1 / 13

ตัวละคร

ตัวละคร. สมาชิกในกลุ่ม ม. 5/6. นางสาวธัญ รมณ มณีรัตน์ เลขที่ 2 นางสาวชญานิษฐ์ ชูแข เลขที่ 5 นางสาวธัญชนก รักแก้ว เลขที่ 15 นางสาว อัญชิษฐา วิภูษิต วร กุล เลขที่ 17. ตัวละคร.

uttara
Download Presentation

ตัวละคร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ตัวละคร

  2. สมาชิกในกลุ่ม ม.5/6 • นางสาวธัญรมณ มณีรัตน์ เลขที่ 2 • นางสาวชญานิษฐ์ ชูแข เลขที่ 5 • นางสาวธัญชนก รักแก้ว เลขที่ 15 • นางสาวอัญชิษฐา วิภูษิตวรกุล เลขที่ 17

  3. ตัวละคร ตัวละคร หรือ Character คือบุคคลที่ผู้แต่งสมมุติขึ้นมาเพื่อให้กระทำพฤติกรรมในเรื่อง คือ ผู้มีบทบาทในเนื้อเรื่อง หรือเป็นผู้ทำให้เรื่องเคลื่อนไหวดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทาง ตัวละครตามนัยดังกล่าวนี้มิได้หมายถึงมนุษย์เท่านั้น หากแต่รวมถึงพวกพืช , สัตว์ และสิ่งของด้วย นักเขียนบางคนนิยมใช้สัตว์ ต้นไม้ ดอกไม้ ภาชนะ ฯลฯ เป็นตัวละคร มีความคิดและการกระทำอย่างคน เช่น ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

  4. ตัวละคร กำหนดให้ สุนัข เป็นตัวละครเอกในเรื่อง “ มอม ” มนัส จรรยงค์ กำหนดให้ วัวชน เป็นตัวละครเอกในเรื่อง “ ซาเก๊าะ” ไมตรี ลิมปชาติ กำหนดให้ ต้นไม้ เป็นตัวละครเอกในเรื่อง “ ฉันคือต้นไม้ ” และ ราม ราชพฤกษ์ กำหนดให้ ก้อนหิน เป็นตัวละครเอกในเรื่อง “ ฉันคือหินผา เขาหาว่าฉันศักดิ์สิทธิ์ ” ส่วน อำนาจ เย็นสบาย กำหนดให้ พระเครื่อง เป็นตัวละครในเรื่อง “ ราคาของสินค้า ” ตัวละครจึงนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเรื่องบันเทิงคดีซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพราถ้าปราศจากตัวละครหรือผู้กระทำพฤติกรรมแล้ว การดำเนินเรื่องก็คงจะไม่เกิดขึ้น

  5. ประเภทของตัวละคร : แบ่งตามลักษณะของบทบาท การแบ่งประเภทของตัวละครไม่ควรแบ่งตามลักษณะที่ชอบเรียกกันว่าพระเอก , นางเอก หรือผู้ร้ายตัวโกง หากแต่ควรแบ่งตามลักษณะบทบาท และความสำคัญของตัวละครที่ปรากฏในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น

  6. ประเภทของตัวละคร : แบ่งตามลักษณะของบทบาท ประเภทของตัวละคร : แบ่งตามลักษณะของบทบาท 1. ตัวละครเอก ( principal or main character ) คือ ตัวละครที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินเรื่อง หรือคือตัวละครที่เป็นศูนย์กลางของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด เป็นตัวละครที่มีข้อขัดแย้ง ข้อขัดแย้งดังกล่าวนี้อาจเกิดขึ้นภายในใจของตัวละครเอง หรือจะขัดแย้งกับตัวละครอื่นหรือขัดแย้งกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน เช่น พลังธรรมชาติ หรือระบบสังคมก็ได้

  7. ประเภทของตัวละคร : แบ่งตามลักษณะของบทบาท ประเภทของตัวละคร : แบ่งตามลักษณะของบทบาท 2.ตัวละครประกอบ ( subordinate or minor character ) คือตัวละครที่มีบทบาทรองลงไปจากตัวละครเอก เป็นตัวละครที่ทำให้เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวละครเอกเคลื่อนไหวไปสู่จุดหมายปลายทาง ตัวละครประกอบบางตัวอาจมีบทบาทเด่นพอ ๆ กับตัวละครเอกก็ได้ แต่มักจะเป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับตัวละครเอก

  8. ลักษณะนิสัยของตัวละครลักษณะนิสัยของตัวละคร การกำหนดลักษณะนิสัยของตัวละครนี้ นิยมทำกันอยู่ ๒ วิธี คือ วิธีที่ ๑ ตัวละครที่มีลักษณะไม่ซับซ้อน ( flat character ) คือตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็นตัวแทนความคิด หรือคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว เช่น เป็นคนดุ ใจดี หรือซื่อสัตย์ เป็นต้น สำหรับตัวละครที่มีลักษณะไม่ซับซ้อนและยังมีลักษณะพิเศษประจำตัวจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น เป็นแม่เลี้ยงใจยักษ์ , ตำรวจใจดี หรือเป็นตัวละครที่ให้อารมณ์ขันในเรื่อง พล นิกร กิมหงวน ของ ป. อินทรปาลิต นั้นมีชื่อเฉพาะเรียกว่า Stock Character

  9. ลักษณะนิสัยของตัวละครลักษณะนิสัยของตัวละคร ลักษณะนิสัยของตัวละคร วิธีที่ ๒ ตัวละครที่มีลักษณะซับซ้อน (round character) คือตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีนิสัยคล้ายกับปุถุชนทั่วไป ตัวละครแบบนี้ ผู้แต่งมักจะไม่แนะนำโดยตรงว่ามีลักษณะนิสัยใจคออย่างไร ผู้อ่านจะต้องศึกษาจากส่วนประกอบอื่น ๆ เอาเอง เช่น ศึกษาจากคำพูด การกระทำ การปฏิบัติตัวต่อตัวละครอื่นแล้วนำมาตัดสินว่า ตัวละครนั้นเป็นคนเช่นไร มีนิสัยเปลี่ยนไปอย่างไร และเพราะเหตุใดเป็นต้น ตัวละครแบบนี้จึงมีลักษณะคล้ายบุคคลในชีวิตจริง และมีส่วนช่วยทำให้เรื่องบันเทิงคดีมีลักษณะสมจริงยิ่งขึ้นด้วย

  10. บทบาทหรือบุคลิกภาพของตัวละครบทบาทหรือบุคลิกภาพของตัวละคร การกำหนดบทบาทของตัวละครมีอยู่ ๒ วิธี คือ วิธีที่ ๑ ตัวละครที่มีบทบาทคงที่ ( Static Character ) คือตัวละครที่มีบุคลิกคงที่ตลอดเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ ตอนเปิดเรื่องมีลักษณะนิสัยอย่างไร ตอนจบเรื่องก็ยังคงมีลักษณะนิสัยอย่างนั้น เช่น แม่ช้อยในเรื่องสี่แผ่นดิน จะมีลักษณะเป็นตัวละครที่สร้างอารมณ์ขันให้แก่ผู้อ่านตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบเรื่อง เป็นต้น

  11. บทบาทหรือบุคลิกภาพของตัวละครบทบาทหรือบุคลิกภาพของตัวละคร บทบาทหรือบุคลิกภาพของตัวละคร วิธีที่ ๒ ตัวละครที่มีบทบาทไม่คงที่ (dynamic character) คือตัวละครที่ปรับเปลี่ยนนิสัย บุคลิกลักษณะ และทัศนคติไปตามประสบการณ์หรือสภาพจิตใจได้เมื่อมีเหตุผลอันสมควร หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า สิ่งแวดล้อมเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้บุคลิกภาพของตัวละครเปลี่ยนแปรไป ตัวละครประเภทนี้จึงเป็นหัวใจสำคัญของเรื่องสั้นประเภทเน้นตัวละคร เพราะนิสัยใจคอของตัวละครที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นจะช่วยสร้างโครงเรื่องไปด้วยในตัว

  12. บทบาทหรือบุคลิกภาพของตัวละครบทบาทหรือบุคลิกภาพของตัวละคร บทบาทหรือบุคลิกภาพของตัวละคร เช่น บุคลิกของตัวละครเอกในเรื่องสั้นเรื่อง “ ความในใจของกระดูกจระเข้ ” ของ วัฒน์วรรลยางกูร คือ “ ผม ” ที่เปลี่ยนความคิดและการกระทำจากคนที่เห็นแก่ตัวในตอนต้นเรื่องมาเป็นคนที่มีความคิดและการกระทำแบบคนที่เห็นแก่ส่วนรวม เป็นต้น

  13. ขอบคุณค่ะ

More Related