1 / 97

ปัญหาการศึกษาไทย

Saruthipong Bhuwatvaranon 5120130105. ปัญหาการศึกษาไทย. Doctoral Program in Education Leadership and Innovation. ปัญหาการศึกษาไทย สู่ … หัวใจวิทยานิพนธ์. B H U W A T V A R A N O N. S A R U T H I P O N G. L E A D E R S H I P A N D I N N O V A T I O N. 1. 2. 3.

vui
Download Presentation

ปัญหาการศึกษาไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Saruthipong Bhuwatvaranon 5120130105 ปัญหาการศึกษาไทย Doctoral Program in Education Leadership and Innovation

  2. ปัญหาการศึกษาไทย สู่…หัวใจวิทยานิพนธ์ BHUWATVARANON SARUTHIPONG LEADERSHIPANDINNOVATION LOGO

  3. 1 2 3 การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย มองภาพรวมภาวะผู้นำกับการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่ ...หัวใจวิทยานิพนธ์ 1 มองภาพรวมภาวะผู้นำกับการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่ ...หัวใจวิทยานิพนธ์ 2 การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ ภาคผนวก LOGO

  4. 1. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย 1.1พรบ.การศึกษาคือกฎหมายแม่บทในการจัดการศึกษา 1.2 คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา กับการปฏิรูปการศึกษา 1.3 จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดศธ. กับการปฏิรูปการศึกษา 1.4 วิทยากร เชียงกูล กับปัญหาคอขวดของการปฏิรูปการศึกษา 1.5 ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย การโอนภารกิจการศึกษาไปอปท. 1.6 คูปองการศึกษา 1.7 ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการศึกษา 5 ประการ 1.8 วิจิตร ศรีสอ้าน ชี้สังคมไทยขาดภาวะผู้นำทางการศึกษา 1.9 วิทยากร เชียงกูล ภาวะผู้นำกับการปฏิรูปการศึกษา 1.10 วิจิตร ศรีสอ้าน การพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง LOGO

  5. 2. มองภาพรวมภาวะผู้นำกับการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่ ...หัวใจวิทยานิพนธ์ 1 2.1John C. Maxwell กับภาวะผู้นำ 2.2 วิจิตร ศรีสอ้าน กับการปฏิรูปการศึกษา 2.3 ดร.อำรุง จันทวานิช กับภาวะผู้นำ 2.4 ศ.กิติคุณไพฑูรย์ สินลารัตน์ ภาวะผู้นำใหม่ : ผู้นำเชิงวิเคราะห์ 2.5 วิเคราะห์ผู้นำเชิงวิเคราะห์ โดยศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์ 2.6 ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย การเมืองกับการศึกษา 2.7 การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ โดยศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์ LOGO

  6. 3. มองภาพรวมภาวะผู้นำกับการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่ ...หัวใจวิทยานิพนธ์ 2 3.1 การนำเสนอการศึกษาแนวโน้มภาวะผู้นำในอนาคต โดยศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์ 3.2 ภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้ 3.3 มองภาพรวมภาวะผู้นำกับกฎหมายการศึกษาไทย 3.4 ภาวะผู้นำในพระราชบัญญัติการศึกษา 2542 3.5 กฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรื่องภาวะผู้นำ 3.6 แผนภาพแสดงตัวอย่างการวิเคราะห์เอกสาร เรื่องภาวะผู้นำกับกฎหมายการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ 3.7 สรุปภาพรวม ปัญหา ภาวะผู้นำ และกฎหมายการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ LOGO

  7. 4. ภาคผนวก 4.1 รายงานสภาวะการศึกษาไทยปี 2549/2550 4.2 ข้อเสนอยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษา 4.2 การพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4.4 ภาระงานและการใช้เวลาของครู อาจารย์และนักเรียน LOGO

  8. ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย BHUWATVARANON SARUTHIPONG LEADERSHIPANDINNOVATION LOGO

  9. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ปลูกจิตสำนึกให้รู้จักคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนช่วยให้สามารถพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นประเทศใดที่ประกอบด้วยกำลังคนที่มีการศึกษาสูง ประชาชนย่อมมีสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์มากเป็นเงาตามตัว แต่สภาพปัจจุบันคุณภาพการศึกษาไทยมีมาตรฐานค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของอีกหลายประเทศในระดับเดียวกัน LOGO

  10. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การแก้ปัญหาดังกล่าวจึงต้องมีการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่เป็นการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบและรอบด้าน สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ประเทศชาติสู่ยุคโลกาภิวัตน์ โดยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายแม่บทในการจัดการศึกษาของชาติมีทิศทางที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐาน (รุ่ง แก้วแดง, 2543 : 45) LOGO

  11. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย หลังจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ๆ ทางการศึกษา นับแต่แนวคิดการจัดการศึกษา เนื้อหาสาระของหลักสูตรการเรียนการสอน ระบบการประเมินผลผู้เรียน ระบบการบริหารงานบุคคล ระบบการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา โครงสร้างการบริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา ระบบประกันคุณภาพการศึกษา และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมุ่งไปที่เป้าหมายเดียวกัน คือคุณภาพการศึกษาซึ่งหมายถึงภาพรวมของผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนทั้งในด้านความรู้ ความสามารถ และคุณธรรมจริยธรรม ตามที่ผู้เรียนแต่ละระดับพึงมีพึงเป็น แต่ในช่วงเวลา 9 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีข้อสงสัยหลายประการว่าความพยายามให้มีการปฏิรูปนั้นได้ผลดีตามที่ต้องการหรือไม่ LOGO

  12. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ซึ่งสอดคล้องกับกรณีคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณี ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอให้มีการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 และให้สภาการศึกษา(สกศ.) เป็นเจ้าภาพระดมความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องว่าการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาเกือบ 10 ปีแล้ว ได้ผลหรือล้มเหลว ว่า... LOGO

  13. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย “ ข้อเสนอให้มีการระดมความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องว่าการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาเกือบ 10 ปี ได้ผลหรือไม่นั้น ตนเห็นด้วยกับข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 โดยเฉพาะที่อยากให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่ใช้มานานกว่า 10 ปี ประเด็นที่ตนคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่และน่าจะมีปัญหามากคือ โครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการโดยในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เสนอแนวทางไปเบื้องต้นแล้ว นอกจากนั้นคิดว่าจะมีหลายประเด็นที่ควรต้องปรับปรุงไปพร้อมกัน กฎหมายถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลักดันให้งานพัฒนาเดินหน้าไป ซึ่งในช่วงปี 2542 ที่ได้มีการปฏิรูปการศึกษาและปรับโครงสร้าง ศธ.นั้น เป็นการพิจารณาโดยที่โครงสร้างจริงยังไม่เกิดขึ้น แต่ขณะนี้เมื่อมีหลายอย่างเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นก็ควรนำประสบการณ์ที่เกิดขึ้นไปช่วยกันในการพิจารณาปฏิรูปการศึกษาครั้งใหม่” (ข่าวสด ฉบับที่ 6439 หน้าที่ 28 ประจำวันที่ 16 กรกฎาคม 2551) LOGO

  14. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนได้รวบรวมผลงานที่ได้ดำเนินงานไว้ในช่วงที่อยู่ในตำแหน่งปลัด ศธ. จัดพิมพ์เป็นหนังสือเรื่อง 10 ผลงานชิ้นโบแดง แจกจ่ายให้กับข้าราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนจะลาออกจากตำแหน่งปลัด ศธ.ในวันที่ 9 กันยายนนี้ ทั้งนี้ตนได้หารือและฝากงานให้กับนายชินภัทร ภูมิรัตน ว่าที่ปลัด กระทรวงศึกษาธิการแล้ว โดยเฉพาะงานหลัก ๆ ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(สป.) ได้แก่ LOGO

  15. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.) ได้ฝากประเด็นการแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) มีประเด็นการใช้เกณฑ์ใหม่ในการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เรื่องการสนับสนุนและสร้างให้เกิดเครือข่าย กศน.ทั่วประเทศ ส่วนงานด้านต่างประเทศ ต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับบทบาทของประเทศไทยในเวทีนานาชาติ อาทิ ยูเนสโก เป็นต้น LOGO

  16. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย “จากการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของยูเนสโกรอบ 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าการศึกษาไทยอยู่ในอันดับที่ 60 จาก 190 กว่าประเทศ และได้ฝากให้ไทยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาให้เด็กตกหล่น เด็กชายขอบ ให้มากขึ้น ทั้งจากผลการประเมิน ไม่ว่าจะเป็นแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน(โอเน็ต) แบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง(เอเน็ต) พบว่าผลสัมฤทธิ์ของเด็กไทยเกือบทุกวิชามีคะแนนอยู่ในระดับต่ำ คิดว่าวันนี้น่าจะถึงเวลาปฏิรูปการศึกษาอีกครั้ง” (ข่าวสด ฉบับที่ 6482 หน้าที่ 28 ประจำวันที่ 28 สิงหาคม 2551) LOGO

  17. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย กรณี คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ กล่าวถึงการแก้ไข พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่ใช้มานานกว่า 10 ปี ซึ่งประเด็นที่ท่านคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่และน่าจะมีปัญหามากคือโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ สอดคล้องกับ วิทยากร เชียงกูล (2550 : 130) ที่กล่าวถึงทางออกจากปัญหาคอขวดของการปฏิรูปการศึกษาคือการลดขนาดและบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการลงด้วยการส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษาโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน เป็นสัดส่วนที่สูงขึ้นแทน P.2-3 LOGO

  18. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาชนิดให้เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรประชาชนแบบอื่น จัดการศึกษาได้เป็นสัดส่วนสูงขึ้น จะส่งเสริมให้มีการแข่งขันของสถานศึกษา และทำให้การปฏิรูปการบริหารจัดการศึกษาและกระบวนการเรียนเป็นไปได้เร็วขึ้น ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย (2545 : 15) ได้แสดงความเห็นในเรื่องการถ่ายโอนภารกิจการจัดการศึกษามาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่า P.3 LOGO

  19. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย “ผมเชื่อว่า สุดท้ายกระทรวงศึกษาธิการจะค่อย ๆ ถ่ายโอนภารกิจในการจัดการศึกษามาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาเรื่อย ๆ เพราะดูจากแนวโน้มของประเทศต่าง ๆ ในโลก มีอยู่ 4 แนวโน้ม คือรัฐบาลกลางจะเผด็จการน้อยลง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีความสำคัญมากขึ้นในการจัดการศึกษาของไทย บริษัทเอกชนจะกลายเป็นบริษัทมหาชนมากขึ้น ในการบริหารมีการยึดหลักธรรมาภิบาลมากขึ้นและสุดท้ายไม่ว่าหน่วยงานใดในประเทศใดก็ตาม ทั้งระดับบนและระดับล่าง จะต้องสร้างองค์กรของตัวเองเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา”P.3 LOGO

  20. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย การที่จะทำให้เกิดสิ่งนี้ได้ ควรเปลี่ยนจากการที่รัฐเคยจัดสรรงบประมาณไปให้ที่สถาบันการศึกษาของรัฐโดยตรงทั้งหมด มาเป็นจัดสรรบางส่วนอุดหนุนผู้เรียนโดนตรง โดยจ่ายเป็น“คูปองการศึกษา”ให้ผู้เรียนไปเลือกจ่ายให้สถานศึกษาแทน และควรมีคณะกรรมการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณเพื่อการศึกษา ที่จะดูแลภาพรวมทั้งหมด เพื่อให้มีการวางแผนที่กระจายการลงทุนทางการศึกษาแก่ท้องถิ่นต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม P.3 LOGO

  21. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ในการกำหนดทิศทางและนโยบายการจัดการศึกษาไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำฐานข้อมูล โดยวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการจัดการศึกษา และปัจจัยภายนอกที่สำคัญมีผลต่อการจัดการศึกษาไทย 5 ประการ ได้แก่ (การศึกษาวันนี้ ประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2550)P.3 LOGO

  22. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย 1. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีผลต่อการกำหนดคุณสมบัติและคุณภาพของแรงงานในอนาคต เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการขนส่ง เทคโนโลยีการผลิต นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ ฯลฯ มีความก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงต้องมีการเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในหลักสูตรการเรียนการสอน และปรับปรุงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี P.4 LOGO

  23. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย 2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีผลต่อตลาดแรงงานและตลาดการศึกษา เนื่องจากการกำหนดลักษณะของแรงงานที่ต้องการ อาทิ เศรษฐกิจใหม่ จะแข่งขันกันด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนา ดังนั้น การศึกษาต้องพัฒนาคนให้มีทักษะการทำวิจัย ให้สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ที่มีคุณค่าต่อระบบเศรษฐกิจ การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า และเงินลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ประเทศต่าง ๆ ไม่เพียงแต่ต้องลดการกีดกันการแข่งขันเท่านั้น ยังต้องแข่งขันกันด้วยสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งต้องอาศัยแรงงานที่มีฝีมือ มีทักษะความสามารถที่หลากหลาย เช่น ความรู้ด้านเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ การบริหาร ฯลฯ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษาที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพ P.4 LOGO

  24. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย 3. ปัจจัยด้านระบบราชการ การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาเคลื่อนไปอย่างยากลำบาก เนื่องด้วยระบบราชการเป็นอุปสรรค ซึ่งเกิดจาก ความล่าช้าในการประสานงาน เนื่องจากการทำงานตามระบบราชการไทย มักทำงานแบบต่างคนต่างทำไม่ไปในทิศเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะของการรวมศูนย์ที่ส่วนกลางมากเกินไป การทำงานแบบราชการ ที่ยึดกฎระเบียบตายตัว ขาดความยืดหยุ่น และเอื้อต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษาและครูบางส่วนที่ไม่ยอมปรับตัวP.4 LOGO

  25. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย 4. ปัจจัยด้านการเมือง กล่าวกันว่า การปฏิรูปหรือพัฒนาการจัดการศึกษาจะสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับการเมืองมากกว่าแนวทางและวิธีการ แต่หากการเมืองไทยมีเงื่อนไขบางประการที่เป็นอุปสรรค จะส่งผลให้การปฏิรูปการศึกษาไทยไม่ก้าวหน้าหรือประสบความสำเร็จเท่าที่ควร อาทิ การปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) บ่อยครั้งทำให้การดำเนินนโยบายการพัฒนาการศึกษาไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะรัฐบาลทักษิณ มีการเปลี่ยนรัฐมนตรี ศธ. บ่อยมาก คนละ 9 เดือนโดยเฉลี่ย รวมถึงรัฐบาลปัจจุบันที่มีมีการเปลี่ยนทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการภายในระยะเวลาประมาณ 7 เดือน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุผลทางการเมืองP.4 LOGO

  26. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย การเมือง นักการเมืองมอง ศธ.ว่า เป็นกระทรวงที่สร้างผลงานได้ยาก ตำแหน่ง รมว. ศธ. จึงนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง อาทิ เป็นรางวัลแก่ผู้สนับสนุนพรรค ผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งจึงมิใช่ผู้มีความรู้ในด้านการศึกษาอย่างแท้จริง ความไม่สอดคล้องของเป้าหมายของการจัดการศึกษากับเป้าหมายทางการเมืองเป้าหมายของนักการเมืองหลายคนคือ ต้องการคะแนนนิยม จึงมีนักการเมืองจำนวนไม่น้อยที่ไม่ดำเนินนโยบายที่ให้ผลในระยะยาว เนื่องจากเสี่ยงที่จะทำให้ตนเองไม่เป็นที่นิยมทางการเมือง ซึ่งนั่นหมายความรวมถึงนโยบายการศึกษา ดังนั้นนักการเมืองจึงเลือกดำเนินนโยบายที่เห็นผลในระยะสั้น เพื่อทำให้ตนเองได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีกครั้ง อันเป็นอุปสรรคยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาไทย P.5 LOGO

  27. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ด้วยเหตุผลดังกล่าว ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย (2545 : 15) ได้แสดงความเห็นในเรื่องการเมืองกับการศึกษาไว้ว่า “ประเทศอื่นเขาเจริญบ้างไม่เจริญบ้าง เขาจะเอาทุกเรื่องมาเป็นการเมืองได้หมด ยกเว้นเรื่องการศึกษา เขาจะไม่เอาการศึกษามาเป็นเรื่องการเมือง จะไม่เอาการศึกษามาเป็นฐานเสียง จะไม่เอาการศึกษามาเป็นฐานคอรัปชั่น เพราะเขารู้ว่า การศึกษาสำคัญเกินกว่าที่จะเอามาเป็นเรื่องการเมือง เพราะฉะนั้นคนที่ส่งมาเป็นกรรมการสถานศึกษา ไม่ควรเลือกคนที่ฝักใฝ่การเมืองเลย เขาจะได้ทำงานให้โรงเรียนอย่างใจที่เป็นอิสระ เป็นกลาง ผมขอร้องตรงนี้ อย่าเอาเรื่องการศึกษา ซึ่งเป็นอนาคตของประเทศมาเล่นการเมืองเลย” LOGO

  28. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย 5. ปัจจัยด้านวัฒนธรรม สังคมไทยมีเงื่อนไขทางวัฒนธรรมหลายประการ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาไทย ดังนี้ 5.1) ขาดวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม สังคมไทยในปัจจุบันขาดความเหนียวแน่น ขาดความร่วมแรงร่วมใจ คนในสังคมจึงมองการศึกษาว่าเป็นเรื่องของรัฐบาลไม่เกี่ยวกับตนเอง 5.2) รักความสนุกและความสบาย คนไทยส่วนใหญ่สนใจความบันเทิงมากกว่าการแสวงหาความรู้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาP.5 LOGO

  29. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย 5.3) สังคมอุปถัมภ์ สังคมไทยยังมีลักษณะสังคมอุปถัมภ์ เห็นแก่พวกพ้องมากกว่าส่วนร่วม ผู้ที่มีอำนาจมักแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง โดยที่ประชาชนไม่กล้าขัดขวาง เพราะต้องพึ่งพาอาศัย ดังนั้น เมื่อมีการกระจายอำนาจทางการศึกษา อาจกลายเป็นแหล่งผลประโยชน์ให้กับผู้มีอิทธิพลได้หากควบคุมไม่ดี 5.4) ขาดการเปิดกว้างทางความคิดและการรับฟังความเห็นของผู้อื่น สังคมไทยมีค่านิยมว่า การมีความคิดที่แตกต่างหรือการเป็นแกะดำ เป็นสิ่งไม่ดี มองผู้ที่คิดแตกต่างเป็นศัตรู และพยายามหักล้างความคิดซึ่งมักกระทำโดยใช้อารมณ์มิได้ใช้เหตุผลเป็นที่ตั้ง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาผู้เรียนที่ปัจจุบันมุ่งสร้างคนให้คิดเป็นทำเป็น P.5 LOGO

  30. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ล้วนเป็นปัจจัยหลักที่หน่วยงานกำหนดธงพัฒนาระบบการศึกษาไทย จะต้องให้ความสำคัญ และนำไปใช้วิเคราะห์วางแผนกำหนดทิศทางและนโยบาย โดยเฉพาะปัจจัยด้านการเมือง ซึ่งมีอิทธิพลมากต่อการพัฒนาการศึกษาไทยเพราะหากแม้ว่าจะมีการขยับหรือพัฒนาปัจจัยอื่นมากเพียงใด แต่หากปัจจัยการเมืองไม่ถูกพัฒนาให้เอื้อต่อการจัดการศึกษา ย่อมส่งผลให้การขยับหรือพัฒนาปัจจัยอื่นย่อมกระทำได้ยาก และอาจไม่นำพาสู่ความสำเร็จได้P.6 LOGO

  31. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย หากเปรียบเทียบให้ปัจจัยทางการเมือง เปรียบเสมือนน้ำที่หล่อเลี้ยงให้ระบบการศึกษาไทยเติบโตงอกงามผลิดอกออกผลที่มีคุณภาพ แต่หากขาดการหล่อเลี้ยงน้ำที่มากเพียงพอ ย่อมจะทำให้การจัดการศึกษาเหี่ยวเฉา และไม่เจริญก้าวหน้า ดังนั้นการพัฒนาการจัดการศึกษาไทย จึงขึ้นอยู่กับจุดยืนและภาวะของผู้นำประเทศและผู้นำ กระทรวงศึกษาธิการที่ให้ความสำคัญ ผลักดันและสนับสนุน ให้เกิดการขับเคลื่อนในการพัฒนาระบบการศึกษาไทย LOGO

  32. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย สอดคล้องกับ วิจิตร ศรีสอ้าน (ปาฐกถา โอกาสและความหวังใน การพัฒนาการศึกษาไทย : วันที่ 10 กรกฎาคม คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) กล่าวว่าโอกาสที่จะพัฒนาการศึกษาไทยให้ เจริญก้าวหน้า หลุดพ้นภาวะตกต่ำที่เป็นมาอย่างต่อเนื่องยาวนานให้ได้นั้นขึ้น อยู่กับปัจจัยหลัก 5 ปัจจัย ได้แก่ LOGO

  33. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ปัจจัยแรก เจตจำนงแห่งรัฐ ซึ่งดูได้จากบทบัญญัติเกี่ยวกับการศึกษาที่อยู่ รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญที่ผ่านมาให้ความสำคัญด้านการศึกษา โดยเฉพาะ รธน. พ.ศ. 2540 ที่เพิ่งถูก ยกเลิกไปนั้นได้บัญญัติเรื่องการศึกษาไว้มากที่สุด เป็นที่มาของการศึกษาภาค บังคับ 9 ปี การศึกษาขั้นพื้นฐาน ฟรี 12 ปี และเป็นที่มาของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็น กฎหมายแม่บททางการศึกษาที่สำคัญและยังมีผลบังคับใช้อยู่จนถึง ปัจจุบัน LOGO

  34. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย อย่างไรก็ตาม เมื่อนำ ร่าง รธน. ที่ผ่านการรับรองจากสมาชิกสภาร่าง รัฐธรรมนูญ (สสร.) เมื่อเร็ว ๆ นี้มาเปรียบเทียบกับ รธน.ปี 40 ที่ในเรื่องการ ศึกษา พบว่า ได้มีการบัญญัติเรื่องการศึกษาได้ชัดเจนและสมบูรณ์มากยิ่ง ขึ้น สาระสำคัญใน พ.ร.บ.การศึกษา แห่งชาติถอดมาไว้ในร่างรธน.ใหม่ เพราะฉะนั้น พ.ร.บ.การศึกษาฯ และ ร่างรธน. นั้น จะเป็นกรอบการทำงานด้านการศึกษา และถือว่าเป็นหลักประกันความต่อเนื่องของการ จัดการศึกษา เพราะไม่ว่าใครเป็นรัฐบาลก็ต้องทำตาม LOGO

  35. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ปัจจัยที่ 2 เจตจำนงแห่งรัฐบาล หรือเจตจำนงทางการเมือง หมายถึงไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลก็ต้องดู ว่ารัฐบาลหรือพรรคการเมืองนั้นให้ความสำคัญกับการศึกษาแค่ไหน แต่เป็นที่น่าพอใจ เพราะพรรคการเมืองที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน อย่างน้อย 2 พรรคที่ในอดีตเคยทำงานการ ศึกษาและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เช่น พรรคหนึ่งรับผิดชอบการปฏิรูปการศึกษา และอีกพรรคหนึ่งเข้ามาสานต่อตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา แสดงว่าเป็นพรรคที่มีเจต จำนงแน่วแน่ในการที่จะพัฒนาด้านการศึกษา LOGO

  36. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ปัจจัยที่ 3 เจตจำนงของประชาชน คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งการปฏิรูปการ ศึกษาทำให้มีโครงสร้างที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมามีส่วนร่วมจัดการศึกษาในรูปของคณะ กรรมการต่าง ๆ และประชาชนยังมีการออกมาแสดงความเห็นต่อเรื่องที่มีผลกระทบต่อตนเอง ถือว่า การมีส่วนร่วมของ ประชาชนชัดขึ้น แต่ยังไม่น่าพอใจ ตนอยากให้การศึกษาทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ ประชาชนมีการทำประชาพิจารณ์ รับฟังความเห็น เพื่อนำมาประกอบการพิจารณามากยิ่ง ขึ้น LOGO

  37. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ปัจจัย 4 ภาวะผู้นำ สังคมไทยขาดแคลนผู้นำทาง การศึกษาที่เป็นคนกล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยนแปลง แล้วพบว่าวงการศึกษา ยังขาดแคลนผู้ขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ เพราะสังคมไทยแม้แต่วงการศึกษายังเป็นแบบ ตัวใครตัวมัน ไม่สามารถทำงานอย่างเป็นระบบขับเคลื่อนร่วมกันได้ เพราะฉะนั้น ใน ยุคที่เราต้องเร่งรัดพัฒนาการศึกษา หลักสูตรการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงเป็น ศาสตร์ที่มีความสำคัญ สถาบันที่สอนด้านการจัดการต้องทบทวนตนเองและปรับหลักสูตร เพื่อสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง หรือ Change Agent ให้ ได้ LOGO

  38. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ในปัจจุบันซึ่งมีเป็น 100 แห่งเป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อ พิทักษ์สิทธิประโยชน์ของตน รวมตัวกันกดดันเรียกร้อง ซึ่งก็ไม่ได้ผิด เพราะการพิทักษ์ผลประโยชน์เป็นสิทธิ์อันชอบธรรม แต่การรวมกลุ่มเพื่อทำหน้าที่เพียงแค่ พิทักษ์ผลประโยชน์ไม่ใช่ลักษณะของคนในวงการหรือวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งจะต้องยึด หลักความรับผิดชอบต่อสังคมเหนือตนเอง ยิ่งในปัจจุบันวิชาชีพครูถูกยกให้เป็น วิชาชีพชั้นสูงโดยอาศัยกฎหมาย พฤติกรรมตามฐานะก็ต้องมีความเหมาะสมด้วย ไม่ใช่ แค่ทำหน้าที่พิทักษ์แต่กลุ่มตน ซึ่งตรงนี้เป็นปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนที่สุดใน 5 ปัจจัย LOGO

  39. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย ปัจจัยสุดท้าย ทรัพยากรและเทคโนโลยี จริงๆ แล้ว รัฐบาลสนับสนุน งบประมาณให้ ศธ. ไม่น้อยแต่ปัญหาคือยังขาดระบบการบริหารจัดการงบประมาณที่มี ประสิทธิภาพ เพราะมีหลายคนที่ยึดคติเก่า ที่มองแค่ว่ารัฐบาลต้องจัดสรรเงินมาให้ ก่อนจึงทำงานได้ แต่ตนอยากให้เห็นงานเป็นตัวตั้งและเงินเป็นตัวรอง และถ้าหากว่า เราทำงานดีเงินก็จะตามมา ในด้านเทคโนโลยีมีความสำคัญ ต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการ เรียนการสอนในปัจจุบัน ซึ่งการที่เรามีเทคโนโลยีนั้นดีแต่ต้องใช้ให้คุ้มค่า และ เกิดประโยชน์สูงแต่ทุกวันนี้ยังใช้ไม่คุ้มค่า เพราะเรามีแต่คอมพิวเตอร์แต่ขาด ซอฟท์แวร์หรือเนื้อหา บทเรียนที่จะไปพัฒนาเด็ก LOGO

  40. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย กล่าวโดยสรุปแล้ว ทั้ง 5 ปัจจัย นั้น มีจุดอ่อนที่ภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการทรัพยากร เทคโนโลยี หากสามารถรักษาจุดดีและแก้ไขจุดอ่อน แล้ว โอกาสในการพัฒนาการศึกษายังมีอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับ รศ.วิทยากร เชียงกูล (2550 : 124) กล่าวว่า “ภาวะผู้นำที่ตระหนักถึงรากเหง้าและความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา มองปัญหาเรื่องการศึกษาอย่างเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นในสังคมแบบเป็นระบบองค์รวม และรู้จักจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของปัญหาเพื่อก่อให้เกิดแกนนำแห่งการเปลี่ยนแปลง (Critizal Mass) ที่จะไปผลักดันการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบได้อย่างแท้จริง” LOGO

  41. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย กระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ “การมีภาวะผู้นำ” ของครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารการศึกษา โดยจัดทำหลักสูตรการอบรมผู้บริหาร สพท. และผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจเสร็จแล้ว โดยแบ่งออกเป็น 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ใช้อบรมผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่ฯ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและหลักสูตรสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ ใช้อบรมศึกษานิเทศก์ และผู้แทนครูในแต่ละกลุ่มสาระ LOGO

  42. การวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทยการวิเคราะห์ปัญหาการศึกษาไทย เอาจริง/เน้น "การประเมินครั้งนี้ผู้บริหารต้องพิสูจน์ว่ารู้และทำได้จริง โดยอาจทำในลักษณะสมมติสถานการณ์ขึ้น และให้ผู้บริหารวางแผนการบริหารจัดการ เพื่อนำมาใช้ประเมินว่าผู้บริหารมีศักยภาพหรือไม่ ทั้งนี้ หากผู้บริหารไม่ผ่านการประเมินครั้งแรกก็จะให้โอกาสได้แก้ตัว แต่หากยังไม่ผ่านอีกก็ต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลง โยกย้ายไปทำงานด้านอื่นแทน หรืออาจจะโยกไปอยู่เขตพื้นที่อื่นที่ยังไม่ได้นำร่องกระจายอำนาจแทน และโยกย้ายผู้ที่สามารถทำงานได้จริงๆ มาทำงานแทน ไม่เช่นนั้นอาจทำให้การนำร่องเกิดปัญหาได้ ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่การลงโทษ แต่จะต้องให้มั่นใจว่าผู้บริหารมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงจริง ๆ" (วิจิตร ศรีสอ้าน: ข่าวสด ฉบับที่ 5913 หน้าที่ 24 ประจำวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550)P.9 LOGO

  43. ส่วนที่ 2 ภาวะผู้นำกับการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ ภาค 1 BHUWATVARANON SARUTHIPONG LEADERSHIPANDINNOVATION LOGO

  44. มองภาพรวมการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ ภาค 1 ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าในการพัฒนาองค์การ หรือหน่วยงานใดก็ตามจะประสบความสำเร็จไม่ได้หากขาดการเปลี่ยนแปลงด้านผู้นำ ดังคำกล่าวของ John C. Maxwell (อ้างถึงในจิรายุทธ ประเจิดหล้า, 2549 : 395) ว่า... Improvement is imposible without a change in leadership การพัฒนาปรับปรุงใด ๆ จะเป็นไปไม่ได้โดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงด้านภาวะผู้นำ หลายฝ่ายมองว่าการปฏิรูปการศึกษาของไทยตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีล้มเหลว LOGO

  45. มองภาพรวมการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ ภาค 1 ดังที่ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน (เดลินิวส์ ฉบับที่ 21495 หน้าที่ 23 ประจำวันที่ 20 สิงหาคม 2551) กล่าวว่า “9 ปีแห่งความหลัง สรุปว่าเป็น 9 ปีที่ไม่ก้าวหน้า การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาจึงถือว่าล้มเหลว ซึ่งปัญหาสำคัญเป็นเพราะความไม่ต่อเนื่อง เปลี่ยนรัฐมนตรีแทบทุกปี บางคนอยู่แค่ 3 เดือน ซึ่งคงต้องโทษความเข้าใจเรื่องการศึกษาที่ยังมีไม่เพียงพอ ทั้งนี้การปฏิรูปการศึกษาต้องมีการบริหารเชิงรุกต่อเนื่องจริงจัง และเราต้องการผู้นำที่กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ และกล้าเปลี่ยน” LOGO

  46. มองภาพรวมการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ ภาค 1 ดร.อำรุง จันทวานิช (คมชัดลึก ฉบับที่ 2312 หน้าที่ 12 ประจำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551) เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า“การขาด ภาวะผู้นำ ที่ตระหนักถึงปัญหาการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นองค์รวม”ระบบการคัดเลือก การบริหาร การให้ความดีความชอบยังอยู่ภายใต้ระบบราชการแบบรวมศูนย์ ประสิทธิภาพการใช้งบประมาณในแง่ผลิตผู้สำเร็จการศึกษาและในแง่คุณภาพยังต่ำกว่าหลายประเทศ รวมทั้งระบบประเมินผลและ“การสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ยังเป็นการสอบแบบปรนัยที่วัดความจำขัดแย้งกับการปฏิรูปการศึกษาที่ เน้นการคิดวิเคราะห์” LOGO

  47. มองภาพรวมการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ ภาค 1 ในเรื่องของการคิดวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ ศ.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (เอกสารประกอบคำบรรยายประกอบ, 2551 : 9)กล่าวถึง ภาวะผู้นำใหม่ : ผู้นำเชิงวิเคราะห์ (Critical Leadership) ว่าอุดมศึกษาไทยจำเป็นต้องมีทางเลือก มีแบบแผนใหม่ แต่ความคิดและทางเลือกใหม่ไม่ใช่ทางเลือกของโลกาภิวัตน์แบบเดิมที่มีมากว่าทศวรรษ ทางเลือกใหม่ต้องเป็นทางเลือกของตัวเอง มีเอกลักษณ์เป็นผู้นำมีลักษณะเป็นไทยแท้จริงไม่ตามอย่างคนอื่นอยู่เสมอและสร้างความสอดคล้องกับของไทยเอง LOGO

  48. มองภาพรวมการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ ภาค 1 ผู้นำของอุดมศึกษาไทยจึงไม่ใช่เพียงแต่พิจารณารูปแบบ Trasit ModelBehavioral Model SituationModel หรือ VisionaryModel ที่พูดกันในทฤษฎีผู้นำปัจจุบันเท่านั้น แต่ในแนวทางใหม่ต้องเป็นต้องเป็น CriticalLeadership คือไม่ใช่ผู้นำที่รู้เพียงวิธีการบริหาร แต่ต้องเป็นผู้นำที่เรียนรู้เข้าใจ มีกลวิธี และมีวิธีการมองที่ลึกซึ้งแหลมคมและชัดเจนต่อกิจกรรมของอุดมศึกษา เพื่อให้อุดมศึกษาไทยมีทางเลือก เป็นแบบอย่างเป็นตัวอย่างฉลาดมีความเป็นมนุษย์และเป็นตัวของตัวเองทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ LOGO

  49. มองภาพรวมการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ ภาค 1 ผู้นำทางอุดมศึกษาใหม่ของไทยต้องไม่ใช่ผู้นำประเภทวิ่งไล่กวด ประเภทโกอินเตอร์ ประเภทตามให้ทันเท่านั้น เพราะจริงแล้วอุดมศึกษาไทยเท่าที่ผ่านมาก็ตามไม่ทัน ไปอินเตอร์ก็ไม่ได้ ได้แต่เดินตามเพียงห่าง ๆ เท่านั้น ดังนั้นผู้นำใหม่ จึงต้องมองปัญหาการวิ่งไล่กวดออก มีความคิดของตนเองและมีทางเลือกให้กับระบบอุดมศึกษาไทยและระบบอุดมศึกษาของภูมิภาคใต้ LOGO

  50. มองภาพรวมการแก้ปัญหาการศึกษาไทยสู่...หัวใจวิทยานิพนธ์ ภาค 1 “ข้าพเจ้าได้อ่านบทความ เรื่อง ภาวะผู้นำใหม่ : ผู้นำเชิงวิเคราะห์ (Critical Leadership) ของ ศ.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ แล้วมีความรู้สึกว่าท่านเป็นบุคคลที่มองปัญหาการศึกษาไทยได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ใช้ภาษาที่เยือกเย็นทางวิชาการ เข้าใจง่าย มีความชัดเจน คม ชัด ลึก ทุกคำที่ประโยคยากที่จะคัด หรือตัดเอาส่วนหนึ่ง ส่วนใดออก ท่านพูดด้วยข้อความที่ สั้น ๆ แต่เนื้อหาถ้านำมาพิจารณา วิเคราะห์ให้ละเอียดดี ๆ แล้วจะเห็นว่ากินเนื้อหาที่ทั้งกว้างและลึกครับ” LOGO

More Related