1 / 10

ชื่อโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

ชื่อโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด. หลักการและเหตุผล

zoe
Download Presentation

ชื่อโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ชื่อโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดชื่อโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด • หลักการและเหตุผล ศูนย์บริการสาธารณสุข......เป็นหน่วยงานหนึ่งที่รับผิดชอบประชาชนในเขต.......... มีประชากรทั้งสิ้น 49, 280 คน จากการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ 2551 ตามโครงการรักษ์สุขภาพผู้สูงวัยเฉลิมพระเกียรติ ระหว่าง วันที่ 14 – 15 พฤศจิกายน 2550 พบว่า ผู้ได้รับการตรวจทั้งหมด 100 คน มีผลน้ำตาลในเลือดสูง ร้อยละ 56 ไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 63 ความดันสูง ร้อยละ 40 โดยมีพฤติกรรมชอบกินหวานจัด ร้อยละ 20 มันจัด ร้อยละ 30 เค็มจัด ร้อยละ 40 ออกกำลังกายเป็นประจำร้อยละ......

  2. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด 4.1 มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ในเรื่องการรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย และการจัดการความเครียดไปในทางที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น 4.2 ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย หรือเส้นรอบเอวเกินเกณฑ์ มีระดับดัชนีมวลกาย/เส้นรอบเอวลดลงจากเดิม 4.3 ผู้ที่มีค่าความดันโลหิต/ไขมันในเลือด/น้ำตาลในเลือดสูง มีค่าลดลงจากเดิม 4.4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในระดับมากขึ้นไปในการเข้าร่วมโครงการ

  3. กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงตั้งแต่ 1 อย่างขึ้นไป ได้แก่ ค่า BMI > 23.9, รอบเอว> 36 นิ้วในผู้ชาย > 32 นิ้วในผู้หญิง, ความดันโลหิตมากกว่า 130/90 mmHg, น้ำตาลในเลือด > 110 mg%จำนวน 40 คน

  4. รูปแบบการจัดกิจกรรมโครงการรูปแบบการจัดกิจกรรมโครงการ • โปรแกรมปรับพฤติกรรม แบบไป-กลับ ตามนัดของชมรมผู้สูงอายุ ครั้งละ 4 ชั่วโมง จำนวน 5 ครั้ง เดือนละ 1 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 25 มีนาคม 2552 เวลา 8.00- 12.00 น. -ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้ว วัดพฤติกรรม - กิจกรรมสร้างสัมพันธภาพเพื่อเสริมพลัง - กิจกรรมฝันดี ฝันร้าย และสุขภาพที่คาดหวัง - วิเคราะห์ประสบการณ์การดูแลตนเอง - เรียนรู้เรื่องโรคอ้วน เบาหวาน ความดัน - ตั้งเป้าหมายสุขภาพ สรุปกิจกรรม วางแผนนัดหมายครั้งต่อไป

  5. ครั้งที่ 2 - ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต - ละลายพฤติกรรม - ทบทวนการเรียนรู้ในครั้งที่ 1 และการปฏิบัติในเดือนที่ผ่านมา - เรียนรู้เรื่องอาหารเพื่อการลดน้ำหนัก น้ำตาลและความดัน - สรุปกิจกรรม ตั้งเป้าหมายสุขภาพ วางแผนนัดหมายครั้งต่อไป ครั้งที่ 3 - ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต -ละลายพฤติกรรม -ประเมินการบรรลุเป้าหมายสุขภาพ และการปฏิบัติในเดือนที่ผ่านมา -กิจกรรมรักษ์สุขภาพสร้างชีวิตให้ยืนยาว -สาธิตการออกกำลังกายพร้อมฝึกปฏิบัติ -สาธิตและฝึกปฏิบัติการจัดการความเครียด - สรุปกิจกรรม ตั้งเป้าหมายสุขภาพ วางแผนนัดหมายครั้งต่อไป

  6. ครั้งที่ 4 - ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว - ประเมินการบรรลุเป้าหมายสุขภาพ และการปฏิบัติในเดือนที่ผ่านมา - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ค้นหาบุคคลต้นแบบ - ละครคน (ฝึกทักษะการแก้ปัญหา และการเอาชนะอุปสรรค) - ตามตอบปัญหาในการดูแลตนเอง - สรุปกิจกรรม ตั้งเป้าหมายสุขภาพ วางแผนนัดหมายครั้งต่อไป

  7. ครั้งที่ 5-ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้ว - ทำแบบทดสอบหลังเข้าร่วมโครงการ - ละลายพฤติกรรม - สรุปกิจกรรมปัญหาอุปสรรค/นำเสนอแนวทางเพื่อการ ปรับเปลี่ยน พฤติกรรมที่ได้ผลและยั่งยืน - สร้างเครือข่ายการดำเนินงาน -ประเมินพฤติกรรมและความพึงพอใจ - ประกาศรายชื่อผู้เป็นแบบอย่างดีเด่น มอบวุฒิบัตรและรางวัล

  8. ตัวชี้วัด 1) ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมในด้านการรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น 2) ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมในด้านการออกกำลังกายเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น โดยร้อยละ 70 มีการออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที 3 ครั้ง/สัปดาห์ 3) ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมจัดการความเครียดได้ดีขึ้น

  9. ตัวชี้วัด 4) ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่าดัชนีมวลกาย/รอบเอวเกินเกณฑ์ มีค่าดัชนีมวลกาย/รอบเอว ลดลง 5) ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่าความดันโลหิต/น้ำตาลในเลือดสูงมีค่าลดลง 6) ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจระดับมากขึ้นไปในการเข้าร่วมโครงการ

  10. วิธีการประเมินผล • แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมวัดก่อนและหลังเข้าโครงการ 4 เดือน • แบบวัดความพึงพอใจหลังเข้าร่วมโครงการ • แบบลงข้อมูลภาวะสุขภาพ • เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องชั่งน้ำหนัก อุปกรณ์เจาะเลือด DTX

More Related