1 / 1

“ดัชนีสินทรัพย์ ” เครื่องมือชี้วัดเศรษฐานะของครัวเรือนไทย ภูษิต ประคองสาย และ กัญจนา ติษยาธิคม

I. HPP. Thailand. “ดัชนีสินทรัพย์ ” เครื่องมือชี้วัดเศรษฐานะของครัวเรือนไทย ภูษิต ประคองสาย และ กัญจนา ติษยาธิคม สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข. ตารางที่ 1 : สินทรัพย์ของครัวเรือนที่มีค่าดัชนี factor score สูงในปี 2543, 2545 และ 2547. ความเป็นมา

zia-larson
Download Presentation

“ดัชนีสินทรัพย์ ” เครื่องมือชี้วัดเศรษฐานะของครัวเรือนไทย ภูษิต ประคองสาย และ กัญจนา ติษยาธิคม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. I HPP Thailand “ดัชนีสินทรัพย์” เครื่องมือชี้วัดเศรษฐานะของครัวเรือนไทย ภูษิต ประคองสาย และ กัญจนา ติษยาธิคม สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข ตารางที่ 1: สินทรัพย์ของครัวเรือนที่มีค่าดัชนี factor score สูงในปี 2543, 2545 และ 2547 ความเป็นมา ประเทศไทยประสบปัญหาเช่นเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ทั่วโลกที่มีความยากลำบากในการวัดระดับเศรษฐานะของครัวเรือนโดยใช้ข้อมูลรายรับหรือรายจ่าย เนื่องจากข้อมูลรายรับของครัวเรือนมักขาดความถูกต้องและต่ำกว่าความเป็นจริง สาเหตุจากการไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลรายรับทั้งหมดของสมาชิกในครัวเรือน ในขณะที่การเก็บข้อมูลรายจ่ายครัวเรือนจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลจำนวนมากและหลายประเภทของรายจ่าย ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนเช่นเดียวกัน ปัจจุบัน องค์กรระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก หรือสถาบันทางวิชาการต่างๆ ได้มีการพัฒนาเครื่องมือสำหรับชี้วัดเศรษฐานะของครัวเรือนขึ้นหลายประเภท โดยเครื่องมือหนึ่งที่มีการใช้อย่างแพร่หลายคือ ดัชนีสินทรัพย์หรือ asset index หรือ wealth index ซึ่งดำเนินการเก็บข้อมูลสินทรัพย์ของครัวเรือนที่ทำการสำรวจ แล้วนำมาคำนวณทางคณิตศาสตร์เพื่อกำหนดค่าดัชนีสำหรับบ่งชี้เศรษฐานะของครัวเรือนแทนการใช้ข้อมูลรายรับหรือรายจ่าย สำหรับประเทศไทยได้เริ่มมีความพยายามนำดัชนีสินทรัพย์ดังกล่าวมาใช้ในการประเมินระดับเศรษฐานะของครัวเรือนและวัดความเป็นธรรมทางสุขภาพในช่วงภายหลังการดำเนินนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า • ในช่วงระยะ 3 ปีทีทำการศึกษา พบว่า ครัวเรือนที่อยู่ในควินไทล์ที่ยากจนที่สุด ไม่มีครัวเรือนใดที่มีเครื่องปรับอากาศ หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์เลย • ในขณะที่ครัวเรือนที่อยู่ในควินไทล์ที่มีฐานะดีที่สุด • มีเครื่องปรับอากาศร้อยละ 48 ในปี 2543 และเพิ่มเป็นร้อยละ 49 และ 61 ในปี 2545 และ 2547 ตามลำดับ • มีเครื่องคอมพิวเตอร์ร้อยละ 24 ในปี 2543 และเพิ่มเป็นร้อยละ 34 และ 60 ในปี 2545 และ 2547 ตามลำดับ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ดัชนีสินทรัพย์ (Asset Index) สำหรับการชี้วัดเศรษฐานะของครัวเรือนเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ข้อมูลรายรับหรือรายจ่ายเฉลี่ยต่อหัวของครัวเรือน 2.เพื่อเปรียบเทียบความเป็นธรรมในการได้รับประโยชน์จากทรัพยากรสุขภาพภาครัฐ โดยใช้ข้อมูลรายรับของครัวเรือนและดัชนีสินทรัพย์ในการแบ่งกลุ่มเศรษฐานะของครัวเรือน เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างควินไทล์ของครัวเรือนที่แบ่งกลุ่มโดยดัชนีสินทรัพย์กับครัวเรือนที่แบ่งกลุ่มโดยข้อมูลรายรับและรายจ่ายของครัวเรือนพบว่ามีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง มีค่าระหว่าง 0.47- 0.54 (ตารางที่ 2) โดยความสัมพันธ์ค่อนข้างสูงในควินไทล์ที่ 1 และ 5 • วิธีการศึกษาและแหล่งข้อมูล • ใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบที่สำคัญ (principal component analysis) เพื่อประเมินค่าน้ำหนักของแต่ละสินทรัพย์ถาวรที่ครัวเรือนเป็นเจ้าของ และดัชนีสินทรัพย์รวมของครัวเรือน • ข้อมูลสินทรัพย์และลักษณะที่อยู่อาศัยของครัวเรือนจากแบบสำรวจภาวะเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2543, 2545 และ 2547 ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะโครงสร้างที่อยู่อาศัย การมีไฟฟ้า การมีส้วมใช้ และข้อมูลการครอบครองสินทรัพย์ถาวรที่สำคัญ เช่น รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เป็นต้น โดยมีจำนวนสินทรัพย์ประมาณ 29-30 รายการในแต่ละปี • คำนวณการได้รับประโยชน์จากทรัพยากรสุขภาพภาครัฐในกลุ่มประชากรที่มีเศรษฐานะแตกต่างกันในปี พ.ศ. 2546 โดยใช้ข้อมูลรายรับของครัวเรือนและดัชนีสินทรัพย์ในการแบ่งกลุ่มประชากรออกเป็นกลุ่มควินไทล์ต่างๆ รูปที่ 1: เปรียบเทียบการได้ประโยชน์จากทรัพยากรสุขภาพภาครัฐของประชากรในกลุ่มควินไทล์ที่ แบ่งโดยรายรับของครัวเรือนและดัชนีสินทรัพย์ ผลการศึกษา • ดัชนีสินทรัย์ของครัวเรือนทั้ง 3 ปีที่ทำการศึกษามีความสอดคล้องภายใน (internal coherence) กันอย่างชัดเจน • ครัวเรือนที่มีฐานะค่อนข้างดีหรืออยู่ในควินไทล์ที่มีดัชนีสินทรัพย์สูงมักจะมีสินทรัพย์ที่มีค่า factor score สูง และครอบครองสินทรัพย์ที่ครัวเรือนส่วนใหญ่ไม่มี เช่น เครื่องซักผ้า ตู้เย็น โทรศัพท์ และ เครื่องเล่นวีดีโอ เป็นต้น • สินทรัพย์ถาวรที่มีค่าดัชนี factor score สูง 3 ลำดับแรกในปี 2543 และ 2547 ได้แก่ เครื่องซักผ้า โทรศัพท์ และตู้เย็น ในขณะที่ปี 2545 สินทรัพย์ที่มีค่าดัชนีสูง 3 อันดับแรกคือ เครื่องซักผ้า โทรศัพท์ และตู้เย็น (ตารางที่ 1) • เมื่อวิเคราะห็การได้รับประโยชน์จากทรัพยากรสุขภาพภาครัฐในปี พ.ศ. 2546 ระหว่างกลุ่มควินไทล์ครัวเรือนที่แบ่งโดยรายรับและดัชนีสินทรัพย์พบว่าการกระจายตัวของการได้รับประโยชน์ไม่แตกต่างกันมากนัก (รูปที่ 1) บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย • ดัชนีสินทรัพย์สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการบ่งชี้เศรษฐานะของครัวเรือนแทนรายรับหรือรายจ่ายได้ โดยเฉพาะในการสำรวจครัวเรือนที่มีข้อจำกัดในการเก็บข้อมูลด้านรายรับและรายจ่าย • ในระดับประเทศและระดับพื้นที่ สามารถนำดัชนีสินทรัพย์ไปใช้ในการวิเคราะห์ความเป็นธรรมทางสุขภาพระหว่างประชากรหรือครัวเรือนที่มีเศรษฐานะแตกต่างกันได้ สามารถส่งข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะได้ที่ นพ. ภูษิต ประคองสาย สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข หรือ phusit@ihpp.thaigov.netและ kanjana@ihpp.thaigov.net

More Related