1 / 21

นิเวศวิทยา

นิเวศวิทยา . Ecology. Jaratpong moonjai. จุดมุ่งหมายในสัปดาห์นี้. ความหมายของนิเวศวิทยา ประเภทของการศึกษานิเวศวิทยา ประเภทของระบบนิเวศ โครงสร้างของระบบนิเวศ โครงสร้างทางชีวภาพ โครงสร้างทางฟิสิกส์ และเคมี. คำจำกัดความของนิเวศวิทยา. Ecology = Okios + logos

aaliyah
Download Presentation

นิเวศวิทยา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นิเวศวิทยา Ecology Jaratpongmoonjai

  2. จุดมุ่งหมายในสัปดาห์นี้จุดมุ่งหมายในสัปดาห์นี้ • ความหมายของนิเวศวิทยา • ประเภทของการศึกษานิเวศวิทยา • ประเภทของระบบนิเวศ • โครงสร้างของระบบนิเวศ • โครงสร้างทางชีวภาพ • โครงสร้างทางฟิสิกส์ และเคมี

  3. คำจำกัดความของนิเวศวิทยาคำจำกัดความของนิเวศวิทยา • Ecology = Okios + logos • Oikos = บ้านหรือที่อยู่อาศัย • Logos = การมีเหตุผลหรือความคิด Ecology = Okios + logos = การศึกษาถึงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีต่อบ้านหรือแหล่งที่อยู่แหล่งที่อยู่....คือ....สิ่งแวดล้อม ประเด็นของคำจำกัดความ

  4. ประเภทของระบบนิเวศ ดูจากลักษณะการถ่ายเทมวลสารและพลังงานแบ่งได้เป็น • ระบบนิเวศอิสระ (Isolated ecosystem) เป็นระบบนิเวศตามทฤษฎีเท่านั้น ไม่มีการถ่ายเทพลังงานและมวลสารภายในระบบกับสิ่งแวดล้อมภายนอก • ระบบนิเวศแบบปิด (Closed ecosystem) มีการถ่ายเทพลังงานจากสิ่งแวดล้อม แต่ไม่มีการถ่ายเทสารระหว่างระบบนิเวศกับสิ่งแวดล้อม • ระบบนิเวศแบบเปิด (Open ecosystem) มีการถ่ายเทพลังงานและมวลสารระหว่างระบบนิเวศกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นลักษณะของระบบนิเวศที่พบได้ทั่วไป

  5. ประเภทของระบบนิเวศ • การศึกษานิเวศวิทยาอาจศึกษาโดยพิจารณาจากแหล่งที่อยู่เป็น • นิเวศวิทยาน้ำจืด (Fresh water ecology หรือ Limnology) • นิเวศวิทยาน้ำเค็ม (Marine ecology) • นิเวศวิทยาบนบก (Terrestrial ecology) • นิเวศวิทยาน้ำกร่อย (Estuary ecology)

  6. ประเภทของระบบนิเวศ แบ่งตามลักษณะทางอนุกรมวิธาน อาจแบ่งตามแขนงใหญ่ ๆ เป็นนิเวศวิทยาพืช และนิเวศวิทยาสัตว์ • นิเวศวิทยาของพืช (plant ecology) • นิเวศวิทยาของสัตว์ (animal ecology) • นิเวศวิทยาของแมลง (insect ecology) • นิเวศวิทยาของจุลินทรีย์(microbial ecology) • นิเวศวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrate ecology)

  7. โครงสร้างของระบบนิเวศโครงสร้างของระบบนิเวศ • โครงสร้างที่เป็นองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Factor หรือ Abiotic Component) • โครงสร้างที่เป็นองค์ประกอบที่มีชีวิต (Biotic Factor หรือ Biotic Component)

  8. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต ประกอบด้วย สารประกอบอินทรีย์ และอนินทรีย์(abioticsubstant) และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Abiotic environment) ไม่ว่าจะเป็น • สภาพภูมิอากาศ (Climate): อุณหภูมิ, น้ำ, ความชื้น, แสง, ลม • ลักษณะทางธรณีวิทยา : ดิน, หิน, แร่ธาตุ • การเปลี่ยนแปลงจากสิ่งรบกวน (Disturbance) : * การรบกวนตามธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด, ไฟ, แผ่นดินไหว, พายุ * การรบกวนที่มีสาเหตุจากมนุษย์

  9. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ มีผลต่อสิ่งมีชีวิตในหลาย ๆ ด้านเช่น • จำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง • การแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิต • จำนวนประชากรสิ่งมีชีวิต • รูปร่างลักษณะของสิ่งมีชีวิต • พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต

  10. องค์ประกอบที่มีชีวิต • ผู้ผลิต (Producer หรือ Autotroph) • ผู้บริโภค (Consumer หรือ Phagotroph) • ผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer หรือSaphotroph)

  11. ผู้ผลิต (Producer หรือ Autotroph) เป็น Autotrophic Organism

  12. ผู้ผลิต (Producer หรือ Autotroph) • สามารถสร้างอาหารได้เองโดยอาศัยคลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุที่ใช้จับพลังงานจากแสงอาทิตย์ • นอกจากพืชแล้วสิ่งมีชีวิตอื่นที่สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตได้ได้แก่ สาหร่ายเซลล์เดียว • และแบคทีเรียพวก Cyanobacteria Company Logo

  13. ผู้บริโภค (Consumer หรือ Phagotroph) • เป็น Heterotrophic Organism ผู้บริโภคแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามอาหารที่มันกินเช่น • ผู้บริโภคพืช (Herbivore) • ผู้บริโภคสัตว์ (Carnivore) • ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ (Omnivore) • ผู้บริโภคซาก (Detritivore – บริโภคซากอินทรีย์ที่ทับถมในดิน หรือ Scavenger – บริโภคซากตาย)

  14. ผู้บริโภค (Consumer หรือ Phagotroph) • แบ่งตามลำดับการบริโภคเป็น • ผู้บริโภคปฐมภูมิ (Primary consumer) ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นผู้บริโภคพืช • ผู้บริโภคทุติยภูมิ (Secondary consumer) โดยทั่วไปเป็นสัตว์ที่กินเนื้อของสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร โดยทั่วไปมีขนาดใหญ่และแข็งแรง • ผู้บริโภคลำดับตติยภูมิ (Tertiary consumer) จตุรภูมิ (Quatiary consumer) และต่อ ๆ ไป • ผู้บริโภคลำดับสูงสุด (Top Carnivore) เป็นผู้บริโภคที่มักจะไม่ถูกกินโดยสัตว์อื่นต่อไป

  15. ผู้บริโภค (Consumer หรือ Phagotroph)

  16. ผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer หรือSaphotroph) • มีบทบาทสำคัญในวัฏจักรการหมุนเวียนสารอินทรีย์-สารอนินทรีย์ในระบบนิเวศ • ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ • จะดูดซึมอาหารที่มันย่อยโดยการหลั่งเอนไซม์ออกไปย่อยซากอินทรีย์ที่อยู่ในธรรมชาติ • สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้จัดเป็น Heterotroph

  17. คำถาม • ปัจจัยทางกายภาพมีผลต่อพฤติกรรมและการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตอย่างไร • ประเด็นสำคัญในการศึกษาระบบนิเวศ 3 ประเด็นคืออะไร มีความสำคัญต่อการเรียนนิเวศวิทยาอย่างไร

  18. Next weeK ปฏิบัติการที่ 1 การเปรียบเทียบรูปแบบและองค์ประกอบของระบบนิเวศ

More Related