1 / 123

สิทธิมนุษยชน ในกระบวนการยุติธรรม

สิทธิมนุษยชน ในกระบวนการยุติธรรม. ธนรัตน์ ทั่งทอง รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้. ควบคุมและขัง ควบคุม หมายความถึง การควบคุมหรือกักขังผู้ถูกจับโดยพนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ในระหว่างสืบสวนและสอบสวน (มาตรา 2 ( 21 ))

Download Presentation

สิทธิมนุษยชน ในกระบวนการยุติธรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม ธนรัตน์ ทั่งทอง รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้

  2. ควบคุมและขัง ควบคุม หมายความถึง การควบคุมหรือกักขังผู้ถูกจับโดยพนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ในระหว่างสืบสวนและสอบสวน (มาตรา 2 (21)) ขัง หมายความถึง การกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล (มาตรา 2 (22)) ความหมายของคำว่า ควบคุม และขัง จึงแตกต่างกันตรงที่ถ้าเป็นการควบคุมหรือกักขังโดยพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เรียกว่า ควบคุมและถ้ากักขังโดยศาลเรียกว่า ขัง

  3. การออกหมายขัง (มาตรา 71) การออกหมายขังระหว่างการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา (มาตรา 71 วรรคหนึ่ง) กล่าวคือ เมื่อได้ตัวผู้ต้องหา หรือจำเลยมาแล้ว ในระยะใดระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ตามมาตรา 87 หรือมาตรา 88 ก็ได้ เหตุในการออกหมายขัง เนื่องจากมาตรา 71 วรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติมาตรา 66 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนี้ เหตุออกหมายขังก็ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการออกหมายจับ ในมาตรา 66

  4. ศาลมีดุลพินิจที่จะไม่ออกหมายขังหรือให้ออกหมายปล่อยได้ (มาตรา 71 วรรคสาม) การควบคุมหรือขังจำเลยระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกา (มาตรา 73) คดีใดอยู่ระหว่างอุทธรณ์ฎีกา ถ้าจำเลยต้องควบคุมหรือขังมาแล้วเท่ากับหรือเกินกว่ากำหนดจำคุกหรือกำหนดจำคุกแทนตามคำพิพากษา ให้ศาลออกหมายปล่อยจำเลย เว้นแต่จะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่นในกรณีที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ (มาตรา 73) คำสั่งคำร้องของศาลฎีกาที่ ท.165/2552 โจทก์และโจทก์ร่วมต่างฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ต้องขังมาเกินกว่ากำหนดโทษจำคุกตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แล้ว ก็ยังไม่มีเหตุให้ศาลชั้นต้นออกหมายปล่อยจำเลยที่ 3 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 73

  5. กำหนดเวลาควบคุมตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา (มาตรา 87) แนวคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับการออกหมายขังระหว่างสอบสวน ผู้ต้องหาที่ยังไม่ถูกจับกุม ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ จะขอให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวนไม่ได้ ดูฎีกาที่ 8708/2547 ฎีกาที่ 8708/2547การที่ผู้ต้องหามาพบพนักงานสอบสวนตามที่ถูกเรียกและพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้ทราบทันที ยังถือไม่ได้ว่าผู้ต้องหาถูกจับ เพราะยังไม่มีคำสั่งหรือหมายของศาล เมื่อผู้ต้องหายังไม่ถูกจับกุมจึงไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของพนักงานสอบสวนหรือผู้ร้อง (พนักงานอัยการ) ผู้ร้องจึงไม่สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหาไว้ ระหว่างสอบสวนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 87 วรรคสาม (เดิม) ได้

  6. เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ขังโดยผู้ต้องหาไม่ค้าน เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อที่ผู้ต้องหาอ้างว่าถูกทำร้ายจนให้การรับสารภาพ ไม่มีผลทำให้คำสั่งดังกล่าวกลายเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎ.3502/2542 คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ขังผู้ต้องหาต่อไป จะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ ดูฎีกาที่ 1125/2496 (ประชุมใหญ่) ฎีกาที่ 1125/2496(ประชุมใหญ่) ป.วิ.อ.มาตรา 87 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนควบคุมผู้ต้องหา หรือให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหาไว้ได้มีกำหนดระยะเวลาเป็นขั้น ๆ ตามความผิดนั้น เป็นบทบัญญัติคุ้มครองผู้ต้องหามิให้ถูกควบคุมหรือกักขังนานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น ฉะนั้น เมื่อศาลสั่งไม่อนุญาตให้ขังต่อไปเพราะเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะขังแล้วก็ไม่มีเหตุที่จะอุทธรณ์ฎีกาเพื่อให้ขังผู้ต้องหาต่อไปอีกได้ เพราะสิทธิที่จะฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลยังมีอยู่ในเมื่อคดีมีมูล

  7. ระยะเวลา 48 ชั่วโมงตามมาตรา 87 วรรคสามตอนต้น ให้นับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน ไม่ใช่นับแต่เวลาที่จับกุมตัว ดังนั้น ถ้าจับกุมตัวผู้ต้องหาเวลา 23.50 น. แต่มาถึงสถานีตำรวจเวลา 00.00 น. ของอีกวันหนึ่ง ระยะเวลา 48 ชั่วโมง ต้องนับแต่เวลา 00.00 น.ของอีกวันหนึ่ง ดูฎีกาที่ 984/2529 กรณีที่พนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลภายในกำหนด หรือเมื่อครบกำหนดเวลาตามมาตรา 87 แล้ว ยังไม่อาจฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลได้ ต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาไป แต่หาใช่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ (ดูฎีกาที่ 4294/2550) ต่อมาถ้าต้องฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล มีฎีกาที่ 515/2491 (ประชุมใหญ่) วินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานมีอำนาจจับตัวมาเพื่อฟ้องคดีต่อศาลได้เพราะพนักงานอัยการต้องนำตัวจำเลยมาศาลในขณะยื่นฟ้องด้วย ดูฎีกาดังกล่าว

  8. พนักงานอัยการฟ้องโดยจำเลยถูกควบคุมตัวในชั้นสอบสวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ทำให้กระบวนการสอบสวนที่ชอบและการนำคดีมาฟ้องยังศาลเสียไป เพราะเป็นคนละส่วนกับเรื่องการฟ้อง จึงไม่เป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง ดูฎีกาที่ 4113/2552 ถ้าศาลออกหมายขังผู้ต้องหาแล้วผู้ต้องหาหลบหนีไปถือว่าผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจของศาลแล้ว ไม่ต้องนำตัวจำเลยมาศาลในวันยื่นฟ้อง ดูฎีกาที่ 1735/2514 (ประชุมใหญ่) ก่อนประทับฟ้อง ศาลไม่มีอำนาจออกหมายขังจำเลย ฎ.2756/2524

  9. การขังระหว่างพิจารณา (มาตรา 88) คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ เมื่อศาลประทับฟ้องและได้ตัวจำเลยมาศาลแล้ว หรือคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ เมื่อได้ยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ศาลจะสั่งขังจำเลยหรือปล่อยชั่วคราวก็ได้ บทบัญญัติมาตรา 88 นี้ ได้แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดปี 2547 นี้ ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่าคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ซึ่งต้องมีการไต่สวนมูลฟ้องก่อนระหว่างไต่สวนมูลฟ้อง ศาลจะสั่งขังจำเลยไม่ได้ เพราะจำเลยยังไม่อยู่ในฐานะจำเลย แต่เมื่อศาลประทับฟ้องแล้ว ศาลก็มีอำนาจขังจำเลยในระหว่างพิจารณาหรือปล่อยชั่วคราวก็ได้ สำหรับคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ศาลมีอำนาจขังจำเลยไว้ในระหว่างพิจารณาหรือจะปล่อยชั่วคราวก็ได้เช่นเดียวกัน

  10. อย่างไรก็ตาม การออกหมายขังของศาลตามมาตรานี้ ก็ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 71 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 66 ว่าด้วยเหตุในการออกหมายขังเช่นเดียวกับการออกหมายขังระหว่างการสอบสวนตามมาตรา 87 ฎีกาที่ 4752/2549เมื่อพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยและศาลประทับฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจออกหมายขังจำเลยไว้ระหว่างพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 71 และมาตรา 88 ที่ใช้ขณะยื่นคำร้องและที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นขั้นตอนต่างหากจากการจับกุมและควบคุมจำเลยของเจ้าพนักงานตำรวจที่ผู้ร้องอ้างว่ามิชอบด้วยกฎหมาย การคุมขังจำเลยระหว่างพิจารณาจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ.มาตรา 90 ในกรณียื่นฟ้องจำเลยที่ต้องขังตามหมายศาล ศาลจะขังจำเลยต่อไปหรือปล่อยชั่วคราวก็ได้ จำเลยที่ถูกขังในคดีหนึ่งแล้ว เมื่อถูกฟ้องอีกคดีหนึ่งศาลก็ออกหมายขังได้อีก ดูฎีกาที่ 2766/2540

  11. การจัดการตามหมายขัง หรือหมายจำคุก (มาตรา 89 , 89/1 , 89/2) ข้อสังเกต บทบัญญัติมาตรา 89 และ 89/1 ได้แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2550 กำหนดหลักเกณฑ์การขังผู้ต้องหาหรือจำเลยที่อยู่ระหว่างสอบสวนหรือพิจารณา โดยให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ขังผู้ต้องหาหรือจำเลย ในสถานที่อื่นนอกจากเรือนจำก็ได้ โดยสถานที่อื่นนั้นต้องมิใช่สถานีตำรวจ ก่อนหน้านี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าพนักงานสอบสวนอาจขอรับตัวผู้ต้องหาไปควบคุมเองเพื่อทำการสอบสวนต่อไปได้ ดูฎีกาที่ 4239-4240/2542 แต่ผลของกฎหมายที่แก้ไขใหม่พนักงานสอบสวนจะขอตัวผู้ต้องหาไปควบคุมตัวที่สถานีตำรวจไม่ได้ การจำคุกสถานที่อื่นหรือจำคุกเฉพาะวันที่กำหนด (มาตรา 89/2)

  12. ข้อสังเกต บทบัญญัติมาตรา 89/2 ได้เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2550 มีสาระสำคัญให้ศาลมีคำสั่งให้จำคุกสถานที่อื่นนอกจากเรือนจำได้หรือให้จำคุกในเรือนจำหรือสถานที่อื่นเฉพาะวันที่กำหนดได้ หรือให้จำคุกโดยวิธีการอื่นที่สามารถจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้นั้น โดยมีหลักเกณฑ์ว่าต้องเป็นผู้ซึ่งต้องจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดได้รับโทษจำคุกมาแล้ว ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม ของกำหนดโทษจำคุกหรือไม่น้อยกว่าสิบปี ในกรณีต้องโทษจำคุกเกินกว่าสามสิบปีขึ้นไปหรือจำคุกตลอดชีวิต สำหรับบุคคลที่มีอำนาจร้องขอให้ขังผู้ต้องหาหรือจำเลยในสถานที่อื่นได้แก่ พนักงานอัยการ ผู้บัญชาการเรือนจำ หรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายจำคุกร้องขอ หรือเมื่อศาลเห็นควร สังเกตว่าผู้ซึ่งต้องจำคุกไม่มีสิทธิร้องขอ

  13. การขอให้ปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังในคดีอาญา หรือ ในกรณีอื่นใดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หลักกฎหมาย ป.วิ.อ. มาตรา 90“เมื่อมีการอ้างว่าบุคคลใดต้องถูกคุมขังในคดีอาญาหรือในกรณีอื่นใดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (ถูกควบคุมตัวในกรณีอื่น ๆ นอกจากถูกคุมขัง) บุคคลเหล่านี้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา ขอให้ปล่อย (1) ผู้ถูกคุมขังเอง (2) พนักงานอัยการ (3) พนักงานสอบสวน (4) ผู้บัญชาการเรือนจำหรือพัศดี (5) สามี ภริยา หรือญาติของผู้นั้น หรือบุคคลใดเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกคุมขัง

  14. เมื่อได้รับคำร้อง ให้ศาลดำเนินการไต่สวนฝ่ายเดียวโดยด่วน ถ้าศาลเห็นว่าคำร้องนั้นมีมูล ศาลมีอำนาจสั่งผู้คุมขังให้นำตัวผู้ถูกคุมขังมาศาลโดยพลัน และถ้าผู้คุมขังแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลไม่ได้ว่าการคุมขังเป็นการชอบด้วยกฎหมาย ให้ศาลปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังไปทันที ข้อสังเกตเบื้องต้น “ขัง” หมายถึง การขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล (มาตรา 2 (22)) “ควบคุม” หมายถึง การควบคุมหรือกักขังผู้ถูกจับ โดยพนักงานปกครองหรือตำรวจระหว่างสืบสวนและสอบสวน (มาตรา 2 (22))

  15. ตัวอย่าง ผู้เสียหายแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าตามวันเวลาเกิดเหตุ ส. กับพวก คือ พ. ร. และ น. ร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืนทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ แต่เจ้าพนักงานตำรวจทำการจับ อ. แล้วนำตัวมาฝากขังต่อศาล อ. ยื่นคำร้องอ้างว่าการจับและคุมขังระหว่างสอบสวนมิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าไม่มีการออกหมายจับ อ. และตามข้อมูลเบื้องต้นตามที่แจ้งความมีผู้กระทำความผิดเพียง 4 คน ไม่มี อ. เป็นผู้ร่วมกระทำความผิด พฤติการณ์ดังกล่าวจึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่า เจ้าพนักงานตำรวจจับและควบคุม อ. โดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ ถือได้ว่าคำร้องของผู้ร้องมีมูลที่ศาลจะดำเนินการต่อไป (ฎ.466/2541)

  16. ข้อสังเกต 1. การถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมายตามมาตรา 90 นี้ ไม่ว่าจะถูกควบคุมหรือขังโดยเจ้าพนักงานหรือบุคคลธรรมดาก็ขอปล่อยตามมาตรานี้ได้ (ฎ.1200/2504 ประชุมใหญ่) คดีนี้เป็นเรื่องที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลว่า ภริยาผู้ร้องถูกคนร้ายสมคบกันฉุดคร่าไปเพื่ออนาจารและข่มขืนกระทำชำเรา ต่อมาผู้ร้องสืบทราบว่าคนร้ายได้นำภริยาผู้ร้องไปหน่วงเหนี่ยวกักขังอยู่ที่บ้านแห่งหนึ่ง จึงขอให้ศาลออกหมายค้นบ้านหลังนั้น เพื่อพบและช่วยเหลือภริยาของผู้ร้องที่ถูกกักขังโดยมิชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 69 (3)

  17. 2. สิทธิการขอปล่อยตามมาตรา 90 มีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ผู้ถูกคุมขังยังถูกควบคุมตัวอยู่เท่านั้น หากมีการปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังไปแล้ว ไม่ว่ากรณีใดก็ไม่มีเหตุที่จะร้องขอให้ปล่อยตัวอีกต่อไป ตัวอย่าง ตามคำร้องปรากฏว่าภายหลังจากผู้ร้องถูกควบคุม พนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวผู้ร้องชั่วคราวไปแล้ว โดยให้ผู้ร้องทำสัญญาประกันไว้ กรณีจึงไม่มีการควบคุมตัวผู้ร้องในขณะที่ยื่นคำร้องแล้ว ผู้ร้องจึงไม่อาจที่จะร้องขอตาม มาตรา 90 ได้อีกต่อไป สำหรับทรัพย์สินที่อ้างว่าตำรวจยึดไปโดยมิชอบและขอให้ศาลคืนแก่ผู้ร้อง ก็ไม่ใช่กรณีจะยื่นคำขอมาพร้อมกับคำร้องตามมาตรา90ได้เช่นกัน(ฏ.4827/2550 ประชุมใหญ่)

  18. ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวน และมีคำสั่งปล่อยตัวผู้ร้องจากการควบคุมของเจ้าพนักงานที่อ้างว่าผู้ร้องเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม เมื่อปรากฏว่าระหว่างการไต่สวนของศาลชั้นต้น ผู้ร้องได้รับการปล่อยตัวไปแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไต่สวนอีกต่อไป หากผู้ร้องเห็นว่าการกระทำของผู้คัดค้านเป็นเหตุให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย โดยผิดกฎหมายอย่างไร ก็ชอบที่ผู้ร้องจะต้องไปว่ากล่าวกันเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก (ฎ.893/2523, ฎ.392/2522) ระหว่างการไต่สวนขอให้ปล่อยตัวผู้ร้องจากการควบคุมของเจ้าพนักงาน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 90 ผู้ร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยชั่วคราวระหว่างรอการไต่สวน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต เจ้าหน้าที่ตำรวจคัดค้านอุทธรณ์คำสั่งปล่อยชั่วคราว คำสั่งนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งจะต้องมีการไต่สวนคำร้องต่อไป ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 196 (ฎ.3118/2523)

  19. สิทธิในการร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 90 มีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ถูกคุมขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ผู้ร้องถูกจับกุมก่อนที่ผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ทั้งมิใช่ความผิดซึ่งหน้าหรือกรณีใด ๆ ที่เจ้าพนักงานตำรวจสามารถจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ การคุมขังผู้ร้องโดยพนักงานสอบสวนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้การคุมขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย แต่ขณะผู้ร้อง ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งปล่อยตัวผู้ร้อง พนักงานอัยการได้ฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้นในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น โดยไตร่ตรองไว้ก่อน และความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ศาลชั้นต้น

  20. ประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา ดังนั้น แม้การคุมขังผู้ร้องโดยพนักงานสอบสวนจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การคุมขังนั้นก็สิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา สิทธิของผู้ร้องที่จะร้องขอให้ปล่อยจากการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายจึงระงับไป ผู้ร้องจึงไม่อาจจะร้องขอตาม ป.วิ.อ.มาตรา 90 (ฎ.350/2553, ฎ.7116/2544)

  21. 3. การถูกควบคุมนี้ แม้จะถูกควบคุมในข้อหาที่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร ก็ร้องขอให้ปล่อยต่อศาลยุติธรรมได้ การร้องขอต่อศาลขอให้ปล่อยจากการควบคุมโดยผิดกฎหมายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 90 หมายถึง ศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจทำการเกี่ยวกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (1) แม้ผู้ร้องจะถูกจับกุมในข้อหาที่อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 12 ก็ตาม เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้ถูกฟ้องต่อศาลและไม่ได้ถูกควบคุมโดยอำนาจศาล แต่ถูกควบคุมโดยพนักงานสอบสวนตำรวจสันติบาล ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลอาญา ศาลอาญาก็มีอำนาจรับคำร้องขอให้ปล่อยจากการควบคุมดังกล่าวไว้ดำเนินการต่อไปตามกฎหมายได้ (ฎ.1557/2503 ประชุมใหญ่)

  22. คำพิพากษาที่ 14293/2553 คำร้องของจำเลยที่อ้างว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ศาลชั้นต้นตรวจสอบถึงสาระสำคัญคลาดเคลื่อน จึงออกคำพิพากษาที่มิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้จำเลยถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นกรณีที่จำเลยโต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบ ซึ่งหากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องอย่างไร ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 จำเลยจะยกเอาเหตุดังกล่าวขึ้นมากล่าวอ้างว่าจำเลยถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90 หาได้ไม่

  23. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4314/2555 การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยที่ 1 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 1 ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการใช้สิทธิยื่นคำร้องตามมาตรา 90 (5) เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ผู้ถูกคุมขัง เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้อง แม้ผู้ร้องไม่อุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถูกคุมขังเองเป็นผู้มีส่วนได้เสียและได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้อง มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นได้ เนื่องจากไม่มีบทกฎหมายใดห้ามหรือจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในกรณีนี้ไว้

  24. สรุปแนวฎีกาที่เกี่ยวข้องสรุปแนวฎีกาที่เกี่ยวข้อง • 1. จัดการตามหมายจับใช้สำเนาก็ได้ ฎ.3031/2547 • 2. พบไม้หวงห้าม , สุราเถื่อน ไม่เป็นความผิดซึ่งหน้า ฎ.2535/2550 ,ฎ.3743/2529 , ฎ.3227/2531 • 3. พบแผ่นซีดีเกมส์ ละเมิดลิขสิทธิ์ , ยาเสพติด เป็นความผิดซึ่งหน้า ฎ.6891/2549 , ฎ. 1328/2544 , ฎ. 1164/2546 ฎ.3751/2551 • 4. แอบดูเห็นเล่นการพนัน , ซื้อขายยาเสพติด เป็นความผิดซึ่งหน้า ฎ.698/2516 ประชุมใหญ่ , ฎ.2848/2547,ฎ.7454/2544 • 4.1 การทะเลาะวิวาทซึ่งได้ยุติลงไปก่อนแล้ว ไม่ใช่การกระทำผิดซึ่งหน้า ตำรวจซึ่งมาภายหลังเกิดเหตุ ไม่มีอำนาจจับโดยไม่มีหมายจับ ฎ.4243/2542,ฎ2353/2530

  25. 4.2 ขณะเกิดเหตุที่จำเลยแทงผู้ตาย ผู้เสียหายไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุและไม่เห็นเหตุการณ์ โดยผู้เสียหายยืนอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 50 เมตร มองไม่เห็นที่เกิดเหตุเพราะมีร้านค้าบังอยู่ ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรจึงไม่มีอำนาจจับตามกฎหมายเพราะมิใช่ความผิดซึ่งหน้า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 79 (ฎ.4282/2555) • 5. กฎหมายเดิมร้องทุกข์ไว้แล้วไปพบเห็นผู้กระทำผิดอยู่ที่ไหนขอให้ตำรวจจับได้ โดยไม่ต้องมีหมายจับ ฎ.741/2522 แต่ตามมาตรา 78 ใหม่ตัดหลักเกณฑ์นี้ไปแล้ว จึงต้องออกหมายจับ • 5.1 การแจ้งข้อหาแก่จำเลยยังไม่ถือว่าจำเลยถูกจับ ฎ.8458/2551,ฎ.6635/2551,ฎ6208/2550 ประชุมใหญ่,ฎ.5042/2549,ฎ5499/2549,ฎ.3952/2549,ฎ8708/2547,ฎ.6600/2549 กรณีถือว่าจำเลยถูกจับ ฎ.8314/2549,ฎ1997/2550

  26. 6. โรงหญิงนครโสเภณี วัดวาอาราม โรงละคร โรงแรม ตามปกติเป็นสาธารณสถาน แต่บางส่วนหรือบางเวลาที่ไม่อนุญาตให้เข้าไปไม่ใช่ที่สาธารณสถาน 7 .สถานีรถไฟ และสถานที่บนขบวนรถไฟโดยสาร ไม่ใช่ที่รโหฐาน ฎ.2024/2497 8. ห้องโถงและห้องพักในสถานค้าประเวณีเวลารับแขกมาเที่ยว เป็นสาธารณสถาน ฎ.883/2520 ประชุมใหญ่ , ฎ.69/2535 ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น

  27. 9. โรงค้าไม้บริเวณด้านหน้า และด้านหลังที่ใช้เป็นที่อาศัยไม่ใช่สาธารณสถาน แต่เป็นที่รโหฐาน ฎ.2914/2537 9.1 บ้านยังไม่มีประตูรั้วกับประตูบ้าน ทั้งยังสร้างไม่เสร็จ แต่โดยสภาพของบ้านที่พักอาศัยย่อมเป็นที่รโหฐาน ฎ.6557/2547 10. ถ้าผู้กระทำผิดต่อสู้ขัดขวาง ผู้จับกุมไม่ต้องแจ้งว่าเขาต้องถูกจับ ฎ.319-320/2521 11. แม้การจับกุมควบคุม ค้น จะไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่ทำให้การสอบสวน ที่ชอบด้วยกฎหมายเสียไปด้วย ฎ.157/2540 , ฎ.2699/2516 , ฎ.3238/2531 , ฎ.1493/2550 , ฎ.4113/2552 12. คำให้การรับสารภาพชั้นจับกุม ห้ามรับฟังเป็นพยานโดยเด็ดขาด แต่ไม่มีผลย้อนหลัง ฎ.931/2548 ประชุมใหญ่ , ฎ.2215/2548 12.1 การออกหมายจับผู้ต้องหาเป็นอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวใน ศาลชั้นต้น อุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ ฎ.479/2555

  28. 13. ถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับแล้ว เช่นรับว่าอาวุธของกลางเป็นของตน รับว่าตนอยู่ในเหตุการณ์ รับว่าตนมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตาย 14. มาตรา 93 แสดงว่า การค้นบุคคลในที่สาธารณสถานไม่ต้องมีหมายค้นแต่ต้องมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีสิ่งของในครอบครองเพื่อจะใช้กระทำผิด ฯลฯ และเมื่อตรวจค้นแล้วพบว่าเป็นความผิดซึ่งหน้าก็จับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ เช่น พบแผ่นซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ ฎ.6894/2549 พบจำเลยมีพฤติการณ์อันควรสงสัย และนำปืนติดตัวโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฎ.9212/2539 ค้นจำเลยขณะยืนซุบซิบกันหลังสถานีรถไฟ ฎ.1082/2507 เป็นผู้ต้องหาที่มีผู้แจ้งว่าจะไปทำความผิดและมีอาวุธปืน ฎ.1152/2521 ค้นตัวจำเลยขณะกำลังขายก๋วยเตี๋ยว และค้นพบเมทอยู่ในกระเป๋าคาดเอวของจำเลยเป็นความผิดซึ่งหน้า ตำรวจตรวจค้นและจับกุมได้โดยชอบ ฎ.3751/2551

  29. 14.1จำเลยนั่งโทรศัพท์อยู่บนถนนไม่ได้อยู่หลังซอยที่อ้าง ว่ามีอาชญากรรมเกิดขึ้นประจำ ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีท่าทางพิรุธ การที่ตำรวจอ้างว่าเกิดความสงสัยในตัวจำเลย จึงขอตรวจค้นโดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนว่าเพราะเหตุใดจึงสงสัย เป็นข้อสงสัยที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกเพียง อย่างเดียวถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันควรสงสัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 การตรวจค้นตัวจำเลยจึงไม่ชอบ จำเลยมีสิทธิโต้แย้งและป้องกันสิทธิของตนได้ (ฎ.8722/2555) 15. ร้านค้า ร้านกาแฟ ถนนซอยในที่ดินเอกชน ซึ่งแบ่งให้คนอื่นปลูกบ้าน เป็นสาธารณสถาน ฎ.1362/2508 , ฎ.1732/2516 , ฎ.1908/2518

  30. 16. เมื่อค้นในที่รโหฐานผู้ค้นมีอำนาจค้นตัวบุคคลที่ขัดขวางการค้นและยึดสิ่งของที่ซุกซ่อนในร่างกายได้ มาตรา 100 วรรคสอง 17. เมื่อจับตัวผู้ต้องหา ผู้จับมีอำนาจค้นตัวผู้ต้องหา และยึดสิ่งของที่ใช้เป็นพยานได้ มาตรา 85 วรรคหนึ่ง 18. หมายค้นแม้จะระบุเลขที่บ้านผิดก็เป็นหมายค้นที่ชอบด้วยกฎหมาย ฎ.3479/2548 , ฎ.6942/2551 , ฏ.1328/2544 19. มีผู้ร้องเรียนว่าจำเลยตอนกลางวันจะปิดบ้านเก็บตัวในบ้านกลางคืนออกจากบ้าน ไม่ยุ่งกับเพื่อนบ้าน ไม่ปรากฏอาชีพ มีเหตุสงสัยว่ามีสิ่งของผิดกฎหมายซุกซ่อนในบ้าน ออกหมายค้นได้ ฎ.5479/2536

  31. 20. เมื่อตรวจค้นตามหมายค้น พบผู้กระทำผิดซึ่งหน้าผู้จับมีอำนาจจับได้ โดยไม่ต้องออกหมายจับอีก ฎ.360/2542 21. เมื่อกระบวนการต่าง ๆ ในการค้นตามหมายค้นได้เสร็จสิ้นแล้ว เจ้าของบ้านที่ถูกค้นจะขอให้ศาลไต่สวนเพื่อทราบสาเหตุและหลักฐานที่มาในการขอออกหมายค้นไม่ได้ หากติดใจว่าการตรวจค้นไม่ชอบต้องว่ากล่าวเป็นอีกคดีต่างหาก ฎ.270/2543 22. ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ตำรวจสามารถค้นรถยนต์ได้ โดยตีความที่รโหฐานคือสถานที่หรือที่ตั้ง ซึ่งเคลื่อนย้ายไม่ได้ แต่รถยนต์เคลื่อนที่ได้ จึงไม่ใช่ที่รโหฐาน ตรงกับหลักกฎหมายอเมริกา (ยังไม่มีฎีกาเป็นบรรทัดฐาน)

  32. 23. ตำรวจจับได้ขณะจำเลยกำลังขายวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่ผู้ล่อซื้อ เป็นความผิดซึ่งหน้าและเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ตำรวจจึงมีอำนาจค้นบ้านซึ่งเป็นที่รโหฐานเวลากลางคืนโดยไม่ต้องมีหมายค้น และจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ ฎ.4461/2540 24. ตำรวจเห็นจำเลยส่งมอบยาบ้าแก่สายลับจึงจับกุม เมื่อตรวจห้องก็พบยาบ้าอีกจำนวนหนึ่ง การตรวจค้นจับกุมกระทำต่อเนื่องกัน เป็นความผิดซึ่งหน้าทั้ง2 ข้อหา (จำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่าย) จึงมีอำนาจค้นและจับโดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ ฎ.2848/2547 25. ก่อนตรวจค้นตำรวจเห็นจำเลยโยนยาบ้าออกไปนอกหน้าต่าง เป็นความผิดซึ่งหน้าข้อหามียาเสพติดไว้ในครอบครอง และได้กระทำในที่รโหฐาน จึงมีอำนาจจับและค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายจับและหมายค้น ฎ.1164/2546

  33. 26. เห็นจำเลยขุดแปลงผักแล้วเอาสิ่งของใส่ในหลุมที่ขุดแล้วกลบไว้ เมื่อตำรวจใช้จอบขุดหลุมพบยาบ้า ถือว่ามีเหตุสงสัยว่าสิ่งของได้ซ่อนอยู่ที่เกิดเหตุทั้งมีเหตุเชื่อว่า หากเนิ่นช้าสิ่งของจะถูกโยกย้ายเสียก่อน จึงสามารถค้นได้โดยไม่มีหมายค้น ฎ.1605/2544 27. ตำรวจจับกุม จำเลยพร้อมยาบ้า ในเวลา 16.00 น. เป็นเวลาเย็นใกล้มืดแล้ว ประกอบกับยาเสพติดขนย้ายหลบหนีได้ง่าย โดยเฉพาะเวลากลางคืน และสถานีตำรวจมิได้อยู่ใกล้กับศาล หากขอหมายค้นทำให้เนิ่นช้า จึงค้นได้โดยไม่มีหมายค้น ฎ.7387/2543 28. “เจ้าบ้าน” หมายถึง หัวหน้าของบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น รวมตลอดถึงคู่สมรสของหัวหน้าเท่านั้น ฎ.1035/2536

  34. 29. เจ้าของที่รโหฐานยินยอมในการค้น แม้ไม่มีหมายค้นถือว่าชอบด้วยกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 33 วรรคสาม และ ฎ.1164/2546,ฎ1328/2544 30. การจับกุมโดยมีหมายจับและหมายค้น หากเจ้าของบ้านไม่ยอมให้เข้าไปค้นเจ้าพนักงานมีอำนาจใช้กำลังทำลายประตูบ้านเข้าไปจับกุมได้ถือว่าเป็นกรณีจำเป็น ฎ.6403/2545 31. ตำรวจตรวจค้นจับกุมเวลา 18.02 น. แสดงว่า ลงมือตรวจค้นตั้งแต่เวลากลางวัน เมื่อยังไม่เสร็จ จึงมีอำนาจตรวจค้นจับกุมต่อไปในเวลากลางคืนได้ ฎ.6403/2545 32. กำนันเห็นเจ้าของบ้านกับพวกกำลังต้มกลั่นสุราเถื่อนอยู่ในบ้านเวลากลางคืน นับเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง กำนันจึงเข้าไปจับกุมได้ ไม่ผิดฐานบุกรุก ฎ.1087/2492

  35. 33. ตรวจค้นจับกุมผู้ต้องหาลักลอบเล่นการพนัน เป็นความผิดซึ่งหน้าและเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ตรวจค้นและจับเวลากลางคืนได้ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ ฎ.4950/2540 , ฎ. 698/2518 ประชุมใหญ่ 34. จำเลยมีและดื่มสุราเถื่อนเพียงเล็กน้อยวิ่งหลบหนีไปบนเรือน ไม่ปรากฏว่าจำเลยจะซุกซ่อนหรือหลบหนีไปไหน ไม่เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งที่จะเข้าจับกุมในบ้านเวลากลางคืนได้ ฎ.675/2483 35. จำเลยกระทำผิดซึ่งหน้าในความผิดลหุโทษในเวลากลางคืน แล้วหลบหนีเข้าบ้านซึ่งตำรวจรู้จักบ้านอย่างดีแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยจะหลบหนี ไม่เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ที่จะจับกุมในที่รโหฐานเวลากลางคืนได้ ฎ.187/2507 , ฎ.706/2516

  36. 36. การค้นในที่รโหฐาน ต่อหน้าบุตรเจ้าของบ้านแม้จะยังไม่บรรลุนิติภาวะแต่เข้าใจสาระสำคัญของการกระทำและมีความรู้สึกผิดชอบเพียงพอ ก็เป็นการค้นที่ชอบด้วยกฎหมาย ฎ.1455/2544 37. เมื่อมีเหตุให้เชื่อได้ว่ามีของที่ได้มาโดยผิดกฎหมายอยู่ในบ้าน หากไม่ตรวจค้นของที่อยู่ในบ้านอาจถูกขนไปเสีย การตรวจค้นโดยไม่ทำลายกุญแจไม่อาจทำได้ ทั้งการตรวจได้กระทำต่อหน้าพยาน 2 คน จึงเป็นการตรวจค้นที่ชอบ ฎ.4791/2528 38. การค้นต่อหน้าบุคคลในครอบครัวซึ่งตาบอดทั้งสองข้างและหูหนวกและบุคคลอื่นอีก 1 คน เป็นการค้นโดยชอบ ฎ.395/2519 39. กรณีเชิญบุคคลอื่นมาเป็นพยาน ต้องเชิญมาขณะตรวจค้นพบของกลาง ถ้าเชิญมาภายหลังตรวจค้นแล้ว เป็นการไม่ชอบ ฎ.4793/2549

  37. 40. คดีที่อยู่ระหว่างอุทธรณ์ฎีกา ถ้าจำเลยถูกควบคุมหรือขังมาแล้วเท่ากับหรือเกินกว่าโทษจำคุกตามคำพิพากษาศาลล่าง ให้ศาลออกหมายปล่อยจำเลย เว้นแต่จะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่นในกรณีที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ ท.165/2552 41. ผู้ต้องหาที่ยังไม่ถูกจับกุมไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของพนักงานสอบสวนหรืออัยการ และไม่มีเหตุที่จะออกหมายขังจะขอให้ศาลออกหมายขังระหว่างสอบสวนไม่ได้ ฎ.8708/2547 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 134 ที่แก้ไขใหม่ 42. คำสั่งศาลอนุญาตให้ฝากขังโดยผู้ต้องหาไม่ค้านเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาภายหลังผู้ต้องหาจะอ้างว่าถูกทำร้ายขู่เข็ญให้รับสารภาพ ก็ไม่มีผลให้คำสั่งอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎ.3502/2542

  38. 43. คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ขังผู้ต้องหาต่อไป จะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ ฎ.1125/2496 ประชุมใหญ่ 44. ระยะเวลา 48 ชั่วโมง ตามป.วิ.อ. มาตรา 87 วรรคสามตอนต้น ให้นับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน ไม่ใช่นับแต่เวลาที่จับกุมตัว ฎ.984/2529 45. การที่พนักงานสอบสวนไม่ได้ขอฝากขังผู้ต้องภายในกำหนดหรือเมื่อครบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 87 แล้ว ต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาไป แต่ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฎ.4294/2550 ซึ่งต่อมาถ้าต้องฟ้องผู้ต้องหา ตำรวจก็มีอำนาจจับตัวมาเพื่อฟ้องได้ ฎ.515/2491 ประชุมใหญ่

  39. 46. อัยการฟ้องโดยจำเลยถูกควบคุมตัวในชั้นสอบสวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ทำให้กระบวนการสอบสวนที่ชอบและการนำคดีมาฟ้องยังศาลเสียไป ฎ.4113/2552 47. ถ้าศาลออกหมายขังผู้ต้องหาแล้วหลบหนีไป ถือว่าผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจของศาลแล้ว ไม่ต้องนำตัวจำเลยมาศาลในวันยื่นฟ้อง ฎ.1735/2514 48. ก่อนประทับฟ้อง ศาลไม่มีอำนาจออกหมายขังจำเลย ตาม ป.วิ.อ. 71 ฎ.2756/2524 49. การออกหมายขังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 88 ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 71 วรรคหนึ่ง ประกอบ 66 เช่นเดียวกับการออกหมายขังระหว่างสอบสวนตามมาตรา 87 ฎ.4752/2549

  40. 50. จำเลยที่ถูกขังในคดีหนึ่งแล้ว เมื่อถูกฟ้องอีกคดีหนึ่ง ศาลก็ออกหมายขังได้อีก ฎ.2766/2540 51. เดิมศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนอาจขอรับตัวผู้ต้องหาไปควบคุมเอง เพื่อสอบสวนต่อไปได้ ฎ.4239-4240/2542 แต่ผลของการแก้ ป.วิ.อ.มาตรา 89 , มาตรา 89/1 เมื่อปี 2550 พนักงานสอบสวนจะขอตัวผู้ต้องหาไปควบคุมตัวที่สถานีตำรวจไม่ได้ 52. ข้อเท็จจริงได้ความว่าไม่มีการออกหมายจับ อ. และตามข้อมูลเบื้องต้นมีผู้กระทำผิดเพียง 4 คน ไม่มี อ.เป็นผู้ร่วมกระทำผิด จึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่าตำรวจจับและควบคุม อ. โดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ คำร้องจึงมีมูล ฎ.466/2541

  41. 53. การถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมายตามมาตรา 90 ไม่ว่าจะถูกควบคุมหรือขังโดยเจ้าพนักงานหรือบุคคลธรรมดา ก็ขอปล่อยตามมาตรานี้ได้ ฎ.1200/2504 ประชุมใหญ่ 54. สิทธิการขอปล่อยตามมาตรา 90 มีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ยังถูกควบคุมอยู่เท่านั้น หากมีการปล่อยตัวไปแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จะขอให้ปล่อยอีกต่อไป ฎ.4827/2550 ประชุมใหญ่ , ฎ.893/2523, ฎ.392/2522 55. การถูกควบคุมตามมาตรา 90 แม้จะถูกควบคุมในข้อหาที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็ร้องขอให้ปล่อยตัวต่อศาลยุติธรรมได้ ฎ.1557/2503 ประชุมใหญ่ 56.ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ร้องระหว่างรอการไต่สวนตามป.วิ.อ.มาตรา90 ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามอุทธรณ์ตามม.196 ฎ3118/2523

  42. 57. แม้การคุมขังโดยพนักงานสอบสวนจะไม่ชอบ แต่การคุมขังนั้นสิ้นสุดไปแล้ว ตั้งแต่ศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา สิทธิ ขอให้ปล่อยจากการคุมขังโดยมิชอบจึงระงับ ผู้ร้องไม่อาจจะร้องขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90 ได้ (ฎ.350/2553, ฎ.7116/2544) 58. ผู้ร้องจะร้องขอคืนของกลางที่ถูกยึดรวมมาในคำร้องตาม มาตรา 90 ไม่ได้ (ฎ.4791/2528)

  43. 59. เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้ว จำเลยโต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องอย่างไร จำเลยต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ จะยกเหตุดังกล่าวมาร้องขอตามมาตรา 90 ไม่ได้ (ฎ.14293/2553) 60. การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยที่ 1 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 1 ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการใช้สิทธิยื่นคำร้องตามมาตรา 90 (5) เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ผู้ถูกคุมขัง เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้อง แม้ผู้ร้องไม่อุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถูกคุมขังเองเป็นผู้มีส่วนได้เสียและได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้อง มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นได้ เนื่องจากไม่มีบทกฎหมายใดห้ามหรือจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในกรณีนี้ไว้(ฎ.4314/2555)

  44. ตัวอย่างคำถาม ข้อ 1 ร.ต.อ.เก่งกล้าได้นำหมายค้นไปตรวจค้นที่บ้านของนายโกงกาง เนื่องจากได้รับแจ้งว่ามีการลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่บ้านดังกล่าว ผลการตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 50 เม็ดในกระเป๋าเสื้อของนายโกงกาง ซึ่งนายโกงกางให้การรับว่าได้ซื้อเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมาจากนายเกตุพงษ์ ร.ต.อ.เก่งกล้า จึงให้นายโกงกางพาไปที่บ้านของนายเกตุพงษ์ซึ่งเปิดเป็นร้านขายข้าวแกง แล้ว ร.ต.อ.เก่งกล้าจึงเข้าตรวจค้นตัวนายเกตุพงษ์ขณะที่นายเกตุพงษ์กำลังขายข้าวแกงอยู่ภายในร้าน ซึ่งขณะนั้นมีลูกค้านั่งรับประทานข้าวแกงอยู่โดยมิได้ไปขอหมายค้นและหมายจับจากศาลก่อน เนื่องจากเห็นว่าเป็นกรณีเร่งด่วน ผลการตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 200 เม็ด ในกระเป๋ากางเกงของนายเกตุพงษ์ จึงได้จับกุมนายเกตุพงษ์ ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าการจับของ ร.ต.อ.เก่งกล้าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

  45. กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่ากรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า “ที่รโหฐาน”หมายถึง สถานที่ที่บุคคลภายนอกไม่มีอำนาจเข้าไปได้ตามอำเภอใจ โดยต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของสถานที่เสียก่อน เช่น ที่อยู่อาศัย ซึ่งในกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจจะทำการจับผู้ใดในที่รโหฐาน ตำรวจจะต้องมีอำนาจถึง 2 ประการ คือ 1. อำนาจในการจับ กล่าวคือ มีหมายจับ หรือมีอำนาจจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ 2. อำนาจในการค้นในที่รโหฐาน เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจมีทั้ง 2 อำนาจนี้แล้วจึงสามารถจับบุคคลในที่รโหฐานได้

  46. เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นตัว นายเกตุพงษ์นั้น นายเกตุพงษ์กำลังขายข้าวแกงอยู่ที่ร้านขายข้าวแกงของนายเกตุพงษ์ ซึ่งมีลูกค้ากำลังนั่งรับประทานข้าวแกงอยู่ ดังนี้ ร้านข้าวแกงของนายเกตุพงษ์จึงไม่ใช่ที่รโหฐาน แต่เป็นที่สาธารณสถานซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ และเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจมีเหตุอันควรสงสัยว่านายเกตุพงษ์ มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดต่อกฎหมาย เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจค้นตัวนายเกตุพงษ์ได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น ตามมาตรา 93 และเมื่อตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนอยู่ในครอบครองของ นายเกตุพงษ์ การกระทำของนายเกตุพงษ์ จึงเป็นความผิดซึ่งหน้า เพราะเป็น

  47. กรณีที่เจ้าพนักงานได้ “เห็น” หรือ “พบ” ในขณะกำลังกระทำความผิดด้วยตนเองอย่างแท้จริง เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจจับนายเกตุพงษ์ได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ ตามมาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคแรก ดังนั้น การตรวจค้นและจับกุมดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ฎ.3751/2551

  48. *สังเกตว่า*ความผิดซึ่งหน้า ตามมาตรา 80 วรรคแรกนี้ หมายความถึงความผิดตามกฎหมายใดก็ได้ที่มีโทษทางอาญา เช่น พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ , พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ , พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ ล้วนเป็นความผิดซึ่งหน้าตามมาตรา 80 วรรคแรกได้ทั้งสิ้น สรุป การจับกุมของ ร.ต.อ.เก่งกล้าชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิดไว้ในครอบครอง ประกอบกับเป็นความผิดซึ่งหน้า ร.ต.อ.เก่งกล้าจึงมีอำนาจตรวจค้นและจับนายเกตุพงษ์ได้ ตามมาตรา 93 ประกอบมาตรา 78 (1) และมาตรา 80 วรรคแรก

  49. ข้อ2 ร.ต.อ.มาโนช พบนางสมศรีกำลังวิ่งไล่จับนายมานพมาตามทางสาธารณะและได้ยินนางสมศรีร้องตะโกนว่า “จับที จับที มันขโมย” ร.ต.อ.มาโนชจะเข้าทำการจับนายมานพ แต่นายมานพวิ่งหนีเข้าไปในบ้านมารดาของนายมานพซึ่งนายมานพก็พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ด้วย ร.ต.อ.มาโนชจึงตามเข้าไปจับนายมานพในบ้านมารดาของนายมานพทันที ดังนี้ การจับของร.ต.อ.มาโนชชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า การจับของ ร.ต.อ.มาโนช เป็นการจับในที่รโหฐานซึ่งการที่จะเข้าไปจับได้ต้องมีอำนาจในการจับ โดยมีหมายจับหรืออำนาจที่กฎหมายให้ทำการจับได้โดยไม่ต้องมีหมาย และได้ทำตามบทบัญญัติใน ป.วิ.อ.อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน คือ มีหมายค้น หรือมีอำนาจที่กฎหมายให้ทำการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย

  50. การที่ ร.ต.อ. มาโนช พบนางสมศรีกำลังวิ่งไล่จับนายมานพมาตามทางสาธารณะและได้ยินนางสมศรีร้องตะโกนว่า “จับที จับที มันขโมย” เป็นความผิดซึ่งหน้าตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (1) ประกอบ มาตรา 80 วรรคสอง (1) เนื่องจากการที่นางสมศรีร้องตะโกนว่า “จับที จับที มันขโมย” ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดที่ระบุอยู่ในบัญชีท้าย ป.วิ.อ. ประกอบกับนายมานพถูกนางสมศรี วิ่งไล่จับ ดังว่า นายมานพเป็นผู้กระทำความผิดมา ร.ต.อ.มาโนช จึงมีอำนาจในการจับนายมานพ แม้ไม่มีหมายจับ และตามปัญหา ร.ต.อ.มาโนช ได้ทำตามบทบัญญัติ ป.วิ.อ. อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน ตามมาตรา 92 (3) แล้ว เนื่องจากเป็นกรณี ที่นายมานพซึ่งได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูก ร.ต.อ.มาโนชไล่จับได้หนีเข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในบ้านมารดาของนายมานพซึ่งเป็นที่รโหฐาน ดังนี้ ร.ต.อ.มาโนช จึงมีอำนาจตามเข้าไปจับนายมานพในบ้านมารดาของนายมานพทันที สรุป การจับของ ร.ต.อ.มาโนช ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78 (1) , มาตรา 80 วรรสอง , มาตรา 81 และมาตรา 92 (3)

More Related