1 / 28

สำนักงาน คุมประพฤติจังหวัดนราธิวาส กระทรวง ยุติธรรม

สำนักงาน คุมประพฤติจังหวัดนราธิวาส กระทรวง ยุติธรรม 156 ถนนสุริยะประดิษฐ์ ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส 96000 นายฮา ซัน สะ แลแม รหัส 5220710096 นาย ฮัม ดี หะยี ซำซู ดิน รหัส 5220710193. ประวัติความเป็นมา

Download Presentation

สำนักงาน คุมประพฤติจังหวัดนราธิวาส กระทรวง ยุติธรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนราธิวาสกระทรวงยุติธรรมสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนราธิวาสกระทรวงยุติธรรม 156 ถนนสุริยะประดิษฐ์ ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส 96000 นายฮาซัน สะแลแม รหัส 5220710096 นายฮัมดี หะยีซำซูดิน รหัส 5220710193

  2. ประวัติความเป็นมา ประเทศไทยเริ่มมีการนำระบบคุมประพฤติมาใช้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 โดยมาใช้กับผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนก่อน ส่วนผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่นั้น แม้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 56, 57 และ58 จะได้บัญญัติถึงวิธีการเกี่ยวกับการคุมประพฤติไว้ แต่อย่างไรก็ตามศาลคงใช้มาตรการรอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษเพียงอย่างเดียวโดยไม่ใช้วิธีการคุมความประพฤติ เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่จะรับผิดชอบ ดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลได้ จนกระทั่งรัฐบาลได้ผ่านพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตาม ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 และได้มีการจัดตั้งสำนักงานคุมประพฤติกลาง ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกอง สังกัดสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรม และได้เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2522 โดยดำเนินการในกรุงเทพมหานครก่อน จนปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจ และเพื่อเป็นการให้โอกาสแก่ประชาชนในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ให้ได้รับประโยชน์จากวิธีการคุมความประพฤติ จึงได้มีการเปิดดำเนินการสำนักงานคุมความประพฤติในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ

  3. ต่อ เนื่องจากมีการขยายงานออกสู่ส่วนภูมิภาคมากขึ้น จึงให้สำนักงานคุมประพฤติกลางมีปริมาณงาน ขอบเขต อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน สำนักงานคุมประพฤติกลางจึงได้รับการ ยกฐานะให้เป็น "กรมคุมประพฤติ" เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2535 และพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่ และกิจการบริหารบางส่วนของ สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรมไปเป็นของกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2535 ดัง นั้น วันที่ 15 มีนาคม ของทุกปี จึงถือเป็น "วันก่อตั้งกรมคุมประพฤติ"

  4. วิสัยทัศน์ เป็นเลิศในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชน เพื่อคืนคนดีสู่สังคม

  5. พันธกิจ 1.ดำเนินการตามมาตรการคุมประพฤติและมาตรการอื่นๆในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด ในชุมชน 2.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัด 3.สงเคราะห์ผู้กระทำผิดภายหลังพ้นการคุมประพฤติ พ้นการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และภายหลังปล่อย 4.พัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม และนำทรัพยากรชุมชนมาร่วนดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด

  6. ต่อ 5.ส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ 6.ศึกษาวิจัย และพัฒนาระบบงาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งกฎหมายและ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง 7.พัฒนาโครงสร้าง การบริหารจัดการ และทรัพยากรบุคคล

  7. กลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกับการคุมความประพฤติผู้กระทำผิดกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกับการคุมความประพฤติผู้กระทำผิด 1.การสืบเสาะและพินิจ การสืบเสาะและพินิจ หมายถึง การแสวงหาข้อเท็จจริง ประวัติภูมิหลังทางสังคม และรายละเอียดหลักฐานต่างๆ ของจำเลย ก่อนศาลพิจารณาพิพากษาคดี โดยพนักงานคุมประพฤติเป็นผู้ดำเนินการตามคำสั่งศาล แล้วนำข้อเท็จจริงมาวิเคราะห์ ประเมินและทำรายงานพร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อศาล เพื่อใช้ประกอบดุลยพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดีว่าจะใช้มาตรการใดจึงจะเหมาะสมต่อจำเลย

  8. วัตถุประสงค์ของการสืบเสาะและพินิจผู้กระทำความผิดในงานคุมประพฤติวัตถุประสงค์ของการสืบเสาะและพินิจผู้กระทำความผิดในงานคุมประพฤติ 1.เพื่อเสนอข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับประวัติและภูมิหลังทางสังคมของจำเลยว่า จะ ใช้มาตรการใดจึงจะเหมาะสมต่อจำเลยเป็นรายบุคคล 2. เพื่อกลั่นกรองผู้กระทำความผิดที่เหมาะสมเข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของสังคมและแนวโน้มในการแก้ไขปรับปรุงตนเองในชุมชนของผู้กระทำความผิดเป็นหลัก 3.เพื่อประโยชน์ในการวางแผนแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดในชุมชน

  9. การสืบเสาะข้อเท็จจริงผู้กระทำความผิดในงานคุมประพฤติผู้ได้รับการพักการลงโทษและลดวันต้องโทษจำคุกการสืบเสาะข้อเท็จจริงผู้กระทำความผิดในงานคุมประพฤติผู้ได้รับการพักการลงโทษและลดวันต้องโทษจำคุก การสืบเสาะข้อเท็จจริงผู้ได้รับการพักการลงโทษและลดวันต้องโทษจำคุก หมายถึง การแสวงหาข้อเท็จจริง ประวัติภูมิหลัง และรายละเอียดหลักฐานต่างๆ ของนักโทษเด็ดขาดก่อนที่จะปล่อยคุมประพฤติตลอดจนความเหมาะสมของผู้อุปการะเกี่ยวกับความยินดีอุปการะนักโทษฯ รวมทั้งถิ่นที่อยู่ สภาพแวดล้อมบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยพนักงานคุมประพฤติเป็นผู้นำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์ และจัดทำรายงานพร้อมความเห็นส่งเรือนจำหรือทัณฑสถานตามที่ขอความร่วมมือ เพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณาการพักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษจำคุก พิจารณาก่อนที่จะมีการอนุมัตินักโทษเด็ดขาดให้ได้รับพักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษจำคุกออกไปก่อนครบกำหนดโทษ โดยวิธีการคุมประพฤติ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำและทำให้สังคมมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

  10. 2.งานควบคุมและสอดส่อง งานควบคุมและสอดส่อง หมายถึง กระบวนการติดตาม ควบคุม ดูแล และช่วยเหลือผู้กระทำผิดที่อยู่ระหว่างการแก้ไขฟื้นฟูในชุมชนภายใต้เงื่อนไขการคุมความประพฤติ เพื่อช่วยให้ผู้กระทำผิดสามารถปรับตัวอยู่ในชุมชนได้อย่างปกติ ตลอดจนไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำ

  11. วัตถุประสงค์ของการควบคุมและสอดส่องวัตถุประสงค์ของการควบคุมและสอดส่อง 1.เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดตามสภาพปัญหาและความต้องการ 2.เพื่อช่วยเหลือผู้กระทำผิดให้สามารถดำเนินชีวิตและปรับตัวเข้ากับสังคมได้ โดยไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำ 3.เพื่อส่งเสริมสวัสดิภาพและความปลอดภัยของชุมชน

  12. 3. งานฟื้นฟู งานฟื้นฟู หมายถึง นกระบวนการเปลี่ยนแปลงเจตคติและ/หรือพฤติกรรมของผู้กระทำผิดให้อยู่ในบรรทัดฐานของสังคมโดยพนักงานคุมประพฤติจะคอยดูแล สอดส่อง ช่วยเหลือด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งทางด้านจิตวิทยาและสังคมสงเคราะห์เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน

  13. 4. งานกิจรรมชุมชน การทำงานบริการสังคม หรือการทำงานสาธารณประโยชน์ในความรับผิดชอบของกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม หมายถึง การที่ศาลหรือพนักงานคุมประพฤติกำหนดให้ผู้กระทำผิดในคดีอาญาต้องทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือผู้เสียหายโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนภายใต้ความยินยอมหรือคำร้องขอทำงานบริการสังคมของผู้กระทำผิด นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังสามารถกำหนดให้การทำงานบริการสังคมเป็นวิธีการหนึ่งในระหว่างฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

  14. วัตถุประสงค์ของการทำงานบริการสังคมวัตถุประสงค์ของการทำงานบริการสังคม - เพื่อกระตุ้นให้ผู้กระทำผิดตระหนักถึงความรับผิดชอบ และมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคมมากยิ่งขึ้น เกิดความภาคภูมิใจว่ายังมีคุณค่าและสังคมยอมรับว่าผู้กระทำผิดมีความสำนึกตัวและยังทำคุณประโยชน์ต่อสังคมผู้กระทำผิดได้พัฒนาตนเองในด้านความรู้ ทักษะ ความสนใจ ความมีวินัย ตลอดจนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ - เพื่อให้ผู้กระทำผิด ได้ชดเชยความเสียหายที่ก่อขึ้นด้วยการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม -เป็นการนำมาตรการทางเลือกอื่นมาใช้แทนวิธีการลงโทษ จำคุก หรือโทษปรับโดยการจำกัดเสรีภาพ จำกัดเวลาพักผ่อนส่วนตัว และให้ทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งถือเป็นวิธีตอบแทนการละเมิดกฎหมายวิธีหนึ่ง

  15. ผู้ต้องหา/ผู้ถูกกล่าวหาผู้ต้องหา/ผู้ถูกกล่าวหา ตำรวจ อัยการ ศาล พิพากษา จำคุก จำคุก รอการลงโทษ คุมความประพฤติ กระบวนการยุติธรรม

  16. เงื่อนไข/ระยะเวลาของการคุมความประพฤติเงื่อนไข/ระยะเวลาของการคุมความประพฤติ ขึ้นอยู่กับคำสั่งของศาล

  17. หัวข้อวิจัย:สถิติผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหัวข้อวิจัย:สถิติผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550-2555 และแนวโน้มในปี พ.ศ.2556

  18. สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้คนในจังหวัดนราธิวาสเข้าไปเกี่ยวกับยาเสพติดสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้คนในจังหวัดนราธิวาสเข้าไปเกี่ยวกับยาเสพติด -การละเลยต่อหลักการศาสนา -สภาพปัญหาทางเศรษฐกิจ -สภาพปัญหาเกี่ยวกับการศึกษา -สภาพความเป็นชายแดน -อื่นๆ

  19. แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ครอบครัว -การอบรมสั่งสอน -การปลูกจิตสำนึก -การให้กำลังใจและเป็นที่ปรึกษา ชุมชน -การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี -ช่วยกันดูแลสอดส่อง

  20. จำนวนผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯในปี พ.ศ.2556? ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯในปี พ.ศ.2556จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น -สภาพปัญหาเดิมๆที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ -นโยบายของรัฐในการปราบปรามยาเสพติด

  21. ภาคผนวก การสอบประวัติผู้ถูกคุมความประพฤติในงานสืบเสาะ

  22. งานบริการสังคมของผู้ถูกคุมความประพฤติงานบริการสังคมของผู้ถูกคุมความประพฤติ

  23. การรับรายงานตัวสัญจร

  24. ค่ายภูมิปุตรา[งานกิจกรรม]ค่ายภูมิปุตรา[งานกิจกรรม]

  25. กิจกรรมปฐมนิเทศผู้ถูกคุมความประพฤติกิจกรรมปฐมนิเทศผู้ถูกคุมความประพฤติ

  26. พี่ๆเจ้าหน้าที่สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนราธิวาสพี่ๆเจ้าหน้าที่สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนราธิวาส

  27. ขอขอบคุณ

More Related