340 likes | 729 Views
การส่งเสริมพัฒนาการ. การเป็นครูที่ดี มีลักษณะอย่างไร. ประการแรก ครูจะต้องรักเด็กและเข้าใจเด็ก ประการที่สอง ครูควรทราบวิธีการส่งเสริมให้เด็กได้ รับการพัฒนาทุกๆด้าน ( ด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา สังคม คุณธรรม และ จริยธรรม).
E N D
การเป็นครูที่ดี มีลักษณะอย่างไร • ประการแรก ครูจะต้องรักเด็กและเข้าใจเด็ก • ประการที่สอง ครูควรทราบวิธีการส่งเสริมให้เด็กได้ รับการพัฒนาทุกๆด้าน (ด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา สังคม คุณธรรม และ จริยธรรม)
สำหรับครู จิตวิทยามีความสำคัญอย่างไร • 1. จิตวิทยา คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งสามารถสังเกตได้ วัดได้ และทดสอบได้ • 2. การที่ครูรู้จักและเข้าใจความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของเด็ก ทำให้ครูสามารถจัดกิจกรรม เนื้อหาและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับเด็กได้ ตลอดจนสร้างระเบียบวินัยที่ดีแก่เด็ก • 3. เนื้อหาที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ การศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล พัฒนาการของเด็ก การเอาใจใส่ การลงโทษ การเสริมแรง การสร้างความรู้สึกนึกคิดที่ดีต่อตนเอง การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน การสร้างวินัย การพูดและการฟังของครู
คำถามที่ต้องการคำตอบ • - ทำอย่างไรเด็กจะรักโรงเรียน • - ทำอย่างไรเด็กจะรักครู • - ทำอย่างไรเด็กจะประพฤติปฏิบัติตัวดี • - ทำอย่างไรเด็กถึงจะเรียนเก่ง • - ทำอย่างไรจะช่วยให้เด็กแต่ละคนพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่ • - ทำอย่างไรเด็กถึงจะเป็นคนดีที่โรงเรียนและสังคมต้องการ
ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครูความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครู • 1. ช่วยให้ครูรู้จักลักษณะนิสัย (Characteristics) ของ นักเรียนที่ครูต้องสอน • 2. ช่วยให้ครูมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของ นักเรียน (ช่วยให้นักเรียนมีอัตมโนทัศน์ที่ดีและถูกต้อง) • 3. ช่วยครูให้มีความเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล • 4. ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อของห้องเรียนให้เหมาะสมแก่วัยและขั้น พัฒนาการของนักเรียน • 5. ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครูความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครู • 6.ช่วยครูในการเตรียมการสอน วางแผนการเรียน • 7. ช่วยครูให้ทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้ • 8. ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพ • 9. ช่วยครูให้ทราบว่านักเรียนที่มีผลการเรียนดีไม่ได้เป็นเพราะ ระดับเชาวน์ปัญญาเพียงอย่างเดียว • 10. ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียน
ครู : เป็นแม่พิมพ์ และเป็นเบ้าหลอมให้เด็กเป็นคนดีหรือคนเลวได้ • เด็กบางคนเปรียบเสมือนน้ำร้อนที่เดือดปุดๆ • ความเอื้ออาทร การเอาใจใส่ และความสงบเยือกเย็นของครู • ที่จะทำให้น้ำร้อนนั้นเย็นลง • เด็กบางคนเปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็ง • ความอบอุ่นของครูเท่านั้น ที่จะละลายเขาได้ • จงทำให้เขาละลายลง………..
การสำรวจนักเรียนรายบุคคลการสำรวจนักเรียนรายบุคคล • เป็นการรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างละเอียด ข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้ ได้แก่ ประวัติส่วนตัว ครอบครัว ภูมิหลังจากโรงเรียนเดิม ประวัติการเรียน พฤติกรรม นิสัย บุคลิกภาพ สติปัญญา สุขภาพ ความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน เจตคติ ประวัติการถูกลงโทษ การได้รับรางวัล การบำเพ็ญประโยชน์ ความสนใจ ความสามารถพิเศษ ฯลฯ • ทั้งนี้เพื่อจะได้รู้จักนักเรียน เข้าใจนักเรียนอย่างลึกซึ้ง เพื่อเป็นแนวทางที่จะช่วยเหลือหรือพัฒนานักเรียนได้อย่างถูกต้อง
ข้อควรคำนึงในการสำรวจข้อควรคำนึงในการสำรวจ • 1. ข้อมูลที่รวบรวมต้องถูกต้องเป็นจริง เชื่อถือได้ และเพียงพอที่จะ • ทำให้ทราบสาเหตุของปัญหา • 2. ควรศึกษาข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และต้องจดบันทึกทุกครั้ง • 3. ใช้ภาษาเข้าใจง่ายในการบันทึก ระบุวันเวลา สถานที่ ผู้บันทึกชัดเจน • 4. ข้อมูลควรได้มาจากหลายฝ่ายและหลายสถานการณ์ • 5. ข้อมูลที่นักเรียนไม่ต้องการให้เปิดเผย ครูต้องรักษาไว้เป็นความลับ • 6. ผู้รวบรวมข้อมูลต้องมีใจเป็นกลาง ไม่มีอคติหรือความลำเอียงใดๆ • 7. ครูไม่ควรด่วนสรุปหรือเชื่อข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเพียงวิธีใดวิธี หนึ่งเท่านั้น ควรหาจากหลายๆวิธีเพื่อความถูกต้องเพียงพอ
เทคนิคการสำรวจเป็นรายบุคคลเทคนิคการสำรวจเป็นรายบุคคล • เทคนิคต่างๆที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลนักเรียน ที่จำเป็นมีดังนี้ • 1. การสังเกต • 2. การสัมภาษณ์ • 3. แบบสอบถาม • 4. การเยี่ยมบ้าน • 5. การทำอัตชีวประวัติ • 6. แบบทดสอบ
“น้ำขาดปลา ฟ้าขาดฝน คนขาดใจ • ชีวิตคงจะห่อเหี่ยว แห้งแล้งและโรยราแน่” “ ธรรมชาติของมนุษย์ ต้องการที่จะได้รับความรัก ความเอาใจใส่ ความสนใจ และการยอมรับจากเพื่อมนุษย์ด้วยกัน ”
พฤติกรรมที่เรียกร้องความสนใจพฤติกรรมที่เรียกร้องความสนใจ • - ชอบส่งเสียงดังในชั้นเรียน • - ฝ่าฝืนกฎระเบียบของโรงเรียน • - ลุกเดินจากที่นั่งบ่อยๆ
การเอาใจใส่นักเรียน จำแนกได้ 2 ประการ • 1. การเอาใจใส่ทางบวก เป็นการสื่อสารด้วยคำพูดที่ทำให้ผู้รับรู้สึกว่าตนมีคุณค่า • 1.1 การเอาใจใส่ทางบวกโดยไม่มีเงื่อนไข “ ครูรักเธอ ไม่ว่าเธอจะเป็นใคร มาจากไหน เรียนเก่งหรืออ่อน จนหรือรวยก็ตาม ” • 1.2 การเอาใจใส่ทางบวกโดยมีเงื่อนไข “ ถ้านักเรียนคนไหนสอบได้ที่ 1 ครูมีรางวัลให้ ”
การเอาใจใส่นักเรียน จำแนกได้ 2 ประการ • 2. การเอาใจใส่ทางลบ คือการสื่อสารด้วยคำพูดหรือภาษากาย จากผู้ส่งออกไปยังผู้รับแล้ว ผู้รับไม่พอใจ • 2.1 การเอาใจใส่ทางลบโดยไม่มีเงื่อนไข เป็นการไม่ยอมรับในความเป็นคนของเขา เช่น “ครูเกลียดนักเรียนที่เป็นคนใต้” • 2.2 การเอาใจใส่ทางลบโดยมีเงื่อนไข การไม่ยอมรับตามการกระทำที่กำหนด เช่น “ ครูจะลงโทษนักเรียนที่ไม่ส่งการบ้าน ”
แนวทางการนำการเอาใจใส่ไปใช้ในโรงเรียนแนวทางการนำการเอาใจใส่ไปใช้ในโรงเรียน • 1. ครูควรเอาใจใส่นักเรียนด้วยคำพูดและภาษากาย • 2. จำชื่อนักเรียนที่ครูสอนได้ถูกต้อง • 3. ให้เวลาแก่นักเรียนทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน • 4. ครูควรมีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสกับนักเรียน • 5. เตรียมรางวัลหรือของขวัญเล็กๆน้อยๆให้นักเรียนบ้าง • 6. สำรวจ ดูแล เอาใจใส่ต่อความสะอาดของร่างกาย และการแต่ง กายของนักเรียน • 7. ครูควรจะให้การเอาใจใส่ทางบวก โดยไม่มีเงื่อนไขอย่าง สม่ำเสมอ
“If you touch me soft and gentle If you look at me and smile at me If you listen to me and talk sometimes before you talk I will grow , really grow ” “ถ้าเพียงแต่คุณแตะต้องฉันอย่างนุ่มนวล และละมุนละม่อม ถ้าเพียงแต่คุณมองดูและยิ้มให้ฉัน ถ้าเพียงแต่คุณฟังฉันพูดบ้างเป็นบางครั้ง ก่อนที่คุณจะพูดเสียเอง ฉันก็จะเจริญเติบโต …….เจริญงอกงามได้อย่างแท้จริง ”
การลงโทษ • “ไม้เรียวสร้างคนให้เป็นรัฐมนตรีหลายคน” • อดีต : ลงโทษด้วยวิธีการตี • ปัจจุบัน : นิยมใช้การเสริมแรง ( Reinforcement) • การลงโทษที่ไม่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดปัญหา ยิ่งวิธีการลงโทษที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสมมากเท่าใด ยิ่งจะสร้างบาดแผลทางกายและทางใจกับนักเรียนไปตลอดชีวิตได้มากขึ้นเท่านั้น
ประเภทการลงโทษ จำแนกได้ 2 ประเภท • 1. การลงโทษทางบวก (Positive punishment ) เช่น นายศักดิ์พูดคำหยาบ ครูลงโทษโดยการดุหรือด่า • 2. การลงโทษทางลบ (negative punishment ) เช่นนางสาวสมศรีไม่ทำเวร ครูจึงลงโทษโดยตัดคะแนนความประพฤติของนางสาวสมศรีออกไป 5 คะแนน
ข้อคิด เกี่ยวกับการลงโทษ • ดวงเดือน พันธุมนาวิน กล่าวว่า “ เด็กเล็กควรลงโทษโดยตีให้เจ็บกาย แต่ต้องตีด้วยความรัก มิใช่ความเกลียดและความโมโหโทโส อาจตีได้ในเด็ก 0 – 7 ขวบ และเริ่มลดการตีลงจาก 7 ขวบ เพิ่มการให้รางวัลเป็นวัตถุสิ่งของและเลิกตีเมื่อเด็กอายุ 10 ขวบไปแล้ว” • Hurlock ทดลองพบว่า “ เด็กโตชอบการชมเชยมากกว่าการตำหนิ แต่เด็กเรียนเก่ง เมื่อถูกตำหนิ จะพยายามการะทำสิ่งต่างๆให้ดีมากขึ้นกว่าถูกชม • Morgan อธิบายว่า • “ การให้รางวัลนั้น มีผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็กมากกว่าการลงโทษ และการเรียนรู้ที่เกิดจากการลงโทษจะไม่คงทนถาวรเท่าการให้รางวัล
การเสริมแรง • ความหมาย : การให้สิ่งเร้าแล้ว ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจหรือไม่ พึงพอใจ • เป้าหมาย : ให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์มากขึ้น • ประเภทการเสริมแรง : มี 2 ประเภท • 1. การเสริมแรงทางบวก • 2. การเสริมแรงทางลบ
การเสริมแรง • เทคนิคการเสริมแรง : • 1. การเสริมแรงด้วยวาจา • 2. การเสริมแรงด้วยการให้ผู้เรียนเห็นความก้าวหน้าของตน • 3.การเสริมแรงด้วยท่าทาง • 4.การเสริมแรงด้วยการให้รางวัลและสัญลักษณ์ต่างๆ
การเสริมแรง / การเรียนการสอน • การเสริมแรงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเรียนการสอน • เป็นเสมือนหยดน้ำอมฤตช่วยชุบชีวิตชโลมใจให้นักเรียนมีชีวิตชีวา เกิดความรู้สึกดีๆ ขยันหมั่นเพียรในการเรียนเพิ่มมากขึ้น • ช่วยให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ถูกต้อง • ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่ครู โรงเรียน และสังคมต้องการ
ความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเอง self - concept • “ ความรักต้องเริ่มจากรักตัวเองก่อน • (เอื้ออาทร ห่วงใย เข้าใจ ยอมรับ ) • ถ้าเราไม่มีความรักในตัวเอง เราก็ไม่สามารถแบ่งความรัก ให้ใครได้ ”
ความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเอง หรือ อัตมโนทัศน์ self - concept • ความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเอง เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่แสดงออกของบุคคล • คนแต่ละคนจะแสดงพฤติกรรมเช่นไรนั้นขึ้นอยู่กับว่าเขามีความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเองว่าเป็นอย่างไร • ครูจะต้องเข้าใจนักเรียน เข้าใจในพฤติกรรมของเขา มองสิ่งต่างๆให้เห็นอย่างที่เขาเห็นไม่ใช่มองสิ่งต่างๆอย่างที่ครูเห็น และควรเข้าใจเหตุผลในการกระทำของเขา
ประเภทความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเอง มี 2 ประเภท • 1.ตัวตนที่เป็นจริง (Real self – concept ) • 2. ตัวตนที่ต้องการเป็น (Idea self – concept ) • บทบาทของครู : ครูควรที่จะพยายามช่วยให้ตัวตนที่เป็นจริงกับตัวตนที่ต้องการเป็นของเด็ก ให้มีความแตกต่างกันน้อยที่สุด
วิธีการพัฒนาความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเองวิธีการพัฒนาความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเอง • พรรณี ช.เจนจิต : เสนอการสร้างบรรยากาศเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอัตมโนทัศน์ในทางบวก 6 ประการ คือ • 1.บรรยากาศที่ท้าทาย 2.บรรยากาศที่มีอิสระ • 3. บรรยากาศที่มีความอบอุ่น • 4.บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ • 5.บรรยากาศแห่งการควบคุม • 6.บรรยากาศแห่งความสำเร็จ
การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน • จุดมุ่งหมาย : ให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ • เกิดทักษะ ความชำนาญ และมีเจตคติที่ดี • (Knowledge Understand Skill Attitude ) • : นักเรียนมีความสุข – สนุก ในการเรียน • : การสอนของครูบรรลุเป้าหมาย
องค์ประกอบการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนองค์ประกอบการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน • 1.บุคลิกภาพของครู : การแต่งกาย อารมณ์ขัน ท่าทาง น้ำเสียง การใช้คำพูด • 2.พฤติกรรมการสอนของครู : แบบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้ซักถาม ช่วยเหลือกัน • 3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน : ทำกิจกรรมร่วมกัน • 4.ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน : มีโอกาสทำงาน ร่วมกันและช่วยเหลือกัน
บรรยากาศที่ควรหลีกเลี่ยงบรรยากาศที่ควรหลีกเลี่ยง • อย่าทำตัวเป็นครูระเบียบ ต้องทำอย่างโน้น อย่างนี้ • อย่าทำตัวเป็นครูสำราญ คาดหวังอะไรไม่ได้ • อย่าทำตัวเป็นครูวันลาหรือลาวัน ไม่ยอมมาโรงเรียน • อย่าทำตัวเป็นครูอำนาจ บังคับ ขู่เข็ญ • (ดุ ด่า ตำหนิติเตียน บังคับ ข่มขู่ เยาะเย้ย ถากถาง เฉยๆ โกหก)
การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน • ใส่ความยิ้มแย้มแจ่มใส แทนที่ความบูดบึ้งบนใบหน้า • ใส่ความเป็นปิยวาจา แทนที่การกราดเกรี้ยวและดูหมิ่น • ใส่ความรู้สึกกระตือรือร้น แทนที่ความเชื่องช้าและเฉยเมย • ใส่อารมณ์ขัน แทนที่อารมณ์เครียด • ใส่น้ำเสียงนุ่มนวล แทนที่น้ำเสียงดุดัน • ใส่ความเอาใจใส่ดูแล แทนที่การปล่อยปละละเลย • ใส่ความยกย่องชมเชย แทนที่การตำหนิติเคียน
การสร้างวินัยในชั้นเรียนการสร้างวินัยในชั้นเรียน • ครูต้องยอมรับว่า • - พฤติกรรมทุกอย่างย่อมมีสาเหตุ ถ้าครูรู้สาเหตุของ ปัญหา ย่อมสามารถแก้ปัญหานั้นได้ • - สาเหตุเดียวทำให้เกิดพฤติกรรมหลายอย่าง และ พฤติกรรมอย่างเดียวกันอาจมาจากหลายสาเหตุก็ได้
นางสาว สมศรี ชั้น ปวช. 3อกหัก (สาเหตุ) ส่งผลให้เกิดพฤติกรรม ดื่มสุรา หาหนังสือธรรมะอ่าน เข้าวัด ร้องไห้ ปรึกษาเพื่อน หาผู้ชายคนใหม่ชดเชย นางสาว สมศรี ชั้นปวช. 3สอบตกชั้นปวช. 3 (สาเหตุ) อาจเกิดจาก อกหัก ขาดเรียนบ่อย ไม่ส่งการบ้าน ทำข้อสอบไม่ได้ เข้าสอบช้า ไม่ดูหนังสือ