540 likes | 767 Views
การประชุมผลักดันตัวบ่งชี้ ที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาการ. วันที่ 26 ธันวาคม 2555 ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอดศุภอุดมฤกษ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร. ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมิน. องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต องค์ประกอบที่ 4 การวิจัย องค์ประกอบที่ 5 การบริการทางวิชาการแก่สังคม
E N D
การประชุมผลักดันตัวบ่งชี้ ที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาการ วันที่ 26 ธันวาคม 2555 ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอดศุภอุดมฤกษ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมิน • องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต • องค์ประกอบที่ 4 การวิจัย • องค์ประกอบที่ 5 การบริการทางวิชาการแก่สังคม • องค์ประกอบที่ 6 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
2.1 ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร
การตรวจประเมิน KPI 2.1 • มีกำหนดวิธีการหรือขั้นตอนการเปิดหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตร/ มีคณะกรรมการพิจารณาหลักสูตร/ มีการสำรวจความต้องการใช้บัณฑิต • มีกำหนดวิธีการหรือขั้นตอนการปิดหลักสูตรใหม่ • หลักสูตรทุกหลักสูตรที่เปิดสอนต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานทุกหลักสูตร มีการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ภาคผนวก ก) • มีคณะกรรมการควบคุมกำกับให้ทุกหลักสูตรดำเนินงานให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ • คณะกรรมการพิจารณาหลักสูตร ควรมีองค์ประกอบเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มาจากหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของหลักสูตร (คณะกรรมการวิภาคหลักสูตร)
2.2 อาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 1. คำนวณค่าร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีวุฒิปริญญาเอก ร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก = จำนวนอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก × 100 จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด 2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ = ร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก × 5 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
ผลการดำเนินงาน ในปี 2555 • ในปีการศึกษา 2555 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีอาจารย์ประจำ ทั้งหมด 31 คน มีวุฒิปริญญาเอก จำนวน 1 คน คิดเป็น ร้อยละ 3.23
2.3 อาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 1. คำนวณค่าร้อยละของอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ = จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ × 100 จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด 2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ = ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ × 100 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
2.4 ระบบการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน
การตรวจประเมิน KPI 2.4 • แผนพัฒนาบุคลากร รอบปีงบประมาณ/ แผนระยะยาว 5 ปี • มีระบบการสรรหา คัดเลือกบุคลากรอย่างเป็นระบบ/ มีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีรูปแบบชัดเจน • มีระบบส่งเสริมสนับสนุนการสร้างขวัญและกำลังใจให้คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน • มีระบบการให้ติดตามผลการนำความรู้และทักษะไปใช้ภายหลังการอบรมหรือการพัฒนา (สายวิชาการ มคอ.3-มคอ.6, สายสนับสนุน รายงานผลการปฏิบัติงาน TOR) • มีคณะกรรมการจรรยาบรรณวิชาชีพ / คู่มือจรรยาบรรณวิชาชีพ / ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น • มีการประเมินผลแผนพัฒนาบุคลากร และมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการบริหารและการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนในรอบปีถัดไป
2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน
การตรวจประเมิน KPI 2.6 • มีระบบในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญกำหนดไว้ในทุกหลักสูตร • มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทุกรายวิชา (มคอ.5) • มีการจัดทำรายละเอียดของรายวิชาที่จะเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา (มคอ.3) ทุกหลักสูตร • ทุกหลักสูตรมีรายวิชาที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนหรือจากการทำวิจัย • ทุกหลักสูตรควรมีการออกแบบให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากบุคคล หน่วยงานหรือชุมชนภายนอกในด้านวิชาการหรือวิชาชีพ • มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ทั้งในด้านกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ควรมีทุกหลักสูตร • มีการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนทุกรายวิชา ต้องไม่ต่ำกว่า 3.51 • ควรมีการพิจารณาปรับปรุงผลการประเมินความพึงพอใจในรายวิชาที่มีคะแนนต่ำกว่า 3.51 โดยผ่านที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ / ควรมีแนวทางและกลยุทธ์ในการพัฒนาการเรียนการสอนและนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาต่อไปโดยระบุไว้ใน มคอ. 5 หมวดที่ 6 แผนการปรับปรุง ในหัวข้อ แผนการปรับปรุงที่เสนอในภาคการศึกษา/ปีการศึกษาที่ผ่านมา
2.7 ระบบและกลไกการพัฒนาสัมฤทธิ์ผลการเรียนตามคุณลักษณะของบัณฑิต
การตรวจประเมิน KPI 2.7 • การสำรวจคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตทุกหลักสูตรระดับปริญญาตรี • คณะกรรมการรับผิดชอบหลักสูตรมีการนำผลการประเมินข้อ 1 มาปรับปรุงหลักสูตร ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต • ควรมีการสนับสนุนทรัพยากรทั้งด้านบุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศ และงบประมาณที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิต • มีระบบละกลไกการส่งเสริมให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าร่วมกิจกรรม การประชุมวิชาการหรือนำเสนอผลงานทางวิชาการ • มีกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษา ทั้งกิจกรรมภายใต้หลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตร และมีการประเมินผลที่เป็นรูปธรรม
1. บัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี ข้อพิจารณา : ตัวแทนของผู้สำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐ ควรนำเสนอการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานทั้งในระดับคณะ และระดับมหาวิทยาลัยไว้ในเล่มเดียวกัน เพื่อดูความสอดคล้องด้วย รูปแบบการเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูลของคณะและมหาวิทยาลัย ควรเป็นแบบเดียวกัน ในกรณีที่มีงานทำแล้ว ถ้ามีข้อมูลการเปลี่ยนงานใหม่ ควรระบุให้ชัดเจนด้วย
ผลการดำเนินงานในปีการศึกษา 2555 (ข้อมูลปีการศึกษา 2554) หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2555 เวลา 13.37 น.
2. คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี โทและเอกตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ ข้อพิจารณา : ต้องมีความเป็นตัวแทนของผู้สำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 แบบประเมินจากสถานประกอบการ หรือสถาบันที่บัณฑิตเข้าศึกษาต่อ เนื้อหาของแบบประเมินต้องครอบคลุมการประเมินผลการเรียนรู้ อย่างน้อย 5 ด้าน ตัวตั้งต้องเป็นผลรวม ไม่ใช่ค่าเฉลี่ย
14. การพัฒนาคณาจารย์ กำหนดค่าน้ำหนักระดับคุณภาพอาจารย์ ดังนี้
วิธีการคำนวณ เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดให้ค่าดัชนีคุณภาพอาจารย์เป็น 6 เท่ากับ 5 คะแนน ** นับจำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด ** (นับจำนวนอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อด้วย)
ผลการดำเนินงานในปีการศึกษา 2555 • ในปีการศึกษา 2555 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีบุคลากรสายวิชาการ ทั้งสิ้น 31 คน (คิดตามอายุการทำงาน) ซึ่งดำรงตำแหน่งอาจารย์ จำนวน 31 คน เป็นผู้มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 1 คน และระดับปริญญาโท จำนวน 30 คน (ลาศึกษาต่อระดับปริญญาเอก 8 คน)
4.1 ระบบและกลไกการพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
4.1 ระบบและกลไกการพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
การตรวจประเมิน KPI 4.1 • ควรมีการจัดทำแผนการวิจัย ติดตามผล ประเมินผลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแผนการวิจัย • ควรจัดให้มีข้อมูลในการสนับสนุนการขอทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก • ควรกำหนดให้นักศึกษาทำโครงการวิจัย และให้นักศึกษาเข้าฟังบรรยายหรือสัมมนาเกี่ยวกับผลความก้าวหน้าในงานวิจัยของอาจารย์ • ควรส่งเสริมให้อาจารย์นำผลลัพธ์ที่เกิดจากงานวิจัยไปเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาในการจัดการเรียนการสอน • ควรมีการประเมินผลสำเร็จของการสนับสนุนทุกด้านอย่างสม่ำเสมอและนำผลการประเมินไปทำแผนปรับปรุง โดยกำหนดกิจกรรมที่ต้องทำเพื่อการปรับปรุง • มีการวางแนวทางและขั้นตอน ตลอดจนกำหนดผู้รับผิดชอบในการสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอก เช่น การทำงานวิจัยร่วมกันบนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.2 ระบบและกลไกการจัดการความรู้จากงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
การตรวจประเมิน KPI 4.2 • ควรมีการวางแนวทาง ขั้นตอน และหลักเกณฑ์ตลอดจนกำหนดผู้รับผิดชอบในการสนับสนุนการตีพิมพ์หรือการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในวารสารหรือในที่ประชุมวิชาการที่มี peer review • ควรมีการกำหนดผู้รับผิดชอบติดตามผลงานวิจัย คัดสรรผลงานที่น่าจะเป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไป จัดให้มีการสัมภาษณ์เจ้าของผลงาน วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลให้เป็นความรู้ที่น่าสนใจซึ่งสาธารณชนเข้าใจได้ จัดหมวดหมู่ความรู้ที่ได้ให้เหมาะสมต่อการเผยแพร่ • นำความรู้ที่ได้ในข้อ 2 ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยสู่สาธารณชนและผู้เกี่ยวข้อง • สนับสนุนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์จากหน่วยงานภายนอก และมีการรับรองการใช้ประโยชน์จริงจากหน่วยงานภายนอกหรือชุมชน • มีการวางแนวทาง ขั้นตอน และหลักเกณฑ์ตลอดจนกำหนดผู้รับผิดชอบเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิของงานวิจัย
4.3 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ เกณฑ์เฉพาะสถาบันกลุ่ม ข และ ค2 จำแนกเป็น 2 กลุ่มสาขาวิชา 1.1 กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน 1.2 กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน
4.3 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ สูตรการคำนวณ : 1. คำนวณจำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบัน ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยฯ = จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยฯจากภายในและภายนอก จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ 2. แปลงจำนวนเงินที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ = จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยฯจากภายในและภายนอก × 5 จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยฯที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ.2555 • อยู่ระหว่างรอตรวจสอบงานวิจัยของอาจารย์ทั้งหมดอีกครั้ง
5. งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ กำหนดระดับคุณภาพบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ (ปีปฏิทิน)
วิธีการคำนวณ เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ เท่ากับ 5 คะแนน จำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา
ที่มักเป็นปัญหา : • การนับจำนวนบทความจากผลงานวิจัยหรือผลงานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ บทความจากผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ที่สามารถนำมานับได้มีเฉพาะ Research/ Original article, Conference Paper • บทความจากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ สามารถนับได้เฉพาะที่เป็นบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) เท่านั้น ส่วนบทคัดย่อ (Abstract) นับไม่ได้ • ในกรณีที่มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่องเดียวกันในหลายที่ ให้นับได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น ยกเว้น ผลงานวิจัยเรื่องนั้นตีพิมพ์คนละปีพ.ศ. (นับจำนวนเรื่อง)
ผลการดำเนินงานในปีพ.ศ.2555ผลการดำเนินงานในปีพ.ศ.2555 • สายวิทยาศาสตร์ มีจำนวน 1 เรื่องคือ • “การเปรียบเทียบความผิดปกติของกล้าปาล์มน้ำมันที่ได้จากการเพาะเมล็ดและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในระยะอนุบาลแรกและระยะอนุบาลหลัก” โดยอาจารย์ประสาทพร กออวยชัย ในการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ประจำปี 2555 มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 16-19 กุมภาพันธ์ 2555 (รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติค่าน้ำหนัก 0.25) • สายสังคมศาสตร์ มีจำนวน 4 เรื่อง คือ • “การพัฒนาการจัดการธุรกิจชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดยอาจารย์ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน ในการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 16-19 กุมภาพันธ์ 2555 (รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ค่าน้ำหนัก 0.25) • “การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินระหว่างการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันในพื้นที่จังหวัดชุมพร” โดยอาจารย์พัชรี หล้าแหล่ง ในการประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยพะเยา เมื่อวันที่ 12-13 มกราคม 2555 (รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ค่าน้ำหนัก 0.25) • “Community Based Tourism Looping System in Chumphon Province and Related Area” โดยอาจารย์อำนาจ รักษาพล ในการประชุมทางวิชาการ ที่ The Center for Land Resources Studies of Gadjah Mada University (PSSL-UGM), Kuningan Complex Yogyakarta, Indonesia. เมื่อวันที่ 12-13 มิถุนายน 2555 (รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ค่าน้ำหนัก 0.25) • “แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟ จังหวัดชุมพร” โดยอาจารย์พัชรี หล้าแหล่ง ในวารสาร Veridian E-Journal กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ตีพิมพ์ พ.ศ.2555 (มกราคม-เมษายน) (วารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI ค่าน้ำหนัก 0.25)
ผลการดำเนินงานในปี พ.ศ.2555 • คะแนนที่ได้ 1.54
6. งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ วิธีการคำนวณ เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 20 เท่ากับ 5 คะแนน ทุกกลุ่มสาขาวิชา
6. งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ • งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ หมายถึง • งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการ โครงการวิจัย และรายงานการวิจัยอย่างถูกต้อง สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการประยุกต์ใช้กับกลุ่มเป้าหมาย • มีหลักฐานปรากฏชัดเจนถึงการนำไปใช้จนก่อให้เกิดประโยชน์ได้จริงอย่างชัดเจน ตามวัตถุประสงค์ และ/หรือ ได้การรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการวิจัยอย่างถูกต้อง • หน่วยงานมักแสดงแต่หนังสือรับรอง โดยไม่ระบุว่านำส่วนใดไปใช้ และผลการนำไปใช้เป็นอย่างไร
ประเภทของการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ ที่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม มีดังนี้ 1. การใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะ 2. การใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย 3. การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ 4. การใช้ประโยชน์ทางอ้อมของงานสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการสร้างคุณค่าทางจิตใจ ยกระดับจิตใจ ก่อให้เกิดสุนทรียภาพ *** กรณีที่มีการใช้ประโยชน์มากกว่า ๑ ครั้ง ให้นับได้ครั้งเดียว ยกเว้นเป็นการใช้ประโยชน์ในมิติต่างกัน หรือมีการต่อยอดเนื้องาน
ข้อพิจารณาตัวบ่งชี้ที่ 6 • ผลงานที่นับได้ เช่น : • งานที่ปรึกษาที่เป็นการจ้างงานจากหน่วยงานภายนอก มีการดำเนินงานตามระเบียบวิธีวิจัย และมีผลการวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์จริง • ผลงานวิจัย นำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยตนเอง • สิ่งประดิษฐ์ที่นำไปจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ผลงานที่นับไม่ได้เช่น : งานประเมินความพึงพอใจให้กับหน่วยงาน อบต. ซึ่งจัดเป็นงานบริการวิชาการ มีหนังสือรับรองการนำไปใช้ประโยชน์จริง แต่ไม่ระบุว่าผลที่เกิดขึ้นจากการนำไปใช้เป็นอย่างไร การนำผลวิจัยไปพัฒนาหัวข้อวิจัยใหม่ หรือนำไปเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ การนำผลวิจัยไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย
7. ผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ กำหนดระดับคุณภาพผลงานวิชาการ
ข้อพิจารณาตัวบ่งชี้ที่ 7 • ผลงานทางวิชาการที่เป็นบทความวิชาการ (Academic paper) บทความปริทัศน์ (Review article) ตำรา (Textbook) หรือหนังสือ (Book) ต้องเป็นผลงานที่ผ่านกระบวนการกลั่นกรองผลงานก่อนตีพิมพ์ • บทความวิชาการ หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ มีข้อความรู้ที่สะท้อนมุมมอง แนวคิดเชิงทฤษฎีที่ได้จากประสบการณ์ การสังเคราะห์เอกสาร หรือการวิจัย โดยจัดทำในรูปของบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพซึ่งมีผู้ตรวจอ่าน
วิธีการคำนวณ เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 10 เท่ากับ 5 คะแนน ทุกกลุ่มสาขาวิชา
ผลการดำเนินงานในปีการศึกษา 2555 • มีผลงานจำนวน 1 เรื่อง คือ “แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟ จังหวัดชุมพร” โดยอาจารย์พัชรี หล้าแหล่ง ในวารสาร Veridian E-Journal กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ตีพิมพ์ พ.ศ.2555 (มกราคม-เมษายน) (วารสารวิชาการระดับชาติ ค่าน้ำหนัก 0.25) • ค่าคะแนนที่ได้ = 0.41 คะแนน • ถ้าอยากได้เต็ม 5 คะแนน ต้องมีผลงานวิชาการประมาณ 13 เรื่อง ต่อปี
5.1 ระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม
การตรวจประเมิน KPI 5.1 • มีการวางแนวทาง ขั้นตอน และหลักเกณฑ์ของการให้การบริการวิชาการด้านต่างๆ ที่สัมพันธ์กับพันธกิจของสถาบัน / มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพของการให้บริการอย่างสม่ำเสมอ • มีการบูรณาการงานบริการทางวิชาการกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานประจำด้านอื่นๆ ของอาจารย์และบุคลากร • มีการบูรณาการงานบริการทางวิชาการกับการวิจัยอย่างเป็นระบบ • จัดให้มีระบบติดตาม ประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย • มีการนำผลการประเมินไปพัฒนาแผน พัฒนากระบวนการ และผลสัมฤทธิ์ที่ได้อย่างสม่ำเสมอและเป็นรูปธรรม
5.2 กระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
การตรวจประเมิน KPI 5.2 • มีการสำรวจความต้องการของชุมชน หรือภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือหน่วยงานวิชาชีพ เพื่อจัดทำแผนการบริการทางวิชาการ • มีการสร้างเครือข่ายระหว่างบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพที่จะให้บริการ • มีการประเมินประโยชน์หรือผลกระทบของการให้บริการทางวิชาการต่อสังคม • มีการนำผลการประเมินการให้บริการทางวิชาการไปพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของการให้บริการ • มีการถ่ายทอดความรู้สู่บุคลากรภายในสถาบัน นักศึกษา ผ่านสื่อต่างๆ และจัดทำฐานข้อมูลการบริการวิชาการเผยแพร่สู่สาธารณะ
8. ผลการนำความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการ มาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัย วิธีการคำนวณ เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 30 เท่ากับ 5 คะแนน
8. ผลการนำความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการ มาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัย ข้อพิจารณา : • โครงการที่เสนอว่านำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ควรมีแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลที่แสดงเห็นว่านำไปใช้ในวิชาอะไร เนื้อหาที่นำไปใช้อยู่ตรงไหน • เช่นเดียวกันกับการนำไปใช้ในงานวิจัย ต้องระบุว่าปัญหาที่ได้จากการให้บริการวิชาการคืออะไร นำไปใช้ในการกำหนดหัวข้อวิจัยอย่างไร • จำนวนโครงการ/กิจกรรมวิชาการทั้งหมดที่เป็นตัวหารควรเป็นโครงการที่ระบุไว้ในแผนการให้บริการวิชาการ ถ้ามีการปรับแผนควรแนบเอกสารเพิ่มเติมด้วย
9. การเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชนหรือองค์กรภายนอก ข้อพิจารณา : มีโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนภายนอกที่แสดงให้เห็นระบบการทำงานด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) โดยการมีส่วนร่วมของชุมขนหรือองค์กร โครงการมีการกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน เพื่อวัดการบรรลุเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ชุมชนมีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง – ถ้าเริ่มดำเนินการปีแรก ต้องมีแผนงานและเงินที่แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมที่จะดำเนินการในปีต่อไป มีการพัฒนาตนเองตามอัตลักษณ์ชุมชน - อย่างต่อเนื่อง/ยั่งยืน โครงการที่ดำเนินการแล้วต้องมีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นแก่ชุมชนหรือทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ *** อัตลักษณ์ชุมชน หมายถึง ความเป็นตัวตนที่เป็นลักษณะเฉพาะถิ่น เช่น งานประเพณี อาหารการกิน การแต่งกาย และภาษาถิ่น ***
6.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
การตรวจประเมิน KPI 6.1 • มีการกำหนดระบบและกลไกทางด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม • มีการนำการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไปบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน และกิจกรรมนักศึกษา • มีการเผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน • มีการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมนักศึกษา • มีแผนปรับปรุงและพัฒนาการบูรณาการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมนำไปสู่การปฏิบัติและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง • มีการกำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรม/ มีผลงานวิจัยด้านศิลปะและวัฒนธรรมโดยมีการเผยแพร่ทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค หรือระดับนานาชาติ หรือมีผลงานได้รับรางวัล ได้รับการอ้างอิงเป็นที่ยอมรับ
10. การส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม ประเด็นการพิจารณา ๑. มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ๒. บรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ๓. มีการดำเนินงานสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง ๔. เกิดประโยชน์และคุณค่าต่อชุมชนภายใน/ภายนอก ๕. ได้รับการยกย่องระดับชาติและหรือนานาชาติ