510 likes | 1.08k Views
การจัดทำ COP ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สมุทรสงคราม. เรื่อง ปัญหาที่พบในการบันทึกข้อมูลแบบ ภ.ง.ด.3, 53 และความรู้ในเรื่องระเบียบปฏิบัติงาน. ปัญหา 1. แบบแสดงรายการ 1.1 ไม่กรอกเลขประจำตัวฯ ของผู้ถูกหัก 1.2 ไม่กรอกประเภทเงินได้ 1.3 เดือนภาษีไม่ตรงหน้าแบบ 1.4 ไม่เขียนชื่อผู้มีเงินได้
E N D
การจัดทำ COPของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สมุทรสงคราม เรื่อง ปัญหาที่พบในการบันทึกข้อมูลแบบ ภ.ง.ด.3, 53 และความรู้ในเรื่องระเบียบปฏิบัติงาน
ปัญหา 1.แบบแสดงรายการ 1.1 ไม่กรอกเลขประจำตัวฯ ของผู้ถูกหัก 1.2 ไม่กรอกประเภทเงินได้ 1.3 เดือนภาษีไม่ตรงหน้าแบบ 1.4 ไม่เขียนชื่อผู้มีเงินได้ 1.5 แบบฯ เขียนด้วยลายมือ เจ้าหน้าที อ่านไม่ออก 1.6 ยื่นผิดประเภท ปัญหา 2. ผู้ประกอบการไม่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล 3. ความไม่เข้าใจในระเบียบการปฏิบัติงานกรรมวิธีแบบฯ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ปี พ.ศ.2553 4. หน่วยบันทึกแบบได้รับแบบล่าช้า ประเด็นปัญหา
ปัญหา ไม่กรอกเลขประจำตัวฯ ของผู้หัก ไม่กรอกประเภทเงินได้ เดือนภาษีไม่ตรงหน้าแบบ ไม่เขียนชื่อผู้มีเงินได้ แบบฯ เขียนด้วยลายมือ จนท.อ่านไม่ออก ยื่นผิดประเภทแบบ ผู้ประกอบการไม่ให้ความร่วมมือ ความไม่เข้าใจระเบียบการปฏิบัติงานกรรมวิธีแบบฯ ปี พ.ศ. 2553 หน่วยบันทึกแบบได้รับแบบล่าช้า แนวทางแก้ไข ......................................... ......................................... ......................................... ......................................... ......................................... ......................................... ......................................... .................................................................................. ......................................... การดำเนินการการจัดทำ COP (ต่อ)
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการปฏิบัติงานกรรมวิธี แบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย พ.ศ. 2553 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ สส.และ สท.
ความหมาย จำนวนเงินที่กฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินจะต้อง หักออกจากเงินได้ก่อนจ่ายให้แก่ผู้รับทุกคราว หรือเป็นจำนวนเงิน ภาษีที่ผู้จ่ายเงินออกภาษีแทนผู้มีเงินได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ กฎหมายกำหนดและนำส่งแล้ว ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ผู้เสีย ภาษีได้รับ และเป็นเครดิตภาษีของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในการ คำนวณภาษีที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีประจำปี
วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ • บรรเทาภาระภาษี • ให้รัฐมีรายได้เข้าคลังอย่างสม่ำเสมอ • เป็นธรรมแก่ผู้มีเงินได้ • ป้องกัน ปราบปราม การหลบเลี่ยงภาษี
ประเภทภาษีหัก ณ ที่จ่าย • ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หมายถึงแบบยื่นนำส่งภาษีรายเดือน และสรุปรายปี ดังนี้ นำส่งภาษีรายเดือน ได้แก่ ภ.ง.ด.1= เงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้าฯ ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ภ.ง.ด.2= ค่าสิทธิ ดอกเบี้ย ปันผลฯ ตามมาตรา 40(3) และ(4) แห่งประมวลรัษฎากร ภ.ง.ด.3= ค่าเช่า วิชาชีพอิสระ รับจ้างทำของ ประกอบธุรกิจ ตามมาตรา 40(5) (6) (7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร
แบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ต่อ) ภ.ง.ด.53= กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวล รัษฎากรฯ ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และต้อง หักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส หรือมาตรา 69 ทวิ แห่ง ประมวลฯ แบบยื่นรายการสรุปรายปี ได้แก่ ภ.ง.ด.1ก= เงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้าฯ ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลฯ ภ.ง.ด.1กพิเศษ= เงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า ฯ ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลฯ กรณีการตั้งฎีกา เบิกเงินเฉพาะส่วนราชการ
แบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ต่อ) แบบ ภ.ง.ด.2ก= เงินได้ประเภท ดอกเบี้ย เงินปันผลฯ ตาม มาตรา 40(4) แห่งประมวลฯ แบบ ภ.ง.ด.3ก= ค่าเช่า วิชาชีพอิสระ รับจ้างทำของ ประกอบ ธุรกิจตามมาตรา 40(5) (6) (7) และ (8) แห่ง ประมวลฯ เฉพาะผู้จ่ายเงินที่เป็นองค์กรรัฐบาล
ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 1. บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หสม. บริษัท 2. หสน. มูลนิธิ สมาคมหรือนิติบุคคลอื่น 3. รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การ บริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น 4. ผู้โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาฯ โดยถือว่าผู้โอน เป็น ผู้จ่ายเงินได้
หน้าที่ของผู้หัก ณ ที่จ่าย 1. หักภาษีไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้ 2. ออกหนังสือรับรอง 3. นำเงินภาษีส่งอำเภอ 4. จัดทำบัญชีพิเศษ 5. ยื่นแบบสรุปประจำปี
กำหนดเวลาออกหนังสือรับรองกำหนดเวลาออกหนังสือรับรอง 1. ม.3 เตรส : ออกทันทีทุกครั้งที่หัก ณ ที่จ่าย 2. ม.50(1) : ภายในวันที่ 15 ก.พ. ของปีถัดไป (หรือ 1 เดือนกรณี ออกจากงานระหว่างปี) 3. ม.50(2,3,4) : ออกให้ทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย
การกรอกรายการในแบบ • 1. กรอกรายการให้ครบถ้วน • 2. ระบุเดือนที่มีการจ่ายเงินได้พึงประเมินบนหน้าแบบให้ถูกต้อง • 3. กรณีคำนวณภาษีของผู้มีเงินได้รายใด ไม่มีภาษีหักนำส่ง ก็ไม่ ต้องแสดงรายการผู้มีเงินได้รายนั้นในแบบ ภ.ง.ด.1 แต่สิ้นปีต้อง แสดงรายการในแบบ ภ.ง.ด.1ก
กำหนดเวลาการยื่นแบบนำส่งภาษีกำหนดเวลาการยื่นแบบนำส่งภาษี 1. แบบ ภ.ง.ด.1, 2, 3 และ 53 ยื่นรายการสำส่งภาษีภายใน 7 วันนับแต่วัน สิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน 2. แบบ ภ.ง.ด.1ก ยื่นรายการภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป 3. แบบ ภ.ง.ด.1 กพิเศษ - กรณีจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(1) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป - กรณีจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(2) ภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป 4. แบบ ภ.ง.ด.2ก และ 3ก ให้ยื่นรายการภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป
การรับแบบ (หน้าที่ของ สส.) 1. จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับแบบฯ เพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ 2. พิจารณาความถูกต้องของแบบดังนี้ 2.1. เป็นแบบฯ ที่กรมฯ จัดพิมพ์ หรือพิมพ์จากเว็บไซต์กรมฯ 2.2. แสดงรายการผู้มีเงินได้ถูกต้องตามประเภทแบบฯ 2.3. กรอกรายการให้ครบถ้วน เช่น ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัว เลขที่สาขา เดือน ที่จ่ายเงินได้ ฯลฯ 2.3. แบบต่างท้องที่ให้รับแบบไว้แล้วประทับคำว่า “ต่างท้องที่” ส่งให้ท้องที่ ที่รับผิดชอบ ภายใน 3 วันทำการ 2.4. กรณีแบบยื่นเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงรายการให้แนะนำให้ระบุเหตุผลด้วย
การนำส่งแบบ • 1. แยกแบบตามแต่ละประเภทแบบ แล้วจัดเป็นชุด ๆ ละไม่เกิน 100 ฉบับ แล้วนำส่ง สภญ.หรือสำนักงานพื้นที่ที่รับผิดชอบ ด้วยงบหน้าชุดเอกสาร (บ.ช.12.1)และเอกสารนำส่ง (บ.ช.12) • 2. แบบยื่นด้วยสื่อ ให้ประทับ “ยื่นแบบด้วยสื่อฯ” ลงบนหน้าแบบ จัดชุดแยก ต่างหากจากแบบที่เป็นกระดาษ แล้วนำส่ง สภญ.หรือสำนักงานพื้นที่ที่ รับผิดชอบ ด้วยงบหน้าชุดเอกสาร(บ.ช.12.1)และเอกสารนำส่ง(บ.ช.12) • 3. นำส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับแบบ
การดำเนินการเกี่ยวกับแบบ (หน้าที่ สท.) • ส่วนบริหารงานทั่วไปเมื่อได้รับแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จากหน่วยรับแบบและแบบแนบฎีกาแสดงรายการภาษีแบบ 4117 จากคลังจังหวัดหรือหน่วยงานผู้หักนำส่งแล้ว ให้ตรวจนับแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและแบบแนบฎีกาแสดงรายการภาษีแบบ 4117 ว่ามีจำนวนตรงกับที่แสดงในหนังสือนำส่งหรือไม่ ถ้าถูกต้องตรงกันแล้ว ให้ส่งแบบดังกล่าวให้งานภาษีหัก ณ ที่จ่ายดำเนินการต่อไป • งานภาษีหัก ณ ที่จ่าย เมื่อได้รับแบบจากส่วนบริหารงานทั่วไปให้ดำเนินการดังนี้ - แยกประเภทแบบ ส่งแบบที่ต้องบันทึกให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการบันทึก - เรียงแบบตามเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรให้เริ่มจากหลักที่ 5-9 ซึ่งเป็นเลขที่ออกให้แก่ผู้เสีย ภาษีตามลำดับก่อนหลัง - เรียงแบบตามเลขประจำตัวประชาชน กรณีผู้หักเป็นบุคคลธรรมดา - จัดทำแฟ้มรายตัวผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
การบันทึกแบบ • ให้แยกแบบไปบันทึกข้อมูลตามแนวทางปฏิบัติการบันทึกและนำส่งข้อมูลภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยโปรแกรมการบันทึกข้อมูลภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (CIT/WT) • นำแบบที่บันทึกเรียบร้อยแล้วเก็บเข้าแฟ้มรายตัวผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
การวิเคราะห์แบบ 1. พิจารณาว่าเป็นแบบที่ยื่นภายในกำหนดเวลาหรือไม่ 2. วิธีคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายถูกต้องตามประมวลรัษฎากร ภ.ง.ด.1 ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลฯ และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.96/2543 ภ.ง.ด.2 เป็นไปตามมาตรา 50(2)แห่งประมวลฯ ภ.ง.ด.3 เป็นไปตามมาตรา 50(3)(4) และมาตรา 3 เตรส ภ.ง.ด53 เป็นไปตามมาตรา 69 ทวิ และมาตรา 3 เตรส 3. กรณีเป็นแบบสรุปในปีที่ล่วงมาแล้ว ให้พิจารณายอดรวมเงินได้และ ภาษีที่นำส่งต้องเท่ากับแบบรายเดือน จำนวนเงินได้อาจมากกว่าหรือ เท่ากับแบบรายเดือน แต่ภาษีต้องเท่ากัน
การตรวจสอบ • กรณีนำส่งภาษีขาด ให้ยื่นแบบนำส่งภาษีเพิ่มเติมเฉพาะส่วนที่ชำระไว้ขาดให้ครบถ้วน ถ้ากรณีที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ไปยื่นภาษีเพิ่มเติมให้จัดทำหนังสือแจ้งความตามประมวลรัษฎากร ไปยังผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่ายเพื่อให้มาชำระภายใน 15 วัน นับแต่ที่ได้รับหนังสือ สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบให้ปฏิบัติตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2550 • แสดงเงินได้ไว้เกิน ให้แนะนำยื่นแบบปรับปรุงรายการ • การสอบยันภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในหนังสือรับรองฯกับยอดเครดิตในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับจำนวนเงินที่นำส่งจริงตามที่ปรากฏในแบบหัก ณ ที่จ่าย
การยื่นแบบเพิ่มเติม • 1. กรณีแสดงเงินได้ + ภาษีไว้ขาด : ให้ยื่นแบบเพิ่มเติมเพื่อชำระภาษี+เงินเพิ่ม ให้ครบถ้วน โดย 1. ให้แสดงรายการเฉพาะรายผู้มีเงินได้ที่แสดงไว้ขาด 2. ให้แสดงจำนวนเงินได้และภาษี เฉพาะจำนวนที่ขาดไปเท่านั้น • 2. กรณีแสดงเงินได้ไว้ขาด : ให้ยื่นแบบเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงเงินได้ให้ครบถ้วน โดย 1. ให้แสดงรายการเฉพาะรายผู้มีเงินได้ที่แสดงไว้ขาด 2. ให้แสดงจำนวนเงินได้ เฉพาะจำนวนเงินที่ขาดไปเท่านั้น
การยื่นแบบเพิ่มเติม (ต่อ) • 3. กรณีนำส่งจำนวนเงินภาษีไว้ขาด : ให้ยื่นแบบเพิ่มเติมเพื่อชำระภาษี+เงินเพิ่ม ให้ครบถ้วน โดย 1. ให้แสดงรายการเฉพาะรายผู้มีเงินได้ที่แสดงไว้ขาด 2. ให้แสดงจำนวนเงินภาษี เฉพาะจำนวนที่ขาดไปเท่านั้น
กรณีปรับปรุงรายการที่แสดงไว้เกินกรณีปรับปรุงรายการที่แสดงไว้เกิน • กรณีที่แสดงรายการเงินได้พึงประเมินและนำส่งภาษีไว้เกิน 1. กรณีแสดงรายการเงินได้และภาษีเกิน ให้ยื่นแบบเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุง ดังนี้ - ให้แสดงเฉพาะรายการผู้มีเงินได้ที่แสดงไว้เกิน - ให้แสดงจำนวนเงินได้และภาษีเฉพาะจำนวนที่เกินไว้ในวงเล็บ( ) - หมายเหตุ “ยื่นแบบเดือน..... ปี...... ได้แสดงรายการเงินได้พึงประเมินและนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้เกินไป ขอยื่นแบบเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงรายการ” - แนะนำให้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีในส่วนที่ชำระไว้เกิน
กรณีปรับปรุงรายการที่แสดงไว้เกิน (ต่อ) • ตัวอย่าง เงินได้ 10,000 บาท แสดงไว้ 100,000 บาท ภาษี 300 บาท • แสดงไว้ 3,000 บาท (แสดงเงินได้เกินไป 90,000 บาท ภาษี 2,700 บาท)
กรณีปรับปรุงรายการที่แสดงไว้เกิน (ต่อ) • 2. กรณีแสดงรายการเงินได้ไว้เกินไป ให้ยื่นแบบเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุง ดังนี้ - ให้แสดงเฉพาะรายการผู้มีเงินได้ที่แสดงไว้เกิน - ให้แสดงจำนวนเงินได้เฉพาะจำนวนที่เกินไว้ในวงเล็บ ( ) - หมายเหตุ “ยื่นแบบเดือน...ปี... ได้แสดงรายการเงินได้พึงประเมินไว้เกินไป ขอยื่นแบบเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงรายการ”
กรณีปรับปรุงรายการที่แสดงไว้เกิน (ต่อ) • ตัวอย่าง เงินได้ 100,000 บาท แสดงไว้ 1,000,000 บาท แสดงเงินได้เกินไป 900,000 บาท
กรณีปรับปรุงรายการที่แสดงไว้เกิน (ต่อ) • 3. กรณีนำส่งจำนวนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้เกินไป ให้ยื่นแบบเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุง ดังนี้ - ให้แสดงเฉพาะรายการผู้มีเงินได้แสดงไว้เกิน - ให้แสดงจำนวนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย เฉพาะจำนวนที่นำส่งไว้เกินไปใน วงเล็บ ( ) - หมายเหตุ “ยื่นแบบเดือน...ปี... ได้นำส่งจำนวนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้ เกินไป ขอยื่นแบบเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงรายการ” - แนะนำให้ยื่นคำร้องขอคืนภาษี
ต่อ • ตัวอย่าง ภาษี 300 บาท แสดงไว้ 3,000 บาท นำส่งภาษีเกินไป (2,700)
ต่อ • 4. กรณีแสดงรายการผู้มีเงินได้พร้อมจำนวนเงินได้พึงประเมินและภาษีไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง ให้ยื่นแบบเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงรายการให้ถูกต้อง โดย • แสดงรายการของผู้มีเงินได้เฉพาะรายที่ต้องการเพิ่ม / ลด ให้ครบถ้วน • แสดงจำนวนเงินได้และภาษีเฉพาะรายการที่ต้องการลด ในวงเล็บ โดยหมายเหตุว่า “ยื่นแบบเดือน....ปี... ขอลดรายผู้มีเงินได้เนื่องจาก................ขอยื่นแบบเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงรายการ”
ต่อ • ตัวอย่าง แสดงรายการผู้มีเงินได้พึงประเมินและจำนวนเงินภาษีไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง ขอลดรายการออก
ขออนุมัติ ใช้แบบหนังสือรับรองฯ แตกต่างจากที่กำหนด ยื่นแบบรวม ออกหนังสือรับรองเพื่อการรัษฎากรเป็นภาษาอังกฤษ อนุโลมแบบ แก้ไขรายการในแบบฯ รับรองยอดเงินได้พึงประเมินและภาษีหัก ณ ที่จ่าย คัดสำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผู้อนุมัติ การให้บริการ สรรพากรภาค สรรพากรพื้นที่ สรรพากรพื้นที่สาขา (เฉพาะกรณีที่ข้อมูลแบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่ายอยู่ในครอบครองของสำนักงานพื้นที่สาขา)
1. ใช้แบบหนังสือรับรองฯ แตกต่างจากที่กำหนด - พิจารณาส่วนที่เป็นสาระสำคัญ อย่างน้อยควรมีข้อความตามประกาศฯ กำหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
2. ขอยื่นแบบรวม - ผู้มีสิทธิยื่นคำขอได้แก่ ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของสถานประกอบการที่ ประสงค์จะยื่นแบบรวม - ยื่นหนังสือ ณ ภญ./สท. ที่เป็นที่ตั้งของสถานประกอบการของผู้ขอ - พิจารณาเหตุผลความจำเป็น - ต้องยื่นหนังสือขออนุมัติก่อนเดือนภาษีที่ต้องการยื่นรวม - กรณีอนุมัติ แจ้งให้ยื่นในเดือนภาษีถัดจากเดือนที่ได้รับอนุมัติ - แยกชุดแต่ละสถานประกอบการ และไม่แสดงรายการผู้มีเงินได้ปนกับ สถานประกอบการที่ขอยื่นรวมด้วย
3. การออกหนังสือรับรองเพื่อการรัษฎากรเป็นภาษาอังกฤษ - การรับรองการเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย - หนังสือรับรองการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล - หนังสือรับรองการมีถิ่นที่อยู่เพื่อการรัษฎากรในประเทศไทย - หนังสือรับรองการมีสถานภาพเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม - หนังสือรับรองการมีสถานภาพเป็นผู้เสียภาษีตามกฎหมายไทย ให้ปฏิบัติตามแนวทางการออกหนังสือรับรองเพื่อการรัษฎากรด้วยระบบ คอมพิวเตอร์
กรณี - ยื่นแบบผิดประเภท - แสดงรายการบุคคลธรรมดาและ นิติฯ รวมกัน - ยื่นสลับใบแนบแบบ - ยื่นแบบสลับในกรณีอื่น เอกสารใช้ประกอบ คำขออนุโลมการยื่นแบบฯ (ป.ป.02) เอกสารหลักฐานที่เป็นข้อเท็จจริง สำเนาแบบฉบับเดิมที่ได้ยื่นนำส่งภาษีไว้แล้ว 4. การอนุโลมแบบ
การอนุโลมแบบ (ต่อ) • การพิจารณา • 1. ให้พิจารณาประเภทเงินได้ที่จ่าย และสถานะของผู้รับเงินได้ • 2. ต้องไม่ผิดหน่วยภาษี ผิดประเภทภาษี ไม่มีผลทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสีย หรือนำส่งเปลี่ยนแปลง • 3. สาเหตุที่ยื่นแบบไม่ถูกต้องตามที่กรมฯ กำหนด โดยให้มีการบันทึก คำให้การ (ต.6) • 4. แจ้งผลการอนุมัติให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทราบ และประทับตราข้อความอนุโลม แบบฯ ไว้บนหน้าแบบฯ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ รับคำร้อง
หลักเกณฑ์ : - ไม่เป็นรายการที่เกี่ยวกับเงินได้หรือ ภาษีที่หัก ณ ที่จ่าย - ไม่เป็นการเปลี่ยนชื่อจากบุคคลหนึ่ง เป็นอีกบุคคลหนึ่ง - แสดงรายการจ่ายเงินได้ใน เดือน ปี ภาษี เดียวกัน - เป็นแบบที่แสดงข้อมูลเลขประจำตัวผู้เสียภาษี หรือเลขประจำตัวประชาชนครบถ้วน เอกสารประกอบ : - คำขอแก้ไขข้อมูลภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (แบบ ป.ป.01) - เอกสารหลักฐานที่เป็นข้อเท็จจริงของข้อมูล ที่ขอแก้ไข - สำเนาแบบฉบับเดิมที่แสดงรายการไว้ผิด 5. การแก้ไขรายการ
การแก้ไขรายการ (ต่อ) • การพิจารณา - รายการที่ขอแก้ไขเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ - พิจารณาหลักฐานข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง - บันทึกคำให้การ (ต.6) ไว้เป็นหลักฐาน - เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ หมายเหตุเลขที่หนังสือได้รับอนุมัติไว้ในแบบ มี หนังสือแจ้งให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทราบ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับคำร้อง
6. การขอให้รับรองยอดเงินได้และภาษี - ให้พิจารณาเอกสารหลักฐาน หนังสือมอบอำนาจ บัตรประจำตัว ประชาชน ให้ครบถ้วน - การรับรอง ให้รับรองเฉพาะรายการผู้มีเงินได้ ที่ยื่นคำขอให้รับรอง เท่านั้น
7. การขอคัดสำเนาแบบฯ • หลักเกณฑ์ : 1. ให้คัดข้อมูลแบบฯ ที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงาน 2. คัดรายการและรับรองรายการเฉพาะรายผู้ยื่นคำขอเท่านั้น ห้ามถ่าย สำเนาแบบและใบแนบทั้งชุด เว้นแต่ผู้ขอเป็นผู้หักและนำส่งภาษี 3. กรณีหน่วยงานสรรพากรเป็นผู้ขอคัดให้ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ เกี่ยวกับขอคัดแบบทางอินทราเน็ต
การขอคัดสำเนาแบบฯ (ต่อ) • ผู้ยื่นคำขอ - ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย - ผู้มีเงินได้ - เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร - บุคคลหรือหน่วยงานตามแนวทางฯ การพิจารณาเปิดเผยข้อมูล ข่าวสารของกรมสรรพากรสำหรับการขอคัดสำเนาแบบภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย
การดำเนินการกับแบบที่ได้รับอนุมัติแก้ไข / อนุโลม 1. กรณีเป็นแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายไม่ต้องบันทึกข้อมูล ให้นำหนังสือที่ได้รับอนุมัติ / อนุโลม พร้อมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องเก็บรวบรวมไว้กับแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายฉบับที่ยื่นไว้ครั้งแรกในแฟ้มรายตัวผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการขออนุมัติแก้ไขรายการในแบบ หรือขออนุมัติให้ถือว่าได้ยื่นแบบนำส่งภาษีแล้วโดยอนุโลมตามแบบยื่นรายการประเภทใด ในเดือน ปี ภาษีใด 2. กรณีเป็นแบบ ภ.ง.ด.3 , ภ.ง.ด.53 ให้ส่งเอกสารหลักฐานไปให้เจ้าหน้าที่ บันทึกข้อมูลเพื่อทำการบันทึกแก้ไขในฐานข้อมูล
การดำเนินการกับแบบที่ได้รับอนุมัติแก้ไข / อนุโลม 3.เมื่อแก้ไขข้อมูลในโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว ให้เก็บแบบเข้าแฟ้มรายตัวผู้มี หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายให้ครบถ้วนทุกเดือน / ปีภาษี นั้นเพื่อป้องกันแบบ สูญหาย
การเก็บแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย • สำนักงานสรรพากรพื้นที่ (ส่วนบริหารงานทั่วไป) รับผิดชอบการเก็บแฟ้มรายตัวผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และให้รวมถึงการอนุมัติให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลภายนอกขอคัดสำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย