1 / 51

การดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย

การดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย. พญ . รัตนา กาสุริย์. ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย. ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย หมายถึง ทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่า 2,500 กรัม อาจเป็นทารกที่คลอดครบกำหนด หรือคลอดก่อนกำหนดก็ได้ น้ำหนักยิ่งน้อย อัตราการเสียชีวิตยิ่งสูงขึ้น เช่น

abra
Download Presentation

การดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยการดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย พญ.รัตนา กาสุริย์

  2. ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย • ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยหมายถึง ทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่า 2,500 กรัม อาจเป็นทารกที่คลอดครบกำหนด หรือคลอดก่อนกำหนดก็ได้ • น้ำหนักยิ่งน้อย อัตราการเสียชีวิตยิ่งสูงขึ้นเช่น • เด็กคลอดครบกำหนด อัตราเสียชีวิต น้อยกว่า ร้อยละ 1 • เด็กน้ำหนัก 1500-2000 กรัม อัตราเสียชีวิต ร้อยละ 15 • เด็กน้ำหนัก 1000-1500 กรัม อัตราเสียชีวิต ร้อยละ 50

  3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ในเขต 9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ได้แก่ • ความเพียงพอของรายได้ของครอบครัว • มารดาอายุต่ำกว่า 19 ปี • น้ำหนักมารดาก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่า 45 กิโลกรัม • ส่วนสูงมารดาน้อยกว่า 140 เซนติเมตร • ความดันโลหิตซิสโตลิกมากว่า 140 มิลลิเมตรปรอท

  4. การรับประทานอาหารน้อยกว่าปกติ • การสูบบุหรี่ การทำงานหนัก • การมีน้ำเดินก่อนกำหนด • การมีโรคประจำตัว • การมีอัลบูมินต่ำ • การพักผ่อนช่วงกลางวัน • การดื่มนมระหว่างการตั้งครรภ์ • ความตั้งใจในการตั้งครรภ์ครั้งนี้

  5. ปัจจัยเสี่ยง • ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับทารกคลอดน้ำหนักน้อยคือ • 1. ปัจจัยด้านชีววิทยา 2. ปัจจัยด้านประชากร 3. ปัจจัยด้านอนามัยเจริญพันธ์และ

  6. *ปัจจัยสำคัญที่จะป้องกันทารกคลอดน้ำหนักน้อย 1.ปัจจัยด้านภาวะโภชนาการของมารดา และน้ำหนักของมารดาระหว่างการตั้งครรภ์ - เน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะ เนื้อ นม ไข่ กินให้ครบ 5 หมู่ - พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ทำงานหนักเกินไป - หากน้ำหนักขึ้นน้อย ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่อนามัย หรือ โภชนากร

  7. 2.ปัจจัยการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ โดยเน้นปัจจัยเรื่อง Bacterial vaginitis การติดเชื้อในช่องคลอด คือ การอักเสบจนมีอาการ มีตกขาวมากกว่าปกติ ตกขาวมีกลิ่นเหม็น เจ็บปวด แสบร้อน หรือคันภายในช่องคลอด อาจมีอาการปวดหน่วงท้องน้อยร่วมด้วย เมื่อมีอาการควรพบแพทย์เพื่อรับยาปฏิชีวนะ และไม่ควรสวนล้างช่องคลอด

  8. 3.การป้องกันทารกคลอดก่อนกำหนด3.การป้องกันทารกคลอดก่อนกำหนด การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด คือ การเจ็บครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ • อาการ - มดลูกแข็งหรือท้องแข็งบ่อยครั้งขึ้น เปลี่ยนท่าแล้วไม่ดีขึ้น ถ้าท้องแข็งบ่อยกว่า 6ครั้งใน 1 ชั่วโมงควรรีบไปพบแพทย์ - ปวดท้องน้อยหน่วงๆ หรือปวดถ่วงในช่องคลอด ทวารหนัก - มีน้ำใสๆหรือมูกปนเลือดออกทางช่องคลอด

  9. 4. ไม่ควรตั้งครรภ์ในอายุกลุ่มเสี่ยง คือ < 19 ปี และ > 35 ปี เนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มาก - อายุที่เหมาะสมในการตั้งครรภ์ คือ 20 – 35 ปี - ควรรู้จักวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม

  10. CPG เรื่องการดูแลก่อนคลอดเพื่อป้องกันทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย • วัตถุประสงค์ • เพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยและให้การดูแลรักษาเพื่อป้องกันการเกิดการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย • คำจำกัดความ • LBW หมายถึง ทารกที่คลอดมีชีวิตและน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า2,500กรัม

  11. CPG เรื่องการดูแลก่อนคลอดเพื่อป้องกันทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย • ผู้รับผิดชอบ • แพทย์/พยาบาลวิชาชีพ/พยาบาลเวชปฏิบัติ/ ผู้ปฎิบัติที่แผนกงานฝากครรภ์ • กลุ่มเป้าหมาย • หญิงตั้งครรภ์ทุกราย

  12. วิธีปฏิบัติ 1. ประเมินปัจจัยเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย โดยใช้แบบประเมินคัดกรองความเสี่ยงในการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย 2. เมื่อพบความเสี่ยงให้ประเมินระดับความเสี่ยง ถ้าเป็น high risk หรือมี low risk ตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป ให้ส่งพบแพทย์ โดยนัดหญิงตั้งครรภ์มาเข้า clinic high risk LBW ซึ่งจะมีเดือนละ 1 ครั้ง คือ ทุกวันศุกร์สัปดาห์ที่1ของเดือน โดยมีกุมารแพทย์เป็นผู้ออกตรวจ หรือส่งมาพบแพทย์ที่ clinic ANC ทั่วไปก่อน( ทุกวันอังคารพฤหัส)

  13. วิธีปฏิบัติ • 3. กรณีที่เป็น high riskให้ลงทะเบียนเป็นผู้ป่วย high risk LBW และให้ติดสติ๊กเกอร์รูปดาวสีเหลืองมุมซ้ายบนสมุดฝากครรภ์ แจกสมุดพกประจำตัวมารดา โดยประเมินเรื่องการกินอาหาร , ยา , กิจกรรม , ภาวะแทรกซ้อน เน้นให้เฝ้าระวัง premature contraction • -ส่งพบแพทย์ Confirm GA , Estimate fetal weight , ประเมินสุขภาพทั่วไป

  14. วิธีปฏิบัติ • ส่งพบโภชนากรเพื่อให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว • เน้นการรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูงและโปรตีนสูง เพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนักมารดาและทารกในครรภ์ • ให้โภชนากรตรวจเช็คสมุดพกประจำตัวเพื่อประเมินว่าหญิงตั้งครรภ์ได้รับพลังงานเพียงพอหรือไม่ • แนะนำอาหารเสริมเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ปริมาณแคลอรี่ที่เพียงพอ

  15. วิธีปฏิบัติ • 4. กรณีเป็น Low risk ให้ทางเจ้าหน้าที่รพ.สต.ดูแลให้คำปรึกษาเบื้องต้นก่อน โดยให้ส่งพบโภชนากรประจำรพ.สต.ที่ได้รับการอบรมไปแล้ว แนะนำเมนูอาหารช่วยเพิ่มน้ำหนัก • เน้นให้เฝ้าระวัง premature contraction และนัดติดตามประเมินซ้ำทุก 1 เดือน • ถ้าน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ให้ดูแลต่อ ถ้าน้ำหนักไม่ขึ้นหรือมี high risk เกิดขึ้น ให้ส่งมาปรึกษาแพทย์

  16. วิธีปฏิบัติ • 5.การให้วิตามินเสริมธาตุเหล็กให้ปฏิบัติดังนี้ • - เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกให้ Obimin AZ 1 tab x 1 pc เช้า ไปจนกว่าจะคลอด • - กรณีมีภาวะโลหิตจาง • Hct< 33% ให้ Obimin AZ 1 tab x 1pc เช้าFBC 1 tab x1 pc เช้า ติดตาม Hct ทุก 1เดือน • Hct >33% ให้ Obimin AZ 1 tab x1 pc เช้า อย่างเดียว

  17. วิธีปฏิบัติ • - ให้อาหารเสริมในระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์และ เมื่ออายุครรภ์ 20สัปดาห์ขึ้นไป ให้ Calcium carbonate (1,000 mg)1 tab x1 pc เย็น

  18. ทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า2,500 (LBW) เป้าหมาย ร้อยละ7 • ปี 53 ปี 54 ปี55 • คลอดก่อนกำหนด 21/806ราย(2.60%) 24/771 ราย(3.11%) 17/608ราย(2.79%) • คลอดครบกำหนด 28/806 ราย(3.47%) 24/771 ราย(3.11%) 14/608ราย(2.30%)

  19. 4. ทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม(LBW) วิเคราะห์สาเหตุ • พบในมารดา G1, GA <36 wk,อายุ < 20 ปี • พบในมารดาที่ทำงานหนัก ทำนา นอนน้อยและรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ (เช่น ไข่มดแดง แกงหน่อไม้) • 3. พบในกลุ่มทารกที่มีภาวะแทรกซ้อน • - ด้านมารดา : Anemia, Thyroid, UTI, ARV • - ด้านทารก : CHD, Gastoschisis, NBF

  20. ปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ใน รพ.วานรนิวาส ผลการวิจัย พญ.จินตนา ตรงดี กุมารแพทย์ประจำโรงพยาบาลวานรนิวาส

  21. โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ผลการดำเนินงาน - CPG LBW,แบบคัดกรองค้นหา LBW - จัดประชุมวิชาการ LBW - พัฒนาทักษาบุคลากร MCH board - นักโภชนากรประจำสถานีอนามัย - สมุดบันทึกประจำตัว (LBW) -คลินิก LBW โดยแพทย์ - สร้างทักษะชีวิตแกนนำโรงเรียนมัธยม 6 แห่งโดยทีมสุขศึกษา

  22. ANC • แบบคัดกรองค้นหากลุ่มเสี่ยง LBW • สติ๊กเกอร์รูปดาวสีเหลือง • ให้สุขศึกษาคุณภาพ • โรงเรียนพ่อ-แม่ • แนะนำอาการของการเจ็บครรภ์ • คลอดก่อนกำหนด • เน้น Plot curve แนวโน้มน้ำหนัก

  23. คลินิกครรภ์เสี่ยง ตรวจโดยกุมารแพทย์ ทุกวันศุกร์ที่ 1 ของเดือน • ค้นหาสาเหตุ • Estimate Fetal weigh • แก้ไขปัญหา • ติดตามประเมินผล • ประเมินน้ำหนักแม่

  24. จัดทำสมุดบันทึกประจำตัวมารดากลุ่มเสี่ยงจัดทำสมุดบันทึกประจำตัวมารดากลุ่มเสี่ยง ในการคลอดบุตรน้ำหนักน้อย

  25. -จัดให้มีโภชนากรประจำสถานีอนามัย-จัดให้มีโภชนากรประจำสถานีอนามัย • จัดให้มีเมนูอาหารเพิ่มน้ำหนัก สำหรับหญิงตั้งครรภ์

  26. ผลการดำเนินงาน แก้ไขปัญหาLBW ปี 2555

  27. ผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหา LBW ปี2555

  28. Low Birth Weight

  29. ลักษณะที่พบได้ -ศีรษะค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว -ผิวหนังบาง สีแดง มองเห็นหลอดเลือดได้ง่าย มักบวมตามมือและเท้า -มีขนอ่อนตามตัวโดยเฉพาะที่ไหล่ และหน้า - มีไขมันเคลือบตัวน้อย ทำให้ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายได้ดี

  30. -แขนขาเหยียดตรง มักไม่ค่อยงอ -กล้ามเนื้อมีกำลังน้อย เวลาขยับแขน คล้ายมีกระตุก -ทรวงอกค่อนข้างนิ่ม เวลาหายใจมักถูกดึงให้บุ๋มตามแนวกระบังลมได้ง่าย -หายใจไม่สม่ำเสมอ -

  31. -การดูดกลืนยังไม่ดีพอ อาจสำลักง่าย -การควบคุมอุณหภูมิร่างกายยังไม่ดี -การขับถ่ายสารต่าง ๆ ของไตมีขีดจำกัด -มีเหล็กสะสมไว้น้อย มีโอกาสซีดได้ง่ายเมื่อเริ่มโต -น้ำหนักลดได้ง่ายกว่าทารกคลอดครบกำหนด

  32. ปัญหาที่พบ • 1. Hypothermia • หมายถึง อุณหภูมิ <36.5 องศา เนื่องจากทารกมีการสูญเสียความร้อนออกมาทางผิวหนัง และอีกทั้งทารกคลอดก่อนกำหนดมีจำนวนไขมันที่ให้พลังงานความร้อนในตัวเองไม่มาก จึงทำให้มีโอกาสตัวเย็นได้ง่าย ดังนั้นเด็กทารกคลอดก่อนกำหนดที่ น.น< 1800 gm จึงมักต้องอยู่ในตู้อบเพื่อควบคุมอุณหภูมิ

  33. 2. Respiratory distress syndrome ( RDS) พบใน GA< 34 weeksเกิดจากขาดสาร surfactant ทารกจะมีอาการหายใจลำบากภายใน 6 ชั่วโมงแรกหลังคลอด โดยปรกติทารกแรกเกิดถ้าคลอดก่อนกำหนดบางรายศุนย์กระตุ้นหายใจไม่ทำงานทำให้มีการหยุดหายใจได้ ซึ่งจะต้องได้รับยากระตุ้นให้หายใจ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องปอดที่ยังไม่เจริญสมบูรณ์ ทำให้เกิดโรคระบบหายใจวายได้ง่าย

  34. 3. PDA ( Patent ductus arteriosus)เนื่องจากทารกคลอดก่อนกำหนด เส้นเลือดที่อยู่บริเวณใกล้หัวใจ (PDA) ยังไม่ปิดสนิท อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกมีหัวใจวายได้ง่าย มักพบที่อายุประมาณ 2-3 วัน อาการหายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ฟังได้ยินเสียงmurmur ซึ่งอาจรุนแรงจนต้องผ่าตัดเพื่อปิดเส้นเลือดดังกล่าว • 4. Apnea of prematurityคือ การหยุดหายใจนาน> 20 วินาที หรือ< 20 วินาทีแต่มีอาการเขียวคล้ำ หัวใจเต้นช้า hypotonia มักเกิดภายในสัปดาห์แรก มักพบใน GA< 32 weeks

  35. 5. Jaundice ตับของเด็ก preterm ยังกำจัด bilirubin ได้ไม่ดี นอกจากนี้ blood brain barrier ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิด kernicterus ต้องรีบให้การรักษา • 6. Intraventicular hemorrhage ( IVH ) พบใน BW < 1500 g ส่วนใหญ่เกิดใน 3 วันแรก อาการชัก หยุดหายใจ กระหม่อมโป่งตึง

  36. 7. Necrotizing enterocolitis (NEC) • ทารกจะมีอาการท้องอืด มีนมเหลือค้างในกระเพาะ อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด มักเกิดเมื่ออายุ 2-3 weeksสาเหตุเกิดจาก ภาวะลำไส้ขาดเลือด นมที่กิน และการติดเชื้อ อีกทั้งลำไส้ทารกถือเป็นส่วนที่ยาวมากที่ยังเจริญไม่เต็มที่ดังนั้นการปรับตัวของลำไส้มักจะต้องใช้เวลามากจึงต้องค่อย ๆ ให้อาหารทารกอย่างระมัดระวัง เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะ NEC

  37. 8. Infectionปรกติทารกคลอดก่อนกำหนดระบบภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์ เม็ดเลือดขาว ระบบอิมมูนในร่างกาย อีกทั้งผิวหนังจะบางมากทำให้เชื้อโรคแทรกตัวเข้าในผิวหนังได้ง่าย จึงสามารถติดเชื้อได้ง่าย และมักเป็นอาการรุนแรงมากกว่าเด็กทารกที่ครบกำหนด • 9. Hypoglycemiaพบได้ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงแรก ต้องเจาะเลือดดูทุกราย

  38. 10. Anemia of prematurity เด็กpretermจะได้รับเหล็กจากมารดาน้อยและการสร้างเม็ดเลือดแดงยังไม่ดี จึงเกิดภาวะซีดประมาณ 4-6 week หลังคลอด ต้องให้เหล็กเสริม • 11. Retinopathy of prematurity ( ROP)เป็นความผิดปกติของเส้นเลือดที่จอประสาทตา เกิดจากเส้นเลือดที่ยังเจริญไม่เต็มที่ไวต่อออกซิเจนที่ทารกได้รับ

  39. การดูแล • 1. การควบคุมอุณหภูมิ เนื่องจากเด็ก preterm มีผิวหนังบางและพื้นที่ผิวกายมากจึงสูญเสียความร้อนได้มาก จึงต้องป้องกันตั้งแต่แรกโดยการใช้ radiant warmer รักษาอุณหภูมิกายให้คงที่ระหว่าง 36.5 – 37.5 องศา • 2. ป้องกันการติดเชื้อเน้นการล้างมือก่อนและหลังสัมผัสทารกทุกครั้ง • 3. การให้ออกซิเจนให้น้อยที่สุดที่ทารกจะไม่เขียว เพื่อหลีกเลี่ยง ROP และไม่ให้ PDA ปิดเร็ว keep O2 sat 88 -92 %

  40. 4. การให้สารน้ำและอิเล็คโตรลัยท์ ต้องให้อย่างระมัดระวัง เนื่องจากมีการสูญเสียความร้อนจากพื้นที่ผิวกายมากจึงต้องการน้ำสูงกว่าเด็ก term แต่ถ้าให้มากเกินไปก็จะเสี่ยงต่อการเกิด PDA,BPD,NECเพิ่มขึ้น ฉะนั้นต้องประเมินจากน้ำหนักเด็กที่เพิ่มขึ้น ปริมาณปัสสาวะ และระดับอิเล็คโตรลัยท์ Na และ K จะเริ่มให้วันที่ 2-3 หลังจากปัสสาวะออกดี กลูโคส ให้ในรูปของ 5-10%Dextrose โดยคำนวณ GIR ให้ได้ 5-6 mg/kg/min

  41. 5. การให้นมควร NPO 6 ชม.แรก สังเกตการหายใจ, RDS BW< 1500g ควรให้นมทาง OG-tube เนืองจากยังดูดกลืนไม่สัมพันธ์กัน BW< 1200 g NPO 24 ชม และให้นมแบบ continuous drip • นมที่ให้ควรเป็นนมแม่หรือนมผสมสำหรับทารกก่อนกำหนดเนื่องจากมีส่วนประกอบของโปรตีน พลังงาน แคลเซียม และฟอสฟอรัสสูงกว่านมปกติ

  42. 6. เหล็กและวิตามิน เหล็กควรเริ่มให้เมื่ออายุ 2สัปดาห์- 1เดือน ปริมาณ 2-4 MKD วิตามิน E ให้ขนาด 25 IU เพื่อป้องกันเม็ดเลือดแดงแตก วิตามินรวม ควรให้เสริมเมื่ออายุ 1-2 wk • 7. การตรวจตาและหู • ทารกที่ BW < 1500 g หรือ GA < 28 weeks ควรได้รับการตรวจตาเมื่อ GA 31-33 weeks หรืออายุ 4-6 สัปดาห์หลังคลอด • การตรวจการได้ยิน ควรทำก่อนกลับบ้านและตรวจซ้ำเป็นระยะ

  43. 8. การให้วัคซีน ให้ตามอายุหลังเกิดเหมือนเด็กทั่วไป • ในเด็กที่น้ำหนักแรกเกิด < 2000g วัคซีนตับอักเสบบี ( HBV)ที่ฉีดตอนแรกเกิดยังไม่นับเป็นเข็มแรก ให้นับเป็นเข็มแถม และให้นัดมาฉีดอีกครั้งที่น้ำหนัก 2000g จึงจะนับเป็นเข็มที่1

More Related