1 / 53

แนวทางการให้บริการจัดหางาน ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐

แนวทางการให้บริการจัดหางาน ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐. พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐. ได้กำหนดทางเลือกให้นายจ้าง/สถานประกอบการ/หน่วยงานของรัฐไว้ ๓ ทางเลือก หรือที่เรียกว่า ๓จ จ.๑ = จ้างงานคนพิการตามมาตรา ๓๓

Download Presentation

แนวทางการให้บริการจัดหางาน ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการให้บริการจัดหางานตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐

  2. พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ • ได้กำหนดทางเลือกให้นายจ้าง/สถานประกอบการ/หน่วยงานของรัฐไว้ ๓ ทางเลือก หรือที่เรียกว่า ๓จ • จ.๑ = จ้างงานคนพิการตามมาตรา ๓๓ • จ.๒ = จัดสัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลืออื่นใด แก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการตามมาตรา ๓๕ • จ.๓ = จ่ายเงินเข้ากองทุนฯ ตามมาตรา ๓๔

  3. จ.๑ = การจ้างงานคนพิการพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๓๓ กำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐจะต้องรับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะ ของงานในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานในสถาน ประกอบการหรือหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงกำหนดจำนวนที่นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐจะต้อง รับคนพิการเข้าทำงาน

  4. การดำเนินการออกกฎกระทรวงฯ พ.ศ. ๒๕๕๔ • ป.รง แต่งตั้ง คณะทำงานยกร่างอนุบัญญัติที่ออกตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ประกอบด้วยผู้แทนภาครัฐ/นายจ้าง/ลูกจ้าง/องค์กรคนพิการ - ยกร่าง -รับฟังความเห็นร่างกฎกระทรวง • เสนอคณะรัฐมนตรี อนุมัติ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงนาม วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ • ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๔ • มีผลบังคับใช้ วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ ทางเอกสาร/ทางเว็ปไซต์/ ทางการสัมมนาระดมความคิดเห็น

  5. มีผลบังคับใคร? มีหน้าที่ตามกฎหมายอย่างไร? • หน่วยงานของรัฐ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือ พระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ • ภาคเอกชน ได้แก่ นายจ้าง/เจ้าของสถานประกอบการ • หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีผู้ปฏิบัติงาน/ลูกจ้าง ตั้งแต่ ๑๐๐ คน ขึ้นไปมีหน้าที่รับคนพิการเข้าทำงานในอัตรา ผู้ปฏิบัติงาน/ลูกจ้างทุก ๑๐๐ คนให้รับคนพิการเข้าทำงาน ๑ คน เศษของ ๑๐๐ คน หากเกิน ๕๐ คน ให้รับคนพิการเข้าทำงาน เพิ่มอีก ๑ คน

  6. มีผลบังคับใคร? มีหน้าที่ตามกฎหมายอย่างไร? • ส่งเงินเข้ากองทุนคนพิการเป็นรายปี (เฉพาะกรณีภาคเอกชนไม่ประสงค์รับคนพิการเข้าทำงาน) • “ส่งเงินรายปี” โดยคำนวณจากอัตราต่ำสุดของอัตราค่าจ้างขั้นตาม กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่ใช้บังคับครั้งหลังสุดในปีก่อนที่มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนฯ คูณด้วยสามร้อยหกสิบห้าและคูณด้วยจำนวน คนพิการที่ไม่ได้รับเข้าทำงาน เงินที่ต้องส่ง = อัตราค่าจ้างต่ำสุด x ๓๖๕ x จำนวนคนพิการที่ต้องจ้าง

  7. วิธีการนับจำนวนผู้ปฏิบัติงาน (หน่วยงานของรัฐ) • ณ วันที่ ๑ ตุลาคม ของทุกปีเป็นหน้าที่ ภาครัฐและภาคเอกชนต้องนับจำนวนผู้ปฏิบัติงาน/ลูกจ้าง เพื่อคำนวณหาจำนวนคนพิการที่จะต้องรับเข้าทำงานโดย “ผู้ปฏิบัติงาน” ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน หรือผู้ปฏิบัติงานซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งปฏิบัติงานประจำในหน่วยงานของรัฐนั้น และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งปฏิบัติงาน อยู่ต่างประเทศ และผู้ซึ่งอยู่ระหว่างการลาโดยได้รับเงินเดือนด้วย แต่ไม่หมายความถึง ลูกจ้างชั่งคราว หรือพนักงานจ้างเหมา ที่ปฏิบัติงานโดยมีกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้าง

  8. วิธีการนับจำนวนลูกจ้าง (ภาคเอกชน) • ณ วันที่ ๑ ตุลาคม ของทุกปีเป็นหน้าที่ ภาครัฐและภาคเอกชนต้องนับจำนวนผู้ปฏิบัติงาน/ลูกจ้าง เพื่อคำนวณหาจำนวนคนพิการที่จะต้องรับเข้าทำงาน “ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ที่ตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร (ม.๕ แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑) ได้แก่ ลูกจ้างทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน ลูกจ้างที่ทำงานไม่เต็มเวลา ลูกจ้างสัญญาพิเศษ และรวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านด้วย

  9. วิธีการนับจำนวนลูกจ้างวิธีการนับจำนวนลูกจ้าง กรณีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการผู้ใดมีหน่วยงานหรือสำนักงานสาขาในจังหวัดเดียวกันให้นับรวมลูกจ้างของหน่วยงานหรือสำนักงานสาขาทุกแห่งในจังหวัดนั้น เข้าด้วยกัน

  10. วิธีการคำนวณ Ex สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ มีลูกจ้าง 35 คน มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ • จังหวัดนนทบุรี มีลูกจ้าง 125 คน • จังหวัดสมุทรปราการ มีลูกจ้าง 151 คน • จังหวัดนครปฐม มีลูกจ้าง 45 คน วิธีการนับให้เอาสำนักงานใหญ่+ทุกสาขา = 356/100 = 3.56 คน *เศษของหนึ่งร้อยคนถ้าเกินห้าสิบคนต้องรับคนพิการเพิ่มอีกหนึ่งคน =สรุปต้องจ้างงานคนพิการ เท่ากับ 4 คน

  11. จ.๒ กิจกรรมตามมาตรา ๓๕ กรณีไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงาน มีทางเลือกอื่นหรือไม่? • มาตรา ๓๕ กรณีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงาน ของรัฐ ไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงาน ตามมาตรา ๓๓และไม่ประสงค์จะส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา ๓๔ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐ อาจให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการแทนก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ

  12. อนุบัญญัติตามมาตรา ๓๕ คือ? ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ ให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่วยสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒

  13. ๑. การให้สัมปทาน การให้สิทธิแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ครอบครองหรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรหรือทรัพย์สินใดๆ เพื่อให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ มีระยะเวลาดำเนินงานไม่น้อยกว่าหนึ่งปี มูลค่าเท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่นั้นคูณ 365 คูณจำนวนคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงาน

  14. ๒. การจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ การจัดสถานที่บริเวณองค์กรหรือภายนอกองค์กร เพื่อให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ มีระยะเวลาดำเนินงานไม่น้อยกว่าหนึ่งปี มูลค่าเท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่นั้นคูณด้วย 365 คูณจำนวนคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงาน

  15. ๓. การจัดจ้างเหมาช่วงงาน การให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้ทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐหรือสถานประกอบการ โดยรับจะดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงาน และมีระยะเวลาดำเนินการไม่น้อยกว่า ๖ เดือน มีมูลค่าต้องไม่น้อยกว่าห้าเท่าของอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในท้องที่นั้นคูณด้วยสามร้อยหกสิบห้าต่อคนพิการหนึ่งคนที่ต้องรับเข้าทำงาน

  16. ๔. การฝึกงาน กระบวนการเพิ่มความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพ มีการถ่ายทอดวิทยาการ เทคโนโลยี กระบวนการผลิต หรือองค์ความรู้ขององค์กรให้แก่คนพิการโดยองค์กรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด มีระยะเวลาฝึกงานไม่น้อยกว่า 6 เดือน และไม่น้อยกว่า 600 ชั่วโมง จ่ายเบี้ยเลี้ยงตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตลอดระยะเวลาการฝึกงาน มูลค่าการฝึกงานต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าปีละอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่นั้นคูณด้วยสามร้อยหกสิบห้าต่อคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงาน

  17. ๕. การให้การช่วยเหลืออื่นใด • การช่วยเหลืออื่นใด ได้แก่ เงินทุน หรือวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ ไม่รวมเงินบริจาคต่าง ๆ หรือจ้างผู้ดูแลคนพิการทำงานแทนคนพิการ

  18. ขั้นตอนการแจ้งขอใช้สิทธิตามมาตรา ๓๕(หน่วยงานของรัฐ/สถานประกอบการ) ๑. สถานประกอบการติดต่อขอทำบัตรนายจ้าง ส่วนกลาง ณ สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ ๑-๑๐ ส่วนภูมิภาค ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด

  19. ขั้นตอนการแจ้งขอใช้สิทธิตามมาตรา ๓๕(หน่วยงานของรัฐ/สถานประกอบการ) ๒. กรอกแบบฟอร์มแจ้งทะเบียนขอใช้สิทธิตามมาตรา ๓๕ (สถานประกอบการ/หน่วยงานของรัฐ) หรือที่เรียกว่า แบบ กกจ.พก.๒

  20. หน้าที่ของสถานประกอบการหน้าที่ของสถานประกอบการ • เมื่อสถานประกอบการตกลงเข้าทำสัญญากับคนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการที่ขอใช้สิทธิตามมาตรา ๓๕ แล้ว ให้สถานประกอบการส่งเอกสาร ผลการดำเนินงาน หรือ สำเนาสัญญาพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ส่วนภูมิภาค ให้ส่งที่ สจจ. และ พมจ. ส่วนกลาง ให้ส่งที่ สจก. และ พก. ภายใน ๓๐ วันนับตั้งแต่วันที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ (ตามระเบียบข้อ ๑๔ แห่งระเบียบ คกก.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการให้สัมปทานฯ)

  21. จ.๓ = การจ่ายเงินเข้ากองทุน มาตรา ๓๔ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มิได้รับ คนพิการเข้าทำงานตามจำนวนที่กำหนดตามมาตรา ๓๓ ให้ส่งเงินเข้ากองทุน นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ต้องส่งเงินเข้า กองทุนตามวรรคหนึ่ง แต่มิได้ส่ง ส่งล่าช้าหรือส่งเงินไม่ครบถ้วน ให้เสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่ยัง ไม่ได้ส่งเข้ากองทุน

  22. วิธีการคำนวณ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำสุด x 365 x จำนวนคนพิการ ที่ไม่ได้รับเข้าทำงาน ปี 2555 (159x365x1) = 58,035 บาท ปี 2556 (222x365x1) = 81,030 บาท ปี 2557 (300x365x1) = 109,500 บาท

  23. มาตรการลงโทษ มาตรา 36 ให้เลขาธิการพก.มีอำนาจออกคำสั่งอายัดทรัพย์สิน เพื่อบังคับเอากับทรัพย์สินของนายจ้าง ภายใต้อายุความ 10 ปี มาตรา 39 ให้เลขาธิการพก.มีอำนาจออกประกาศโฆษณาข้อมูลการไม่ปฏิบัติตามต่อสาธารณะอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (เป็นมาตราลงโทษทางสังคม social sanctions)

  24. สิทธิทางภาษี • หักค่าจ้างงานคนพิการตาม ม.๓๓ ได้ ๒ เท่า • จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการหักได้ ๒ เท่า • จ้างคนพิการมากกว่าร้อยละ ๖๐ หักได้ ๓ เท่า • จ่ายเงินเข้ากองทุนฯ หักได้เท่าที่จ่ายจริง

  25. สรุปผลการดำเนินงานตามกฎกระทรวงฯสรุปผลการดำเนินงานตามกฎกระทรวงฯ • สถานประกอบการปฏิบัติตามกฎหมาย 8,143 แห่ง • ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย 6,756 แห่ง • ปฏิบัติไม่ครบ 28 แห่ง • คนพิการได้รับการจ้างงาน (ม.33) 16,900 คน • คนพิการได้ใช้สิทธิตาม (ม.35) 229 คน • สถานประกอบการส่งเงินเข้ากองทุนฯ 1,082,493,271.61 บาท • ที่มาข้อมูล : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ณ วันที่ 23 พ.ค. 2555

  26. ตัวอย่างทางเลือกตามมาตรา 35 • สัมปทาน 1. ให้สัมปทานคนพิการเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท 2. ให้พันธุ์พืช/ระบบงานต่าง ๆ เพื่อทำกสิกรรม 3. ให้รถยนต์เพื่อประกอบอาชีพ 4. ให้เครื่องคอมพิวเตอร์, เครื่องถ่ายเอกสาร, ตู้เติมเงินอัตโนมัติ 5. ให้สัมปทานร้านกาแฟในบริเวณองค์กร 6. ให้ใช้ช่องสัญญาณวิทยุ/โทรทัศน์เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าและ บริการ

  27. ตัวอย่างทางเลือกตามมาตรา 35 • จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ 1. สถานประกอบการเปิดโซนพื้นที่โรงอาหารให้คนพิการ ดำเนินการขายอาหาร 2. โรงแรมจัดพื้นที่ให้คนพิการเปิดบริการร้านนวดแผนไทย/ ขายของที่ระลึก 4. สถานประกอบการจัดสรรพื้นที่ให้คนพิการดำเนินการรับฝากรถ 5. โรงเรียนจัดพื้นที่ให้คนพิการเปิดร้านขายเครื่องเขียนแบบเรียน

  28. ตัวอย่างทางเลือกตามมาตรา 35 • จัดจ้างเหมาช่วงงาน 1. ซื้อผลิตภัณฑ์จากคนพิการ เช่น ชุดของขวัญ ชุดอาหารว่าง เพื่อจัดประชุม/อบรม 2. จ้างเหมาคนพิการออกแบบ Design สื่อประชาสัมพันธ์ 3. จ้างเหมาจัดทำชุดฟอร์มของพนักงานภายในโรงงาน 4. จ้างเหมาจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 5. บริษัทจ้างเหมาพนักงานทำความสะอาดที่มีลูกจ้างเป็นคนพิการ (Outsource Service Center)

  29. ตัวอย่างทางเลือกตามมาตรา 35 • การฝึกงาน 1. หลักสูตรนวดสปา และนวดแผนไทย 2. หลักสูตรการทำอาหารยุโรป 3. หลักสูตรการเย็บเครื่องหนัง 4. หลักสูตรเขียนแอปพลิเคชั่นในมือถือ 5. หลักสูตรการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

  30. ตัวอย่างทางเลือกตามมาตรา 35 • การให้ความช่วยเหลืออื่นใด 1. องค์กรเกี่ยวกับโทรคมนาคม จัดตั้งศูนย์ Call Center ร่วมกับองค์กรคนพิการเพื่อรับบริการลูกค้าในฟังก์ชั่นพิเศษ 2. องค์การจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า จัดตั้งศูนย์ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าร่วมกับองค์กรคนพิการเพื่อรับบริการซ่อมสินค้า 3. องค์กรจัดสรรทุนช่วยเหลือสำหรับการตั้งต้นเปิดร้านขายสินค้า ให้แก่คนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการ

  31. ปัญหาในทางปฏิบัติตามมาตรา 33 • กรณีที่นายจ้างเป็นคนพิการสามารถนำตัวนายจ้างมาหักเป็นการจ้างงานคนพิการตามมาตรา 33 ได้หรือไม่ • ลูกจ้างที่เป็นคนต่างด้าวนับรวมด้วยหรือไม่

  32. ปัญหาในทางปฏิบัติตามมาตรา 33 • ลูกจ้างต่างด้าวที่พิการสามารถนำมาหักเป็นการจ้างงานตามมาตรา 33 ได้หรือไม่ • กรณีสถานประกอบการมีสาขาอยู่ในต่างจังหวัด จะนับจำนวนลูกจ้างอย่างไร

  33. ปัญหาในทางปฏิบัติตามมาตรา 33 • กรณีสถานประกอบการได้ดำเนินการจ้างงานคนพิการตามมาตรา 33 ภายในวันที่ 31 ม.ค.ของแต่ละปีแล้ว ต่อมาคนพิการได้ออกจากงาน สถานประกอบการยังจะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนฯ อีกหรือไม่

  34. ปัญหาในทางปฏิบัติของสถานประกอบการปัญหาในทางปฏิบัติของสถานประกอบการ • สถานประกอบการจะหาคนพิการได้จากไหน 1. สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด/สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ /ศูนย์ส่งเสริมอาชีพคนพิการ 2. สมาคม/องค์กรคนพิการ 3. พนักงานในสถานประกอบการ 4. อบต./อบจ. 5. Websiteต่าง ๆ เช่น ห้องตลาดงานคนพิการ, Jobคนพิการ

  35. ปัญหาที่ได้รับการสอบถามปัญหาที่ได้รับการสอบถาม • คนพิการที่จะขอใช้สิทธิตามมาตรา 35 จะต้องมีอายุเท่าไร และต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการหรือไม่

  36. ปัญหาที่ได้รับการสอบถามปัญหาที่ได้รับการสอบถาม • คนพิการที่มีงานทำตามมาตรา 33 อยู่แล้ว จะให้ผู้ดูแลมาขอใช้สิทธิตามมาตรา 35 ได้หรือไม่ • ผู้ดูแลมีงานทำอยู่แล้ว ผู้ดูแลจะขอใช้สิทธิตามมาตรา 35 แทนคนพิการได้อีกหรือไม่ • องค์กรคนพิการจะขอใช้สิทธิแทนคนพิการที่อยู่ในความดูแลได้หรือไม่

  37. ปัญหาที่ได้รับการสอบถามปัญหาที่ได้รับการสอบถาม • กรณีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ประสงค์จะให้สำนักงานสาขาซึ่งตั้งอยู่ต่างจังหวัด ดำเนินการจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าให้แก่ คนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการ จะให้ สนง.ใหญ่ หรือ สนง.สาขา เป็นผู้แจ้งขอใช้สิทธิตามมาตรา 35

  38. ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปี บริบูรณ์ขึ้นไป และมีสัญชาติไทย แนวทางการจ้างงานผู้สูงอายุ

  39. -ร้อยละ 51 ต้องการหารายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว -ร้อยละ 36.5 เห็นว่าตนยังแข็งแรงสามารถทำงานได้ -ร้อยละ 12.5 ต้องส่งเสียบุตร-หลาน มีหนี้สิน เป็นงานประจำไม่มีผู้ทำแทน เช่น ค้าขาย เกษตรกรรม สาเหตุที่ผู้สูงอายุต้องการทำงาน

  40. อับดับ 1 อุตสาหกรรมขายส่ง ขายปลีก ซ่อมเเซม รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน อันดับ 2 อุตสาหกรรมการผลิต อันดับ 3 อุตสาหกรรมโรงแรมและภัตตาคาร ประเภทอุตสาหกรรม

  41. อันดับ 1 อาชีพการบริการ อันดับ 2 อาชีพพื้นฐาน ได้แก่ รับจ้างทั่วไป อันดับ 3 ความสามารถทางฝีมือ ได้แก่ งานหัตถกรรม งานที่อาศัยความชำนาญเฉพาะด้าน ประเภทอาชีพที่มีผู้สูงอายุทำมากที่สุด

  42. ผู้รับงานไปทำที่บ้าน หมายถึง บุคคลซึ่งรับงานจากเจ้าของงานหรือผู้ซึ่งรับมอบงานจากเจ้าของงาน ไปผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม หรือแปรรูปสิ่งของตามที่ได้ตกลงในบ้านของตนเอง หรือสถานที่ที่มิใช่สถานประกอบกิจการของเจ้าของงาน หรือผู้ซึ่งรับมอบงานจากเจ้าของงานเพื่อรับค่าจ้าง การส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน

  43. กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน หมายถึง ผู้รับงาน ไปทำที่บ้าน ซึ่งรวมตัวกันไม่ต่ำกว่า 5 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับงานประเภทเดียวกัน ไปทำที่บ้าน การส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน

  44. คุณสมบัติของกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านคุณสมบัติของกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน มีสมาชิกไม่ต่ำกว่า 5 คน สมาชิกมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ มีวัตถุประสงค์ของกลุ่ม มีผู้นำกลุ่ม การส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน

  45. การยื่นขอจดทะเบียนกลุ่มฯการยื่นขอจดทะเบียนกลุ่มฯ ให้ผู้นำกลุ่มยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1-10 การส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน

  46. กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน เป็นกองทุนหมุนเวียนในการให้ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ได้กู้ยืมไปซื้อวัตถุดิบ และอุปกรณ์ในการผลิต หรือขยายการผลิต เพื่อสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับผู้รับงานไปทำที่บ้าน การส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน

  47. การให้กู้ยืม คุณสมบัติของผู้กู้ เป็นกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านที่ได้จดทะเบียนไว้กับกรมการจัดหางาน เป็นกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านที่มีการบริหารจัดการที่ชัดเจน และมีการดำเนินการร่วมกันมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 ปี การส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน

  48. การให้กู้ยืม คุณสมบัติของผู้กู้ 3. เป็นกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านที่มีทรัพย์สิน หรือ เงินทุนรวมกันไม่น้อยกว่า 10,000 บาท 4. มีสถานประกอบการที่สามารถติดต่อได้ การส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน

  49. วงเงินการให้กู้ยืม การกู้เงินไม่เกิน 50,000 บาท กำหนดชำระเงินคืนภายใน 2 ปี ระยะเวลาพักชำระหนี้เงินต้นไม่เกิน 4 เดือน การกู้เงินตั้งแต่ 50,001 บาท แก่ไม่เกิน 100,000 บาท กำหนดชำระเงินคืนภายใน 4 ปี ระยะเวลาพักชำระหนี้เงินต้นไม่เกิน 4 เดือน การส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน

More Related