1 / 14

การเคลื่อนไหวร่างกายขั้นพื้นฐาน

บทเรียนประกอบวิชาสุขศึกษา. เรื่อง. การเคลื่อนไหวร่างกายขั้นพื้นฐาน. กลุ่มสาระสุขศึกษาและพละศึกษา โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ นนทบุรี. ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. โดย... อาจารย์อนันต์ นุชเทศ. หลักการเคลื่อนไหวร่างกาย. หลักการเคลื่อนไหวที่มีความสำคัญในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

weylin
Download Presentation

การเคลื่อนไหวร่างกายขั้นพื้นฐาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทเรียนประกอบวิชาสุขศึกษาบทเรียนประกอบวิชาสุขศึกษา เรื่อง การเคลื่อนไหวร่างกายขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระสุขศึกษาและพละศึกษา โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ นนทบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดย...อาจารย์อนันต์ นุชเทศ

  2. หลักการเคลื่อนไหวร่างกายหลักการเคลื่อนไหวร่างกาย หลักการเคลื่อนไหวที่มีความสำคัญในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การรับแรง การใช้แรง และความสมดุล การรับแรง คือการจัดวางตำแหน่งของอวัยวะ ให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมกับกิจกรรม ที่ปฏิบัติ เพื่อลดแรงปะทะของร่างกาย กับอากาศ และแรงโน้มถ่วงขณะเคลื่อน ไหว เช่น การเอนตัวไปข้างหน้าขณะวิ่ง การรับสิ่งของจากการขว้าง โยน ปา กระ โดดลงสู่พื้นด้วยสองเท้า การใช้เท้ารับ น้ำหนักตัวขณะเดิน การใช้แรง คือการที่ร่างกายออกแรงกระทำต่อ วัตถุ เพื่อให้วัตถุเคลื่อนที่ เช่น การดัน การผลัก การดึง การขว้าง การเหวี่ยง การโยน การตี การโหม่ง ความสมดุล คือการถ่ายเทน้ำหนักตัวไปสู่อวัยวะที่เป็นจุดรองรับน้ำหนักหรือฐาน เพื่อให้ ร่างกายมีจุดศูนย์ถ่วง สามารถเคลื่อน ไหวโดยไม่เสียการทรงตัว ไม่ล้มและอยู่ ในลักษณะที่ต้องการ เช่น การถีบจักร- ยาน การเล่นสเก็ต การเดินลงจากภูเขา หรือที่สูงโดยไม่ล้ม การเดินบนสะพานไม้เล็กๆ

  3. ประเภทของการเคลื่อนไหวร่างกายประเภทของการเคลื่อนไหวร่างกาย 1. การเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การเคลื่อนไหวตามปกติ ตลอดรวม ถึงท่าทางการจับ หรือยกของ เช่น นอน นั่ง ยืน เดิน วิ่ง กระโดด ดึง ยก ลาก จูง ผลัก ดัน ขว้าง เหวี่ยง ปา โยน กระแทก 2. การเคลื่อนไหวตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ การเคลื่อนไหวของเราเกิดจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายอย่างมีระบบ ได้แก่ ระบบประสาท ระบบโครงร่าง และระบบกล้ามเนื้อ ทั้ง 3 ระบบนี้จะทำงานอย่างประสานกัน

  4. การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน 1. ลักษณะท่าทางที่เป็นแกนหลักในการเคลื่อนไหว 2. ท่าทางการเคลื่อนไหวที่ต้องมีการบังคับสิ่งของ 3. ท่าทางการเคลื่อนไหวที่ต้องมีการเคลื่อนที่ของร่างกายจากจุดหนึ่งไป ยังอีกจุดหนึ่ง 1. ลักษณะท่าทางที่เป็นแกนหลักในการเคลื่อนไหว เป็นท่าทางที่ร่างกายมีการปรับเปลี่ยนอวัยวะส่วนต่างๆ ตามธรรมชาติ ได้แก่ ท่านอน ท่านั่ง และท่ายืน

  5. การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ท่านอน ควรให้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายมีการเหยียดตรง เพื่อเป็นการผ่อนคลาย และกระจายน้ำหนักตัวไปยังอวัยวะทุกๆส่วนให้รับน้ำหนักตัวเท่าๆ กัน ท่านั่ง ท่านั่ง เป็นท่าทางที่ร่างกายมีการพับงอของลำตัว ส่วนก้นและสะโพกจะรับน้ำหนัก ดังนั้น การนั่งที่ดีลำตัวจะต้องตั้งตรง

  6. การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ท่ายืน ท่ายืนที่ดีร่างกายจะเหยียดตรงตั้งฉาก กับพื้น เท้าเป็นส่วนที่ต้องรับน้ำหนักตัว ยกเว้น บางครั้งที่ต้องปรับเปลี่ยนตาม กิจกรรม เช่น ในการรับส่งบอล เป็นต้น

  7. 2. ท่าทางการเคลื่อนไหวที่ต้องมีการบังคับสิ่งของ เป็นท่าทางที่ร่างกายจะต้องออกแรงทำให้สิ่งของและวัตถุต่างๆ อยู่กับที่ หรือเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆ ตามที่ ต้องการ การยกสิ่งของ การยกสิ่งของเล็กๆ จะใช้การออกแรง ที่ข้อมือ แขน และไหล่ เช่น ขว้าง โยน ปา ถ้าของใหญ่ขึ้นอาจต้องใช้ลำตัวและขา เช่น เหวี่ยง กระแทก กดกระทุ้ง ถีบ ส่วนของหนักควรมีการย่อตัว ให้น้ำหนัก ลงที่ขาทั้งสองข้าง ไม่ควรก้มตัวลงไปยกของ

  8. 3. ท่าทางการเคลื่อนไหวที่ต้องมีการเคลื่อนที่ของร่างกายจากจุดหนึ่งไป ยังอีกจุดหนึ่ง การเดิน การวิ่ง น้ำหนักอยู่ที่เท้า การแกว่งมือให้สลับกับเท้า ท่าเดิน ลำตัวตรง ท่าวิ่งลำตัวโน้มไปข้างหน้า เล็กน้อย การคืบ นอนคว่ำราวกับพื้น ขณะเคลื่อนตัวให้ใช้แขนหรือศอก แล้วถ่ายน้ำหนักมาที่ลำตัว พร้อมใช้ ขาถีบพื้น การกลิ้ง คือการทิ้งตัวตะแคงแล้วหมุนตัว

  9. การคลาน น้ำหนักอยู่ที่มือและเข่า แล้วเคลื่อนมือ และเข่าไปข้างหน้าพร้อมๆ กัน ถ้าใช้ มือขวาเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเข่าขวาต้อง เคลื่อนที่ตามไป การกระโดด น้ำหนักอยู่ที่ขาขณะลอยตัวในอากาศ โน้มตัวไปข้างหน้าและใช้ปลายเท้าลง สู่พื้น แล้วถ่ายน้ำหนักสู่ฝ่าเท้าและส้น เท้าตามลำดับ

  10. การเคลื่อนไหวตามหลักการทางวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ เป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งเกิดจาก การทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย อย่างมีระบบ ได้แก่ ระบบประสาท ระบบ โครงร่าง และระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท เป็นส่วนที่ควบคุมสั่งงาน ให้กล้ามเนื้อ กระดูก เกิดการเคลื่อนไหวตาม ต้องการ โดย....สมอง ทำหน้าที่ควบคุม รับส่ง ความคิด และสั่งให้มีการเคลื่อนไหว เส้นประ สาท เป็นตัวกลางระหว่างสมองกับอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

  11. ระบบโครงร่าง ทำหน้าที่ให้ร่างกายคงสภาพรูปร่าง รองรับน้ำหนักตัว และทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ซึ่ง ระบบโครงร่างประกอบด้วยกระดูก 206 ชิ้น ได้แก่ กระดูกโครงร่าง ได้แก่ กระโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกแขน กระดูกขา กระดูกนิ้วมือ กระดูกนิ้วเท้า กระดูกข้อต่อ เป็นส่วนที่เชื่อมของกระดูก และก่อให้ เกิดการพับ งอ กาง หมุน เหวี่ยง ในขณะเคลื่อนไหว เส้นเอ็น เป็นส่วนที่ยึดกระดูกโครงร่าง กระดูกข้อต่อ กล้ามเนื้อ และช่วยบังคับกระดูกให้เคลื่อนไหวได้

  12. ระบบกล้ามเนื้อ ทำหน้าที่ห่อหุ้มกระดูก และบังคับควบคุมให้ระบกระดูกเคลื่อนไหวตามการสั่งการของสมอง ร่างกายเรามีกล้ามเนื้อ 600มัด ได้แก่ กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อเรียบ อยู่ตามผนังของ อวัยวะภายใน เช่นกระเพาะอาหาร ลำไส้ หลอดเลือด เปลือกตา กล้ามเนื้อลาย เป็นส่วนที่ยึดกระ ดูกและก่อให้เคลื่อนไหว โดยการ หดและคลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นระบบอัตโนมัติ เมื่อดีใจ กลัวโกรธ ตื่นเต้น กล้าม เนื้อหัวใจจะยืดหดตัวเร็วกว่าปกติ

  13. สมอง กระบวนการเกิดการเคลื่อนไหว ของร่างกาย เส้นประสาท กล้ามเนื้อเรียบ-ลาย เกิดการเคลื่อนไหว เส้นเอ็นยึดกระดูก กระดูกข้อต่อ กระดูกโครงร่าง

More Related