1 / 32

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยและ สถิติสำหรับการวิจัย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยและ สถิติสำหรับการวิจัย. Introduction to Research and Statistic for Research. ความหมายของการวิจัย. คำว่า การวิจัย มาจากคำว่า Research มีรากศัพท์มาจาก Re + Search Re แปลว่า ซ้ำ Search แปลว่า ค้น

zeus-kelley
Download Presentation

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยและ สถิติสำหรับการวิจัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยและสถิติสำหรับการวิจัยความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยและสถิติสำหรับการวิจัย Introduction to Research and Statistic for Research

  2. ความหมายของการวิจัย • คำว่า การวิจัย มาจากคำว่า Research มีรากศัพท์มาจาก Re + Search • Re แปลว่า ซ้ำ • Search แปลว่า ค้น • ดังนั้น Research แปลว่า ค้นคว้าซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งน่าจะหมายถึง การค้นหาความรู้ความจริง ค้นแล้วค้นอีก ซึ่งจะทำให้ได้รับรู้ความรู้ความจริงที่น่าเชื่อถือ ถูกต้อง เพราะมีข้อมูลที่เพียงพอต่อการสรุปเป็นความรู้ความจริงนั้น ๆ

  3. สรุปความหมายการวิจัย • การวิจัยคือ กระบวนการหาความรู้ความจริงใหม่ ที่มีระบบแบบแผนตามหลักวิชา อาศัยหลักเหตุผล ที่รอบคอบ รัดกุม ละเอียดและเชื่อถือได้ และความรู้ความจริงนั้นจะนำไปเป็นหลักการ ทฤษฎี หรือ ข้อปฏิบัติที่ทำให้มนุษย์ได้รับรู้และนำไปใช้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตด้วยความสงบสุขหรือป้องกันและหลีกเลี่ยงภัยอันตรายต่าง ๆ ได้

  4. วิธีหาความรู้ของมนุษย์ ยุคปัจจุบันชาร์ล ดาร์วิน (Charles Darwin ) นำวิธีอนุมานของอริสโตเติลและวิธีอุปมานของ เบคอน มารวมกัน เมื่อรวมทั้งสองวิธีเรียกว่า วิธีการอนุมาน-อุปมาน (Deductive-Inductive Method) เป็น 5 ขั้น1. ขั้นปัญหา (Problem) 2. ขั้นตั้งสมมติฐาน(Hypothesis) 3. ขั้นรวบรวมข้อมูล(Gathering Data) 4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล(Analysis) 5. ขั้นสรุป(Conclusion)

  5. ลักษณะของการวิจัย 1. การวิจัยเป็นการค้นคว้าที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญ และความมีระบบ2. การวิจัยเป็นงานที่มีเหตุผลและมีเป้าหมาย 3. การวิจัยจะต้องมีเครื่องมือหรือเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูล ที่มีความเที่ยงตรง และเชื่อถือได้4. การวิจัยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลใหม่และ ความรู้ใหม่ 5. การวิจัยเป็นการศึกษาค้นคว้าที่มุ่งหาข้อเท็จจริง 6. การวิจัยต้องอาศัยความเพียรพยายาม ความซื่อสัตย์ กล้าหาญ 7. การวิจัยจะต้องมีการบันทึกและเขียนการรายงาน การวิจัย อย่างระมัดระวัง

  6. ลักษณะที่ไม่ใช่การวิจัยลักษณะที่ไม่ใช่การวิจัย 1. การที่นิสิตนักศึกษาไปค้นคว้า เอกสารตำราแล้วนำมาเรียบเรียง ตัดต่อ2. การค้นพบ (Discovery) โดยทั่วไป โดยบังเอิญ 3. การรวบรวมข้อมูลแล้วนำมา จัดทำตาราง 4. การทดลองปฏิบัติการ ตามคู่มือที่แนะนำไว้

  7. วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อใช้ในการบรรยาย 2. เพื่อใช้ในการอธิบาย 3. เพื่อใช้ในการทำนาย 4. เพื่อใช้ในการควบคุม 5. เพื่อใช้ในการพัฒนา

  8. ประโยชน์ของการวิจัย 1. ช่วยให้ได้ความรู้ใหม่ ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ 2. ช่วยพิสูจน์หรือตรวจสอบความถูกต้องของกฏเกณฑ์ หลักการและทฤษฎีต่างๆ 3. ช่วย ให้เข้าใจสถานการณ์ ปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ 4. ช่วยพยากรณ์ผลภายหน้าของสถานการณ์ ปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่าง ถูกต้อง5. ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

  9. ประโยชน์ของการวิจัย … ต่อ 6. ช่วยในการวินิจฉัย ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม 7. ช่วยปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 8. ช่วยปรับปรุงและพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ และวิธีดำรงชีวิตได้ดียิ่งขึ้น9. ช่วยกระตุ้นบุคคลให้มีเหตุผล รู้จักคิดและค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ

  10. จรรยาบรรณของนักวิจัย 1. การทำการวิจัยที่ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างเพื่อทำการศึกษาวิจัย กลุ่มตัวอย่างเหล่านั้นจะต้องรับรู้และยินยอมที่จะเป็นกลุ่ม ตัวอย่าง และมั่นใจว่าตนเองจะไม่ได้รับความเสียหายหรืออันตรายใด ๆ 2. การทำการวิจัยจะต้องมีการรักษาผลประโยชน์แก่กลุ่มตัวอย่าง โดยเฉพาะการวิจัยที่ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างในการทดลองที่ต้องเสี่ยงต่ออันตรายต่อร่างกายแล้ว ไม่ควรกระทำ ควรจะใช้สัตว์อื่นแทนมนุษย์ เช่น หนูในการทดลองยา เป็นต้น

  11. จรรยาบรรณของนักวิจัย … ต่อ 3. การทำการวิจัยที่ต้องอาศัยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อมาทำการวิเคราะห์ ซึ่งบางครั้งเป็นข้อมูลที่ต้องการปกปิด หรือเป็นข้อมูลด้านลบของบุคคล ดังนั้น ผู้วิจัยจะต้องระมัดระวังไม่เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากจะเป็นผลการวิเคราะห์ในภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 4. การทำการวิจัยจะต้องมีความระมัดระวัง เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างมีความปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจของบุคคลอื่นซึ่งการวิจัยจะครอบคลุมไปถึง

  12. จรรยาบรรณของนักวิจัย … ต่อ 5. ผู้ทำวิจัยจะต้องมีความซื่อสัตย์และเป็นกลางในเรื่องที่ตนทำวิจัย ไม่ดำเนินการโดยความลำเอียง ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนของการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การเก็บข้อมูลการวิจัยหรือตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูล 6. ผู้วิจัยจะต้องมีความรับผิดชอบในงานวิจัยของตน ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มตัวอย่าง หรือผลการวิจัยที่ปรากฏผลออกมาจะต้องเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ไม่เป็นการทำขึ้นเพื่อทำลายความสงบสุขของคนในสังคม หรือทำลายบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งบุคคลใด

  13. สถิติในการวิจัย คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลในเชิงปริมาณอย่างเป็นระบบ ซึ่งในการวิจัยจะใช้สถิติหาคุณภาพของเครื่องมือ และใช้ในการกำหนดขนาดของตัวอย่างให้เหมาะสมกับประชากร และสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล แต่ก่อนทำการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ผู้วิจัยจะต้องคำนึงถึง ข้อจำกัดของสถิติแต่ละตัว และความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย

  14. สถิติในการวิจัย … ต่อ • ประเภทของข้อมูลมีความสำคัญมาก สำหรับการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ทางสถิติ เพราะสถิติแต่ละตัวมีข้อจำกัดในการนำไปวิเคราะห์ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของข้อมูล ฉะนั้นผู้วิจัยจะต้องมีความรู้ว่าข้อมูลแต่ละตัวอยู่ในประเภทใด ซึ่งข้อมูลทางการวิจัยมีอยู่หลายประเภท ดังต่อไปนี้ • นามบัญญัติ (Nominal Scale) • เรียงอันดับ (Ordinal Scale) • อันตรภาค (Interval Scale) • อัตราส่วน (Ratio Scale)

  15. นามบัญญัติ (Nominal Scale) • ข้อมูลประเภทนี้เป็นข้อมูลที่แบ่งเป็นกลุ่มเป็นประเภท ที่แยกออกจากกัน เช่น เพศ แบ่งเป็น ชาย, หญิง อาชีพ แบ่งเป็น ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ค้าขาย เป็นต้น • ข้อมูลเหล่านี้จะใช้ สถิติง่าย ๆ ในการคำนวณ คือ ความถี่ สัดส่วน ร้อยละ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงตัวแทนของชื่อกลุ่มเท่านั้น จะนำไป บวก ลบ คูณ หาร กันไม่ได้ในทางสถิติ เพราะไม่มีความหมาย

  16. เรียงอันดับ (Ordinal Scale) • ข้อมูลประเภทนี้ เป็นข้อมูลที่ใช้จัดอันดับของสิ่งต่าง ๆ โดยเรียงอันดับของข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้จากสูงสุดไปหาต่ำสุด เช่น ลำดับที่ของการสอบลำดับของการประกวดสิ่งต่าง ๆ หรือความนิยมเป็นต้น ซึ่งจะนำไป บวก ลบ คูณ หาร กันไม่ได้เช่นกัน • สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ความถี่ สัดส่วน ร้อยละ

  17. อันตรภาค (Interval Scale) • ข้อมูลประเภทนี้ เป็นข้อมูลที่บอกถึงความแตกต่างระหว่างค่าที่วัดได้แต่ละช่วง ที่มีความห่างเท่ากัน ทุกช่วง เป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข สามารถ บวก ลบ กันได้ แต่ไม่มีศูนย์แท้เช่น อุณหภูมิ ระดับทัศนคติ , ระดับความคิดเห็น โดยแปลความหมายจากแบบสอบถามที่เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า หรือ คะแนนสอบ 0 – 100 ซึ่งช่วงของตัวเลขจะแบ่งเท่า ๆ กัน และมีค่าเป็นศูนย์ไม่แท้เพราะ ตัวเลข 0 ไม่ได้ มีความหมายว่า ไม่มี แต่ตามความเป็นจริงแล้วยังมีค่าอยู่ • สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ความถี่ สัดส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติชั้นสูงทุกตัว

  18. อัตราส่วน (Ratio Scale) • ข้อมูลประเภทนี้ เป็นข้อมูลที่ใช้วัดในระดับสูง สามารถบวก ลบ คูณ หาร ได้ และมีศูนย์แท้ เช่น น้ำหนัก, ความเร็ว ความกว้าง ความหนา พื้นที่ จำนวนเงิน, อายุ ระยะทาง ซึ่งถ้ามีค่าเป็น 0 หมายถึง ไม่มี • ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปวิเคราะห์กับสถิติได้ทุกตัว

  19. ตัวอย่างประเภทของข้อมูลตัวอย่างประเภทของข้อมูล • ป

  20. ตัวอย่างประเภทของข้อมูล … ต่อ

  21. ตัวอย่างประเภทของข้อมูล … ต่อ 3. ระดับอุณหภูมิที่วัดได้ในภาคต่างๆ ของประเทศไทยมีดังนี้ ภาคเหนือ 22-25 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 22-28 องศาเซลเซียส ภาคกลาง 25 – 28 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออก 24 – 26 องศาเซลเซียส ภาคใต้ 25 – 30 องศาเซลเซียส ( มาตราอันตรภาค )

  22. หลักการเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลหลักการเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล การพิจารณาว่าจะใช้สถิติใดในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยจะต้องพิจารณา องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับหลักการทางสถิติ 3 ประการดังนี้ 1.ลักษณะของตัวอย่างที่นำมาศึกษา ตัวอย่างที่นำมาศึกษานั้นได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างหรือไม่ หากมีการสุ่มตัวอย่างจึงจะใช้สถิติแบบพาราเมตริก (Parametric statistic) แต่ถ้าไม่มีการสุ่มตัวอย่างจะต้องใช้สถิติแบบนอน พาราเมตริก (Nonparametric statistic )

  23. หลักการเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล … ต่อ 2. ประเภทของข้อมูล ลักษณะของข้อมูลที่วัดได้มี 4 ประเภท สถิติบางอย่างสามารถใช้ได้กับข้อมูลทุกระดับ แต่บางอย่างใช้ได้กับข้อมูลบางระดับก่อนตัดสินใจว่าจะใช้สถิติใดในการวิเคราะห์ ข้อมูล ผู้วิจัยควรพิจารณาว่า ข้อมูลที่รวบรวมมาได้นั้นเป็นข้อมูลระดับใดเสียก่อน เพื่อจะได้เลือกใช้สถิติได้ถูกต้อง

  24. หลักการเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล … ต่อ 3. จุดมุ่งหมายของการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องพิจารณาว่าวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้นมีกี่ตัวแปร มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายลักษณะ ข้อเท็จจริงของตัวแปร หรือต้องการเปรียบเทียบ หรือ ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ต้องมีการทดสอบสมมุติฐานอะไรบ้าง จึงจะสามารถเลือกใช้สถิติได้ถูกต้อง

  25. ตารางแสดงสถิติที่ใช้ • สถิติพื้นฐานสำหรับข้อมูลระดับต่าง ๆ

  26. ตารางแสดงสถิติที่ใช้ … ต่อ • สถิติสำหรับทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม

  27. ตารางแสดงสถิติที่ใช้ … ต่อ • สถิติสำหรับทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม

  28. สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยสถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย สถิติพื้นฐาน ได้แก่ สถิติวิเคราะห์เพื่อแสดงความหมายทั่วไปของ ข้อมูล และใช้เป็น พื้นฐานในการคำนวณสถิติขั้นสูงต่อไป ซึ่งสถิติพื้นฐานได้แก่1.1 การแจกแจงความถี่ (frequency) 1.2 การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ได้แก่ - ค่าเฉลี่ย (Mean) - มัธยฐาน (Median) - ฐานนิยม (Mode) 1.3 การวัดการกระจาย ได้แก่ - พิสัย (Range) - ความเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation) - ความแปรปรวน (Variance)

  29. สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย … ต่อ สถิติสำหรับการทดสอบสมมติฐาน เป็นสถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐานว่าเป็นจริงตามที่กำหนดไว้หรือไม่ ได้แก่ 1.1 การทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ได้แก่ t-test F-test และ ไคสแควร์ (chi-square)1.2 การหาความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป ได้แก่ การหาสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ (correlation) 1.3 การพยากรณ์ (regression)

  30. การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ • โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการวิจัยมีหลายโปรแกรม ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันได้แก่ โปรแกรม SPSS for Win (Statistical Package for Social Sciences for windows) • การเตรียมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ทางสถิติ มีดังต่อไปนี้ 1. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล 2. กำหนดหมายเลขลงบนเครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูล (Running Number)

  31. การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ … ต่อ 3. สร้างคู่มือลงรหัสของตัวแปรในเครื่องมือ (code book ) 4. พิจารณาว่าข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลประเภทใด เพื่อจะได้เลือกใช้สถิติสำหรับการวิจัยได้อย่างเหมาะสม

  32. การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ … ต่อ 5. การเตรียมคำสั่ง คำสั่งที่จะต้องใช้ในการปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โดย 5.1 คำสั่งรายการข้อมูล (data list ) เป็นการเขียนคำสั่งตามคู่มือลงรหัสที่กำหนด เพื่อให้เข้าใจตรงกันระหว่างผู้วิจัยกับคอมพิวเตอร์ 5.2 กำหนดสถิติที่ต้องการใช้ ผู้วิจัยจะต้องกำหนดได้ว่าข้อมูลที่บันทึกลงในคอมพิวเตอร์นั้นต้องการให้วิเคราะห์โดยใช้สถิติใด 6. ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลตามคำสั่งที่กำหนดไว้

More Related