1 / 93

การจัดทำบัญชีเงินกองทุน

การจัดทำบัญชีเงินกองทุน. 1. กองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรของ ตร. 2. กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญาของ ตร. 3. กองทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ ตร. วิทยากร. พ.ต.ท.หญิง จิ โรศินี ตั้งจิตเจริญพงศ์ สว. ฝ่ายการเงิน 3 กง. สงป. เบอร์โทรศัพท์ 0 2205 2285

willis
Download Presentation

การจัดทำบัญชีเงินกองทุน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดทำบัญชีเงินกองทุนการจัดทำบัญชีเงินกองทุน 1. กองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรของ ตร. 2. กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญาของ ตร. 3. กองทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ ตร.

  2. วิทยากร พ.ต.ท.หญิง จิโรศินี ตั้งจิตเจริญพงศ์ สว.ฝ่ายการเงิน 3 กง.สงป. เบอร์โทรศัพท์ 0 2205 2285 เบอร์โทรสาร 0 2251 8143

  3. 1. การจัดทำบัญชีและรายงานการรับจ่ายเงิน กองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไป นอกราชอาณาจักร ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

  4. ระเบียบ ข้อกำหนด และประกาศที่คณะกรรมการกองทุนฯและกระทรวงการคลังกำหนดเงินกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรของ ตร.

  5. หนังสือสำคัญที่เกี่ยวข้องหนังสือสำคัญที่เกี่ยวข้อง 1. ประกาศคณะกรรมการกองทุนฯ เรื่อง หลักเกณฑ์ขอรับการจัดสรร และการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าว ประจำปีงบประมาณ 2557ลงวันที่ 7 ต.ค. 2556 2. ข้อกำหนดคณะกรรมการกองทุนฯ ว่าด้วยแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 7 ต.ค. 2556 3. ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฯ ว่าด้วยการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการตรวจสอบภายใน ของกองทุนฯ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

  6. สาระสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับ ตร. 1. หน่วยงานจัดทำข้อเสนอเพื่อขอรับการจัดสรรเงินกองทุนประจำปี ตามปีงบประมาณ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน เป้าหมาย การดำเนินงาน ผลผลิต วงเงิน และรายละเอียดที่ขอรับการจัดสรรประมาณการรายจ่าย และแผนการใช้เงิน เพื่อเสนอขออนุมัติ ต่อคณะกรรมการกองทุน ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนเริ่ม ต้นปีงบประมาณ 2. ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าวของ ตร. ให้ใช้จ่ายได้เฉพาะงบดำเนินงาน ได้แก่ ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย และค่าวัสดุ

  7. สาระสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับ ตร. 3. กรณีหน่วยงานมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดค่าใช้จ่ายใดๆ ในประเภทค่าใช้จ่ายเดียวกันภายใต้กรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุน ให้ดำเนินการเฉพาะเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงาน หรือเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และ ต้องไม่เป็นการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ 4. หัวหน้าส่วนราชการ มีอำนาจเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดค่าใช้จ่ายใดๆ ในประเภทค่าใช้จ่ายเดียวกันภายใต้กรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติ จากคณะกรรมการกองทุน

  8. สาระสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับ ตร. 5. เมื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดค่าใช้จ่ายใดๆ แล้ว ให้รายงานคณะกรรมการกองทุนทราบ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดค่าใช้จ่าย หากไม่รายงานภายในกำหนดคณะกรรมการกองทุน จะนำไปประกอบการพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนในปีถัดไป กรณีหน่วยงานใช้จ่ายเงินกองทุนผิดวัตถุประสงค์ ให้ส่งคืนเงินให้กองทุน ภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับหนังสือจากกองทุน 6. หากหน่วยมีความจำเป็นต้องใช้เงินเพิ่มเติมจากที่ได้รับการจัดสรร ให้จัดทำข้อเสนอเพื่อขอรับการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อขอเสนอ ต่อคณะกรรมการกองทุน

  9. สาระสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับ ตร. 7. ให้หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารรัฐวิสาหกิจ ชื่อบัญชี “กองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไป นอกราชอาณาจักรของ .............................”พร้อมแจ้งเลขที่บัญชีเงินฝากดังกล่าวให้หน่วยงานต้นสังกัดทราบเพื่อโอนเงินเข้าบัญชี และห้ามนำเงิน อื่นใดที่ไม่ใช่เงินกองทุนฝากในบัญชีดังกล่าว 8. วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกเงิน การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่งและการพัสดุ ให้หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงินกองทุนถือปฏิบัติ ตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยการนั้นโดยอนุโลม หากไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการได้ ให้ขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุน

  10. สาระสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับ ตร. 9. ให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการดำเนินงาน การเงินและ การบัญชีของเงินกองทุนที่ได้รับการจัดสรรปีละหนึ่งครั้ง 10. ให้หน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรเงินกองทุนจัดทำรายงานการรับจ่ายเงินกองทุนประจำเดือน ตามแบบที่อธิบดีกำหนด พร้อมรายงานผล การดำเนินงาน และส่งให้กรมการจัดหางานภายในวันที่ 10 ของ เดือนถัดไป พร้อมเก็บหลักฐานการรับจ่ายเงินไว้ตรวจสอบ

  11. สาระสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับ ตร. 11. หากมีเงินเหลือจ่าย ให้นำส่งเงินเหลือจ่ายพร้อมทั้งดอกผล คืนกองทุนภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ หรือวันสิ้นสุด การดำเนินงานหรือโครงการนั้น 12. เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ให้หน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรเงิน จากกองทุน รายงานผลการดำเนินงานตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายใน 30 วัน นับจากวันสิ้นปีงบประมาณ ให้กรมการจัดหางาน เพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุน

  12. แนวทางการจัดสรรเงินและการโอนเปลี่ยนแปลงเงินกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรของ ตร.

  13. การเปลี่ยนแปลงรายการ 1. การเปลี่ยนแปลงรายการภายใต้โครงการเดียวกันในกรอบวงเงินเท่าเดิม (โครงการ ตรวจสอบ ปราบปราม จับกุม ดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวทำงาน โดยไม่ได้รับอนุญาต) 2. การเปลี่ยนแปลงรายการให้เปลี่ยนแปลงได้ช่วงปลายปี (เงินเหลือจ่ายจากการประหยัดและบรรลุเป้าหมาย) 3.ขอเปลี่ยนแปลงเพื่อจัดทำโครงการใหม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดสรรเงิน 4. เงินที่นำไปใช้ตามรายการที่คณะกรรมการอนุมัติ (หากไม่ใช้ตามรายการที่อนุมัติ ต้องส่งเงินคืน) 5. เงินที่ขอเปลี่ยนแปลงไปแล้วจะขอเพิ่มเติมอีกไม่ได้ และจะขอเปลี่ยนแปลงกลับเป็นรายการเดิมอีกไม่ได้

  14. การเปลี่ยนแปลงรายการ 6.การขอเปลี่ยนแปลงงบรายจ่ายข้ามหมวดรายจ่าย ต้องขออนุมัติ จากคณะกรรมการกองทุน 7.รายการที่ขอเปลี่ยนแปลงแล้ว ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าเป็นรายการ ที่ไม่สำคัญ อาจไม่พิจารณาจัดสรรให้ในปีต่อไป 8. รายจ่ายบางรายการที่มีความจำเป็นต้องขอเพิ่ม ควรขอเพิ่มกลางปีงบประมาณ 9. ถ้าหน่วยที่รับจัดสรรเงินจาก ตร.ต้องการขอเปลี่ยนแปลงเงิน เช่น จาก ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ ให้ขออนุมัติ ตร. เพื่อขอเปลี่ยนแปลงกับสำนักงานกองทุน 10. การขอเปลี่ยนแปลงรายการใด ต้องตรงกับวัตถุประสงค์การใช้จ่ายเงินกองทุน

  15. การปฏิบัติงานด้านการเงิน/บัญชีและการจัดทำรายงานการรับจ่ายเงินเงินกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรของ ตร.

  16. การบันทึกรายการบัญชี 1. เมื่อ กองทุนฯ และ ตร. มีรายการที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี ต้องบันทึกรายการในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) 2. เมื่อมีการบันทึกรายการบัญชีระหว่างกัน (BP) ระหว่าง กองทุนฯ และ ตร. ได้แก่ เมื่อได้รับโอนเงินกองทุน เมื่อส่งเงินเหลือจ่ายคืนกองทุน (ทั้งกรณีส่งเงินคืนภายในปี งปม. และกรณีไม่สามารถส่งเงินคืนได้ภายในปี งปม.) ต้องระบุรหัสหน่วยงานคู่ค้า (Trading Partner) ในระบบ GFMIS

  17. การบันทึกรายการบัญชี คือ X.... (ระบุตัวอักษร X ตามด้วยรหัสหน่วยงาน 4 หลัก) - กองทุนฯ ระบุ X8112 - ตร. ระบุ X2507 - สตม. ระบุ X2507 3. เมื่อมีการโอนเงิน รับโอนเงิน และการใช้จ่ายเงิน ของหน่วยงานใน ตร.ที่ได้รับจัดสรรเงิน ให้บันทึกรายการในระบบGFMIS ตามหนังสือ กรมบัญชีกลาง ที่ กค 0423.3/ว 431 ลง 9 ธ.ค. 2554 เรื่อง แนวปฏิบัติ ทางบัญชีเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณฝากธนาคารพาณิชย์

  18. การจัดทำทะเบียนและรายงานสำหรับหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงินการจัดทำทะเบียนและรายงานสำหรับหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงิน 1. จัดทำทะเบียนการรับจ่ายเงินกองทุน (แบบ 3.1) 2. จัดทำรายงานการรับจ่ายเงินกองทุน (แบบ 3.2)

  19. การจัดทำทะเบียนและรายงานสำหรับหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงินการจัดทำทะเบียนและรายงานสำหรับหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงิน 1. ทะเบียนคุมการรับจ่ายเงินกองทุน (แบบ 3.1) ใช้บันทึกควบคุมรายละเอียดการรับจ่ายเงินตามแผนงานโครงการ และวงเงินที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่เริ่มโครงการจนสิ้นสุดโครงการโดยแสดงรายละเอียดของรายรับ รายจ่าย ยอดคงเหลือ และการนำส่งเงินเหลือจ่ายคืนกองทุน สำหรับรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนซึ่งจะต้องรวบรวมจำนวนเงิน ทั้งรายรับ รายจ่าย ยอดเงินคงเหลือประจำเดือน รวมทั้งยอดสะสมตั้งแต่ต้นโครงการ เพื่อประโยชน์ในการนำข้อมูลสรุปยอดการรับจ่ายเงินและยอดเงินคงเหลือไปแสดงในรายงานการรับจ่ายเงินกองทุน

  20. การจัดทำทะเบียนและรายงานสำหรับหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงินการจัดทำทะเบียนและรายงานสำหรับหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงิน 2. รายงานการรับจ่ายเงินกองทุน (แบบ 3.2) ใช้บันทึกยอดสรุปรายการรับจ่ายเงินและยอดเงินคงเหลือ โดยเก็บยอดจากทะเบียนการรับจ่ายเงินกองทุนจากยอดรวมเดือนและยอดสะสมตั้งแต่ต้นโครงการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการติดตาม การรับและการใช้จ่ายเงินเป็นประจำทุกเดือนของแต่ละแผนงาน/โครงการ

  21. แนวทางการปฏิบัติ การจัดทำทะเบียนและรายงานการรับจ่ายเงินกองทุน ประจำเดือน (ตามแบบ 3.1 และ แบบ 3.2)  หน่วยงานผู้เบิกรวบรวมรายงานส่ง บช. ภายในวันที่ 25 ของเดือนที่มีการรับจ่ายเงิน  บช.รวบรวมรายงานส่ง กง.สงป. ภายในวันสุดท้ายของเดือนที่มีการรับจ่ายเงิน  กง.สงป.รวบรวมรายงานส่ง กองทุนฯ (กรมการจัดหางาน) ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป

  22. การดำเนินงานของหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงินการดำเนินงานของหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงิน 1. เปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ (ธนาคาร กรุงไทย) ชื่อบัญชี “ เงินกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอก ราชอาณาจักรของ (ชื่อหน่วยงาน)” 2. แจ้งเลขที่บัญชีเงินฝาก ตามข้อ 1 ให้หน่วยงานต้นสังกัดทราบ เพื่อรับโอนเงินที่ได้รับจัดสรร สำหรับใช้จ่ายตามแผนการใช้จ่ายเงิน  หน่วยงานผู้เบิก แจ้งเลขที่บัญชีไปยัง บช.  บช. แจ้งเลขที่บัญชีไปยัง กง.สงป.

  23. การดำเนินงานของหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงินการดำเนินงานของหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงิน บัญชีเงินฝากที่หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงินเปิดไว้กับธนาคาร กรุงไทย ชื่อบัญชี “ เงินกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอก ราชอาณาจักรของ (ชื่อหน่วยงาน)” นั้น สามารถใช้ได้เลยโดยไม่ต้องทำ หนังสือขอเปิด รหัสบัญชีย่อยเงินฝากธนาคาร (BANK BOOK) มายัง มายัง กช.สงป. ดังนั้นเมื่อมีการบันทึกรายการรับ-จ่ายเงินฝากธนาคารข้างต้น ทุกรายการ ให้บันทึกรายการในบัญชีเงินฝากไม่มีรายตัว รหัสบัญชี แยกประเภท1101030199 โดยไม่ต้องระบุรหัสบัญชีย่อยเงินฝาก ธนาคาร (BANK BOOK) ในระบบ GFMIS

  24. การดำเนินงานของหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงินการดำเนินงานของหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงิน 3. วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกเงิน การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินการนำส่งเงิน และการพัสดุ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยการนั้นโดยอนุโลม 4. กรณีหน่วยงานมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดค่าใช้จ่ายใดๆ ในประเภทค่าใช้จ่ายเดียวกันภายใต้กรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติ ให้ดำเนินการเฉพาะเพื่อแก้ไขปัญหาในการ ดนง. หรือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานฯ โดยเมื่อหน่วยงานได้ทำการเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดค่าใช้จ่าย ให้รายงาน ตร. (ผ่าน งป.สงป.) ทราบโดยเร็ว เพื่อรายงานให้ คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบ ภายใน 15 วัน (ตามแบบฟอร์มที่กำหนด)

  25. การดำเนินงานของหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงินการดำเนินงานของหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงิน 5. หากไม่สามารถปฏิบัติได้ตามระเบียบ ให้ขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุน

  26. ข้อเน้นย้ำ ... แนวทางการปฏิบัติ 1. เงินกองทุน สามารถใช้จ่ายได้ภายในปีงบประมาณที่ได้รับจัดสรรเท่านั้น ไม่สามารถขยายเวลาเบิกจ่ายเงินได้ 2. ด้านการใช้จ่ายเงิน หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงิน ต้องมีการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากในปีงบประมาณ 2556 มีการส่งเงินเหลือจ่ายคืนกองทุนฯจำนวนมาก ซึ่งส่งผลต่อการประเมินตัวชี้วัดของกองทุนฯ เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินให้มีประสิทธิภาพ ทำให้ใน ปี งปม. 2557 ตร. ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณจากกองทุนฯ ลดลง

  27. ข้อเน้นย้ำ ... แนวทางการปฏิบัติ 3. รายงานการรับจ่ายเงินกองทุน ประจำเดือน ตามแบบ 3.1 และแบบ 3.2 ให้ บก. จัดทำรายงานส่ง บช. และ บช. รวบรวมส่ง ตร. (ผ่าน กง.สงป.) ภายในวันทำการสุดท้ายของเดือนที่มีการรับจ่ายเงิน ทางโทรสารหมายเลข 0 2251 8143, 0 2205 2312 และส่งต้นฉบับตามมาโดยเร็ว 4. กรณีมีเงินเหลือจ่าย และดอกเบี้ย ให้ส่งผ่านหน่วยงานต้นสัดกัด โดย 2.1 หน่วยงานผู้เบิก โอนเงินคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ บช. (ห้ามหน่วยงานผู้เบิกโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ กง.สงป. โดยเด็ดขาด) 2.2 บช. รวบรวมเงินเหลือจ่าย และดอกเบี้ย เป็นภาพรวมของ บช. แล้วโอนคืน ตร. ผ่าน กง.สงป.เข้าบัญชี เงินฝากธนาคารกรุงไทย สาขาปทุมวัน ชื่อบัญชี “กองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” เลขที่บัญชี 0080111815

  28. การบันทึกรายการบัญชีในระบบบัญชีของหน่วยงาน1. ตร. ได้รับโอนเงินจากกองทุนฯ

  29. การบันทึกรายการบัญชีในระบบบัญชีของหน่วยงานการบันทึกรายการบัญชีในระบบบัญชีของหน่วยงาน เมื่อ ตร.ได้รับโอนเงินจากกองทุนเข้าบัญชีเงินฝาก ธ.ของหน่วยงาน กง.สงป. บันทึกรายการ โดยใช้คำสั่งงาน/ประเภทเอกสาร ZRP_REหรือ บช.01 / RE เดบิต เงินฝากไม่มีรายตัว (1101030199) ของ ตร. เครดิตรายได้จากการอุดหนุน - หน่วยงานภาครัฐ (4302010101) ของ ตร. (BP : X8112) กง.สงป. บันทึกเท่านั้น

  30. การบันทึกรายการบัญชีในระบบบัญชีของหน่วยงาน2. ตร.โอนเงินที่จัดสรรให้ บช. ต่างๆ

  31. เมื่อ ตร. (กง.สงป.) โอนเงินที่จัดสรรให้กับ บช.ต่างๆ 14 หน่วยงานได้แก่ ภ.1 - ภ.9, ศชต., ก., น., ส., และ ตชด. ** ให้หน่วยงานผู้โอนและหน่วยงานผู้รับโอนบันทึกรายการบัญชีของตนเอง ** • 2.1 ตร. (กง.สงป.)  หน่วยงานผู้โอน • บันทึกรายการ ใช้คำสั่งงาน/ประเภทเอกสาร ZF_02_PP หรือ บช.01/PP เดบิต ค่าใช้จ่ายระหว่างหน่วยงานเบิกจ่าย-ภายในกรม (5210010121) เครดิต เงินฝากไม่มีรายตัว (1101030199) • 2.2 บช. ที่ได้รับจัดสรรเงิน หน่วยงานผู้รับโอน • บันทึกรายการ ใช้คำสั่งงาน/ประเภทเอกสาร ZRP_RE หรือ บช.01/RE เดบิต เงินฝากไม่มีรายตัว (1101030199) เครดิตรายได้ระหว่างหน่วยเบิกจ่าย-ภายในกรม (4308010121)

  32. การบันทึกรายการบัญชีในระบบบัญชีของหน่วยงาน3. บช.โอนเงินที่จัดสรรให้ บก. ในสังกัด

  33. เมื่อบช. โอนเงินที่จัดสรรให้กับ บก. ภายในสังกัด ** ให้หน่วยงานผู้โอนและหน่วยงานผู้รับโอนบันทึกรายการบัญชีของตนเอง ** • 3.1 บช. หน่วยงานผู้โอน • บันทึกรายการ ใช้คำสั่งงาน/ประเภทเอกสาร ZF_02_PP หรือ บช.01/PP เดบิต ค่าใช้จ่ายระหว่างหน่วยเบิกจ่าย-ภายในกรม (5210010121) เครดิต เงินฝากไม่มีรายตัว (1101030199) • 3.2 บก. หน่วยงานผู้รับโอน • บันทึกรายการ ใช้คำสั่งงาน/ประเภทเอกสาร ZRP_RE หรือ บช.01/RE เดบิต เงินฝากไม่มีรายตัว (1101030199) เครดิตรายได้ระหว่างหน่วยเบิกจ่าย-ภายในกรม (4308010121)

  34. การบันทึกรายการบัญชีในระบบบัญชีของหน่วยงาน4.การเบิกจ่ายเงินกองทุนฯ ของ บช. และ บก.กรณีเบิกเงินค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ เช่น ค่าล่วงเวลา เดินทางไปราชการ จัดซื้อวัสดุ

  35. การบันทึกรายการบัญชีในระบบบัญชีของหน่วยงานการบันทึกรายการบัญชีในระบบบัญชีของหน่วยงาน

  36. การบันทึกรายการบัญชีในระบบบัญชีของหน่วยงานการบันทึกรายการบัญชีในระบบบัญชีของหน่วยงาน

  37. การบันทึกรายการบัญชีในระบบบัญชีของหน่วยงาน5.การเบิกจ่ายเงินกองทุนฯ ของ บช. และ บก.กรณีมีการยืมเงินทดรองราชการเช่น ยืมเงินเพื่อเดินทางไปราชการ

  38. การบันทึกรายการบัญชีในระบบบัญชีของหน่วยงานการบันทึกรายการบัญชีในระบบบัญชีของหน่วยงาน

  39. การบันทึกรายการบัญชีในระบบบัญชีของหน่วยงานการบันทึกรายการบัญชีในระบบบัญชีของหน่วยงาน

  40. การบันทึกรายการบัญชีในระบบบัญชีของหน่วยงานการบันทึกรายการบัญชีในระบบบัญชีของหน่วยงาน

  41. การบันทึกรายการบัญชีในระบบบัญชีของหน่วยงาน6. การบันทึกรายการดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร

More Related