1 / 29

นำเสนอโดย ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และ

นำเสนอโดย ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และ อ.ดร.จิ รพร วิทย ศักดิ์ พันธุ์ คณบดีคณะการสื่อสารมวลชน. หลักสูตรสองปริญญา ( Double Degree Program ) เศรษฐศาสตร บัณฑิต และ ศิลปศาสตร บัณฑิต (การสื่อสารมวลชน). 1.ชื่อหลักสูตร. เศรษฐศาสตร บัณฑิต ศิลปศาสตร บัณฑิต (การสื่อสารมวลชน).

zarifa
Download Presentation

นำเสนอโดย ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นำเสนอโดย ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และ อ.ดร.จิรพรวิทยศักดิ์พันธุ์ คณบดีคณะการสื่อสารมวลชน หลักสูตรสองปริญญา (Double Degree Program)เศรษฐศาสตรบัณฑิต และศิลปศาสตรบัณฑิต (การสื่อสารมวลชน)

  2. 1.ชื่อหลักสูตร • เศรษฐศาสตรบัณฑิต • ศิลปศาสตรบัณฑิต • (การสื่อสารมวลชน)

  3. 2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

  4. 3. หลักการ • ด้วยคณะเศรษฐศาสตร์ และคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีความร่วมมือทางวิชาการร่วมกันในการจัดทำหลักสูตรสองปริญญาในระดับปริญญาตรี เพื่อเป็นการบูรณาการความรู้ และทักษะจากทั้งสองสาขาวิชา ตามหลักการ ดังนี้

  5. 3. หลักการ 3.1 ตอบสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในการสร้างหลักสูตรใหม่ ๆ เพื่อเป็นทางเลือกของผู้เรียน 3.2 เพิ่มศักยภาพของบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้สามารถแข่งขันได้ในประชาคมอาเซียน 3.3 ผลิตบัณฑิตที่ขาดแคลนในวงการวิชาชีพเศรษฐศาสตร์และสื่อสารมวลชน

  6. 4.รูปแบบของหลักสูตร • 4.1 เป็นหลักสูตรสองปริญญา (Double DegreeProgram) ระดับปริญญาตรี โดยเป็นความร่วมมือระหว่างคณะเศรษฐศาสตร์ และคณะการสื่อสารมวลชน เพื่อเป็นการ บูรณาการความรู้และทักษะจากทั้งสองสาขาวิชาในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถทั้งทางด้านเศรษฐศาสตร์และการสื่อสารมวลชนแบบองค์รวม โดยนักศึกษายังคงมีคุณสมบัติและอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  7. 4.รูปแบบของหลักสูตร 4.2 นักศึกษาจะต้องศึกษากระบวนวิชาต่างๆ ตามหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต และศิลปศาสตรบัณฑิต (การสื่อสารมวลชน) ให้ครบถ้วนทั้งสองหลักสูตร ดังนี้.- • 4.2.1 กระบวนวิชาที่เหมือนกันทั้งสองหลักสูตรให้ลงทะเบียนเรียนและสามารถนับเป็นหน่วยกิตสะสมได้ทั้งสองหลักสูตร ซึ่งมีจำนวนกระบวนวิชาที่เหมือนกัน จำนวน 13 กระบวนวิชา 39หน่วยกิต ดังนี้.-

  8. 4.รูปแบบของหลักสูตร • 001101 การฟังและการพูดภาษาอังกฤษ 3 หน่วยกิต • 001102 การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ 3 หน่วยกิต • 001201 การอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนอย่างมีประสิทธิผล 3 หน่วยกิต • 703103 การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเบื้องต้น 3 หน่วยกิต • 050100 การใช้ภาษาไทย 3 หน่วยกิต • 201100 วิทยาศาสตร์บูรณาการ3 หน่วยกิต • 201114 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในโลกปัจจุบัน3 หน่วยกิต • 204100 เทคโนโลยีสารสนเทศและชีวิตสมัยใหม่3 หน่วยกิต • 127101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ 3 หน่วยกิต • 176101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป3 หน่วยกิต • 751101 หลักเศรษฐศาสตร์ 1 3 หน่วยกิต • วิชาเลือกเสรี (ใช้เป็นวิชาเลือกเสรีทั้ง 2 หลักสูตร) 6 หน่วยกิต

  9. 4.รูปแบบของหลักสูตร 4.2.2 กระบวนวิชาที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน ขอใช้กระบวนวิชาแทน จำนวน 1 กระบวนวิชา 3 หน่วยกิต ดังนี้

  10. 4.รูปแบบของหลักสูตร 4.2.3 กระบวนวิชาที่บูรณาการเนื้อหากระบวนวิชาและการเรียนการสอนร่วมกันและขอใช้กระบวนวิชาแทน จำนวน 5 กระบวนวิชา 13 หรือ 14 หน่วยกิต ดังนี้

  11. 4.รูปแบบของหลักสูตร

  12. 4.รูปแบบของหลักสูตร • 4.2.4 ขอใช้สาขาวิชาเอกสาขาหนึ่งเป็นวิชาโทอีก สาขาหนึ่ง (Cross Major to Minor) จำนวน 15 หน่วยกิต • หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต : เลือกจากกระบวนวิชาเอกบังคับของสาขาวิชาการสื่อสารมวลชนเป็นวิชาโท • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (การสื่อสารมวลชน) : เลือกจากกระบวนวิชาเอกบังคับของสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาโท • 4.2.5 กระบวนวิชาที่นอกเหนือจาก ข้อ 4.2.1 – 4.2.4 ให้ลงทะเบียนให้ครบตามหลักสูตรของทั้งสองหลักสูตร

  13. 5. จำนวนหน่วยกิต • จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต ไม่น้อยกว่า 144หน่วยกิต หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (การสื่อสารมวลชน) ไม่น้อยกว่า 139หน่วยกิต • เรียนสองหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 197 หรือ 198 หน่วยกิต

  14. 6. การให้ปริญญา • ให้ปริญญาเศรษฐศาสตรบัณฑิต และศิลปศาสตรบัณฑิต (การสื่อสารมวลชน) โดยจัดทำใบระเบียนถาวร (Transcript) จำนวน 2 ฉบับ และคำนวณเกรดเฉลี่ยสะสมของแต่ละปริญญาแยกกัน

  15. 7.สถานภาพหลักสูตร สถานภาพหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร • ใช้หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2553 • ใช้หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2556

  16. 8.หลักสูตร ใช้เวลาศึกษา 4 ปี ครึ่ง + 3 Summer

  17. 9.แผนการศึกษา • ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 21 หน่วยกิต • ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 22 หน่วยกิต • ชั้นปีที่ 1 ภาคฤดูร้อน 9 หน่วยกิต • ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 22 หน่วยกิต • ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 22 หน่วยกิต • ชั้นปีที่ 2 ภาคฤดูร้อน 9 หน่วยกิต

  18. 10.แผนการศึกษา • ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1 21 หน่วยกิต • ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2 21 หน่วยกิต • ชั้นปีที่ 3 ภาคฤดูร้อน 6 หน่วยกิต • ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1 21 หน่วยกิต • ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2 14 หรือ 15 หน่วยกิต • ชั้นปีที่ 5 ภาคการศึกษาที่ 1 6 หน่วยกิต (สหกิจศึกษา หรือ การฝึกงานวิชาชีพ)

  19. 11. การอนุมัติหลักสูตร • คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (กบม.) ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2557 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2557 พิจารณาให้ความเห็นชอบ • สภาวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2557 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2557 พิจารณาให้ความเห็นชอบ

  20. 11. การอนุมัติหลักสูตร • สภามหาวิทยาลัยในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2557 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2557 มีมติอนุมัติโครงการจัดการศึกษาหลักสูตรสองปริญญา ระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน

  21. 11.ข้อเสนอจากสภาฯ • สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เห็นควรกำหนดหลักการเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรลักษณะนี้ว่า ขอให้มีกระบวนวิชาสอนร่วมกัน โดยมีการบูรณาการอย่างแท้จริงทั้งเนื้อหากระบวนวิชาและอาจารย์ผู้สอน และให้อาจารย์ของทั้ง 2 คณะออกแบบพัฒนากิจกรรมของหลักสูตรการสอนร่วมกันในบางกระบวนวิชา

  22. 12.การคัดเลือก • ให้นักศึกษาคณะการสื่อสารมวลชนสอบข้อเขียนของคณะเศรษฐศาสตร์ในวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งจัดทำข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษ • นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ - ต้องผ่านเกณฑ์คะแนนวิชาภาษาไทย O-NET ไม่น้อยกว่าร้อยละ 55 - เขียนความเรียงเป้าหมายการเรียนหลักสูตรสองปริญญา ความยาวประมาณ 500 คำ หรือครึ่งหน้าถึงหนึ่งหน้ากระดาษ A4 - ให้เข้าสอบสัมภาษณ์ของคณะการสื่อสารมวลชน โดยพิจารณาจากบุคลิกภาพ ความรู้ทั่วไป ความรู้ทางการสื่อสาร และความสามารถในการสื่อสาร

  23. รศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงในวงการสื่อสารมวลชน ศิษย์เก่ารหัส 11

  24. คุณจิตติศักดิ์ นันทพานิช บรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ  ศิษย์เก่าคณะการสื่อสารมวลชน ที่มีชื่อเสียงในวงการสื่อสารมวลชนด้านข่าวเศรษฐกิจ ศิษย์เก่ารหัส 22

  25. คุณพรพิมล คูอนุพงศ์ บรรณาธิการบริหาร นิตยสารการเงินการธนาคาร  ศิษย์เก่าคณะการสื่อสารมวลชน ที่มีชื่อเสียงในวงการสื่อสารมวลชนด้านการเงินการธนาคาร ผู้แต่ง/ผู้แปล: พรพิมล คูอนุพงศ์, อัจฉรา ผ่องผล

  26. คุณบุญลาภ ภูสุวรรณ อดีต บรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิกา  ศิษย์เก่าคณะการสื่อสารมวลชน ที่มีชื่อเสียงในวงการสื่อสารมวลชนด้านข่าวเศรษฐกิจ ศิษย์เก่ารหัส 24

  27. คุณนงค์นาถ ศรีสกุล ห่านวิไล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่นบรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ศิษย์เก่าคณะการสื่อสารมวลชน ที่มีชื่อเสียงในวงการสื่อสารมวลชนด้านข่าวเศรษฐกิจ ศิษย์เก่ารหัส 24

  28. ขอขอบคุณ

More Related