1 / 15

ย้อนรอยระยะเวลาและปัจจัยที่ก่อ เกิดการยุบพรรค

เรื่อง. ย้อนรอยระยะเวลาและปัจจัยที่ก่อ เกิดการยุบพรรค. จัดทำโดย. 1.น.ส.นิภาวัลย์ คีรี 2.น.ส.ศิราณี ชัยธานี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/1 เสนอ

vidor
Download Presentation

ย้อนรอยระยะเวลาและปัจจัยที่ก่อ เกิดการยุบพรรค

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรื่อง ย้อนรอยระยะเวลาและปัจจัยที่ก่อ เกิดการยุบพรรค

  2. จัดทำโดย 1.น.ส.นิภาวัลย์ คีรี 2.น.ส.ศิราณี ชัยธานี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/1 เสนอ อาจารย์ อรวรรณ กองพิลา

  3. หลังจากที่ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปี พ.ศ.2550 และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่า ด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550  ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการพิจารณาคดียุบพรรคการเมืองใหญ่ที่เข้าร่วมเป็นรัฐบาล ประกอบด้วย ปี 2550 พรรคไทยรักไทย(ยุบ) พรรคพัฒนาชาติไทย(ยุบ)พรรคแผ่นดินไทย(ยุบ) พรรคประชาธิปัตย์ (ไม่ยุบ) และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า(ยุบ) ปี 2551 พรรคพลังประชาชน  พรรคชาติไทย  และ พรรคมัชฌิมาธิปไตย  ปี 2553 พรรคประชาธิปัตย์ (ไม่ยุบ)

  4. ตารางเปรียบเทียบระยะเวลาการยุบพรรคการเมืองตารางเปรียบเทียบระยะเวลาการยุบพรรคการเมือง

  5. สรุป สรุป  พรรคไทยรักไทย(ยุบ) พรรคพัฒนาชาติไทย(ยุบ) พรรคแผ่นดินไทย(ยุบ) รวมใช้เวลาพิจารณาคดี นับตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค.-30 พ.ค.รวม 135 วัน(ประมาณ 4 เดือน ครึ่ง)   พรรคประชาธิปัตย์(ยกคำร้อง)(2550) พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า(ยุบ) รวมใช้เวลาพิจารณาคดี นับ ตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค.-30 พ.ค.รวม 133 วัน (ประมาณ 4 เดือน ครึ่ง) พรรคพลังประชาชน อัยการส่งศาล รธน.วันที่ 10 ต.ค.ตัดสินวันที่ 2 ธ.ค. ใช้เวลารวม 54 วัน   พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย ใช้เวลานับจาก 23 ก.ย-2 ธ.ค.รวม 71 วัน พรรคประชาธิปัตย์(2553) 4 เดือน 139 วัน  (ยกคำร้อง)

  6. ปี 2550 กลุ่มที่1 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย   คำสั่งให้ยุบพรรคทั้งสามพรรค รวมทั้งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งต่อกรรมการบริหารพรรค เป็นจำนวน 111 คน, 19 คน, และ 3 คน ตามลำดับ มีกำหนด 5 ปี 20 มีนาคม 2549 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้ร้องเรียนต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่า มีการสมคบระหว่างผู้บริหารพรรคไทยรักไทย เจ้าหน้าที่พรรคการเมืองอื่นและเจ้าหน้าที่ กกต. เปลี่ยนแปลงข้อมูลสมาชิกพรรค และว่าจ้างพรรคการเมืองเล็กให้ลงสมัคร ส.ส.ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 21 เม.ย. 49  คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) มีมติเสนอให้มีการยุบพรรคพรรคพัฒนาชาติไทย 19 มิ.ย. 49  กกต. ส่งคำร้องพร้อมหลักฐานให้อัยการพิจารณาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งยุบพรรคไทยรักไทย

  7. 6 ก.ค.2549 อัยการสูงสุดยื่นคำร้องให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบ 5 พรรคการเมือง อันประกอบด้วย พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพัฒนาชาติไทยและพรรคแผ่นดินไทย 13 ก.ค 2549 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติให้รับคำร้องขอ ให้ยุบพรรคการเมืองทั้งห้าไว้พิจารณาวินิจฉัย เมื่อคณะปฏิรูปฯ ทำการยึดอำนาจเมื่อ 19 กันยายน 2549 ได้มีการออกประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 3 ยุบทิ้งศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้นสิ้นสภาพลง 1 ต.ค. 2549 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 มีผลบังคับใช้ และในมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กำหนดให้มี"คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ"ขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งก็คือชุดปัจจุบัน รับโอนคดียุบพรรคการเมืองที่ค้างอยู่ มาทำการไต่สวนต่อ

  8. 16 มกราคม 2550  การไต่สวนพยานนัดแรก 12 เมษายน 2550 การไต่สวนพยานพยานนัดสุดท้าย 29 พฤษภาคม 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยส่วนตนออกมา 30 พฤษภาคม 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญได้ให้ทั้ง 2 ฝ่ายยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีและนัดพิพากษาคดี  คณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย  

  9. กลุ่มที่ 2 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัย ยกคำร้องที่ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ และมีคำสั่งให้ยุบ พรรค ประชาธิปไตยก้าวหน้า        12 เม.ย. 49   กกต.มีมติ สั่งดำเนินคดีอาญา นายทักษนัย กี่สุ้น และผู้สมัครพรรคประชาธิปัตยก้าวหน้าจ .ตรังที่ไม่สิทธิสมัครแต่ยังไปลงสมัครและเสนออัยการสูงสุดเพื่อให้พิจารณายื่นคำร้องยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า 6 กรกฎาคม 2549 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมี คำสั่งยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า และพรรคประชาธิปัตย์    การไต่สวนพยานนัดแรกเริ่มวันที่ 18 มกราคม 2550 และไต่สวนพยานอย่างต่อเนื่องทุกวันพฤหัสบดี รวมทั้งสิ้น 12 นัด โดยการไต่สวนพยานนัดสุดท้าย วันที่ 5 เมษายน 2550       30 พฤษภาคม 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยของกลุ่มที่ 2 ก่อน(พรรคประชาธิปัตย์และพรรค ประชาธิปไตยก้าวหน้า) ในเวลา 13.30 น. 

  10. ปี 2551 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัย ยุบพรรค พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมา ธิปไตยโดยมีคำสั่งให้ยุบพรรคทั้ง 3 พรรค รวมทั้งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งต่อกรรมการบริหารพรรคเป็นจำนวน 37 คน, 43 คน, และ 29 คน ตามลำดับ มีกำหนด 5 ปี 26 กุมภาพันธ์ 2551 คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติด้วยเสียงข้างมาก 3 ใน 5 (งดออกเสียงหนึ่งเสียง) ให้ใบแดงและส่งความเห็นไปยังศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง เพื่อสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะ ไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ส.ส.แบบสัดส่วน ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา  เนื่องจากพบว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งที่จังหวัดเชียงราย

  11. 8 กรกฎาคม 2551 ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายยงยุทธ ตามคำร้องของกกต. ที่ระบุว่านายยงยุทธเกี่ยวข้องกับการแจกจ่ายทรัพย์สินในการเลือกตั้งเมื่อเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง)  นายสุนทร วิลาวัลย์ รองหัวหน้าพรรค กระทำผิด พรบ.ประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สส. และสว. 2 กันยายน 2551 ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ลงมติเป็นเอกฉันท์ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยว่าควรยุบพรรคพลังประชาชน และเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรค พลังประชาชนหรือไม่จากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ลงมติเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง (ใบแดง) นายสุนทร วิลาวัลย์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.ปราจีนบุรี นายมณเฑียร สงฆ์ประชา นางนัยนา สงฆ์ประชา อดีตผู้สมัคร ส.ส.ชัยนาท พรรคชาติไทย และนายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีต ส.ส. สัดส่วน พรรคพลังประชาชน อีกทั้งผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิล้วนเป็นกรรมการบริหารพรรค ส่งผลให้ กกต.มีมติส่งเรื่องเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งยุบพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรค

  12. 16 เมษายน 2551คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติด้วยคะแนนเสียง 4 ต่อ 1 ให้ส่งสำนวนเรื่องการยุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตยให้อัยการสูงสุดพิจารณา 8 กรกฎาคม 2551 ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง พิพากษายืนตามมติของ กกต. และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายยงยุทธเป็นเวลา 5 ปี 2 กันยายน 2551   กกต.เตรียมดำเนินการต่อ  สรุปสำนวนส่งให้อัยการสูงสุด เพื่อยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เสนอยุบพรรคพลังประชาชน 23 กันยายน 2551 อัยการยื่นฟ้องยุบพรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย 10 ตุลาคม  2551 อัยการสูงสุดได้ลงนามในคำร้องยื่นต่อ ศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้มีคำสั่ง ยุบพรรคพลังประชาชน 20 พฤศจิกายน 2551 คณะตุลาการได้นัดประชุมเพื่อพิจารณาคำชี้แจงของทั้ง 3 พรรคการเมืองเป็นนัดแรกในการประชุมเพื่อพิจารณาคดียุบพรรค        28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ไต่สวนพยาน มีตัวแทนพรรคการเมืองเข้าร่วมรับฟังพร้อมเพรียงพยานพรรคมัชฌิมาธิปไตยจำนวน 20 ปาก และขอเพิ่มเติมอีก 29 ปาก พยานพรรคชาติ ไทยจำนวน 42 ปาก พยานเทปซีดีคำปราศรัยห้ามซื้อเสียง และพยานเอกสาร 33 รายการ พยานพรรคพลังประชาชนจำนวน 60 ปาก

  13. ปี 2553   ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์  21 เมษายน 2553  คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. แถลงผลลงมติยุบพรรคพรรคประชาธิปัตย์เห็นชอบให้ผู้ร้องแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนหน้านี้นี้มติเสียงข้างมากของคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นเห็นชอบให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 2 ตั้งแต่ วันที่ 17 ธันวาคม 2552 แล้ว  9 สิงหาคม 2553  คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 7 คน ออกนั่งบัลก์ไต่สวนพยานนัดแรกคดีที่ กกต.ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยกรณีที่กล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์   26 เมษายน 2553  อัยการสูงสุดยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ  ขอให้พิจารณาวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัตย์ และเพิกถอนสิทธิทางการเมืองนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหาร

  14. ตั้งคำถาม 1. ในปี2550พรรคใดถูกยุบบ้า 2. 23 กันยายน 2551 อัยการยื่นฟ้องยุบพรรคใด 3. ปี 2553 พรรคประชาธิปัตย์ ยุบหรือไม่ 4.พรรคไทยรักไทยยุบหรือไม่ 5. พรรคพัฒนาชาติไทยยุบในปีพ.ศ.ใด

  15. จบแล้วเด้อ

More Related