70 likes | 252 Views
N. S. P. การเปลี่ยนแปลงรูปแบบใบรับรองถิ่นกำเนิดภายใต้ข้อตกลง JTEPA. ข้อระวังในการใช้ 6 ล้อ. ข้อระวังในการใช้สิทธิ์ต่าง ๆ. MD Says.
E N D
N S P การเปลี่ยนแปลงรูปแบบใบรับรองถิ่นกำเนิดภายใต้ข้อตกลง JTEPA ข้อระวังในการใช้ 6 ล้อ ข้อระวังในการใช้สิทธิ์ต่าง ๆ MD Says
JTEPA หรือ Japan-Thailand Economic Partnership Agreement ซึ่งเป็นการตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทย และญี่ปุ่น ภายใต้ข้อตกลงนี้ ทำให้มีผู้ประกอบการบางรายสามารถรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรได้ ซึ่งเอกสารสำคัญที่ใช้ในการยื่นขอรับสิทธิพิเศษนั้นคือ หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า หรือ C/O ล่าสุด ทางฝ่ายประเทศญี่ปุ่นได้แจ้งถึงการเปลี่ยนแปลงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า โดยเพิ่มหมายเลขเอกสารที่ได้ตารางในเอกสาร C/O เพื่อความสะดวกในการจัดการ แต่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในเอกสาร โดยจะเริ่มใช้เอกสารที่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ 6 เมษายน 2552 หากท่าผู้ประกอบการต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของข้อตกลงJTEPA สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คุณพงษ์ศักดิ์ สุวรรณน้อย 02 333 1199 ต่อ 501 ได้ตลอดเวลาทำการ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
ผู้ส่งออกรายหนึ่งมีสินค้ามาส่งที่ท่าเรือคลองเตยซึ่งผู้ส่งออกใช้รถ 6 ล้อมาส่ง ซึ่งสินค้ามาถึงเมื่อประมาณ 22.00 น. เนื่องจากรถ 6 ล้อไม่สามารถวิ่งได้ในช่วงเวลาตั้งแต่เวลา15.00 น.ถึงเวลา 20.00 น. จึงทำให้รถส่งสินค้าของผู้ส่งออกนั้นจะมาถึงท่าเรือเวลาประมาณ 22.00 น.ทางผู้ส่งออกก็เลยให้ทางบริษัทเชคค่าใช้จ่ายว่ามีเท่าไหร่ ซึ่งเมื่อทางพนักงานเราเช็คค่าล่วงเวลากับทางที่เอเย่นท์สายเรือที่รับบรรจุสินค้า แล้วจึงแจ้งค่าใช้จ่ายให้กับผู้ส่งออกไปว่ามีค่าใช้จ่าย 1,500 บาท ซึ่งทางผู้ส่งออกก็รับทราบค่าใช้จ่ายและยอมรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น แต่ทางบริษัทฯเราก็ได้ลองคิดดูว่าจะสามารถต่อรองให้กับผู้ส่งออกอีกได้ไหม ซึ่งเมื่อได้ทำการต่อรองกับทางเอเย่นท์สายเรือแล้วนั้นทางเอเย่นท์ก็ได้ให้ข้อมูลมาว่า ถ้าสินค้ามาบรรจุวันพรุ่งนี้ก่อนเที่ยงจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆเลยเมื่อทางบริษัทรับทราบข้อมูลจึงได้แจ้งกับทางผู้ส่งออก ทางผู้ส่งออกเมื่อทราบข้อมูลตามที่ทางบริษัทแจ้งไปก็รู้สึกดีใจเพราะทางผู้ส่งออกสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 1,500 บาท ทางผู้ส่งออกจึงบอกว่าสินค้าที่จะมาส่งขอเป็นมาส่งวันพรุ่งนี้แทน เมื่อทางบริษัทฯเราจึงแจ้งข้อมูลไปยังเอเย่นท์สายเรืออีกที ในการส่งสินค้าออกและนำเข้าสินค้าที่ต้องใช้รถ 6 ล้อขึ้นไปนั้นจะมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาที่รถสามารถวิ่งได้ ดังนั้นจึงควรเช็คให้ดีก่อนมิเช่นนั้นท่านอาจจะเสียค่าล่วงเวลาได้ หากผู้ประกอบการท่านใดต้องการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องเวลาวิ่งของรถประเภทต่างๆ สามารถสอบถามมาได้ที่ คุณ จักรี หวังเกษม 02 333 1199 ต่อ 515 ตลอดเวลาทำการ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
ในการนำเข้าสินค้ามายังประเทศไทย ผู้ประกอบการสามารถใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆได้ ในการลดค่าภาษีอากร เช่น การใช้สิทธิ์ BOI, EPZ, Free Zone หรือ การใช้สิทธิ มาตรา 19 ทวิเป็นต้น ซึ่งเป็นเหมือนตัวช่วยให้กับทางผู้ประกอบการในการลดต้นทุนลง และดังตัวอย่างที่กล่าวมา ยังสามารถช่วยในการสร้างงานให้กับภายในประเทศด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ประกอบการดังกล่าวต้องทำเรื่องในการดำเนินการขอใช้สิทธิ์นั้นๆให้ถูกต้องด้วย ตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีปัญหาเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการหลายท่านในการใช้สิทธิ์ต่างๆเหล่านี้ เพราะมีขั้นตอนที่จำเป็นต้องใช้ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องในการดำเนินการตรวจปล่อย ผู้ประกอบการท่านหนึ่ง ต้องการใช้สิทธิ์ BOI ในการลดหย่อนภาษีอากร แต่เกิดข้อผิดพลาดขึ้นในการลงรายละเอียด ซึ่งทำให้เกิดความสับสนว่าต้องการใช้สิทธิ์ใดกันแน่ระหว่าง BOI หรือ EPZ ทำให้ต้องทำการดำเนินการแก้ไขกันใหม่ ซึ่งในส่วนนี้ ตัวแทนนำเข้าต้องเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบด้วย อีกตัวอย่างหนึ่ง คือผู้ประกอบการท่านหนึ่งต้องการนำสินค้าเข้ามาแต่ ต้องการให้มีการโอนสิทธิ์ไปใช้ในชื่อผู้ประกอบการที่สามารถใช้สิทธิ์ BOI ได้ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วไม่สามารถทำได้เป็นต้น ดังนั้นเช่นเดียวกับในทุกๆ กรณี ไม่ว่าจะเป็นการขอใช้สิทธิ์ หรือ ขั้นตอนอื่นๆ ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งต้องทำการตรวจสอบให้ดีก่อนขั้นตอนดำเนินการ มิเช่นนั้น จะตามมาด้วยขั้นตอนที่ต้องแก้ไขหลายประการ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายและเวลามากขึ้น หากท่านผู้ประกอบการท่านใดต้องการข้อมูลเพิ่มเติมรับคำแนะนำสอบถามได้ที่ คุณ สายฝน โชว์สุภาพ 02-333-1199 ต่อ 208 S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
S ท่านมาเอง มาตรการ Post – Audit เป็นมาตรการที่กรมศุลกากรอำนวยความสะดวกให้กับผู้นำเข้า – ผู้ส่งออก ภายใต้ระบบ Customs Modernization ซึ่งมาตรการ Post – Audit นั้น ไม่ว่าผู้นำเข้า – ผู้ส่งออกะปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด และถูกต้องแค่ไหนก็ตาม ไม่ช้าก็เร็วผู้นำเข้า – ผู้ส่งออกจะต้องถูกตรวจจากเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรอยู่นั่นเอง ผมมีประสบการณ์โดยตรงจากผู้ประกอบการรายหนึ่ง ซึ่งมีการซื้อขายกับคู่ค้าต่างประเทศ โดยมีการต่อรองในเรื่องราคา และของแถมต่างๆ จนเป็นที่พอใจกันทั้งสองฝ่ายแล้ว จึงมีการตกลงสั่งซื้อสินค้ากัน หากแต่ภายหลังเมื่อกรมสุลกากรขอเข้าตรวจค้น และพบของแถมมากมายที่ไม่ได้เสียภาษี ซึ่งผู้นำเข้าแจ้งว่า ของแถมนี้ เป็นของที่ทาง Shipper ให้มาเองไม่ได้มีการซื้อขาย และมีมูลค่าแต่อย่างใด ซึ่งทางผู้นำเข้าไม่ทราบว่าการกระทำนี้ จะถือว่าเป็นความผิดโทษฐานการหลบเลี่ยงภาษี N P ต่อหน้า 2
หน้า 2 จากระบบของกรมศุลกากรปัจจุบัน ไม่ว่าท่านจะมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบเพียงใด แต่เจ้าหน้าที่ก็มักจะพบข้อผิดพลาดที่เราคาดไม่ถึงอยู่ดี ซึ่งการสัมมนาในวันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2552 ที่ทางบริษัทฯกำลังจะจัดขึ้นนั้น จะมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อการเตรียมตัวให้พร้อมของท่านเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นโอกาสของท่านที่จะได้พบกับเจ้าหน้าที่ระดับผู้อำนวยการที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านนี้โดยตรง ในวันงานหากท่านมีข้อสงสัยในแนวทางการปฏิบัติของท่านว่า ถูกต้องเหมาะสมแล้วหรือไม่นั้น ท่านสามารถสอบถามกับท่านผู้อำนวยการได้โดยตรง หรือหากว่าท่านไม่สามารถมาร่วมงานได้นั้น ท่านก็ยังสามารถฝากคำถามมาให้ทางบริษัทฯถามได้ผ่านพนักงานทุกคนของบริษัทฯ สิทธิชัย ชวรางกูร กรรมการผู้จัดการ 5/6/09 S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก