1 / 29

การกลายพันธุ์ (MUTATION)

การกลายพันธุ์ (MUTATION). อ.ดร. จิรวัฒน์ สนิทชน. ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ความหมาย. การกลายพันธุ์. การเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดจากชั่วอายุหนึ่งไปยังอีกชั่วอายุหนึ่ง. พันธุ์. ระดับการกลายพันธุ์.

wade-diaz
Download Presentation

การกลายพันธุ์ (MUTATION)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การกลายพันธุ์(MUTATION) อ.ดร.จิรวัฒน์ สนิทชน ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  2. ความหมาย การกลายพันธุ์ • การเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรม • สามารถถ่ายทอดจากชั่วอายุหนึ่งไปยังอีกชั่วอายุหนึ่ง พันธุ์

  3. ระดับการกลายพันธุ์ • การกลายพันธุ์ระดับโครโมโซม (Chromosome mutation) • การกลายพันธุ์ระดับยีน (Gene mutation หรือ point mutation) พันธุ์

  4. การแทนที่คู่เบส (base-pair substitution) • ทรานซิชัน (transition) • ทรานเวอร์ชัน (transversion) พันธุ์

  5. Source : http://www.mun.ca/biology/scarr/Transitions_vs_Transversions.html พันธุ์

  6. ภาพที่ 1 การเกิดทรานซิซันและทรานสเวอร์ชัน

  7. เฟรมชิฟท์มิวเทชัน (frameshift mutation) ภาพที่ 2 การเกิดเฟรมชิฟท์มิวเทชัน พันธุ์

  8. Source : http://kvhs.nbed.nb.ca/gallant/biology/frameshift_mutation.html พันธุ์

  9. การเกิดการกลายพันธุ์ • เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (spontaneous mutation) • - Tautomeric shift • - Ionization • 2. เกิดจากการชักนำ (induced mutation) • - สิ่งก่อกลายพันธุ์ทางกายภาพ (physical mutagen) • - สิ่งก่อกลายพันธุ์ทางเคมี (chemical mutagen) พันธุ์

  10. ปฏิกิริยาทัวโทเมอริกชิฟท์ (tautomeric shift) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งไฮโดรเจนอะตอมในโมเลกุลของเบสของดีเอ็นเอ ซึ่งมีผลทำให้โครงสร้างโมเลกุลของเบสเปลี่ยนแปลงจากรูปคีโต (keto form) ไปเป็นรูป อีนอล (enol form) หรือเปลี่ยนแปลงจากรูปอะมิโน (amino form) ไปเป็นรูป อิมิโน (imino form) ภาพที่ 3 การเกิดปฏิกิริยาทัวโทเมอริกซิฟท์ใน โมเลกุลของเบสของดีเอ็นเอ พันธุ์

  11. ปฏิกิริยาทัวโทเมอริกชิฟท์ (tautomeric shift) ภาพที่ 4 การจับคู่ของเบสดีเอ็นเอ หลังเกิดการเปลี่ยนตำแหน่งของไฮโดรเจนอะตอม พันธุ์

  12. ปฏิกิริยาทัวโทเมอริกชิฟท์ (tautomeric shift) ภาพที่ 6 การเกิดการกลายพันธุ์เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนตำแหน่งไฮโดรเจนอะตอม ในโมเลกุล ของอะดินิน พันธุ์

  13. ปฏิกิริยาการก่อให้เกิดไอออน (ionization) คือ ปฏิกิริยาสูญเสียไฮโดรเจนอะตอมในโมเลกุลของเบสของดีเอ็นเอ ทำให้เกิดไอออนขึ้น มีผลทำให้การจับคู่ของเบสเปลี่ยนแปลงไป ภาพที่ 7 การจับคู่ผิดปกติของไทมินและกัวนินที่เกิดปฏิกิริยาการ ก่อให้เกิดไออน พันธุ์

  14. การกลายพันธุ์ที่เกิดจากการชักนำ (induced mutation) สิ่งก่อกลายพันธุ์ทางกายภาพ (physical mutagen)ได้แก่ • อุณหภูมิ • รังสี แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ • รังสีก่อให้เกิดไอออน (ionizing radiation) ได้แก่ รังสีเอ็กซ์ แกมมา อัลฟาเบตา อิเล็กตรอน นิวตรอน โปรตอน และอนุภาคอื่นๆ ที่มีการเคลื่อนที่เร็ว รังสีเหล่านี้มีอำนาจในการทะลุทะลวงผ่านสิ่งต่างๆ ได้สูง • รังสีไม่ก่อให้เกิดไอออน (nonionizing radiation) ได้แก่ รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีนี้มีอำนาจในการทะลุทะลวงผ่านสิ่งต่างๆ ได้ต่ำกว่าประเภทแรก พันธุ์

  15. ภาพที่ 8 ซีแอลบีเทคนิค พันธุ์

  16. ภาพที่ 9 มูลเลอร์-5 เทคนิค พันธุ์

  17. ภาพที่ 10 การเกิดไทมินไดเมอร์ พันธุ์

  18. สิ่งก่อกลายพันธุ์ทางเคมี (chemical mutagen) • สารเคมีที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับเบสชนิดต่างๆ ของดีเอ็นเอ (base analogues) • 5-bromouracil หรือ 5 BU • 2-aminnopurine หรือ 2AP • สารเคมีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเบส • กรดไนตรัส (nitrous acid : HNO2) • สารไฮดรอกซีลามีน (hydroxylamine) และสารที่ให้หมู่ไฮดรอกซี (OH) • สารกลุ่มที่มีหมู่อัลคีน (alkylating agents) พันธุ์

  19. สารเคมีที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับเบสชนิดต่างๆ ของดีเอ็นเอ (base analogues) • สารเคมีเหล่านี้สามารถเข้าแทนที่เบสของดีเอ็นได้ระหว่างที่มีการจำลองโมเลกุลของดีเอ็นเอ (DNA replication) ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแทนที่ของเบสชนิดหนึ่งด้วยเบสอีกชนิดหนึ่ง ทำให้โมเลกุลที่ได้ใหม่แตกต่างไปจากเดิม ได้แก่ • 5-bromouracil หรือ 5 BU • 2-aminnopurine หรือ 2AP ภาพที่ 11 การกระตุ้นให้เกิดทรานซิซันโดย 5 BU พันธุ์

  20. สารเคมีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเบสสารเคมีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเบส ก. กรดไนตรัส (nitrous acid : HNO2) ทำหน้าที่ดึงหมู่อะมิโนออกจากโมเลกุลของเบสอะดินิน ไซโตซินและกัวนิน ภาพที่ 12 ผลของกรดไนตรัสที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในโมเลกุลของเบส พันธุ์

  21. ข. สารไฮดรอกซีลามีน (hydroxylamine) และสารที่ให้หมู่ไฮดรอกซี (OH) ทำหน้าที่เติมหมู่ไฮดรอกซีให้หมู่อะมิโน (NH2) ของเบสไซโตซิน เปลี่ยนเป็นสารไฮดรอกซิลอะมิโนไซโตซินซึ่งสามารถจับคู่กับเบสอะดินิน ภาพที่ 13 ผลของไฮดรอกซีลามีนต่อโมเลกุลของเบสไซโตชิน พันธุ์

  22. ค. สารกลุ่มที่มีหมู่อัลคีล (alkylating agents) 1.สารเอธิลอีเทนซัลโฟเนต และ เอธิลมีเทนซัลโฟเนต ทำหน้าที่เติมหมู่เอธิลให้กับโมเลกุลของเบสกัวนีน ทำให้มีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับเบสอะดินิน ซึ่งจะมีผลทำให้การจับคู่ของเบสกัวนินผิดปกติ ภาพที่ 14 ผลของเอธิลอีเทนซัลโฟเนต หรือเอธิลมีเทนซัลโฟเนตต่อโมเลกุลของเบสกัวนิน พันธุ์

  23. 2.สารเคมีที่มีคุณสมบัติที่จะไปดึงเบสพวกพิวริน (depurination) 3. สารเคมีที่ทำให้เกิดการเพิ่มหรือการขาดหายไปของนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ ได้แก่ สีย้อมต่างๆ เช่น โพรฟลาวิน (proflavin)และ อะคริดิน ออเรนจ์ (acridine orange) ภาพที่ 15 การแทนที่คู่เบสแบบทรานสเวอร์ชัน พันธุ์

  24. การซ่อมแซมดีเอ็นเอ (DNA repair) รูปแบบของการเสียหายของโมกุลของดีเอ็นเอ ได้แก่ • เกิดการแตกหักบนสายใดสายหนึ่งหรือทั้งสองสายของโมเลกุลดีเอ็นเอ • เกิดการสูญเสียโมเลกุลของเบสไปจากโมเลกุลของนิวคลีโอไทด์ • เกิดการเปลี่ยนแปลงของเบสตัวหนึ่งหรือหลายๆตัวในโมเลกุลของดีเอ็นเอ • สิ่งก่อกลายพันธุ์ทางกายภาพ ได้แก่ รังสีเอกซ์ รังสีอัลตร้าไวโอเลต รังสีแกมมา พันธุ์

  25. กลไกการซ่อมแซมโมเลกุลของดีเอ็นเอกลไกการซ่อมแซมโมเลกุลของดีเอ็นเอ โฟโตรีแอคติเวชัน (photoreactivation) ภาพที่ 16 การซ่อมแซมโมเลกุลของดีเอ็นเอโดยวิธีโฟโตรีแอคติเวชัน พันธุ์

  26. 2.เอกซ์ซิชันรีแพร์ (excision repair) เป็นกระบวนการซ่อมแซมโมเลกุลของดีเอ็นเอที่ผิดปกติทั่วไป โดยจะมีการตัดส่วนของดีเอ็นเอที่เสียหายออกไปโดยใช้เอ็นไซม์ชนิดต่างๆ และจะมีการเติมส่วนของดีเอ็นเอที่ถูกต้องแทนส่วนที่ถูกตัดออกไป ดังนี้ 2.1 การซ่อมแซมโมเลกุลของดีเอ็นเอที่เสียหายจากรังสี UV (UV damage repair) ภาพที่ 17การซ่อมแซมโมเลกุลของดีเอ็นเอที่เสียหายจากรังสี UV (UV damage repair) พันธุ์

  27. 2.2 เอพีรีแพร์ (AP repair) เป็นการซ่อมแซมโมเลกุลของดีเอ็นเอตำแหน่งที่เสียหายเนื่องจากมีการดึงโมเลกุลของเบสพวกพิวรีนและไพริมิดีนออกไปจากนิวคลีโอไทด์ ซึ่งเรียกตำแหน่งดังกล่าวว่าตำแหน่งเอพี (AP site) ภาพที่ 18การซ่อมแซมโมเลกุลของดีเอ็นเอที่ผิดปกติโดยวิธีการเอพีรีแพร์ พันธุ์

  28. 2.3 รีคอมบิเนชันรีแพร์ (recombination repair) เป็นการซ่อมแซมโมเลกุลของดีเอ็นเอตรงตำแหน่งที่เสียหาย โดยต้องมีกระบวนการจำลองโมเลกุลของดีเอ็นเอ เกิดขึ้นก่อนกระบวนการซ่อมแซมจึงเริ่มต้นดำเนินการ ภาพที่ 18 การซ่อมแซมโมเลกุลของดีเอ็นเอที่ผิดปกติโดยรีคอมบิเนชันรีแพร์ พันธุ์

  29. KDML 105 RD 6 RD 15 พันธุ์

More Related