1 / 56

โดย รศ.ดร.อัญชลีพร วาริทสวัสดิ์ หล่อทองคำ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.

ข้อมูลทุนวิจัย. โดย รศ.ดร.อัญชลีพร วาริทสวัสดิ์ หล่อทองคำ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายอุตสาหกรรม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). ฝ่าย 1 นโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ ฝ่าย 2 เกษตร ฝ่าย 3 สวัสดิภาพสาธารณะ ฝ่าย 4 ชุมชนและสังคม

Download Presentation

โดย รศ.ดร.อัญชลีพร วาริทสวัสดิ์ หล่อทองคำ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ข้อมูลทุนวิจัย โดย รศ.ดร.อัญชลีพร วาริทสวัสดิ์ หล่อทองคำ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายอุตสาหกรรม

  2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) • ฝ่าย 1 นโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ • ฝ่าย 2 เกษตร • ฝ่าย 3 สวัสดิภาพสาธารณะ • ฝ่าย 4 ชุมชนและสังคม • ฝ่าย 5 อุตสาหกรรม เช่น โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (www.trfsme.org) ทุน IRPUS ทุน TRF-MAG • อุตสาหกรรมท้องถิ่น • งานวิจัยเชิงวิชาการ • โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.)ทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.)

  3. ทุนพัฒนานักวิจัยของสกว.ทุนพัฒนานักวิจัยของสกว. http://www.trf.or.th/fund/ • ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ต.ค.- พ.ย. • ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ พ.ย.-ธ.ค. • ทุนเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยของอาจารย์รุ่นกลาง พ.ย.-ธ.ค. • ทุนพัฒนานักวิจัย (เมธีวิจัย สกว.) พ.ย.-ธ.ค. • ทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนา (วุฒิเมธีวิจัย สกว.) พ.ย.-ธ.ค. • ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส)

  4. ตัวอย่างแหล่งทุน • ทุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) http://www.nrct.net • ทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (5 ฝ่าย) http://www.trf.or.th เช่น • - ทุนสนับสนุนงานวิจัยสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี (IRPUS) • http://www. irpus.org • - ทุนวิจัยมหาบัณฑิต สกว. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • http://www.trfmag.org • - ทุน สกว.-บริษัท ปูนซีเมนต์ นครหลวง จำกัด (มหาชน): ทุนวิจัยสาขา • วิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อมhttp://www.trfmag.org • - ทุนจากโครงการวิจัยแห่งชาติ : ยางพารา • 3. ทุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา www.mua.go.th

  5. ตัวอย่างแหล่งทุน (ต่อ) • 4. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) http//:www.onesqa.or.th • 5. ทุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ www.nstda.or.th • (5 national research centers) เช่น • - โครงการ ITAP ภายใต้ MTEC www.nstda.or.th/itap • - โครงการทุน TGIST • 6. โครงการลงทุนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียกเว้นภาษีรายได้ 200%: มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี กรมสรรพากร www.rd.go.th • 7. ทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)www.thaihealth.or.th

  6. ตัวอย่างแหล่งทุน (ต่อ) • 8. ทุนจากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) www.kmi.or.th • 9. ทุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) www.nia.or.th • 10. ทุนจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว) http://www.tistr.or.th • 11. ทุนจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน www.eppo.go.th • 12. ทุนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย htpp://www.fti.or.th • 13. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)http://www.arda.or.th • 14. New Energy and Industrial Technology Development Organization (NEDO) International Projects เช่น โครงการด้าน Efficient Use of Energy โทร. 02-256-6726

  7. สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ระหว่างปี 2551-2553 ของวช. ให้ความสำคัญในการวิเคราะห์ข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐโดย 1. มุ่งสะท้อนและตอบสนองความต้องการของพื้นที่ 2. มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับ - ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ - นโยบายรัฐบาลที่อยู่บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) - ยุทธศาสตร์การวิจัยระดับภูมิภาค - ปัญหาและสถานการณ์ของประเทศ http://www.nrct.net/index.php

  8. ตัวอย่างข้อเสนอการวิจัยปี 2550สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 1. ด้านการศึกษาวิจัยปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2. แผนพลังงานทดแทน 3. โครงการวิจัยสานเกลียวคู่นวัตกรรมด้านพลาสติกชีวภาพ 4. ด้านการพยากรณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำ 5. ด้านมลพิษทางอากาศของประเทศภายใต้ปรากฏการณ์โลกร้อน 6. ด้านเศรษฐกิจพอเพียง 7. ด้านการพัฒนาสังคมไทยสู่สังคมการเรียนรู้และแก้ปัญหาทางเพศและยาเสพติด 8. ด้านการศึกษาปัญหาทางสาธารณสุขที่ได้รับการจัดลำดับความสำคัญสูงสุดระดับประเทศ

  9. ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551-2553) ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 1 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 2 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาสังคม ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 3 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางวิทยาการและทรัพยากรบุคคล ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 4 การเสริมสร้างและพัฒนาทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 5 การบริหารจัดการความรู้ ผลงานวิจัยทรัพยากรและภูมิปัญญาของประเทศสู่การใช้ประโยชน์ด้วยยุทธวิธีที่เหมาะสม

  10. เรื่องที่ควรวิจัยเร่งด่วนจากยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ 1. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง 2. ความมั่นคงของรัฐและการเสริมสร้างธรรมาภิบาล 3. การปฏิรูปการศึกษา 4. การจัดการน้ำ 5. การพัฒนาพลังงานทดแทน 6. การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกและลดการนำเข้า 7. การป้องกันโรคและการรักษา 8. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ 9. เทคโนโลยีใหม่และเทคโนโลยีที่สำคัญเพื่ออุตสาหกรรม 10. การบริหารจัดการการท่องเที่ยว

  11. งบประมาณที่คาดว่าจะใช้ตามนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติงบประมาณที่คาดว่าจะใช้ตามนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ

  12. โครงการทุนสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย (Thailand Graduate Institute of Science and Technology, TGIST) โครงการทุน TGIST ภายใต้สวทช. จากทั้ง 5 ส่วนงาน 1. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) 2. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) 3. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) 4. ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) 5. ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) รับสมัครข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่องานวิทยานิพนธ์ โดยนักวิจัยของ สวทช. เป็นผู้เสนอชื่อโครงการวิจัย อาจารย์ที่มีความร่วมมือ (พร้อมประวัติส่วนตัวและผลงาน) และชื่อนิสิต/นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ ที่มา: http://www.nstda.or.th/tgist

  13. Project Project Project CR/Aids โครงการเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา (R&D) ในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร สกอ. สกอ. กรรมการบริหารโครงการ CONTEXT สำนักประสานและส่งเสริมฯ กลุ่มส่งเสริมการพัฒนาท้องถิ่นฯ&กลุ่มวิจัยฯ หน่วยงานระดับสำนัก หน่วยงานระดับกลุ่ม CMR/UBI/TLO

  14. แผนภูมิ แสดงสัดส่วนงบประมาณการดำเนินงานวิจัยและพัฒนา ปีงบประมาณ 2550 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

  15. กรอบมโนทัศน์ ( Conceptual of CR ) โครงการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ โครงการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสกอ. สถาบันอุดมศึกษา กับภาคอุตสาหกรรม โดยเน้น ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก เน้นการส่งเสริมและสนับสนุน ให้นำองค์ความรู้จากสถาบันอุดมศึกษา มาร่วมวิจัยและพัฒนากับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูง ในการแข่งขันทางการตลาด เพื่อสามารถสร้าง องค์ความรู้ ผลิตภัณฑ์ใหม่ ยกระดับเทคโนโลยี กระบวนการผลิตใหม่ หรือ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิต เป็นต้น นอกจากนั้น โครงการแสดงถึงกลไก ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม

  16. UBI & TLO Model with Commercial Research

  17. ความเป็นมาของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้เริ่มโครงการ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator / UBI) ในช่วงปลายปี พ.ศ.2547 โดยมีเป้าหมายให้ UBI ในสถาบันอุดมศึกษา ทำหน้าที่บ่มเพาะให้เกิด “ บริษัทจัดตั้งใหม่ ”(Start-up Companies) และ “ ผู้ประกอบการใหม่ ” (Entrepreneurs) ที่จะได้รับการดูแลให้มีพัฒนาการเติบโต โดยใช้ข้อได้เปรียบจากสภาพแวดล้อมทางวิชาการ เสริมสร้างความเข้มแข็งและสามารถพัฒนาเป็นบริษัทธุรกิจเต็มรูปในอนาคต (Spin-off) รวมทั้งเป็นช่องทางการนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่สร้างในสถาบันอุดมศึกษาพัฒนาสู่กระบวนการใช้งานเชิงพาณิชย์ สร้างวงจรรายได้ ผลประโยชน์กลับสู่สถาบันอุดมศึกษาและประเทศในระยะยาว

  18. โครงการหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (TLO) องค์ความรู้จากผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์ในสถาบันอุดมศึกษามีส่วนสำคัญต่อการสร้างเสริมศักยภาพเชิงการแข่งขัน โดยเฉพาะการจดทะเบียนสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property / IP) จะพัฒนา การคุ้มครองสิทธิ์ / การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และพัฒนาการบริหาร IP อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ สกอ. สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาจัดตั้งหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (TLO) ในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูล (Information Network) พัฒนาระบบการนำผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม / สิ่งประดิษฐ์ไปสู่การจดทะเบียนสิทธิบัตร และ/หรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ สู่กระบวนการต่อยอดองค์ความรู้ผลงานวิจัยของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

  19. ทุนวิจัยมหาบัณฑิต สกว.สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (TRF Master Research Grants: TRF-MAG) 1. ทุน สกว. - อุตสาหกรรม (MAG Window I) 2. ทุน สกว. ร่วมกับสถาบันการศึกษา (MAG Window II: co-funding) 3. ทุน สกว. ร่วมกับบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) 4. ทุน สกว. จากฝ่าย 5. ทุน สกว. ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ http://www.trfmag.org

  20. ทุน สกว. – อุตสาหกรรม (MAG Window I) โครงการเชื่อมโยงภาคการผลิตกับงานวิจัย 180 ทุน www.trfmag.org

  21. เงื่อนไขทุน MAG Window I 1. โจทย์วิจัยต้องได้จากอุตสาหกรรม (industrial problem oriented) โดยจะต้องปรากฏตัวตนของผู้ประกอบการที่ต้องการความรู้ชัดเจน และแสดงให้เห็นว่าความรู้นั้นสำคัญสำหรับกิจการอุตสาหกรรมนั้น 2. การทำโครงงานหรือวิจัยจะต้องมีส่วนทำที่สถานประกอบการ เพื่อบุคลากรอุตสาหกรรมมีส่วนร่วม หรือบุคลากรของอุตสาหกรรมเป็นผู้ทำวิจัยเอง เช่น เป็นนักศึกษาบัณฑิตศึกษา 3.อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก 1 ท่าน ดูแลได้ ไม่เกิน 2 โครงการ ในระหว่างที่โครงการยังไม่สำเร็จ ทั้งนี้ไม่นับรวมโครงการอื่นภายใต้การสนับสนุนของ สกว.

  22. เงื่อนไขทุน MAG Window I (ต่อ) 4. สกว. จะทำสัญญาการรับทุนกับอาจารย์ที่ปรึกษาของผู้เสนอโครงการ 5. เมื่อสิ้นสุดโครงการจะต้องมีงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการภายใต้ประกาศของโครงการนี้ หรือสิทธิบัตรสำหรับผลงานตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการจะต้องเป็นการนำเสนอแบบปากเปล่า 6. ระยะเวลาการสนับสนุนค่าจ้างนักศึกษาผู้วิจัยไม่เกิน 18 เดือน นับจากวันที่ทำสัญญาการรับทุน ภายในวงเงิน 300,000 บาท 7. เป็นหน้าที่ของผู้รับทุนจะต้องตกลงเรื่องผลประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญากับผู้ร่วมสนับสนุนอื่น สกว. จะไม่เกี่ยวข้อง

  23. เงื่อนไขทุน MAG Window I (ต่อ) 8. สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นตามข้อกำหนดของสถาบันการศึกษานั้นๆ หากไม่มีข้อกำหนดให้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิของสถาบันการศึกษานั้น ในกรณีที่ผลงานที่มีศักยภาพและสามารถพัฒนาต่อยอดได้สกว. มีสิทธิที่จะเข้าเจรจาก่อน (right of first refusal) และถ้า สกว. ให้ทุนสนับสนุนต่อโดยอาจร่วมกับหน่วยงานอื่น แต่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร่วมโครงการเดิม ผลประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาและการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นไปตามเกณฑ์ของ สกว. ตามสัญญาของทุนใหม่นั้น ๆ การรักษาความลับของผลงาน ผลประโยชน์ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี) และกรรมสิทธิ์ในอุปกรณ์ที่จะเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการ ให้เป็นการตกลงร่วมกันก่อนเริ่มโครงการระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ประกอบการที่ร่วมสนับสนุนโครงการ ทั้งนี้ สกว. จะไม่มีส่วนเข้าไปร่วมไกล่เกลี่ยหากมีกรณีพิพาท และหากผู้ร่วมสนับสนุนได้กรรมสิทธิ์ในอุปกรณ์นั้นเมื่อสิ้นสุดโครงการและต้องการปิดผลงานเป็นความลับ ผู้ร่วมสนับสนุนจะต้องจ่ายเงินคืนเฉพาะส่วนค่าวัสดุและค่าใช้สอยที่ใช้ในโครงการให้ สกว.

  24. ทุน สกว. – สถาบันการศึกษา (MAG Window II) Co-funding 100 ทุน www.trfmag.org

  25. เงื่อนไขทุน MAG Window II 1. สนับสนุนงานวิจัยซึ่งอาจมีหน่วยงานอื่นหรือมีภาคอุตสาหกรรมเข้าร่วมโครงการหรือไม่ก็ได้ 2.นักศึกษาลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ผ่านแล้วไม่เกิน 25% ของจำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ทั้งหมด ณ วันยื่นข้อเสนอโครงการ 3.อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก 1 ท่าน ดูแลได้ ไม่เกิน 2 โครงการ ในระหว่างที่โครงการยังไม่สำเร็จ ทั้งนี้ไม่นับรวมโครงการอื่นภายใต้การสนับสนุนของ สกว.

  26. เงื่อนไขทุน MAG Window II(ต่อ) 4. สกว. จะทำสัญญาการรับทุนกับอาจารย์ที่ปรึกษาของผู้เสนอโครงการ 5. เมื่อสิ้นสุดโครงการจะต้องมีงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการภายใต้ประกาศของโครงการนี้ หรือสิทธิบัตรสำหรับผลงานตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการจะต้องเป็นการนำเสนอแบบปากเปล่า 6. ระยะเวลาการสนับสนุนค่าจ้างนักศึกษาผู้วิจัยไม่เกิน 18 เดือน นับจากวันที่ทำสัญญาการรับทุน ภายในวงเงิน 200,000 บาท (สกว. : ต้นสังกัดของผู้ยื่นข้อเสนอโครงการ = 50 : 50) 7. เป็นหน้าที่ของผู้รับทุนจะต้องตกลงเรื่องผลประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญากับผู้ร่วมสนับสนุนอื่น สกว. จะไม่เกี่ยวข้อง

  27. เงื่อนไขทุน MAG Window II(ต่อ) 8. สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นตามข้อกำหนดของสถาบันการศึกษานั้นๆ หากไม่มีข้อกำหนดให้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิของสถาบันการศึกษานั้น ในกรณีที่ผลงานที่มีศักยภาพและสามารถพัฒนาต่อยอดได้สกว. มีสิทธิที่จะเข้าเจรจาก่อน (right of first refusal) และถ้า สกว. ให้ทุนสนับสนุนต่อโดยอาจร่วมกับหน่วยงานอื่น แต่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร่วมโครงการเดิม ผลประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาและการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นไปตามเกณฑ์ของ สกว. ตามสัญญาของทุนใหม่นั้น ๆ กรณีมีผู้ร่วมสนับสนุน การรักษาความลับของผลงาน ผลประโยชน์ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี) และกรรมสิทธิ์ในอุปกรณ์ที่จะเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการ ให้เป็นการตกลงร่วมกันก่อนเริ่มโครงการระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ประกอบการที่ร่วมสนับสนุนโครงการ ทั้งนี้ สกว. จะไม่มีส่วนเข้าไปร่วมไกล่เกลี่ยหากมีกรณีพิพาท และหากผู้ร่วมสนับสนุนได้กรรมสิทธิ์ในอุปกรณ์นั้นเมื่อสิ้นสุดโครงการและต้องการปิดผลงานเป็นความลับ ผู้ร่วมสนับสนุนจะต้องจ่ายเงินคืนเฉพาะส่วนค่าวัสดุและค่าใช้สอยที่ใช้ในโครงการให้ สกว.

  28. สกว. สนับสนุนการเดินทางไปเสนอผลงานในต่างประเทศของนักศึกษาที่ได้รับทุน MAG Window II ตั้งแต่ปี 2548 จำนวน 11ทุน/รุ่นที่รับทุนไม่เกิน 30,000 บาท/โครงการ ตามจ่ายจริง • ต้องได้รับการตอบรับการนำเสนอแบบปากเปล่า • ส่งเรื่องและเอกสารเพื่อขอรับการอนุมัติก่อน • การพิจารณาทุนใช้ระบบ first-come-first-served

  29. ทุนระดับ MAG Window I และ II

  30. ค่าสมนาคุณอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี) จ่ายหลังจากการตีพิมพ์บทความ • ค่าครองชีพนักศึกษา (แบ่งจ่ายเป็นงวด อาจารย์ที่ปรึกษาควรแยกจ่าย ต่อเดือน) • ทุนวิจัยสำหรับค่าวัสดุและค่าใช้สอยไม่เกิน 120,000 บาท ***ต้องเขียนรายละเอียดงบประมาณโดยสังเขป*** งบประมาณระหว่างหมวดค่าวัสดุและหมวดค่าใช้สอยสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณในแต่ละหมวด

  31. ส่วนประกอบข้อเสนอโครงการทุน MAG Window I และ II • บทสรุปย่อผู้บริหารตามแบบฟอร์ม • หนังสือยืนยันจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ (ถ้ามี) ตามแบบฟอร์ม • ส่วนของข้อเสนอโครงการ ประกอบด้วย 3.1 ความเป็นมาและความสำคัญของเรื่อง เช่น • หัวข้อวิจัยโดยสังเขปที่กำหนดโดย สกว. ผู้ประกอบการ และ/หรือสถาบันการศึกษาต้นสังกัด • ความสำคัญและผลกระทบต่อสังคม • การพัฒนาลงสู่ระดับฐานรากของประเทศ • การพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ • หัวข้อที่เกิดประโยชน์เชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ และอาจมีโอกาสเกิด เทคโนโลยี ใหม่/ผลิตภัณฑ์ใหม่/การประยุกต์ใช้งานแบบใหม่ 3.2 วัตถุประสงค์

  32. ส่วนประกอบข้อเสนอโครงการทุน MAG Window I และ II (ต่อ) 3.3 แนวทางการทำวิจัย สกว. ให้ความสำคัญในประเด็นต่างๆ ดังนี้ • ความสำคัญและความจำเป็นของวิธีวิจัยที่นำเสนอซึ่งต้องแสดงความชัดเจนในการตรวจสอบผลงานวิจัยและสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง • วิธีวิจัยที่เสนอเป็นวิธีที่มีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาเพื่อได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ 3.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในเชิงความรู้พื้นฐานและการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น เชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ และพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ 3.5 แผนการทำงาน แสดงเป็น Gantt chart 3.6 งบประมาณ **(แยกหมวดค่าตอบแทน วัสดุ และใช้สอย แสดงรายละเอียดโดยสังเขป) ** 3.7 เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม

  33. ส่วนประกอบข้อเสนอโครงการทุน MAG Window I และ II (ต่อ) 3.8 ภาคผนวก • ประวัติและผลงานของนักศึกษาหลักฐานการผ่านการลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ ไม่เกิน 25% ของจำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ทั้งหมดณ วันยื่นข้อเสนอโครงการ (MAG Window II) และการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์จากสถาบันการศึกษา ต้นสังกัด (ถ้าผ่านการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์แล้ว) • ประวัติและผลงานของอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี) สกว. ให้ ความสำคัญใน3 ประเด็นดังนี้ - อาจารย์อยู่ในสาขาที่สอดคล้องกับหัวข้อวิจัยที่ทำ - อาจารย์มีประสบการณ์ในการปฏิบัติเกี่ยวกับหัวข้อวิจัยลักษณะนี้ - อาจารย์มีผลงานวิชาการเกี่ยวกับหัวข้อวิจัยลักษณะนี้ 3.9 อื่นๆเช่น ผลงานวิจัยที่ได้ในเบื้องต้น (ถ้ามี)

  34. โครงการทุนสกว. – บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม 8 ทุน www.trfmag.org

  35. เงื่อนไขการให้ทุน 1. สาขาที่สนับสนุนได้แก่ สาขาวิศวกรรมโยธา และสาขาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม 2. การทำวิจัยจะต้องทำร่วมกับการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท โดยมีผลผลิตที่ นับได้คือ มหาบัณฑิต และผลงานวิชาการเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการ เป็น ผลผลิตขั้นต่ำ 3. ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิร่วมกันของ สกว. บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) สถาบันการศึกษาต้นสังกัดของอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ร่วม สนับสนุนอื่นที่ผ่านการยินยอมของ สกว. และ บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) (ถ้ามี)

  36. เงื่อนไขการให้ทุน (ต่อ) • ผู้เสนอขอรับทุนต้องเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขา • วิศวกรรมโยธาและสาขาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม • 5. ทุนที่จัดสรรให้มีระยะการทำวิจัยไม่เกิน 18 เดือน มีมูลค่าไม่เกิน 350,000 บาท โดย • แบ่งเป็นทุนการศึกษาจาก บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) แก่นักศึกษา • 100,000 บาท และทุนทำวิจัยจาก สกว. ไม่เกิน 250,000 บาท • 6. นักศึกษาผู้รับทุนต้องนำเสนอความก้าวหน้าของงานวิจัยทุก 6 เดือน • 7. บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ยินดีสนับสนุนการใช้อุปกรณ์และ • ห้องปฏิบัติการของบริษัทเพื่อการวิจัย

  37. ส่วนประกอบของข้อเสนอโครงการทุนสกว. – บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ส่งข้อเสนอโครงการทางไปรษณีย์ 1. หน้าปก แบบ SCCC-TRF1 2. บทสรุปย่อผู้บริหาร แบบ SCCC-TRF2 3. หนังสือยืนยันจากผู้ร่วมสนับสนุนอื่น (ถ้ามี) แบบ SCCC-TRF3 เป็นหน้าที่ของผู้รับทุนที่จะต้องตกลงเรื่องผลประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญากับผู้ร่วม สนับสนุนก่อน ทั้งนี้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยจะไม่มีส่วนเข้าไปร่วมไกล่เกลี่ย หากมีกรณีพิพาท (สกว. และบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ขอสงวนสิทธิ์ ในการพิจารณาผู้ร่วมสนับสนุนอื่น) 4. หนังสือรับรองการรักษาจรรยาบรรณในทรัพย์สินทางปัญญา แบบ SCCC-TRF5

  38. ส่วนประกอบของข้อเสนอโครงการทุนสกว. – บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) (ต่อ) 5. ส่วนของข้อเสนอโครงการ แบบ SCCC-TRF4 ประกอบด้วย 5.1 ความเป็นมาและความสำคัญของเรื่อง (ควรเขียนให้ชัดเจน หากไม่ใช่หัวข้อกำหนด) 5.2 วัตถุประสงค์ 5.3 แนวทางการทำวิจัย สกว. ให้ความสำคัญในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ - ความสำคัญและความจำเป็นของวิธีวิจัยที่นำเสนอ ซึ่งต้องแสดงความชัดเจน ในการตรวจสอบผลงานวิจัยและสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องว่าความรู้นั้นเป็นฐานแก่ การวิจัยนี้อย่างไร - วิธีวิจัยที่นำเสนอเป็นวิธีที่มีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาเพื่อได้ผลลัพธ์ตาม วัตถุประสงค์ และเป็นวิธีที่เหมาะสม

  39. ส่วนประกอบของข้อเสนอโครงการทุนสกว. – บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) (ต่อ) 5.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในเชิงความรู้พื้นฐานและการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ 5.5 แผนการทำงาน แสดงเป็น Gantt chart รายเดือน 5.6 งบประมาณจากบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) 100,000 บาทและจาก สกว. ไม่เกิน 250,000 บาท แยกหมวด ค่าตอบแทน ค่าจ้าง ค่าวัสดุ และค่าใช้สอย ให้ ชัดเจน และต้องระบุรายการโดยสังเขป 5.7 เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม

  40. ส่วนประกอบของข้อเสนอโครงการทุนสกว. – บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) (ต่อ) 5.8 ภาคผนวก - ประวัติและผลงานของนักศึกษา การอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์จาก สถาบันการศึกษา ต้นสังกัด (ถ้าผ่านการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์แล้ว) - ประวัติและผลงานของอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี) สกว. ให้ ความสำคัญใน 3 ประเด็นดังนี้ • อาจารย์อยู่ในสาขาที่สอดคล้องกับหัวข้อวิจัยที่ทำ • อาจารย์มีประสบการณ์ในการปฏิบัติเกี่ยวกับหัวข้อวิจัยลักษณะนี้ • อาจารย์มีผลงานวิชาการเกี่ยวกับหัวข้อวิจัยลักษณะนี้ • อื่นๆ (ถ้ามี)

  41. ทุนสกว. – บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน)

  42. กำหนดเวลากิจกรรมของโครงการทุนสกว.- บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ปี 2551

  43. หัวข้อวิจัยที่กำหนด ปี 2551 • ด้านโยธา 3 โครงการ • ด้านสิ่งแวดล้อม 2 โครงการ • ด้านพลังงาน1โครงการ • ด้านโลจิสติกส์ 2 โครงการ สนับสนุน 8 ทุน

  44. โครงการด้านโยธา (สนับสนุน 3 ทุน) หัวข้อที่กำหนด 5 หัวข้อ 1. วิธีการทำนายผลสมรรถนะของมอร์ต้าร์และคอนกรีต อย่างรวดเร็ว (Rapid Tests for Mortar and Concrete Performances Prediction) 2. Rheology of Cement Paste and Concrete 3. Reactive Powder Concrete 4. Portland Limestone Cement 5. Light Weight Concrete

  45. โครงการด้านสิ่งแวดล้อม (สนับสนุน 2 ทุน) หัวข้อที่กำหนด 8 หัวข้อ 1. Energy Gain Ratio ของการปลูกพืชในพื้นที่ฟื้นฟูของการทำเหมืองปูนซีเมนต์ 2. Life Cycle Analysis ของรถที่ใช้แก๊ส NGV 3. การศึกษาปริมาณโลหะหนัก (As, Cd, Cr, Cu, Pb, Hg, Ni, Sb, V, Zn, Ti,Co, Mn) ที่ชะออกมาจากปูนเม็ดและปูนซีเมนต์ประเภทต่าง ๆ โดย Leachate Test 4. การศึกษาสัดส่วนการแพร่กระจาย สมบัติทางกายภาพและทางเคมีของฝุ่นจากแหล่งกำเนิดต่างๆ 5. การแปรรูปขยะมูลฝอยชุมชนให้เป็นแหล่ง Refuse Derived (RDF) เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงาน ความร้อนในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ 6. การจัดการของเสียจากภาคอุตสาหกรรม 7. การนำกากของเสียอุตสาหกรรมไปใช้เป็นเชื้อเพลิงและวัตถุดิบทดแทนในการผลิตปูนซีเมนต์ 8. การศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้วัตถุดิบที่เหมืองหินปูน ของ SCCC ต่อการพยากรณ์แนวโน้ม ผลกระทบในการปล่อย SOx ที่ปล่องของเตาเผา

  46. โครงการด้านพลังงาน (สนับสนุน 1 ทุน) หัวข้อที่กำหนด 2 หัวข้อ 1. พลังงานทดแทน เช่น จากแกลบ เหง้ามัน และของเสียจาก ผลิตภัณฑ์เกษตรสำหรับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ 2. ขีดความสามารถในการแข่งขันได้ของอุตสาหกรรม ปูนซีเมนต์จากการใช้พลังงานทางเลือก: กรณีศึกษาโรงงาน ปูนซีเมนต์เขตสระบุรี

  47. โครงการด้านโลจิสติกส์ (สนับสนุน 2 ทุน) หัวข้อที่กำหนด 6 หัวข้อ 1. การศึกษาความต้องการสมรรถนะความสามารถด้านวิชาชีพ โลจิสติกส์กับการพัฒนาหลักสูตรโลจิสติกส์ในมหาวิทยาลัย 2. การพัฒนาแผนผังเครือข่ายโซ่อุปทานเชื่อมโยงระหว่างกลุ่ม ลูกค้าเป้าหมาย ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า เส้นทางการจัดส่ง สินค้า คลังสินค้า และแหล่งวัตถุดิบต่างๆ 3. การศึกษางานบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของสินค้า อุปโภคบริโภคที่ได้รับบริจาค เพื่อบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ประสบ ภัยพิบัติ

  48. โครงการด้านโลจิสติกส์ (สนับสนุน 2 ทุน) หัวข้อที่กำหนด 6 หัวข้อ (ต่อ) 4. การกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจัดจ้างหรือเอาต์ซอร์ส ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ 5. การออกแบบจำลองสถานการณ์เพื่อกำหนดเส้นทางจัดส่งสินค้า หลายรูปแบบโดยใช้เส้นทางบกเชื่อมโยงกับการขนส่งทางน้ำให้ได้ ต้นทุนที่ประหยัดที่สุด 6. แนวทางการพัฒนาวิธีการทำงานใหม่ให้กระชับรวดเร็วขึ้นโดยอาศัย แผนภูมิกระบวนการโลจิสติกส์และการบริหารห่วงโซ่คุณค่าสร้าง ความพึงพอใจให้กับลูกค้า

More Related