1 / 16

วิจัยเชิงคุณภาพ & วิจัยเชิงปริมาณ

วิจัยเชิงคุณภาพ & วิจัยเชิงปริมาณ. ดร. ไพศาล กาญ จนวงศ์. ประเภทงานวิจัยโดยทั่วไป. การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นที่จะได้ข้อมูลที่อยู่ในลักษณะของตัวเลข และต้องใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล

virote
Download Presentation

วิจัยเชิงคุณภาพ & วิจัยเชิงปริมาณ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิจัยเชิงคุณภาพ & วิจัยเชิงปริมาณ ดร. ไพศาล กาญจนวงศ์

  2. ประเภทงานวิจัยโดยทั่วไปประเภทงานวิจัยโดยทั่วไป • การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นที่จะได้ข้อมูลที่อยู่ในลักษณะของตัวเลข และต้องใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล • การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการวิจัยที่ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเชิงคุณลักษณะ ไม่สามารถกระทำในรูปปริมาณได้ เก็บข้อมูลได้หลายวิธี เช่นสังเกต สัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น สรุปอธิบาย

  3. ลักษณะความเป็นจริงทางสังคม วิจัยเชิงคุณภาพ • มีความหมาย • มีความสลับซับซ้อน • มีความเปลี่ยนแปลงไม่อยู่นิ่งในระดับสูง • มีความเกี่ยวพันระหว่างกันและกัน

  4. เป็นการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับสังคมและมนุษย์ในสังคม การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด การให้ความหมายเป็นข้อมูลแบบคนใน เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย

  5. ความหมายของ วิจัยคุณภาพ • การวิจัยเชิงคุณภาพ หมายถึง “การแสวงหาความรู้โดยการพิจารณาปรากฏการณ์สังคมจากสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริงในทุกมิติ เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์กับสภาพแวดล้อมนั้น วิธีการนี้จะสนใจข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด ความหมาย ค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคลนอกเหนือไปจากข้อมูลเชิงปริมาณ มักใช้เวลานานในการศึกษาติดตามระยะยาว ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการวิธีการหลักในการเก็บเกี่ยวรวบรวมข้อมูล และเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย” สุภางค์ จันทวานิช (2551: 7,13)

  6. ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพ • เน้นการมองปรากฏการณ์ให้เห็นภาพรวม โดยการมองจากหลายแง่มุม จึงมักศึกษาตัวแปรจำนวนมาก และเป็นสหวิทยากร • เป็นการศึกษาติดตามระยะยาวและเจาะลึก เพื่อให้เห็นสภาพการเปลี่ยนแปลงในระยะต่างๆ หรือเป็นการเจาะลึกเฉพาะกรณี หรือเฉพาะบุคคลเพื่อให้เข้าใจได้อย่างลึกซึ้งและหลายแง่มุม • ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เพื่อให้เข้าใจความหมายของปรากฏการณ์ จึงมักจะวิจัยในสนาม (Field research)

  7. ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพ • คำนึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกวิจัย นักวิจัยจะเข้าไปสัมผัสกับผู้ถูกวิจัยมากกว่าจะใช้เครื่องมือเป็นสื่อกลางจะต้องสร้างความสนิทสนมและความไว้ใจเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการให้ข้อมูล • ใช้การพรรณนาและการวิเคราะห์แบบอุปนัย เพราะข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพเช่น ลักษณะของภูมิศาสตร์ การทำมาหากิน เป็นต้น ดังนั้นในการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (induction) คือการนำข้อมูลเชิงรูปธรรมย่อยๆ มาสรุปเป็นข้อมูลเชิงนามธรรม

  8. ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพ • เน้นปัจจัยหรือตัวแปรด้านความรู้สึกนึกคิด จิตใจ ความหมายที่มนุษย์สร้างขึ้น เพราะเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้อยู่เบื้องหลังการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ออกมา และนักวิจัยจะต้องเข้าใจจึงจะอธิบายได้

  9. ลักษณะข้อมูล

  10. วัตถุประสงค์

  11. การเก็บข้อมูล

  12. การวิเคราะห์ข้อมูล

  13. การรวบรวมข้อมูล • การสัมภาษณ์เป็นวิธีวิธีการค้นคว้าที่ใช้ศึกษาข้อมูลในเชิงลึก เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ถาม และผู้ตอบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อได้คำตอบที่ต้องการ ในการสัมภาษณ์ผู้ถามสามารถเห็นพฤติกรรมของผู้ตอบ และผู้ถามสามารถอธิบายขยายความเพิ่มเติมได้ การสัมภาษณ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ • การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างมีลักษณะคล้ายแบบสอบถาม และ • การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง มักใช้คู่กับการสังเกต จะมีความแตกต่างกัน

  14. การวิเคราะห์ข้อมูล • คือการวิเคราะห์เนื้อหาหมายถึงเทคนิคที่จะพยายามบรรยายเนื้อหาของข้อความที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลเช่น จากเอกสาร จากการสัมภาษณ์ โดยไม่มีอคติ ไม่ใช้ความรู้สึกของผู้วิจัยอาจจะวิเคราะห์เนื้อหาได้ 3 ลักษณะคือ มีความเป็นระบบ มีความเป็นสภาพวัตถุนิสัย และอิงกรอบแนวคิดทฤษฏี

  15. ขั้นตอนในการวิเคราะห์เนื้อหาขั้นตอนในการวิเคราะห์เนื้อหา • ผู้วิจัยต้องตั้ง กฎเกณฑ์ ขึ้นสำหรับการคัดเลือกเอกสาร หรือข้อมูลที่ได้รวบรวมมา และหัวข้อที่จะทำการวิเคราะห์ จะได้มีเกณฑ์และระเบียบเดียวกันในการคัดเลือก • ผู้วิจัยต้อง วางเค้าโครงของข้อมูล โดยการทำรายชื่อคำหรือข้อความในเอกสารที่จะถูกนำมาวิเคราะห์แล้วแบ่งไว้เป็นประเภท ทำให้ผู้วิจัยสามารถตัดสินใจได้ว่าจะดึงคำหรือข้อความใดออกมาจากเอกสารหรือตัวบท (text) • ผู้วิจัยต้องคำนึงถึง บริบท หรือสภาพแวดล้อมของข้อมูลเอกสารที่นำมาวิเคราะห์ด้วย เพื่อเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลจะสามารถอ้างอิงโยงเข้ากับบริบท กรอบแนวคิด ทฤษฏี จะทำให้งานวิจัยมีคุณค่า • การวิเคราะห์เนื้อหาจะกระทำกับเนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในเอกสารข้อมูล

  16. กรณีตัวอย่าง

More Related