1 / 4

วิธีการแบ่งกลุ่ม

วิธีการแบ่งกลุ่ม. ชนิดของกลุ่ม. กลุ่มการเรียนรู้ตามอัธยาศัย (Informal learning groups )

yamka
Download Presentation

วิธีการแบ่งกลุ่ม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิธีการแบ่งกลุ่ม

  2. ชนิดของกลุ่ม • กลุ่มการเรียนรู้ตามอัธยาศัย (Informal learning groups ) • เป็นการแบ่งกลุ่มแบบชั่วคราว สามารถตั้งกลุ่มแบบง่ายๆเช่นบอกนักเรียนให้จับกลุ่มกันเองเพื่ออธิปรายตามหัวข้อที่กำหนดในระยะเวลาสั้นๆ ผู้สอนสามารถสร้างกลุ่มลักษณะนี้เมื่อไรก็ได้ตามต้องการในระหว่างเรียนเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน ให้โอกาสนักเรียนได้ทำความเข้าใจสิ่งที่ได้เรียนไป • กลุ่มการเรียนรู้แบบเป็นทางการ (Formal learning groups ) • เป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำงานบางอย่างโดยเฉพาะ เช่นทำรายงาน และทำโครงงาน โดยงานที่ให้ทำอาจเสร็จในเวลาเรียน หรืออาจใช้เวลาหลายอาทิตย์ ซึ่งส่วนมากนักเรียนจะทำงานร่วมกันจนงานเสร็จ หรือจนได้เกรด

  3. วิธีการแบ่งกลุ่ม • แบ่งตามระดับผลการเรียน • ในชั้นเรียนทั่วไปจะประกอบไปด้วยนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน • แบ่งตามความสนใจ และแบบสุ่ม • เช่นในนักเรียนทั้งชั้นนับ 1 ถึง 4 แล้วให้คนที่นับเลขเดียวกันอยู่กลุ่มเดียวกัน การแบ่งกลุ่มแบบนี้ช่วยให้นักเรียนที่ปกติไม่สนิทกันได้รู้จักกันมากขึ้น • แบ่งกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน • นักเรียนหลายคนเรียนได้ดีขึ้นเมื่อได้เรียนร่วมกัน สามารถแบ่งกลุ่มแบบนี้ได้โดยในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนที่มีผลการเรียนอ่อนหนึ่งถึงสองคน นักเรียนเก่งหนึ่งคน และนักเรียนปานกลางสอนคน • เมื่อแบ่งกลุ่มต้องคำนึงว่านักเรียนแต่ละคนต้องมีภาระรับผิดชอบในกลุ่ม

  4. วิธีการแบ่งกลุ่ม • คิดถึงกระบวนการทำงานในกลุ่ม • ต้องอธิบายให้ชัดเจนว่ากลุ่มจะดำเนินการอย่างไร • คิดถึงการให้คะแนน • ต้องอธิบายให้ชัดเจนว่าจะให้คะแนนอย่างไร • คิดถึงกิจกรรมที่ต้องโดยอาศัยความร่วมมือจากสมาชิกในกลุ่ม • ให้งานที่ต้องอาศัยการพึ่งพาอาศัยกัน • ให้ความสำคัญกับขนาดของกลุ่ม • จำนวนสมาชิกที่ดีที่สุดคือ 4-5 คน : กลุ่มที่มีจำนวนสมาชิกมากไปทำให้โอกาสที่สมาชิกแต่ละคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมจะน้อยลง • ถ้าในกลุ่มมีแต่นักเรียนไม่เก่ง ขนาดกลุ่มต้องเล็กลง • ถ้าเวลามีจำกัดในการทำงานกลุ่ม ขนาดของกลุ่มต้องเล็กลง (Johnson, Johnson, and Smith, 1991; Smith, 1986)

More Related