังหวัดเชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนบริหารราชการแผ่นดิน แผนพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งนโยบายของรัฐบาล และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น รวมทั้งเชื่อมโยงกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด อย่างไร และมีผังโครงสร้างความเชื่อมโยงที่ชัดเจนอย่างไร (กรณีประเมินแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ให้ตัดข้อความ “รวมทั้งเชื่อมโยงกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด” ออกไป)

  37. ก-2 แผนพัฒนาจังหวัดมีค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ที่มีผลลัพธ์สอดคล้องและเหมาะสมต่อการตอบสนองค่าเป้าหมายของเป้าประสงค์ระดับชาติ และมีสัดส่วนเท่าใด • ก-3 แผนพัฒนาจังหวัดกำหนดความต้องการ ปัญหา หรือเรื่องที่สนใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) หรือไม่ • ก-4 กลยุทธ์ที่กำหนดในแผนพัฒนาจังหวัดมีความเชื่อมโยงกับความต้องการ ปัญหาหรือเรื่องที่สนใจของกลุ่มเป้าหมาย และเป้าหมายของเป้าประสงค์ระดับชาติอย่างไร มีวิธีการกำหนดอย่างไร

  38. ก-5 แผนพัฒนาจังหวัดได้คำนึงถึงปัจจัยภายนอกที่เป็นอุปสรรคและข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน รวมทั้งรองรับกระแสโลกาภิวัตน์เพื่อนำส่งผลผลิตหรือไม่ ปัจจัยที่สำคัญมีลักษณะใด และนำมาพิจารณาดำเนินการอย่างไร • ก-6 กลยุทธ์ในแผนพัฒนาจังหวัดซ้ำซ้อนกับผลผลิตของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนหรือไม่ ถ้าซ้ำซ้อน หน่วยงานสามารถจำแนกลักษณะผลผลิตที่แตกต่างกันได้ในกรณีที่ซ้ำซ้อนอย่างไร

  39. หมวด ข. การวางแผนกลยุทธ์ • ข-1 ก.บ.จ. จัดทําแผนพัฒนาจังหวัดแสดงความเชื่อมโยงเป้าหมายเชิงยุทธศาสตรชาติมายังผลลัพธ และผลผลิต ตามลําดับหรือไม อยางไร • ข-2 แผนพัฒนาจังหวัดกำหนดค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดของกลยุทธ์ระดับเป้าประสงค์ ระดับผลลัพธ์ ระยะเวลาสี่ปีที่ท้าทายหรือไม่ มีวิธีการกำหนดอย่างไร • ข-3 แผนพัฒนาจังหวัดกำหนดค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดระดับผลผลิตเมื่อสิ้นระยะเวลาสี่ปีหรือไม่ มีวิธีการกำหนดอย่างไร • ข-4 แผนพัฒนาจังหวัดกำหนดค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดระดับผลผลิตรายปีหรือไม่ มีวิธีการกำหนดอย่างไร

  40. ข-5 แผนพัฒนาจังหวัดได้กำหนดกลยุทธ์การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หรือไม่ วิธีการประสานความร่วมมือมีลักษณะใด • ข-6 แผนพัฒนาจังหวัดได้กำหนดแผนการประเมินผลโดยประเมินตนเอง และโดยผู้ประเมินอิสระหรือไม่มีวิธีการจำแนกการประเมินโดยตนเอง และโดยผู้ประเมินอิสระอย่างไร • ข-7 ก.บ.จ. ทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ชาติ และ/หรือ ข้อกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องหรือไม่กระบวนการเป็นอย่างไร

  41. หมวด ค. การเชื่อมโยงงบประมาณ • ค-1 แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดมีค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดผลลัพธ์และผลผลิตหรือไม่ สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดอย่างไร และระบุชัดเจนว่าโครงการหรืองานใดที่จังหวัดประสงค์จะขอตั้งงบประมาณจากสำนักงบประมาณโดยตรง และจัดลำดับความสำคัญของโครงการหรืองานอย่างไร • ค-2 กิจกรรมหลักตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดเชื่อมโยงกับงบประมาณที่ต้องการ ซึ่งสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมายของตัวชี้วัดระดับผลผลิตประจำปีอย่างไร มีวิธีการกำหนดอย่างไร

  42. ค-3 แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดกำหนดปริมาณงานของกิจกรรมหลักเพื่อติดตามผลความก้าวหน้าตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ • ค-4 ก.บ.จ. จัดทำกิจกรรมเพื่อคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตถึงขั้นตอนการปันส่วนค่าใช้จ่ายหรือไม่ การปันส่วนมีวิธีการอย่างไร • ค-5 ก.บ.จ. ปรับค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดระดับผลผลิตในแผนปฏิบัติการประจำปีโดยพิจารณาผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาหรือไม่ กระบวนการเป็นอย่างไร

  43. หมวด ง. การบริหารจัดการกิจกรรมสนับสนุน • ง-1 ก.บ.จ.ได้กำหนดให้หน่วยดำเนินงานโครงการจัดทำและใช้รายงานผลตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายเดือนเพื่อควบคุมงานให้บรรลุเป้าหมายของตัวชี้วัดระดับผลผลิตหรือไม่ แบบรายงานมีลักษณะอย่างไร • ง-2 ก.บ.จ. ได้กำหนดให้หน่วยดำเนินงานโครงการจัดทำระบบรายงานข้อมูลที่เชื่อถือได้ และตรงตามกำหนดเวลา ให้ ก.บ.จ. หรือไม่ ผลการรายงานมีลักษณะอย่างไร

  44. ง-3 ก.บ.จ.ได้กำหนดให้หน่วยดำเนินงานโครงการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการบริหารจัดการ และปรับปรุงการดำเนินงานให้ดีขึ้นหรือไม่ กระบวนการเป็นอย่างไร • ง-4 ก.บ.จ.ได้กำหนดให้หน่วยดำเนินงานโครงการนำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการหรือไม่ กระบวนการเป็นอย่างไร • ง-5 ก.บ.จ.ได้กำหนดให้หน่วยดำเนินงานโครงการจัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐ หรือไม่ กระบวนการเป็นอย่างไร

  45. ง-6 ก.บ.จ.ได้กำหนดให้หน่วยดำเนินงานโครงการรายงานผลการตรวจสอบทางการเงินของฝ่ายตรวจสอบภายใน และ/หรือ ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่แสดงว่าไม่มีข้อทักท้วงความผิดวินัยทางการเงิน รายงานผลเป็นอย่างไร • ง-7 ก.บ.จ.ได้กำหนดให้หน่วยดำเนินงานโครงการมีแบบประเมินบุคคลผู้รับผิดชอบผลผลิตรายบุคคลหรือไม่ แบบรายงานมีลักษณะอย่างไร

  46. หมวด จ. การประเมินผลผลิตและผลลัพธ์ • จ-1 ผลการประเมินผลในระดับผลลัพธ์ตามรายงานล่าสุดมีความก้าวหน้าเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายในแผนพัฒนาจังหวัดในระดับใด อ้างอิงจากรายงานใด สอดคล้องกับตัวชี้วัดผลลัพธ์ตามแผนพัฒนาจังหวัดหรือไม่ • จ-2 ผลการประเมินผลในระดับผลผลิตตามรายงานล่าสุดมีความก้าวหน้าเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายในแผนพัฒนาจังหวัดในระดับใด อ้างอิงจากรายงานใด สอดคล้องกับตัวชี้วัดผลผลิตตามแผนพัฒนาจังหวัดหรือไม่

  47. จ-3 ผลการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจภาครัฐของ ก.บ.จ. อยู่ในระดับใดอ้างอิงจากรายงานใด • จ-4 ผลการประเมินในระดับผลผลิตโดยเทียบเคียงกับจังหวัดอื่นในกลุ่มจังหวัดเดียวกันอยู่ในระดับใด (เฉพาะกรณีที่เทียบเคียงได้) อ้างอิงจากรายงานใด • จ-5 ผลการประเมินจากผู้ประเมินอิสระ แสดงให้เห็นว่าแผนพัฒนาจังหวัดบรรลุผลสำเร็จในระดับผลลัพธ์ ในระดับใด อ้างอิงจากรายงานใด

More Related