1 / 33

Present Simple Tense ( ปัจจุบันธรรมดา ) โครงสร้าง

Present Simple Tense ( ปัจจุบันธรรมดา ) โครงสร้าง S + V. ช่อง 1 ( หากเป็น ประธาน เอกพจน์ ( ยกเว้น I และ You) กริยา “เติม s”). หลักเกณฑ์ “การเติม s ” ที่กริยา เมื่อ ประธาน เป็น เอกพจน์ 1. กริยาที่ ลงท้าย ด้วย s, ss , sh , ch , o และ x

yank
Download Presentation

Present Simple Tense ( ปัจจุบันธรรมดา ) โครงสร้าง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Present Simple Tense (ปัจจุบันธรรมดา) โครงสร้าง S + V. ช่อง 1 (หากเป็นประธานเอกพจน์(ยกเว้น I และ You) กริยา “เติม s”)

  2. หลักเกณฑ์“การเติม s” ที่กริยา เมื่อประธานเป็นเอกพจน์ 1. กริยาที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, o และ x - ให้ “เติม e” เสียก่อนแล้วจึง “เติม s” เช่น pass passes(ผ่าน) brush brushes (แปรงฟัน) catch catches (จับ) go goes (ไป) box boxes (ชก)

  3. 2. กริยาที่ลงท้ายด้วย yและหน้า y เป็นพยัญชนะ - ให้เปลี่ยน y เป็น ie แล้วจึง “เติม s” เช่น cry cries (ร้องไห้) carry carries (ถือ, หิ้ว) fly flies(บิน) try tries (พยายาม) - แต่ถ้าหน้า y นั้นเป็นสระ ไม่ต้องเปลี่ยน y เป็น ie (ให้เติม s ได้เลย) เช่น play plays (เล่น) destroy destroys(ทำลาย / สังหาร)

  4. การใช้1. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เป็นความจริงตลอดไป หรือเป็นความจริงตามธรรมชาติ เช่น The sun rises in the east. ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก The earth rotates on its axis. โลกหมุนอยู่บนแกนของตัวเอง Fish swim in the water. ปลาว่ายอยู่ในน้ำ

  5. 2. ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นประเพณี, นิสัย, สุภาษิต ซึ่งไม่ได้บ่ง เฉพาะเจาะจงว่าเวลาใด เช่น Actions speak louder than words. ทำดีกว่าพูด Men wear thin clothes in summer. คนเราสวมเสื้อผ้าบาง ๆ ในฤดูร้อน That man speaks English as well as he speaks his own language. เจ้าคนนั้นพูดภาษาอังกฤษราวกับภาษาของตน

  6. 3. ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นจริงในขณะพูด (ก่อนหน้าพูด หรือ หลังจาก พูดไปแล้ว จะเป็นตามนั้นหรือไม่ก็ได้ ไม่มีผลผูกพัน) เช่น He stands under the tree. เขายืนอยู่ใต้ต้นไม้ (มองดูไปเห็นยืนอยู่จริงยังไม่ไปไหน) I have two book in the suitcase. ฉันมีหนังสือ 2 เล่ม อยู่ในกระเป๋า (เปิดออกมามีอยู่จริง) Susan is my close friend. ซูซานเป็นเพื่อนสนิทของฉัน (ขณะพูดก็เป็นมิตรกันอยู่)

  7. 4. ใช้กับเหตุการณ์ในอนาคต (นิยมใช้กับคำกริยาที่แสดงการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง) ซึ่งได้ตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ซึ่งอาจจะมีคำวิเศษณ์ (Adverb) บอกเวลาที่เป็นอนาคตมาร่วมด้วยก็ได้ เช่น I leave by the 6.20 train this evening. ผมจะออกเดินทางโดยขบวนรถไฟเวลา 18.20 น. เย็นนี้ He sets sail tomorrow for Hua-Hin, and comes back next week เขาจะออกเรือไปหัวหินพรุ่งนี้ และก็จะกลับในสัปดาห์หน้า

  8. 5. ใช้กับเหตุการณ์ในประโยคที่เป็น “อนุประโยค”(subordinate Clause)ที่บ่งบอกเวลาเป็นอนาคต ซึ่งจะขึ้นต้นประโยคของมันด้วยคำว่า if, when, whenever, unless, until, till, as soon as, while, before, after, as long as, etc. เช่น If the weather is fine tomorrow, we shall have a picnic. ถ้าพรุ่งนี้อากาศดี เราก็จะไปเที่ยวกัน Unless he sends the money before Friday, I shall consult my lawyer. ถ้าเขาไม่ส่งเงินมาก่อนวันศุกร์ ผมก็จะไปปรึกษาทนายความของผม Let’ s wait until (till) he comes. ขอให้เรารอจนกว่าเขาจะมา

  9. 6. ใช้กับเหตุการณ์ในกรณีสรุปเรื่องที่เล่ามา แม้เหตุการณ์นั้นจะได้เกิดขึ้แล้วในอดีต ทั้งนี้เพื่อให้เรื่องที่เล่านั้นมีชีวิตชีวา เกิดความสนุกสนาน เหมือนเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในปัจจุบัน (มักใช้ในการเขียนนิยาย, บทละคร) เช่น Bassanio wants to go Belmont to woo Portia. He asks Antonio to lend him money. Antonio says that he hasn’ t any at the moment until his ships come to port. บัสสานิโอต้องการจะไปแบลมองต์เพื่อเกี้ยวจาพาราสีกับนางปอร์เชีย เขาขอยืมเงินอัลโตนิโอ อัลโตนิโอบอกว่าขณะนั้นเขาไม่มีเงิน เอาไว้จนกว่าเรือเข้าเทียบท่าแล้ว (เขาจึงจะมีเงินให้ยืม)

  10. 7. การกระทำของกริยาที่ไม่แสดงอาการให้เห็นได้ (เช่น กริยาแสดงความนึกคิด (Verb of Ideas), แสดงความรับรู้ (Verbs of Perception), แสดงภาวะของจิต (Verbs of Mind), แสดงความเป็นเจ้าของ (Verbs of Possession) ) : เนื่องจากกริยาเหล่านี้ไม่สามารถใช้ในรูป Continuous ได้ เช่น แสดงภาวะของจิต : She loves her husband very much. แสดงความรับรู้ : He knows about how to open the can. แสดงความรู้สึกนึกคิด : She detests people who are unkind to animals. แสดงความเป็นเจ้าของ : Advanced English Grammar belongs to me

  11. 8. ใช้กับเหตุการณ์ที่บุคคลหรือสัตว์ทำเป็นประจำ หรือเป็นนิสัยเคย ชิน(มักจะมีคำหรือกลุ่มคำหรือประโยค) ซึ่งมีความหมายว่าบ่อยๆ,เสมอ ๆ,ทุก ๆ...ร่วมอยู่ด้วย สังเกตคำที่แสดงความบ่อย (ที่นำมาใช้ตามเหตุการณ์นี้) แยกออกเป็น 3 ชนิดย่อย ๆ คือ 8.1 คำ (Word) ได้แก่ always, often, sometimes, frequently, usually, naturally, generally, rarely, seldom, habitually 8.2 กลุ่มคำ (Phrase) ได้แก่ everyhour, everyday, every week, every month, every year, once a week, twice a month, in the morning, On Sundays (ทุกวันอาทิตย์), On weekdays (ทุกวันธรรมดา), On holidays (ทุกวันหยุด)

  12. 8.3 ประโยค (Clause) ได้แก่ whenever he sees me, whenever he comes here, every time he sees me, every time he comes here, whenever she can, whenever you want, when he comes here, when he does his work เช่น He says hello to me whenever he sees me. เขาพูดสวัสดีกับผมเมื่อเขาเห็นผม I wash my car every week-end. ผมล้างรถของผมทุก ๆ วันหยุดสัปดาห์ She usually relaxes after game. โดยปกติหล่อนจะพักผ่อนหลังเล่นกีฬาเป็นประจำ

  13. Present Continuous Tense (ปัจจุบันกำลังทำ...) โครงสร้าง S + is, am หรือ are + V.1เติมing

  14. หลักเกณฑ์การ “เติม ing” ที่ท้ายคำกริยา 1. กริยาที่ลงท้ายด้วย e(กรณีไม่ออกเสียงตัว e) - ให้ตัด e ทิ้งเสียก่อน แล้วจึงเติม ing เช่น write writing (เขียน) move moving (เคลื่อน) live living (อยู่, อาศัย) tremble trembling (สั่นสะท้าน) argue arguing (โต้เถียง) take taking(พาไป)

  15. 2. กริยาที่ลงท้ายด้วย ee(กรณีไม่ออกเสียงตัว e) - ให้เติม ing ได้เลยไม่ต้องมีการตัดอะไรทิ้ง เช่น see seeing(เห็น) agree agreeing (เห็นด้วย) free freeing(ปล่อยเป็นอิสระ) 3. กริยาที่ลงท้ายด้วย ie - ให้เปลี่ยนieเป็น y เสียก่อน แล้วจึงเติม ingเช่น die dying(ตาย) lie lying(โกหก) tie tying(ผูก, มัด)

  16. 4. คำกริยาที่มีสระตัวเดียวและตัวสะกดตัวเดียว - ให้เพิ่มตัวสะกดเข้ามาอีก 1 ตัวเสียก่อน แล้วจึงเติม ingโดยหากเป็น... 4.1 คำกริยาพยางค์เดียว stop stopping(หยุด) run running (วิ่ง) sit sitting (นั่ง) get getting (ได้รับ) dig digging (ขุด) rob robbing (ปล้น)

  17. 4.2 คำกริยา 2 พยางค์ ซึ่งออกเสียงหนัก(stress) ที่พยางค์หลัง และพยางค์หลังนั้น ๆ เป็นคำกริยาที่อยู่ในข่ายข้างต้น เช่น begin beginning(เริ่มต้น) occur occurring(เกิดขึ้น) refer referring(อ้างถึง) offerofferring(เสนอ, ยกให้) 5. เฉพาะคำกริยา 2 พยางค์ ต่อไปนี้ สามารถเลือกที่จะ... 5.1 เพิ่มตัวสะกดเข้ามา แล้วจึงเติม ing(แบบอังกฤษ) เช่น travel travelling(ท่องเที่ยว) quarrel quarrelling(ทะเลาะ) 5.2 เติม ingทันที (แบบอเมริกัน) เช่น travel traveling(ท่องเที่ยว) quarrel quarreling(ทะเลาะ)

  18. การใช้ 1. ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังทำอยู่ในขณะที่พูด และมักจะมีคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb)(ได้แก่ now, at the present, at this moment, at this present time, these days (หมู่นี้) ) ใช้ร่วมด้วยเสมอ เช่น He is coming to the office now. เขากำลังมาสู่ที่ทำงานเดี๋ยวนี้แล้ว I am working with this company these days. หมู่นี้ผมกำลังทำงานอยู่กับบริษัทนี้ At the present time he is staying at the hotel. เวลานี้เขากำลังพักอยู่ที่โรงแรม

  19. 2. ใช้กับการกระทำที่เกิดขึ้นในระยะยาวซึ่งขณะที่พูดประโยคนี้ ออกไปนั้น ไม่จำเป็นต้องกำลังกระทำสิ่งนั้นอยู่ก็ได้ สังเกตจากในช่วงระยะเวลาอันยาวนานที่ว่านี้จะทำสิ่งนั้นอยู่จริง ๆ และมักจะมีคำบอกเวลาระยะยาวมากำกับไว้ด้วย (ได้แก่ this week (สัปดาห์นี้), this month (เดือนนี้), this year (ปีนี้), this… (...นี้), etc.) My son is working hard this term. ภาคเรีนนี้ลูกชายผมกำลังเรียนกนังสืออย่างขะมักเขม้น

  20. 3. ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ซึ่งคาดว่าจะต้องเป็นเช่นนั้นแน่นอน มักใช้กับกริยาแสดงการเคลื่อนที่, เคลื่อนไหว และจะมีคำบอกเวลาเป็นอนาคต (ได้แก่ next…, on…, tomorrow) มาร่วมด้วยเสมอเช่น Somdet is leaving for London next Sunday. สมเด็จจะออกเดินทางไปลอนดอนวันอาทิตย์หน้า We are moving into a new house tomorrow. เราจะย้ายเข้าไปอยู่บ้านหลังใหม่วันพรุ่งนี้แล้ว

  21. 4. ถ้ามีประโยค Present Continuous Tense 2 ประโยค และเชื่อมด้วย and - ให้ตัด V. to beที่อยู่หลัง andออก เช่น The old man is smoking a cigarette andreading the newspaper. ชายชราคนนั้นกำลังสูบบุหรี่และอ่านหนังสือพิมพ์

  22. คำกริยาที่ไม่ใช้ในรูป Continuous Tense 1. คำกริยาบอกความรู้สึก(Verbs of the senses) ได้แก่ hear, notice, recognize, see, smell, taste 2. คำกริยาบอกถึงการครอบครอง(Verbs of the possessing) ได้แก่ belong, owe, own, posses 3. คำกริยาบอกอารมณ์(Verbs of the emotion) ได้แก่ adore, care, desire, dislike, forgive, hate, like, live, refuse, want, wish, love, seem 4. คำกริยาบอกความคิด(Verbs of the thinking) ได้แก่ believe, expect, feel, forget, mean, mind, realize, recall, recollect, remember, suppose, think, trust, understand, know, appear

  23. 5. คำกริยาช่วย (The auxiliary) ทุกคำ ได้แก่ do, does, did, will, shall, should, can, could, may, might, must, need, dare, ought to และ used to ยกเว้น 5.1 V. to be (is, am, are, was, were) 5.2 V. to have (have, has, had) 5.3 กริยาที่ไม่ใช้รูป Continuous form ก็ใช้ได้ ถ้าคำนั้นใช้ในความหมายเป็นแต่กรณี ดังนี้ see : มีความหมายว่า - meet by appointment (นัดพบ) หรือ interview (สัมภาษณ์) เช่น The director is seeing the applicants this morning. ผู้อำนวยการขอนัดพบ(สัมภาษณ์)ผู้สมัครเช้าวันนี้

  24. - visit(ชม, แวะเยี่ยมใช้กับพวกมาทัศนาจร) เช่น Tom is seeing the sights, he’ ll be back later. ทอมไปเที่ยว (ชมบ้านเมือง) จะกลับมาอีกไม่นาน Let’ s go sight seeing. ไปชมบ้านเมืองกันเถอะ - meeting, visiting (พบปะเยี่ยมเยียน) เช่น I am seeing my boss tomorrow. ผมจะไปพบหัวหน้าของผมในวันพรุ่งนี้ see about มีความหมายว่า make arrangements (จัดแจงให้) หรือ inquiries (สอบถามให้) เช่น We are seeing about a work permit for you. เรากำลังจัดแจงหาใบอนุญาตทำงานให้คุณอยู่

  25. see to มีความหมายว่า arrange (จัดการ) หรือ put right (ทำให้เข้าที่) เช่น The plumber’ s here. He’ s seeing to that leak in our tank. ช่างประปาที่นี่ไง ที่อุดรูรั่วแทงค์น้ำให้เรา see offมีความหมายว่า to say goodbye to (ไปส่ง) เช่น I am seeing my teacher off at the airport. ผมไปส่งครูของผมที่ท่าอากาศยาน hear มีความหมายว่า sense of hearing (ประสาทการฟัง)เช่น I am not hearing as well as I used to. ประสาทการฟังของผมไม่ดีเหมือนก่อน

  26. think : ใช้ในกรณีที่เป็นข้อคิดเห็นที่ถูกกำหนดไว้ หรือสอบถามความคิดเห็น A : What are you thinking about ? B : I’ m thinking about that play we saw last night. be : ใช้เมื่อบอกถึง “ประธานแสดงให้เห็นถึงบางอย่างผิดเพี้ยนไปชั่วครั้งชั่วคราว” You’ re being very clever today. วันนี้ดูคุณฉลาดเอาการทีเดียว (ปกติดูไม่เป็นเรื่อง) The children are being very quiet ; I wonder what they’ re up to. พวกเด็ก ๆ ดูเงียบเฉยไปเลย ผมประหลาดใจว่ามันเป็นเพราะอะไร

  27. haveใช้เมื่อแสดงว่า “เป็นเจ้าของหรือมีข้อผูกพัน” I can’ t open the door ; I’ m having a bath. ผมยังเปิดประตูไม่ได้ (เพราะ) ผมกำลังอาบน้ำอยู่ We are having a wonderful time. เราสนุกสนานกันเองอย่างเต็มที่ I’ m having a tooth taken out tomorrow. ผมจะไปถอนฟันวันพรุ่งนี้ feelใช้เมื่อถามถึง “อาการความเจ็บป่วย (medical sense)” How are you feeling ? I’ m feeling well. คุณรู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง (เช่นยังปวดอยู่หรือมึนงงอยู่) ผมรู้สึก (อาการ) ดีขึ้นแล้ว (ไม่ปวด ไม่มึนแล้ว) **หากหมายถึง think (คิดว่า...) จะต้องใช้ Present Simple

  28. likeมี 2 ความหมาย 1. enjoy (พออกพอใจ) เช่น How are you liking this hot weather ? คุณพออกพอใจอากาศร้อน ๆ อย่างนี้แค่ไหน No. , I’ m not enjoying it particularly. ผมก็ไม่ค่อยสนุกสนานอะไรมากเป็นพิเศษเลย 2. await (รอคอย) เช่น I’ m expecting a letter today. วันนี้ผมรอรับจดหมายอยู่

  29. การถามและตอบ (กรณีเป็น Present Simple และ Present Continuous) ประโยคคำถาม: - ต้องมีกริยาช่วยเสมอ - ลงท้ายด้วยเครื่องหมายคำถาม (?) - มีโครงสร้าง คือ กริยาช่วย + ประธาน + กริยา กรณีเป็นคำถามแบบ Yes / No question นอกจาก auxiliary verb ที่ใช้ใน Present Simpleแล้ว ยังมีกริยาช่วยที่ต้องใช้ (บ่อย) คือ 1. หากเป็น Present Simple: - ประธานเอกพจน์: Does - ประธานพหูพจน์: Do

  30. 2. หากเป็น Present Continuous: - ประธานเอกพจน์: Is / Am - ประธานพหูพจน์ : Are เมื่อรู้ว่าประโยคที่แต่งอยู่ใน tense ไหนแล้ว ก็เขียนกริยาช่วยเป็นตัวแรกก่อน “ประธาน”ทันที สมมติว่า โจทย์มีประธานเป็น He และ We กริยาเป็น walk ให้แต่งเป็นประโยคคำถาม สามารถแต่งได้ดังนี้ 1. หากเป็น Present Simple : - ประธานเอกพจน์:Does he walk ? - ประธานพหูพจน์ : Do we walk ?

  31. 2. หากเป็น Present Continuous: - ประธานเอกพจน์ : Is he walking? / Am I walking? - ประธานพหูพจน์ : Are we walking?

  32. กรณีเป็นคำถามแบบ Information questionจะอยู่ในรูปของ “ประโยคบอกเล่า” - ซึ่งมีโครงสร้าง คือ ประธาน + กริยา เป็นอย่างน้อย - จะไม่มีกริยาช่วย (ยกเว้นPresent Continuousจะต้องใส่กริยาช่วย (is, am, are)ทันที) วิธีการแต่งประโยค (แบบง่าย ๆ) - ต้องหาประธานให้ได้ก่อน - ดูว่า “ประธาน” เป็นนามเอกพจน์หรือนามพหูพจน์ (เพราะจะทำให้รู้ว่ากริยาจะมีรูปเป็นอย่างไร) - ใส่กริยาแท้ โดยอาจมีการเปลี่ยนรูปตาม tense หรือตามประธาน

  33. ประโยคคำตอบ สามารถเป็นไปได้ 2 แบบ คือ 1. แบบสั้น(กรณีเป็นคำถามแบบ Yes / No question) Yes, Subject + กริยาช่วย No, Subject + กริยาช่วย + not 2. แบบเต็มประโยค (กรณีเป็นคำถามแบบ Information question) Yes, Subject + กริยาช่วย + กริยาแท้ ยกเว้นPresent Simple Yes, Subject + กริยาแท้ No, Subject + กริยาช่วย + Not + กริยาแท้

More Related