1 / 65

Chapter 8

Chapter 8. Information Technology For Management 5 th Edition Turban, Leidner, McLean, Wetherbe Lecture Slides by A. Lekacos, Stony Brook University John Wiley & Sons, Inc. Enterprise Systems: From Supply Chains to ERP to CRM. Learning Objectives.

Download Presentation

Chapter 8

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Chapter 8 Information Technology For Management 5th Edition Turban, Leidner, McLean, Wetherbe Lecture Slides by A. Lekacos, Stony Brook University John Wiley & Sons, Inc. Enterprise Systems: From Supply Chains to ERP to CRM

  2. Learning Objectives • ทำความเข้าใจถึงปัจจัยหลักของระบบต่าง ๆ ที่ใช้งานทั่วทั้งองค์กร (enterprise systems) และการบริหารห่วงโซ่อุปทานโดยใช้คอมพิวเตอร์ (computerized supply chain management) • อธิบายถึงรูปแบบต่างๆ ของห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) • อธิบายถึงปัญหาของการบริหาร supply chain และ innovative solutions. • อธิบายถึงประเภทของซอฟท์แวร์หลัก ๆที่สนับสนุนการคำเนินงานต่างๆของ supply chain • อธิบายถึงความต้องการของซอฟท์แวร์รวม (integrated software)และ ERP ทำได้อย่างไร • อธิบายถึง CRM และ การสนับสนุนจาก IT.

  3. ChevronTexaco Modernized Its Supply Chain With IT • The Business Problem • ChevronTexaco เป็นบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ใน US ธุรกิจหลักคือการขุดเจาะน้ำมัน ปรับแต่ง ขนส่ง และ ขายน้ำมัน ในธุรกิจที่มีการแข่งขันแบบนี้ การประหยัดเงินได้ หนึ่งในสี่ของเพนนีต่อแกลลอน รวมๆแล้วจะประหยัดได้หลายร้อยล้านเหรียญ • ปัญหาหลักสองข้อคือ ไม่มีน้ำมันในแต่ละปั๊ม (Run-out) ที่มีมากมายหลายปั๊ม และ หยุดการจัดส่งเพราะแท็งค์ที่สถานีขายน้ำมันเต็ม (Retain) • ปัญหาสองข้อสามารถแก้ไขโดยใช้ Supply Chain โดยที่การไหลของน้ำมันใน Supply Chain เริ่มที่ การค้นหาน้ำมัน การขุดเจาะ และ การดูดน้ำมัน หลังจากนั้น มัน จะถูกลำเลียงไปกลั่นและกลั่น จัดเก็บ และท้ายที่สุดก็ไปสู่ลูกค้า • สิ่งยุ่งยากในการ match สามส่วนใน Supply Chain คือ การขุดเจาะ การดำเนินการ และการกระจายน้ำมัน

  4. ChevronTexaco มีทั้งทุ่งบ่อน้ำมันและโรงกลั่นหลายๆแห่ง เขายังซื้อทั้งน้ำมันดิบ และ น้ำมันที่กลั่นแล้วเพื่อรองรับความต้องการสูงสุด (peak demand) • การจัดซื้อทำสองแบบคือ การทำสัญญาซื้อในระยะยาว และ การซื้อเมื่อต้องการจาก Spot market ในราคาที่สูงกว่าการทำสัญญาซื้อแบบระยะยาว • ในช่วงที่ผ่านมา ChevronTexaco ทำตัวเป็นบริษัทผู้ผลิตแบบผลิตจำนวนมาก (mass production) คือ ทำการผลิตมากๆแล้วพยายามขายให้ได้มากๆ (Supply-drivenstrategy) • ปัญหาของการผลิตในลักษณะนี้คือ ถ้าผลิตมากหรือน้อยเกินไป ท่านจะมีต้นทุนเพิ่ม เข้าไปใน Supply Chain

  5. IT Solution • บริษัทได้ตัดสินใจเปลี่ยน business model จาก “Push (ผลิตได้มากเท่าใด ก็ผลักไปสู่ ลูกค้ามากเท่านั้น)” มาเป็น “Pull (ลูกค้าต้องการเท่าใด ก็ผลิตเท่านั้น)” • บริษัทได้ติดตั้งแต่ละแแท็งค์ของแต่ละสถานีเติมน้ำมันด้วย Electronic Monitor เพื่อ จัดการส่งสารสนเทศของระดับน้ำมันตามเวลาจริง (real time) ผ่านทางสายนำสัญญาณ ไปเข้าสู่ระบบ IT ของสถานีเติมน้ำมัน แล้วสารสนเทศนี้จะถูกส่งผ่านทางดาวเทียมไป ยัง main inventory system ที่ main office ของบริษัท • Advanced DSS-based planning system จะทำการประมวลข้อมูลเพื่อทำการตัดสินใจ ทางด้านการปรับแต่ง การตลาด และ logistic นอกจากนั้น DSS ยังรวมไปถึงการรวบ รวมสารสนเทศของบริษัทขนส่ง(Trucking company)และสายการบิน(airline company) ซึ่งเป็นลูกค้าหลัก

  6. โดยการใช้ Enterprise Resource Planning (ERP) และ Business Planning System บริษัทสามารถหาได้ว่าจะต้องปรับแต่งเป็นจำนวนเท่าใด จะต้องซื้อจาก Spot market เท่าใด จะต้องส่งไปที่สถานีเติมน้ำมันแต่ละแห่งเท่าใด • เมื่อรวมข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน จำเป็นต้องรวมระบบสารสนเทศของ Supply และ Demand เข้าด้วยกัน ซึ่งซอฟแวร์ ERP ใช้ประโยชน์ได้ดี ข้อมูลเหล่านี้ถูกใช้โดยผู้ วางแผน (Planner) ที่หลายๆจุดของ Supply Chain (เช่น refinery, terminal management, station management, transportation, production) ซึ่งประมวลและใช้ ข้อมูลร่วมกัน • นอกจากนั้นระบบ IT จะสนับสนุนทำให้เกิดโครงการต่างๆทางด้าน e-business อีกมากมาย

  7. The Results • ระบบรวม (integrated system) ทำให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ทั่วทั้งบริษัทส่งผล ให้เกิดการปรับปรุงการตัดสินใจในทุกๆจุดที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าและส่วนต่างๆที่ต้อง ประมวลผลใน Supply Chain ส่งผลให้เพิ่มกำไรให้กับบริษัทมากกว่า 300 ล้านเหรียญ ในปี 1999 และเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่า 100 ล้านเหรียญในปีต่อๆมา • โดยการศึกษาของ Worthen (2002) พบว่า 20% ของบริษัทน้ำมัน (นับจากด้านคะแนน สูง) สามารถดำเนินการด้าน Supply Chain มีประสิทธิภาพเป็นสองเท่าของค่าเฉลี่ยของ บริษัทต่างๆ และ มี inventory น้อยกว่าบริษัททั่วๆไปครึ่งหนึ่ง และสามารถตอบสนอง ความต้องน้ำมันที่เพิ่มขึ้น (20% หรือ มากกว่า) ได้เร็วกว่าถึงสองเท่า และยังรู้ว่า จะทำ การ minimize ตัวเลขในการจัดส่งน้ำมันไปยังสถานีเติมน้ำมันต่างๆได้อย่างไร

  8. Roadmap: Overview of enterprise system

  9. 8.1 Essentials of Enterprise Systems and Supply Chains • Enterprise systems (บางทีเรียก Enterprisewide system)คือระบบหรือกระบวนการ ต่างๆที่ทั่วทั้งองค์กรหรือใช้เฉพาะส่วนหลักๆซึ่งจะเห็นว่ามันต่างจาก functional system ซึ่งใช้ในแต่ละแผนก ตัวอย่างที่พบเห็นทั่วๆไปของ Enterprise system ได้แก่ • Enterprise resource planning (ERP):สนับสนุน Supply Chain ภายใน enterprise • Extended EPR: ERP ที่สนับสนุนพันธมิตรธุรกิจอื่นๆด้วย • Customer relationship management (CRM):ใช้เพื่อดูแลลูกค้า • Partner relationship management (PRM):ถูกออกแบบมาเพื่อดูแลพันธมิตรธุรกิจ ต่างๆ • Business process management (BPM):ทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนกระบวนการต่าง ๆ ในองค์กร ทั้งนี้รวมถึง การทำ Reengineering และ การบริหารการไหล (flow) ของกิจกรรมและงานต่าง ๆ • Product life cycle management (PLM):ใช้ลดต้นทุนและระยะเวลาในการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ โดยเริ่มตั้งแต่แนวความคิด การออกแบบ การสร้าง และ การสนับสนุน

  10. Decision support systems (DSSs):สนับสนุนการตัดสินใจทั่วทั้งวิสาหกิจ มักใช้ ร่วมกับคลังข้อมูลโดยรูปแบบนี้มันจะรวมเอา Executive information system (EIS) เอาไว้ด้วย • Knowledge management (KM) systems:สนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ การจัดเก็บ และ การกระจายองค์ความรู้

  11. What is a supply chain ? • นิยามต่อไปนี้จะช่วยให้ทำความเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น • Supply chain หมายถึงการไหล (flow)ของวัตถุดิบ สารสนเทศ เงิน และ การบริการ ต่างๆจากซัพพลายเออร์ซึ่งเป็นผู้ป้อนวัตถุดิบ ผ่านโรงงาน ไปถึงคลังสินค้าของลูกค้า ทั้งนี้รวมถึงแผนกต่างๆ และกระบวนการที่เกี่ยวข้อง • Supply chain management (SCM)ฟังก์ชันของ SCM คือ การวางแผน การจัดองค์กร และ Optimize หนึ่งหรือมากว่าการดำเนินกิจกรรมของ supply chain • SCM Softwareหมายถึงซอฟท์แวร์ที่ออกแบบให้สนับสนุนส่วนต่างๆที่เจาะจงของ Supply Chain เช่น การผลิต การควบคุมสินค้าคงคลังการจัดเวลาและการขนส่งซอฟต์แวร์นี้จะเน้นไปที่การปรับปรุง decision making optimization และ analysis • E-supply chainคือSupply chain ที่ถูกบริหารจัดการผ่านทางอิเลคทรอนิคส์โดยใช้ Web-based software

  12. Supply chain ให้สังเกตเรื่อง Inventory

  13. The Flows in the Supply Chain • การไหลของ Supply Chain มีสามแบบ(ในมุมมองที่ต่างกัน) ได้แก่ • 1) การไหลของวัตถุดิบ (Materials flows)หมายถึง ผลิตภัณฑ์ต่างๆ วัตถุดิบ การจัดส่ง และอื่นๆ ที่ไหลไปตามสายโซ่ แนวความคิดของ materials flows นั้นจะรวมทั้ง reverse flows-returned products, recycled products และ disposal of materials or products. • 2) การไหลของสารสนเทศ (Information flows) หมายถึงข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับความ ต้องการ การจัดส่ง การสั่งของ การส่งคืน และ ตารางเวลา (schedule) เป็นการไหลของ สารสนเทศทั้งสิ้น • 3) การไหลทางบัญชี (Financial flows)หมายถึง การโอนเงิน การจ่ายเงิน สารสนเทศของบัตรเครดิต และ การอนุมัติ ตารางการจ่ายเงิน การจ่ายเงินแบบอิเลคทรอนิคส์ และเครดิตที่สัมพันธ์กับข้อมูล

  14. Supply Chain ของบางองค์กร จะมีการไหลน้อยแบบกว่า เช่น ในอุตสาหกรรมการให้ บริการ (Service industry) จะไม่มีการไหลของวัตถุดิบที่มีโครงสร้างทางกายภาพ แต่ มักจะเป็นการไหลของเอกสารต่างๆมากกว่า (hard and/or soft copies) • พึงสังเกตว่า การทำให้เป็นดิจิตอลของซอฟต์แวร์ เพลงและ อื่นๆ ซึ่งไม่มีการไหลทางกายภาพใน Supply chain แต่มันจะมีการไหลของสารสนเทศสองชนิดคือ replaces materials flow (เช่น digitized software) และ supporting information (เช่น orders billing เป็นต้น)

  15. The Structure and Components of Supply Chains • เทอม Supply chain มาจากรูปที่แสดงถึงส่วนต่างๆขององค์กรเชื่อมต่อกันอย่างไร • Supply chain เกี่ยวข้องกับสามส่วน(รูปหน้าถัดไป) คือ: • ต้นทาง (Upstream) เมื่อ sourcing หรือ procurement เกิดจาก external suppliers • ภายใน (Internal)เมื่อเกิดการ packaging, assembly, หรือ manufacturing • ปลายทาง (Downstream)เมื่อเกิดการ distribution หรือ dispersal มักเกิดจาก external distributors • Supply chain ยังรวมถึงการเคลื่อนไหวของผลิตภัณฑ์หนึ่งๆ หรือ การบริการหนึ่งๆ และ แผนกต่างๆ และ สิ่งต่างๆที่เกิดร่วมด้วย สิ่งเหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสายโซ่ เช่นกัน

  16. ตัวอย่างของ SC พิจารณาให้แยกง่าย ๆ โดยก่อน โดยแยกเป็น ซัพพลายเออร์ผู้ขาย วัตถุดิบให้เรา (Upstream)เราเป็น ผู้แปรรูปวัตถุดิบนั้นให้เป็นสินค้า (Internal) และ ผู้ที่รับสินค้าไปจาก เรา (Downstream) หลังจากนั้น จึง เขียนผังการไหล (Flow diagram) เมื่อดูการไหลแล้วเป็นแบบง่ายๆ ไม่มีการเชื่อมโยงข้ามฟังก์ชัน มัก จะเรียกแบบนี้ว่า Linear Supply Chain

  17. Types of Supply Chains • Supply Chain ในรูปที่ผ่านมา เป็นบริษัทที่ผลิตสินค้า บริษัทเหล่านี้อาจมีคลังสินค้า(warehouse)ตั้งอยู่ต่างสถานที่กัน ทำให้ chain มีความซับซ้อนมากขึ้น • โดยทั่วไปแล้ว Supply Chain สามารถแบ่งได้เป็นสี่ลักษณะกว้างๆ คือ • 1) ผลิตรวมๆกันแล้วเก็บไว้ในสต็อก (Integrated make-to-stock) • 2) ผลิตเพื่อเติมเต็มตลอดเวลา (Continuous replenishment) • 3) ผลิตตามคำสั่งซื้อ (Build-to-order) • 4) ประกอบตามช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel assembly)

  18. Supply Chains Classifications Demand Chain “Supply” Chain Value Chain

  19. Benefits of Proper Supply Chain Management • การออกแบบ SC นั้น ไม่ได้เป็นเพียงแต่แสดงการไหลของสินค้า การบริการ สารสนเทศ และทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับทางบัญชีเท่านั้น (ซึ่งเป็นไปเพื่อแสดงให้ เห็นถึงการมุ่งเน้นในการเปลี่ยนวัตถุดิบต่างๆให้เป็นสินค้าที่สำเร็จเสร็จสิ้นอย่างมี ประสิทธิภาพ) แต่ยังรวมถึงการทำงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้เกิดประสิทธิภาพด้วย • เป้าหมายหลัก(goal)ของ Supply Chain Management (SCM) สมัยใหม่ ต้องทำการ ลดความไม่แน่นอน (Uncertainty) และ ความเสี่ยง (Risk) ตลอด Supply Chain ลง ให้มากที่สุด นั่นหมายความว่า จะต้องลดระดับของสินค้าคงคลัง (inventory level), รอบเวลา (cycle time)และ ปรับปรุง กระบวนการทางธุรกิจกับการให้บริการกับ ลูกค้า

  20. 8.2 Supply Chain Challenges • Reasons for Supply Chain Problems: • ปัญหาที่เกิดกับ supply chain มาจากสองแหล่ง: • 1) ความไม่แน่นอนต่างๆ (Uncertainties) • 2) ความจำเป็นต้องประสานงานกับการดำเนินงานหลายๆแบบ ทั้งภายในด้วยกันเอง (ข้ามแผนก) และ พันธมิตรธุรกิจทั้งหลาย • ความไม่แน่นอนของ supply chain ก็คือการพยากรณ์ความต้องการ (demand forecast) ความต้องการจริงอาจเปลี่ยนแปลงออกไปจากที่ประมาณการเอาไว้โดยผลของการดำเนินการต่างๆ เช่น สภาพการแข่งขัน ราคา สภาพภูมิอากาศ การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ความเชื่อมั่น ของลูกค้า ระยะเวลาในการจัดส่ง และอื่นๆ

  21. Bullwhip Effect • ความยุ่งยากประการหนึ่งที่พบเห็นบ่อยมากคือคือการปรับตั้งค่าระดับสินค้าคงคลัง(inventory level) ต่าง ๆ ในส่วนต่างๆของ Supply chain หรือ รู้จักกันในชื่อ Bullwhip Effect • Bullwhip Effectหมายถึง การเปลี่ยนแปลง (Erratic shifts) ในเชิงเพิ่มขึ้นหรือลดลง ของ supply chain จะสัมพันธ์กับความถูกต้องในการกำหนดระดับสินค้าคงคลังในหลาย ๆส่วนที่เกี่ยวข้องกับ supply chain

  22. Trust and Collaboration • ความไว้วางใจถือเป็นเรื่องสำคัญในการร่วมมือกันระหว่าง supplier และ buyer ใน SC เพราะต้องใช้สารสนเทศร่วมกันและทำกระบวนการการทำนาย (predict process) ร่วมกันในเชิงผู้หนึ่งให้การพยากรณ์ (forecast)ไปยังอีกผู้หนึ่ง • Global Supply Chain Management Issues • การบริหาร SC ที่เกี่ยวกับเรื่องของ international จะมีความซับซ้อนมากขึ้น มีเรื่องเกี่ยวข้องหลายระดับชั้น เช่น การเมือง ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา กฎหมายของแต่ละประเทศ คุณภาพของสินค้าที่ต่างมาตรฐานกัน โครงสร้างขององค์กร เป็นต้น

  23. Outsourcing: Make-Or-Buy Decision: • การตัดสินใจว่า จะผลิตเอง (Make) ซึ่งหมายถึง การผลิตหรือการพัฒนาขึ้นมาในองค์กรของเรา หรือ จะซื้อ (Buy) หมายถึง ซื้อผลิตภัณฑ์หรือการบริการจากบุคคลภายนอกองค์กร ควรพิจารณาจากสมรรถนะหลักขององค์กร (core competency) (สิ่งที่ outsource ไม่ควรเป็น core competency ขององค์กร) ทำการวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิตหรือจัดหามา ประเมินความเหมาะสมของผู้ขาย ตรวจสอบถึงความเชี่ยวชาญภายในองค์กร รวมถึงความสามารถในการเก็บสินค้าคงคลัง • Many-Supplier Strategy: • ในกรณีที่มี supplier หลายราย องค์กรต้องมีแผนกลยุทธ์ในการประเมินสินค้า หรือ การบริการจาก supplier เหล่านั้น เพื่อจะได้เลือกซื้อได้อย่างเหมาะสม

  24. Vendor selection: • กระบวนการในการเลือก Vendor แบ่งเป็น • 1) การประเมิน Vendorเป็นการเสาะหา Vendor และดูว่าเขาน่าจะเป็น good supplier ที่ดีกับเราในอนาคต • 2) การพัฒนา Vendorสมมติว่า เขาถูกเลือกเป็น Vendor เราในอนาคต เราจะให้การอบรม ให้ความรู้ ช่วยเหลือทางวิศวกรรมและการผลิต พัฒนาโครงสร้างและกระบวนการในการส่งผ่านสารสนเทศต่าง ๆ อะไรกับเขาบ้าง • 3) การเจรจาต่อรองกับ Vendorในแง่ของคุณภาพ ระยะเวลาในการจัดส่งสินค้า การชำระเงิน และ ราคาต้นทุน

  25. นอกจากนั้นต้องพิจารณาถึง strategic fit, vendor competence, delivery capability, production process capability, financial strength, facilities และ location, product selection, vendor quality และ product pricing • Cost of reverse logistics • Reverse logisticคือ กระบวนการของการต่อเนื่องในการรับสินค้ากลับคืน และ/หรือ packaging materials เพื่อหลีกเลี่ยงความสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์

  26. 8.3) Supply Chain Opportunities • Managing Information • เนื่องจากมีการใช้สารสนเทศร่วมกัน หลาย ๆ บริษัทใช้ master data management (MDM) เข้าช่วย ดังรูปในหน้าถัดไป ทำให้ supplier สามารถเติมเต็มสินค้าคงคลังของผู้ซื้อ (inventory replenishment)ได้ง่ายหรือ กล่าวได้ว่า supplier สามารถบริหารสินค้าคงคลังที่ผู้ซื้อได้ด้วยตัวเขาเองโดยที่ผู้ซื้อไม่ต้องเข้ามายุ่งเกี่ยว เรียกว่า Vendor-managed inventory (VMI)

  27. MDM Framework

  28. Managing E-Business • การเพิ่มขึ้นของ E-Business ทำให้ SC ได้รับการปรับปรุงตามไปด้วย เพราะการใช้อินเตอร์เน็ตทำให้ SCM เร็วขึ้น ต้นทุนต่ำลง มีความคล่องตัวมากขึ้น และ SC สั้นลง • Electronic marketplacesนำมาใช้เพื่อให้องค์กรบ่งชี้ upstream supplier • Electronic ordering and funds transfer (EOFT)ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญใน E-business transaction • การทำธุรกรรมระหว่างองค์กรมักใช้ Electronic Data Interchange (EDI) • Expanded version of EDI ถูกเรียกว่า Advanced Shipping Notice (ASN)ทำให้ vendor ส่ง shipping notice ไปให้ purchaser ได้โดยตรง

  29. Supply chain integration hub ยอมให้มีการเชื่อมต่อทางอิเลคทรอนิคส์ระหว่างคู่ค้าภายในระบบ E-Business ขององค์กร • ทางเลือกหนึ่ง ที่มักทำกันคือ เปลี่ยนจาก linear SC เป็น Hub • ใน linear supply chain นั้น สารสนเทศจะถูกประมวลแบบต่อเนื่องกันไป (โดยประมวล จากส่วนที่หนึ่งก่อน แล้วไปส่วนที่สอง เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ) ทำให้การไหลของงานเชื่อง ช้า ทางแก้ปัญหาทางหนึ่งก็คือ ทำการเปลี่ยนจาก linear chain เป็น hub โดยแต่ละผู้เกี่ยวข้องใน supply chain สามารถเข้าถึงสารสนเทศในคลังข้อมูลได้โดยตรง

  30. Managing Logistic • Logistics ประกอบไปด้วย กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การจัดหาวัตถุดิบ การเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ ดังนั้น การบริหารเกี่ยวกับ การจัดส่ง คลังสินค้า และ สินค้าคงคลัง ถือเป็นส่วนหนึ่งของ Logistics system • การกระจายสินค้า จากโรงงานไปสู่ศูนย์กลางกระจายสินค้า (distribution center) ไปสู่ warehouse (เฉพาะที่) ไปสู่ร้านค้าปลีก ถือได้ว่า เป็นต้นทุนประมาณ 25% ของสินค้าบางประเภท

  31. Managing Inventory • ปัญหาที่เกิดขึ้นเหมือน ๆ กันก็คือสินค้าคงคลังที่เพิ่มมากขึ้น (building inventories)และปัญหาหลักที่ต้องตอบคำถามก็คือ สินค้าคงคลังควรจะอยู่ที่ระดับใดจึงจะเหมาะสม • เพราะถ้าเรากำหนดระดับสินค้าคงคลังเอาไว้สูงเกินไป จะทำให้ต้นทุนในการเก็บสูงตาม ไปด้วย (นอกจากนั้น ถ้ามีการกำหนดระดับสินค้าคงคลังไว้ให้สูงในหลายๆส่วนของ supply chain จะทำให้ให้เกิด bullwhip effect ตามมา) ในทางกลับกัน ถ้ากำหนดไว้ต่ำเกินไป เมื่อความต้องการใช้ของนั้นๆสูงขึ้น ก็จะขาดของ ทำให้ส่งของไม่ทัน สูญเสียรายได้และลูกค้า

  32. Collaborative fulfillment networks (CFN) เป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในขั้นตอนที่แตกต่างกันใน SC • Vendor-managed inventory (VMI)คือ การยอมให้ซัพพลายเออร์เฝ้าดู(monitor)ระดับสินค้าคงคลังของสินค้าของเขาในร้านค้าปลีกและเติม inventory ได้เมื่อต้องการ จะทำการตัดสินใจบนระดับสินค้าคงคลังที่พิจารณาในเชิง • Lot size reduction technique เป็นการลดขนาดของจำนวนจัดส่งให้น้อยลง • Single-stage control of replenishment เป็นการเติมสินค้าให้เต็มตามระดับสินค้าคงคลังที่กำหนดเอาไว้โดยลูกค้า หลังจากลูกค่านั้น ๆ นำสินค้าไปใช้บางส่วน

  33. Managing E-Procurement • คือการใช้เทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตเข้าช่วยในการจัดซื้อหรือจัดหาสินค้าและบริการต่าง ๆ • Managing Collaboration • การบริหารจัดการ supply chain และ inventory อย่างถูกต้อง ต้องได้รับความร่วมมือ จากทุกๆ การดำเนินงานที่ต่างกันและการเชื่อมต่อต่างๆของ supply chain ความสำเร็จของการร่วมมือช่วยให้เกิดการเคลื่อนย้ายไหลราบลื่นไปด้วยดี และตรงเวลา ตั้งแต่ supplier ไปยัง manufacturers ไปยัง customer ทำให้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นๆ มีสินค้าคงคลังอยู่ในระดับต่ำ และมีต้นทุนลดลง

  34. Managing Other IT-Assisted Solution • กลุ่มทำ SC:การเปลี่ยนจาก linear SC เป็น hub ท่านจะต้องสร้าง SC Team ขึ้นมา SC Team คือ กลุ่มที่ tightly integrated businesses ซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อให้บริการกับ ลูกค้า งานแต่ละงานจะกระทำโดยสมาชิกในกลุ่ม โดยผู้ที่มีความสามารถสูงสุด มาทำงานนั้น ๆ • โรงงานเสมือน (Virtual factory):โปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ร่วมกันทั้งองค์กรดังนั้น ITต้องจัดหารูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์มาให้กับโรงงาน เพื่อใช้ร่วมกันทั้งองค์กร • Wireless Solution • อ่านเพิ่มเติมใน IT at Work 8.2 “Peacocks retails uses wireless to smooth its supply chain”, page 312

  35. 8.4 Business Value of Enterprise Systems • ในศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์เป็นแบบ Functional oriented (หมายถึง ฟังก์ชันแตกต่างกันในแต่ละแผนก) พอเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 การบริการจัดการผ่านทาง เทคโนโลยีเดิมทำได้ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะเทคโนโลยีเดิมไม่สามารถสื่อสารกันได้ สะดวกเพราะต่างฟังก์ชันกัน สิ่งที่ต้องการคือให้มันสื่อสารร่วมกันได้ และอยู่บน platform เดียวกัน เป็นระบบเดียวกัน (เสมือนกับว่า รวม(integrate)ฟังก์ชันต่างๆ (systems) เข้าไว้ ด้วยกันทั้งหมด เป็นระบบเดียวกัน) • Sandoe และคณะ(2001) ได้แสดงถึง major benefits ของการรวมระบบต่างๆเข้าด้วยกัน (systems integration): • ผลประโยชน์แบบรูปธรรม (Tangible benefits) เช่น การลด inventory, การลดพนักงาน ปรับปรุง ผลิตผล ฯลฯ • ผลประโยชน์แบบนามธรรม (Intangible benefits) เช่น การมองสารสนเทศ การปรับปรุงกระบวน การ การตอบสนองต่อลูกค้า

  36. Internal versus external integration • การรวมระบบสามารถทำได้สองแบบ คือ • ก) Internal integrationหมายถึง การรวมกัน(แผนก หรือ ฝ่าย)ภายในบริษัทหนึ่ง ระหว่าง(ท่ามกลาง)การประยุกต์ใช้ และ/หรือ ระหว่างการประยุกต์ใช้กับฐานข้อมูล ต่างๆ เช่น รวมการควบคุมสินค้าคงคลังเข้ากับระบบการสั่งซื้อหรือ CRM รวมกับ ฐานข้อมูลของลูกค้า เป็นต้น • ข) External integrationหมายถึง การรวมกันของการประยุกต์ใช้ต่างๆ และ ฐานข้อมูล ต่างๆ ท่ามกลางพันธมิตรทางธุรกิจทั้งหลายเช่น รวมแคตตะล็อกต่างๆจาก supplier หลายๆรายเข้ากับระบบ buyer’s e-procurement

  37. 8.5 Enterprise Resource Planning Systems • ERP คือ อะไร? • ข้อได้เปรียบของ enterprisewide client/server computing อย่างหนึ่งก็คือ การควบคุม กระบวนการหลักๆทั้งหมดของธุรกิจในเวลาจริงด้วยซอฟท์แวร์ตัวเดียว ซอฟท์แวร์ตัวนี้รู้จักกันทั่วไปว่า ERP • Enterprise resource planning (EPR):ซอฟท์แวร์ที่เป็นการรวบรวม การวางแผนการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรทั้งหมดทั่วทั้งองค์กรเอาไว้ด้วยกัน • อ่านเพิ่มเติม “Rolls-Royce”, page 314 • “Consolidation Application via ERP”, page 314 • SAP R/3 เป็นผู้นำทางด้าน EPR software (จาก SAP AG Crop.): ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์ แพ็กเกจที่รวมเอามากกว่า 70 business activities modules เข้าไว้ด้วยกัน

  38. Generations of ERP • ERP รุ่นแรกมุ่งเน้นไปที่การดำเนินงานต่างๆ ภายในองค์กรที่เป็นงานประจำ และมีการทำซ้ำๆโดยธรรมชาติ • ERP รุ่นที่สองเป้าหมายของรุ่นที่สองคือ การกระจายระบบสารสนเทศทั้งหมดที่มีอยู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ธุรกรรมและปรับปรุงด้านการตัดสินใจ และเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำธุรกิจในรูปแบบธรรมดาไปเป็น e-business. • จุดอ่อนของ ERP รุ่นแรก คือทำให้เกิดความต้องการระบบการวางแผนเพื่อมุ่งไปสู่การตัดสินใจ และนี่คือการปรากฏโฉมของ SCMเพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการตัดสินใจในส่วนต่างๆของ SC

  39. ERP Application modules

  40. การรวม ERP เข้ากับ SCM • การใช้ ERP และ SCM นั้น ไม่ควรจะเป็นไปในเชิงการตัดสินใจโดยใช้แบบใดแบบ หนึ่ง แต่ควรจะเป็นแบบรวมทั้งสองเข้าด้วยกันและใช้ร่วมกัน ตัวอย่างเช่น งานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งสินค้า(Order processing) มองในมุม ERP จะเป็นไปในเชิง “How can I best take or fulfill you order ?” (คือ ผมรับคำสั่งซื้อของท่านแล้ว ผมจะทำอย่างไรดี เพื่อสามารถส่งของตามที่ท่านสั่งซื้อได้ดีที่สุด) แต่เมื่อมองในเชิง SCM แล้วจะเป็น “Should I take your order ?” (ผมจะรับคำสั่งซื้อจากท่านดีหรือไม่ คำตอบอาจเป็น “ไม่” ถ้าผมต้องเสีย เงิน (ขาดทุน) หรือ ทำให้การผลิตของผมยุ่งยาก) • ดังนั้นจะเห็นว่า SCM มุ่งเน้นไปยังการวางแผน การ optimization และ การตัดสินใจ ในส่วนต่างๆของ Supply chain ส่วน ERP จะมุ่งเน้นไปที่ การวางแผน การบริหาร จัดการ และการใช้ทรัพยากรทั้งหมดทั่วองค์กร(มองในเชิงการใช้ทรัพยากรทั้งหมดทั่วองค์กร)

  41. อ่านเพิ่มเติม IT at Work 8.2 “How Warner-Lambert Applies as Integrated SC”, page 317 • ทางเลือกอื่น ๆ ในการรวม ERP กับ SCM • ใช้ซอฟท์แวร์ต่างค่ายกัน เช่น ใช้ SAP เป็น ERP แล้วใช้ SCM จากอีกบริษัทหนึ่ง แต่ต้องระวังเรื่องความเข้ากันได้ (อาจต้องมี middleware vendor เข้าช่วย) • เพิ่มความสามารถทางด้าน decision support และ analysis เข้าไปใน ERP ซึ่งเป็นส่วน ที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ Business Intelligence (BI) ทำให้มีความสามารถในเชิงวิเคราะห์ เพิ่มขึ้น คือ DSS, ESS, data mining และ Intelligent system (การเพิ่ม business intelligence function เข้าไป ก็จะกลายเป็น second generation ERP ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะ decision support เท่านั้น แต่ยังรวมถึง CRM, e-commerce และ data warehouse กับ data mining บางทียังรวมไปถึง knowledge management ด้วย) • อ่านเพิ่มเติมใน “Colgate-Palmolive Uses ERP to Smooth Its Supply Chain”, page 318

  42. Capabilities of ERP (Third-Generation ERP) • รวมการจัดส่งเข้าไประหว่างหน่วยธุรกิจและส่วนที่เกี่ยวข้อง • รวมศูนย์กระจายสินค้า (distribution center) เข้าไป และลดเรื่อง truckloads ลง • Dynamically sourcing products จากหลาย ๆ แหล่ง • Shared services for manufacturing • Global order management จากแผนกเดียว • มุ่งเน้นลงไปจัดการในแต่ละพื้นที่ • จัดซื้อ/จัดหาร่วมกัน • สร้าง Supplier portals • อ่านเพิ่มเติม IT at Work 8.4 “Integrating EC and ERPat Cybex” page 319

  43. อ่านเพิ่มเติมในหน้า 320-322 • ERP System Selection • ERP and Processes • ERP Development and Implementation • Opensource ERPs • Switching ERP Systems • Value from ERP systems

  44. 8.6) Business Process Management • What is Business Process Management ? • Business Process Management (BPM)หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ เพื่อ optimize และ adapt กระบวนการต่าง ๆ • Business processคือ กลุ่มของกิจกรรมต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันเพื่อสร้างมูลค่าบางอย่างให้กับองค์กร ผู้มีส่วนร่วมทั้งหลาย หรือ ลูกค้า Processes cut across functional area

  45. Strategic value stream แสดง high level process ที่แสดงให้เห็น value-added ของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ถือเป็น core competency ขององค์กร

  46. ทำ BPM แล้วดีอย่างไร • The Business Project Management Institute อ้างว่า • ลด Product design time ลง 50% • นำสินค้าออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น (สินค้าที่ต้องมีการแข่งขัน) • ลด order fulfillment time ลง 80% • เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าในกระบวนการสั่งของ (order processing) • ช่วยองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นถึง 60% ในส่วนของ call center

  47. The difference in Process Thinking เมื่อมองในเชิงสิ่งที่ไม่ควรทำ (don’t) ได้แก่ • ไม่ควรคิดในเชิงที่เกี่ยวข้องกับคน • ไม่ควรคิดในเชิงอนุกรมกันในระดับสูง (high level) • ไม่ควรลืมการเชื่อมต่อกันระหว่างกระบวนการทั้งหลาย • ไม่ควรตั้งชื่อกระบวนการชื่อเดียวกับชื่อแผนก • ไม่ควรลืมว่า ทุก ๆ กระบวนการต้องมีมูลค่าเพิ่ม • ไม่ควรลืมวัดอินพุตและเอาต์พุตของทุก ๆ กระบวนการ • ไม่ควรคิดเชิงกายภาพเมื่อจำลองกระบวนการ (it’s what you do, not how you do it)

  48. Reengineering • หัวใจของ BPM คือ reengineering (คำว่า Reengineeringหมายถึงการออกแบบธุรกิจขององค์กรใหม่ เป็นการโละทิ้งแบบเดิมอย่างขุดรากถอนโคน (radical redesign)) โดยการปรับเปลี่ยนกระบวนการปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและสร้างรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมา • Measuring Processes • ก่อนทำ Reengineering ควรทำการวัดกระบวนการเสียก่อน มีหลายแนวทางที่นำมาใช้ได้ เช่น ISO 9000, Six Sigma หรือ TQM

  49. TQM ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ • 1) Kaizen มุ่งเน้นที่ทำการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กระบวนการเหล่านั้น ชัดเจน ทำซ้ำ ๆ ได้ และ วัดได้ • 2) Atarimae Hinshitsu มุ่งเน้นที่ intangible effect ของกระบวนการต่าง ๆ และแนวทางที่นำมาใช้ optimize และ reduce ผลกระทบข้างต้น • 3) Kansei แนวทางที่ผู้ใช้ใช้ผลิตภัณฑ์ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงตัวผลิตภัณฑ์ • 4) Miryokuteki Hinshitsu เป็นแนวความคิดในเชิงที่ผลิตภัณฑ์จะต้องมีคุณภาพที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากกว่าทั่ว ๆ ไป (เช่น a pen will write in a way that is pleasing to the writer )

More Related