320 likes | 965 Views
หน้าที่พลเมือง. กฎหมายเรื่องน่ารู้. กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่กำหนดขึ้น เพื่อกำหนดความประพฤติของพลเมือง ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามมีความผิด และถูกลงโทษ การบังคับนี้ใช้กับพลเมืองทุกคน ไม่จำกัด อายุ เพศ ชั้น วรรณะ สัญชาติ และกฎหมายจะใช้บังคับตลอดไปจนกว่าจะประกาศยกเลิก.
E N D
หน้าที่พลเมือง กฎหมายเรื่องน่ารู้
กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่กำหนดขึ้น เพื่อกำหนดความประพฤติของพลเมือง ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามมีความผิด และถูกลงโทษ การบังคับนี้ใช้กับพลเมืองทุกคน ไม่จำกัด อายุ เพศ ชั้น วรรณะ สัญชาติ และกฎหมายจะใช้บังคับตลอดไปจนกว่าจะประกาศยกเลิก
ประเภทของกฎหมาย • กฎหมายเอกชน • กฎหมายมหาชน • กฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายเอกชน คือ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อบุคคล เอกชนต่อเอกชนในรัฐเดียวกัน ได้แก่ - กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลโดยทั่วไป - กฏหมายวิธีพิจารณาความเพ่ง กำหนดข้อบังคับและวิธีการดำเนินการพิจารณาคดีในศาลเพ่ง
ประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ) เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นหลักตัดสินกรณีพิพาทเรื่องเกี่ยวกับสิทธิ ทรัพย์สินระหว่างบุคคล เมื่อมีกรณีขัดแย้งกันขึ้น เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2466 ทั้งหมด 6 บรรพ ดังนี้ บรรพ 1 หลักทั่วไปว่าด้วยเรื่องบุคคล นิติบุคคล ทรัพย์นิติกรรม ระยะเวลา อายุความ บรรพ 2 เรื่องหนี้ สัญญา ลาภที่ควรได้ ละเมิด
บรรพ 3 กล่าวถึงว่าด้วยเรื่องเอกเทศสัญญา ได้แก่ ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ค้ำประกัน บรรพ 4 กล่าวถึงว่าด้วยเรื่องทรัพย์สิน ได้แก่ กรรมสิทธ์ สิทธิครอบครอง สิทธิอาศัย บรรพ 5 กล่าวถึงว่าด้วยเรื่องครอบครัว ได้แก่ การสมรส บิดามารดา สิทธิหน้าที่ ค่าอุปการะเลี้ยงดู บรรพ 6 กล่าวถึงว่าด้วยเรื่องมรดก ได้แก่ การตกทอดแห่งมรดก การเป็นทายาท
กฏหมายมหาชน คือ กฎหมายที่กำหนดความ สัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ได้แก่ - กฎหมายรัฐธรรมนูญ - กฎหมายปกครอง - กฎหมายอาญา - กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา - พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
กฎหมายระหว่างประเทศคือ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เช่น สนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจและสังคม - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เช่น กฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติ - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เช่น กฎหมายว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่สำคัญ เนื่องจากเป็นกฎหมายที่เป็นแม่บท หรือเป็นหลักสำคัญในการกำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ กฎหมายอื่นใดจะมาลบล้างหรือขัดต่อบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญย่อมไม่ได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นกฎหมายสูงสุด ว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองราชอาณาจักรไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษร ฉบับที่ 18 จัดให้มีการออกเสียงประชามติในวันที่ 19 สิงหาคมพ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคมพ.ศ. 2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้
สถานะ คือ ตำแหน่งหรือฐานะของบุคคล - คนเกิดในบ้าน แจ้งภายใน 15 วัน - คนเกิดนอกบ้าน แจ้งภายใน 30 วัน - คนตายในบ้าน แจ้งภายใน 24 ชั่วโมง - คนตายนอกบ้าน แจ้งภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อพบศพ การสมรส กำหนดให้จดทะเบียน 1 ต.ค. 2478 การหย่า ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานรับรอง
การรับบุตรบุญธรรม ก. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี ข. ต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี ค. ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุตั้งแต่ 15 ปี ผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย ง. การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมายแล้ว
การเลิกรับบุตรบุญธรรมการเลิกรับบุตรบุญธรรม 1. เลิกโดยการตกลงยินยอมกันเอง 2. เลิกโดยคำพิพากษาของศาล 3. เลิกโดยผลของกฎหมาย คือ เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมสมรสกัน
การรับรองบุตร บุตรนอกสมรสจะมีสถานะเป็นบุตรโดยชอบธรรมด้วยกฎหมายได้ 3 กรณี คือ ก. บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง ข. บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร ค. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
ผู้เยาว์ ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังอ่อนทั้งในด้านอายุ ร่างกาย และสติปัญญา กฎหมายจัดให้ผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของบุคคลซึ่งเรียกว่า “ผู้แทนโดยชอบธรรม”
ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ผู้ใช้อำนาจปกครอง 2. ผู้ปกครอง บุคคลที่ยกเว้นการเป็นผู้ปกครอง • คนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ • บุคคลล้มละลาย • ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินผู้เยาว์ • ผู้เคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ • บิดาหรือมารดาระบุไว้ห้ามเป็นผู้ปกครอง
ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้เยาว์จะบรรลุ นิติภาวะต่อเมื่อ 1. อายุ 20 ปีบริบูรณ์ 2. สมรสแล้วถูกต้องตามกฎหมาย - หญิงชายจะสมรสได้ต่อเมื่ออายุครบ 17 ปี - เมื่อศาลอนุญาตให้สมรสในกรณีอายุไม่ครบ 17 ปี
นิติกรรม ได้แก่ การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
องค์ประกอบนิติกรรม แบ่งได้ 5 อย่าง คือ • การแสดงเจตนา • ต้องเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย • ต้องเป็นการกระทำด้วยใจสมัคร • ผู้แสดงเจตนามุ่งก่อให้เกิดความผูกพันทางกฎหมาย • มีการเคลื่อนไหวในสิทธิ คือ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิ
นิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะ คือ นิติกรรมที่เสียเปล่าใช้ไม่ได้ ไม่เกิดผลในทางกฎหมาย • นิติกรรมที่ตกเป็นโมฆียะ คือ นิติกรรมที่สมบูรณ์อยู่ในขณะที่ทำ เมื่อถูกบอกล้างจึงตกเป็นโมฆะ หรืออาจสมบูรณ์ตลอดไปถ้ามีการให้สัตยาบัน
ตามหลักกฎหมายผู้เยาว์จะทำนิติกรรมต้องได้รับความยินยอมจาก ผู้แทนโดยชอบธรรม หากทำไปโดยปราศจากความยินยอม นิติกรรมย่อมตกเป็น โมฆียะ นิติกรรมเป็นโมฆียะ หมายถึง นิติกรรมที่ใช้ได้สมบูรณ์ เพียงแต่ว่าถ้านิติกรรมที่เป็นโมฆียะนี้ถูกบอกล้างเมื่อใด นิติกรรมจะตกเป็นโมฆะตั้งแต่เริ่มแรกที่ทำนิติกรรม แต่หากมีการให้สัตยาบันนิติกรรมนี้ก็จะสมบูรณ์ตลอดไป