210 likes | 421 Views
สรุปสถานการณ์การระบาด เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. วันที่ 19-25 ตุลาคม 2553. สถานการณ์การระบาด. ได้รับรายงานสถานการณ์เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจาก 17 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี - พิจิตร - นนทบุรี เพชรบูรณ์ - ปทุมธานี - สิงห์บุรี เลย - ลพบุรี - เชียงราย
E N D
สรุปสถานการณ์การระบาดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสรุปสถานการณ์การระบาดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล วันที่ 19-25 ตุลาคม 2553
สถานการณ์การระบาด • ได้รับรายงานสถานการณ์เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจาก 17 จังหวัด ได้แก่ • สุพรรณบุรี - พิจิตร - นนทบุรี • เพชรบูรณ์ - ปทุมธานี - สิงห์บุรี • เลย - ลพบุรี - เชียงราย • กาญจนบุรี - นครนายก - อุทัยธานี • ชัยนาท - นครสวรรค์ - พิษณุโลก • กำแพงเพชร - อ่างทอง ในสัปดาห์นี้ไม่พบการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่พบตัวเต็มวัยเล็กน้อยในบางจุดของพื้นที่ ไม่ทำความเสียหายแก่ข้าว
ปัจจัยที่ทำให้การระบาดลดลงปัจจัยที่ทำให้การระบาดลดลง มีการรณรงค์ควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยวิธีต่างๆ เช่น • การใช้เชื้อราบิวเวอเรีย และเมตตาไรเซียมฉีดพ่น • การใช้สารสกัดจากสะเดาฉีดพ่น • การใช้กับดักกาวเหนียวและแสงไฟล่อตัวเต็มวัย • การแนะนำให้เกษตรกรใช้สารเคมีอย่างถูกวิธี • พื้นที่ปลูกข้าวหลายพื้นที่ถูกน้ำท่วม เมตตาไรเซียม
ข้าวนาปี การคาดการณ์ นาปรัง อพยพ อายุ 25-35 วัน ระยะแก่-เก็บเกี่ยว ตามลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อาจจะพบการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลบางพื้นที่ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม เนื่องจาก ● ช่วงเวลาดังกล่าวจะเริ่มปลูกข้าวนาปรัง ● เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัยที่หลงเหลือจากการควบคุมจะอพยพออกจากแปลงนาข้าวที่แก่ - เก็บเกี่ยวไปตามลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อหาแหล่งอาหารและแหล่งอาศัยเพื่อขยายพันธุ์บริเวณข้าวนาปรัง (อายุ 25-35 วัน) ทางภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก
การดำเนินงาน แนวทางควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัย • แผนการเฝ้าระวัง จัดทำแปลงติดตามสถานการณ์ และจัดหน่วยเคลื่อนที่เร็ว เพื่อสำรวจติดตามสถานการณ์และถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร • แผนการเตือนภัย เมื่อสำรวจพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัย ให้ประกาศเตือนภัยทางหอกระจายข่าวและวิทยุท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
การดำเนินงาน (ต่อ) • แผนการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัย (เริ่ม 21 ต.ค. 53) รณรงค์ควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งวิธีกลและฟิสิกส์ พร้อมกันทุกพื้นที่ โดยใช้กับดักกาวเหนียวและแสงไฟล่อ เพื่อตัดวงจรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัย • แผนการสนับสนุน สำนักงานเกษตรจังหวัดประสาน อบต. อบจ. และจังหวัด ขอสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และงบประมาณในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลต่อไป เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่จับได้
รายงานสถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังรายงานสถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
รายงานสถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังข้อมูล ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2553 สถานการณ์การระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง พบการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง จำนวน 22,967 ไร่ ใน 12 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี นครราชสีมา เพชรบูรณ์ จันทบุรี บุรีรัมย์ สกลนคร ชัยนาท ปราจีนบุรี หนองบัวลำภู ราชบุรี ชลบุรี และระยอง ตามลำดับ ซึ่งการระบาดลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 13,016 ไร่
ปัจจัยที่ทำให้การระบาดลดลงปัจจัยที่ทำให้การระบาดลดลง • ๑. เนื่องจากสภาพอากาศไม่เหมาะสมกับการระบาด ฝนตกชุกต่อเนื่อง ทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง ปริมาณน้ำในดินมาก ๒. มีการสำรวจติดตาม และควบคุมโดยวิธีผสมผสาน เช่น ปล่อยแมลงช้างปีกใสและแตนเบียน มีการตัดยอดที่ถูกทำลาย การคาดการณ์เดือนพฤศจิกายนจะเป็นช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นสภาพเหมาะสมกับการระบาด
การดำเนินงานแนวทางการควบคุมเพลี้ยแป้งการดำเนินงานแนวทางการควบคุมเพลี้ยแป้ง ๑). ให้เกษตรกรสุ่มสำรวจเพลี้ยแป้งในแปลงของตนเองอย่างต่อเนื่อง ๒.) หากสำรวจพบเพลี้ยแป้ง ในภาพอากาศที่มีความชื้นสูงให้ใช้เชื้อราบิวเวอเรียฉีดพ่น สภาพอากาศแห้งให้ปล่อยแมลงช้างปีกใส และแตนเบียนเพลี้ยแป้งสีชมพูควบคุม ๓.) แนะนำเกษตรกรที่จะปลูกมันสำปะหลังในเดือนตุลาคม 2553ให้แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีตามคำแนะนำของทางราชการก่อนปลูก ๔) ให้คณะกรรมการศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ติดตาม รายงานและประสานงานกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตขยายแตนเบียน แมลงช้างปีกใส และเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อนำมาใช้ในการควบคุมเพลี้ยแป้งในพื้นที่ โดยแนะนำให้เกษตรกรแกนนำ ผลิตศัตรูธรรมชาติดังกล่าวใช้เอง และขยายผลสู่ชุมชนเพื่อป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้งอย่างยั่งยืน
รายงานสถานการณ์การระบาดหนอนหัวดำรายงานสถานการณ์การระบาดหนอนหัวดำ
รายงานสถานการณ์การระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวรายงานสถานการณ์การระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว และแมลงดำหนามมะพร้าว
ปัจจัยที่ทำให้การระบาดเพิ่มขึ้นปัจจัยที่ทำให้การระบาดเพิ่มขึ้น 1) สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ก่อเกิดภาวะแห้งแล้งต่อเนื่อง 2) ต้นมะพร้าวอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ทำให้อ่อนแอต่อการเข้าทำลายและการขยายพันธุ์ 3) เกษตรกรขาดการดูแลรักษาและการจัดการที่ถูกต้อง
การคาดการณ์ การระบาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการเคลื่อนย้าย ต้นกล้ามะพร้าว และผลผลิตมะพร้าว ทำให้มีการขยาย พื้นที่ระบาดเดิมไปที่ใหม่
วงจรชีวิตของหนอนหัวดำมะพร้าววงจรชีวิตของหนอนหัวดำมะพร้าว ระยะไข่ อายุ 5 - 7 วัน ระยะผีเสื้อ อายุ 4 - 14 วัน ระยะหนอน อายุ 32 - 48 วัน ระยะดักแด้ อายุ 9 - 11 วัน
การทำลาย หนอนจะถักใยดึงใบมะพร้าวมาเรียงติดกันเป็นแพและสร้างอุโมงค์เป็นทางยาวอาศัยกัดกินใบอยู่ภายในอุโมงค์ อาการรุนแรงทำให้ต้นตายได้ เข้าดักแด้ในใบมะพร้าว
การดำเนินงาน จัดทำโครงการควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว จ. ประจวบคีรีขันธ์ มี 2 มาตรการด้วยกัน 1 มาตรการเร่งด่วนมี 4 กิจกรรมได้แก่ 1. การตัดเผาทำลาย 2. การฉีดพ่นเชื้อ Bt. 3. การปล่อยแตนเบียนไข่ทริคโคแกรมมา 4. การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรให้มีการพึ่งพาตนเอง และมีส่วนร่วม 2 มาตรการระยะยาว มีการดำเนินการจัดตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน จำนวน 5 ศูนย์ ในอำเภอ หัวหิน, ปราณบุรี, กุยบุรี, เมือง, ทับสะแก
การปีนขึ้นไปตัดทางใบ (ตีนหมี) การตัดโดยชักทางใบมะพร้าว
การพ่นเชื้อ Bt โดยใช้เครื่องพ่นแรงดันสูง และการเผาทำลายทางมะพร้าว