1 / 26

สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช

สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช. ส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ( นครศรีธรรมราช ) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. ประวัติความเป็นมา สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช.

wylie-rice
Download Presentation

สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราชสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ( นครศรีธรรมราช ) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

  2. ประวัติความเป็นมาสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราชประวัติความเป็นมาสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการปฏิบัติงานควบคุมไฟป่า ปี พ.ศ. 2540 ท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราชได้จัดตั้งสถานีควบคุมไฟป่าขึ้นในพื้นที่โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 3-4 รับผิดชอบการควบคุมไฟป่าในท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราชรวม 21 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ต่อมาสถานการณ์ไฟป่าได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และรุนแรงในท้องที่ป่าพรุควนเคร็งจึงได้ย้ายสำนักงานมาตั้งสำนักงานชั่วคราวบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองค็อง บ้านทับแขก หมู่ที่ 10 ต.สวนหลวง อ.เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช และเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อความสะดวก คล่องตัวในการปฏิบัติงานดับไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุ ปี พ.ศ. 2546 กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้จัดตั้งโครงการควบคุมไฟป่าในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ ปฏิบัติงานควบคุมและป้องกันไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุและสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช รับผิดชอบพื้นที่ป่าบก ได้ย้ายมาตั้งสำนักงานชั่วคราว ม..3 ต.นาสาร อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช จนถึงปัจจุบัน... ปัจจุบัน นายจรัล ด้วงแป้น ตำแหน่งเจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ทำหน้าที่หัวหน้าสถานีฯ

  3. ที่ตั้งหน่วยงาน สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัส ไปรษณีย์ 80000 โทรศัพท์ 08 - 1326 - 2829 (ทางหลวงสาย เบญจม - นาพรุ ) ค่าพิกัดที่ 47 P 0601033 UTM 0924013 N 08 21’ 294” E 099 55 03

  4. อัตรากำลังเจ้าหน้าที่อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ดังนี้ - ข้าราชการระดับ 5 จำนวน 1 คน - ลูกจ้างประจำ ( พนักงานขับรถยนต์ ) จำนวน 1 คน - พนักงานราชการ จำนวน 4 คน - จ้างเหมาปฏิบัติงาน จำนวน 26 คน

  5. พื้นที่รับผิดชอบ มีพื้นที่เป้าหมายหลักตามแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2551 จำนวนเนื้อที่ 125,000 ไร่ มีพื้นที่ที่สำคัญ ได้แก่ - อุทยานแห่งชาติเขาหลวง มีพื้นที่จำนวน 356,250 ไร่ - อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง มีพื้นที่จำนวน 128,125 ไร่ - อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด มีพื้นที่จำนวน 90,625 ไร่ - อุทยานแห่งชาติเขานัน มีพื้นที่จำนวน 256,148 ไร่ - เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากะทูน มีพื้นที่จำนวน 104,000 ไร่ - สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า มีพื้นที่จำนวน 7,018 ไร่

  6. ข้อมูลพื้นฐาน ทรัพยากรป่าไม้ ท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยป่าชนิดต่างๆ ดังนี้ 1. ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 69 ป่า มีเนื้อที่ 1,438,230.60 ไร่ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบและถูกบุกรุก สภาพป่าคงเหลืออยู่น้อย บริเวณยอดเขาเป็นป่าดิบชื้น 2. ป่าอนุรักษ์ ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติ , เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า , เขตห้ามล่าสัตว์ป่า มีเนื้อที่ 1,242,422 ไร่ ลักษณะทางกายภาพ จังหวัดนครศรีธรรมราชตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคใต้ห่างจากกรุงเทพมหานคร 780 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 9,942,502 ตร.กม. หรือประมาณ 6,214,064 ไร่ พื้นที่มากเป็นอับดับที่ 16 ของประเทศ หรือประมาณร้อยละ 1.98 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ที่ตั้งของจังหวัดตั้งอยู่ประมาณละติจูด 9 องศาเหนือ และลองติจูด 100 องศาตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่างๆ ดังต่อไปนี้ - ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและอ่าวบ้านดอน - ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง - ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทยเป็นชายฝั่งทะเล มีความยาวตั้งแต่ตอนเหนือของอำเภอขนอมลงไปทางใต้ของอำเภอหัวไทรประมาณ 225 กิโลเมตร - ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุราษฏร์ธานีและจังหวัดกระบี่

  7. ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดนครศรีธรรมราชแตกต่างไปตามลักษณะของเทือกเขานครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเทือกเขาที่มีความยาวตามแนวยาวของคาบสมุทรเป็นผลให้ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ บริเวณเทือกเขาตอนกลาง , บริเวณที่ราบชายฝั่งตะวันออกและบริเวณที่ราบด้านตะวันตก ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดนครศรีธรรมราช จากสภาพที่ตั้งใกล้เส้นศูนย์สูตร มีภูเขาและเป็นคาบสมุทรทั้งสองด้าน กล่าวคือ ด้านตะวันออกเป็นทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ด้านตะวันตก เป็นทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ทำให้นครศรีธรรมราชได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม จากมหาสมุทรอินเดียและพายุหมุนเขตร้อน จากทะเลจีนใต้สลับกันดังนี้ 1. ลมมรสุมในแต่ละปี จังหวัดนครศรีธรรมราชจะได้รับอิทธิพลของลมมรสุม ดังนี้ - ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะอยู่ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม - ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะทำให้ฝนตกมากในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน - มกราคม 2. พายุเขตร้อน เป็นระบบความกดอากาศต่ำที่มีขนาดเส้นฝ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 2 องศา ละติจูดก่อตัวขึ้นเหนือน่านน้ำในเขตร้อนระหว่างละติจูด ประมาณ 5 - 20 องศาเหนือ โดยไม่มีระบบแนวปะทะเข้ามาเกี่ยวข้องและมีการหมุนเวียนชัดเจน ซึ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศได้แบ่งชนิดของพายุเขตร้อยตามความรุนแรงดังต่อไปนี้ - พายุดีเปรสชั่น - พายุโซนร้อน - พายุใต้ฝุ่น

  8. ลักษณะฤดูกาล จังหวัดนครศรีธรรมราช มี 2 ฤดู คือ 1.ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์ - เมษายน มีอากาศร้อนตลอดฤดูกาล 2. ฤดูฝน แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ - ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม เป็นช่วงที่รับอิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ แต่เนื่องจากมีเทือกเขานครศรีธรรม ราชที่สูงชัน เป็นแนวกั้นทิศทางลม จึงมีฝนตกไม่มากนัก บริเวณที่ฝนตกในช่วงนี้ คือพื้นที่ทางตะวันตกของเทือกเขา เช่น อำเภอทุ่งสง ทุ่งใหญ่ พิปูน เป็นต้น - ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - มกราคม เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือช่วงนี้มีฝนตกหนาแน่น เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ด้านรับลมทำให้เกิดอุทกภัยเป็นประจำทุกปี สภาพแหล่งน้ำ แม่น้ำลำคลองภายในจังหวัดมีอยู่หลายสาขา ส่วนใหญ่เกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราชและเทือกเขาบรรทัด บางสาขาไหลลงสู่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี บางสาขาไหลลงสู่อ่าวนครศรีธรรมราช และบางสาขาไหลลงสู่ทะเลอันดามัน แม่น้ำลำคลองเหล่านี้ล้วนมีขนาดเล็ก ชาวนครมักเรียกว่า " คลอง " แม่น้ำลำคลองที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำหลวง คลองปากพูน คลองปากพญา - คลองปากนคร คลองเสาธง คลองกลาย คลองท่าทน คลองน้ำตกโยง คลองมีน คลองท่าเลา คลองท่าโลน

  9. ผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ2551ตั้งแต่ ตุลาคม 2550 - มิถุนายน 2551 สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช

  10. การรณรงค์ป้องกันไฟป่าการรณรงค์ป้องกันไฟป่า

  11. การประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่การประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่

  12. ป้ายประชาสัมพันธ์

  13. การให้การศึกษา

  14. กิจกรรมวันรณรงให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า ( 24 กุมภาพันธ์ )

  15. การปฏิบัติงานดับไฟป่าการปฏิบัติงานดับไฟป่า

  16. การสำรวจพื้นที่ปฏิบัติงานการสำรวจพื้นที่ปฏิบัติงาน

  17. เตรียมพนักงานดับไฟป่า / เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์

  18. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือดับไฟป่าเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือดับไฟป่า

  19. การจัดทำแนวกันไฟ

  20. การจัดการเชื้อเพลิง

  21. แผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดไฟป่าแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดไฟป่า

  22. สถิติการเกิดไฟป่าตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 – 2550ในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช

  23. สถิติการปฏิบัติงานดับไฟป่าประจำปีงบประมาณ 2551ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 - มิถุนายน 2551ในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครศรีธรรมราช

  24. แผนการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2551

  25. จบการนำเสนอ สวัสดี

More Related