1 / 24

วิชา ภูมิเศรษฐศาสตร์ รหัสวิชา 2000-1302 สอนโดย อาจารย์ขวัญตา จั่นอิ๊ด โทร 083-989-3239

วิชา ภูมิเศรษฐศาสตร์ รหัสวิชา 2000-1302 สอนโดย อาจารย์ขวัญตา จั่นอิ๊ด โทร 083-989-3239. จุดประสงค์รายวิชา. เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์และภูมิศาสตร์กายภาพ เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กายภาพที่สัมพันธ์กับปัญหาเศรษฐศาสตร์เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจในชุมชน

vondra
Download Presentation

วิชา ภูมิเศรษฐศาสตร์ รหัสวิชา 2000-1302 สอนโดย อาจารย์ขวัญตา จั่นอิ๊ด โทร 083-989-3239

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชา ภูมิเศรษฐศาสตร์รหัสวิชา 2000-1302สอนโดยอาจารย์ขวัญตา จั่นอิ๊ดโทร 083-989-3239

  2. จุดประสงค์รายวิชา • เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์และภูมิศาสตร์กายภาพ • เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กายภาพที่สัมพันธ์กับปัญหาเศรษฐศาสตร์เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจในชุมชน • เพื่อให้มีเจตคติและกิจนิสัยที่ดีในการมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเบื้องต้น

  3. เกณฑ์การประเมินผลรายวิชาเกณฑ์การประเมินผลรายวิชา 1. เวลาเรียน 10 คะแนน 2. ทดสอบย่อย 2 ครั้ง 40 คะแนน 3. งานส่ง 10 คะแนน 4. รายงาน 20 คะแนน 4. ทดสอบปลายภาค 20 คะแนน

  4. แผนการสอน สัปดาห์ที่ 1 บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นฯ สัปดาห์ที่ 2 บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นฯ สัปดาห์ที่ 3 บทที่ 2 ภูมิศาสตร์กายภาพ สัปดาห์ที่ 4 บทที่ 2 ภูมิศาสตร์กายภาพ สัปดาห์ที่ 5 สอบบทที่ 1-2 สัปดาห์ที่ 6 บทที่ 3 ความเข้าใจแผนที่

  5. แผนการสอน (ต่อ) สัปดาห์ที่ 7 บทที่ 3 ความเข้าใจแผนที่ สัปดาห์ที่ 8 สอบบทที่ 3 สัปดาห์ที่ 9 บทที่ 4 ภูมิศาสตร์ประเทศ สัปดาห์ที่ 10 บทที่ 4 ภูมิศาสตร์ประเทศ สัปดาห์ที่ 11 สอบบทที่ 4 สัปดาห์ที่ 12 สอบปลายภาค บทที่ 1- 4

  6. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และ ระบบเศรษฐกิจ

  7. ความหมายของภูมิศาสตร์ความหมายของภูมิศาสตร์ คำว่าภูมิศาสตร์ ( Geography )มาจากภูมิ + ศาสตร์ ภูมิ แปลว่า พื้นดินหรือโลก ส่วน ศาสตร์ แปลว่า วิชาความรู้ ในปัจจุบันนักภูมิศาสตร์ได้ให้คำจำกัดความต่างๆ ดังเช่น ภูมิศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาความแตกต่างของสิ่งต่างๆบนพื้นพิภพ หรือ ภูมิศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสถานที่และการวิเคราะห์เกี่ยวกับความแตกต่างของพื้นที่

  8. เนื้อหาวิชาภูมิศาสตร์จำแนกได้ 2 กลุ่ม 1. ลักษณะทางกายภาพ ถือได้ว่าลักษณะทางกายภาพมีความสำคัญในการกำหนดกิจกรรมของพื้นที่ เป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถบังคับได้ ได้แก่ ก) ลักษณะภูมิประเทศ ข) ลักษณะภูมิอากาศ ค) ทรัพยากรธรรมชาติ

  9. 2. ลักษณะทางวัฒนธรรมเนื้อหาด้านสังคม เช่น ประชากร วัฒนธรรม ประเพณีความเชื่อ และเนื้อหาด้านเศรษฐกิจ เช่น กิจกรรมที่ประกอบเพื่อความอยู่รอดของประชากร ภาพที่1.2 ลักษณะทางวัฒนธรรมใน ภูมิภาคต่างของประเทศไทย

  10. โครงสร้างของวิชาภูมิศาสตร์โครงสร้างของวิชาภูมิศาสตร์ 1. ภูมิศาสตร์ระบบประกอบด้วยเนื้อหาสาระทางด้นสภาพแวดล้อมทางกายภาพและด้านวัฒนธรรม ทั้งสองระบบต่างมีผลต่อกันและแสดงผลให้เห็นในพื้นที่ * ระบบทางกายภาพ เนื้อหาจะประกอบด้วยส่วยย่อย เช่น โครงสร้างทางธรณี ลักษณะทางอากาศ ดิน พืชพรรณ * ระบบวัฒนธรรม เนื้อหาจะประกอบด้วย ประชากร การเกษตร อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ

  11. 2. ภูมิศาสตร์ภูมิภาคคือการศึกษาโดยแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ นักภูมิศาสตร์จะแบ่งพื้นที่ด้วยวิธีการ และวัตถุประสงค์ต่างๆ กันไป • ภูมิศาสตร์ด้านเทคนิคปฏิบัติการไม่ใช่วิชาภูมิศาสตร์โดยตรง เทคนิคเหล่านี้ได้แก่ หลักการทำแผนที่ การศึกษาภาพถ่ายต่างๆ อาทิ ภาพถ่ายทางดาวเทียม ตลอดจนการจัดข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นการนำเทคนิคด้านสถิติและคอมพิวเตอร์มาทำการวิเคราะห์และตีความหมายพื้นที่

  12. ภูมิศาสตร์กายภาพ ภูมิศาสตร์กายภาพ (Physical Geography) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาภูมิศาสตร์ ได้มุ่งเน้นการศึกษาใน 2 องค์ประกอบ คือ 1. ศึกษาสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ได้แก่ การศึกษาลักษณะของภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรการธรรมชาติ โดยอาศัย แผนที่ และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ 2. ศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก

  13. ความหมายของเศรษฐศาสตร์ความหมายของเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิชาสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของประชาชนทุกคน เพราะเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ในการแสวงหาวิธีนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาผลิตเป็นสินค้าและบริการ เพื่อสนองความต้องการที่มีอย่างไม่จำกัดของตนเองให้ได้มากที่สุด

  14. ประเภทวิชาเศรษศาสตร์ 1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค ศึกษาเศรษฐกิจในหน่วยย่อยๆ เฉพาะบุคคลหรือหน่วยธุรกิจหน่วยใดหน่วยหนึ่ง และยังศึกษาพฤติกรรมของตลาดและกลไกด้านการราคา จึงเรียกเศรษฐศาสตร์จุลภาคอีกอย่างว่า “ทฤษฎีด้านราคา “ 2. เศรษฐศาสตร์มหภาค มุ่งศึกษาปัญหาและพฤติกรรมทางเศรษฐกิจระดับรวมหรือระดับประเทศ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นในเรื่องรายได้รวมของประชาชน หรือเรียกวิชานี้ว่า “ทฤษฎีรายได้ประชาชาติ”

  15. ระบบเศรษฐกิจ (Economic System) หมายถึง กลุ่มของหน่วยเศรษฐกิจกลุ่มหนึ่งๆที่ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์เดียวกัน • หน่วยเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ • ผู้บริโภค (Consumers) คือ ผู้ซื้อสินค้าและบริการ • หน่วยธุรกิจ (Business Firms) คือ สถาบันหรือองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมในการนำทรัพยากรต่างๆมาผลิตเป็นสินค้าเพื่อนำไปสนองความต้องการของผู้บริโภค หรือ ผู้ผลิต

  16. 3. เจ้าของปัจจัยการผลิต (Factor Owners) ปัจจัยการผลิตมี 4 อย่าง ได้แก่ ที่ดิน ทุน แรงงาน และผู้ประกอบการ จุดประสงค์ในการดำเนินกิจกรรม คือ ต้องการความพอใจสูงสุดที่จะได้รับผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิตที่ตนมีอยู่ ได้แก่ ค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย กำไร

  17. 4. รัฐบาล (Government) การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ต้องเกี่ยวข้องกับการจัดหารายได้ การใช้จ่าย การเก็บภาษีอากร จึงถือว่ารัฐบาลเป็นหน่วยย่อยที่สำคัญหน่วยหนึ่ง การดำเนินการของรัฐบาลจะกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจในระดับต่างๆ

  18. ระบบเศรษฐกิจ สามารถจำแนกออกเป็น 3 แบบ คือ 1. ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี หรือระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีลักษณะสำคัญดังนี้ * กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วยใหญ่ตกเป็นของเอกชน * เอกชนมีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ * ใช้กลไกราคาในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

  19. 2. ระบบเศรษฐกิจแบบบังคับ (Command Economy)หรือระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มีลักษณะดังนี้ * กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนใหญ่ตกเป็นของรัฐหรือของส่วนร่วม * เอกชนขาดเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรม * ใช้อำนาจในการตัดสินใจส่วนกลางในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

  20. ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เนื่องจากปัจจัยการผลิตพื้นฐานอยู่ในการควบคุมของ รัฐบาลทำให้ขาดความคล่องตัว การผลิตถูกจำกัดเพราะต้องผลิตตามที่รัฐกำหนด โอกาสที่จะขยายการผลิตหรือพัฒนาคุณภาพการผลิตเป็นไปค่อนข้างลำบาก ทำให้การใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

  21. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมผสานระบบทุนนิยมกับระบบแบบสังคมนิยม กล่าวคือ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมทั้งรัฐบาลและเอกชนต่างมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิตมีทั้งส่วนที่เป็นของรัฐบาลและเอกชน

  22. ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ประเทศไทยใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมที่เน้นไปทางทุนนิยม โดยรัฐบาลและเอกชนร่วมกันเป็นเจ้าของสินทรัพย์ คือ รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการด้านสาธารณูปโภค ส่วนเอกชนดำเนินการผลิตในธุรกิจประเภทอื่นๆตามความสามารถอย่างเสรีภายใต้กรอบกฎหมาย โดยมีกลไกเป็นเครื่องนำทาง และสิ่งที่สนับสนุน คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติล้วนเป็นแบบแผนชี้นำในการดำเนินการเพื่อการพัฒนาประเทศ

  23. ความสำคัญของการศึกษาเรื่องภูมิเศรษฐศาสตร์ มีความสำคัญดังนี้ 1. ทำให้เข้าใจสภาพแวดล้อมตามธรรทชาติของประเทศไทย ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ และประชากร โดยอาศัยแผนที่ 2. ทำให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของประเทศ 3. ทำให้เข้าใจเศรษฐกิจของแต่ละภาคเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาถึงปัญหาของเศรษฐกิจระดับประเทศ 4. เห็นวิธีนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดใช้ให้เกิดประโยชน์

  24. แบบฝึกหัดทบทวน บทที่ 1 1. ภูมิศาสตร์ หมายถึงอะไร 2. ภูมิศาสตร์กายภาพ หมายถึงอะไร • ประเพณีการวิ่งควาย ของจังหวัดชลบุรี เป็นลักษณะของภูมิศาสตร์กลุ่มใด • การจัดทำแผนที่จัดเป็นภูมิศาสตร์ประเภทใด • ปัญหาราคายางพารา จัดเป็นเศรษฐศาสตร์ประเภทใด • การขาดดุลการค้า จัดเป็นเศรษฐศาสตร์ประเภทใด • ปัจจัยในการผลิตประกอบด้วยอะไรบ้าง • หน่วยเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจประกอบด้วยอะไรบ้าง • หน่วยธุรกิจเรียกอีกอย่างว่าอะไร • ระบบเศรษฐกิจแบบใดที่กลไกราคามีโอกาสนำไปใช้น้อยที่สุด

More Related