240 likes | 755 Views
โรคโบทูลิซึม (Botulism). สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค http://beid . ddc . moph . go . th. สถานการณ์โรค โบทูลิซึม (Botulism) ในประเทศไทย. การระบาดครั้งล่าสุด เมื่อ มีนาคม 2549 ที่ จ. น่าน. ผู้ป่วย 209 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต. สถานการณ์ โรค โบทูลิซึม (Botulism) ในประเทศไทย.
E N D
โรคโบทูลิซึม(Botulism) สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค http://beid.ddc.moph.go.th
สถานการณ์โรคโบทูลิซึม (Botulism) ในประเทศไทย
การระบาดครั้งล่าสุด เมื่อ มีนาคม 2549 ที่ จ. น่าน ผู้ป่วย 209 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
สถานการณ์โรคโบทูลิซึม (Botulism) ในประเทศไทย • เดือนเมษายน 2553 มีกรณีสงสัยการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ โบทูลิซึม จากการกินเนื้อหมูป่า ที่บ้านห้วยน้ำ ต.ร่องเคาะ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง • พบผู้ป่วย 37 ราย เสียชีวิต 2 ราย และมีผู้ป่วยหนักที่ต้องใส่เครื่องช่วย หายใจ 4 ราย
สถานการณ์โรคโบทูลิซึม (Botulism) ในต่างประเทศ • เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2553 สำนักงานอาหารปลอดภัย ( FSA ) แห่ง สหราชอาณาจักร ได้มีคำเตือนผู้ปกครองเด็กทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี ไม่ควรให้ทารกบริโภคน้ำผึ้ง เนื่องจากอาจก่อให้เกิดโรคโบทูลิซึมสำหรับทารก (Infant botulism) ซึ่งเป็นโรคอาหารเป็นพิษที่ร้ายแรง แต่การเกิดโรคนี้น้อยมาก เนื่องจากในระยะ 30 ปีที่ผ่านมามีรายงานยืนยันการพบโรคโบทูลิซึมในเด็กทารก 11 ราย แต่มีเพียง 3 รายในจำนวนนี้เกิดขึ้นในปี 2552 ที่เป็นไปได้ว่าเกิดจากการบริโภคน้ำผึ้ง และรายล่าสุดเป็นทารกวัยเพียง 15 สัปดาห์ เนื่องจากเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีนั้นระบบทางเดินอาหารยังไม่สามารถต่อต้านเชื้อโรคโบทูลิซึมได้ที่มา : FSA
โรคโบทูลิซึม • มีความรุนแรง แต่พบได้ ไม่บ่อย • เกิดจากท็อกซิน หรือสารพิษของเชื้อแบคทีเรีย คลอสทริเดียม โบทูไลนัม (Clostridium botulinum) • ตัวเชื้อมีเกราะหุ้ม (สปอร์) ป้องกันตัวเอง คงทน อยู่ตามพื้นดิน โคลนตม ทะเล ตะกอนในน้ำ ได้เป็นเวลานาน
โรคโบทูลิซึม • ทอกซินที่มีฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหารและระบบประสาท ทำให้เกิดโรค แบ่งได้ 3 กลุ่ม : - โรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม ( foodborne botulism ) - โรคโบทูลิซึมในลำไส้ ( intestinal botulism ) - โรคโบทูลิซึมที่บาดแผล ( wound botulism )
โรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม ( foodborne botulism) • เกิดจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษของเชื้อ คลอสทริเดียม โบทูไลนัมเช่น การกินเนื้อสัตว์ป่าที่ปนเปื้อนเชื้อ • มีการเก็บถนอมอาหารโดยใช้ความร้อนไม่เพียงพอที่จะทำลายเกราะหุ้ม (สปอร์) เมื่อปิดฝาภาชนะสนิท เกิดสภาวะไร้ออกซิเจน อาหารมีความเป็นกรดต่ำ และเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 30–37 องศาเซลเซียส สปอร์จะเจริญกลับเป็นเชื้อ เพิ่มจำนวน และสร้างสารพิษจำนวนมาก ในเวลาอันรวดเร็ว
โรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม ( foodborne botulism) (ต่อ) • สารพิษของเชื้อนี้ทำให้เกิดอาการทางระบบทางเดินอาหาร และระบบประสาทอย่างรุนแรง • ผู้ป่วยมักมีอาการเกิดขึ้นหลังจากได้รับสารพิษแล้วเฉลี่ย 12-36 ชั่วโมง และอาจ เร็วกว่า 6 ชั่วโมง หรือนานถึง 10 วัน • จะมีอาการอ่อนเพลียมาก เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว หนังตาตก ปากแห้ง พูดและกลืนอาหารได้ลำบาก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก กล้ามเนื้ออัมพาต อ่อนแรง มักไม่มีไข้ ยกเว้นในรายที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน
โรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม ( foodborne botulism) (ต่อ) • หากเกิดที่กล้ามเนื้อกระบังลม อาจมีผลทำให้การหายใจล้มเหลวถึงเสียชีวิตได้ • การรักษาด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจ และให้สารต้านพิษ(antitoxin)โดยเฉพาะที่ถูกต้อง จะช่วยลดอัตราป่วยตายได้ • ในระยะที่หาย การฟื้นตัวจะค่อนข้างช้าเป็นเดือน บางรายอาจเป็นปี
โรคโบทูลิซึมในลำไส้ ( intestinal botulism ) • พบได้น้อย อาจเกิดกับเด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี หรือผู้ใหญ่ที่มีระบบทางเดินอาหาร หรือแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ผิดปกติ ทำให้ไม่มีความทานต่อเชื้อ • โรคนี้เกิดจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนเกราะหุ้ม (สปอร์) ของเชื้อในต่างประเทศพบในเด็กทารกที่กินน้ำผึ้งอาจได้รับเชื้อโดยตรงจาก ดิน ฝุ่น โดยเชื้อเจริญเพิ่มจำนวนในลำไส้ และสร้างสารพิษขึ้นได้
โรคโบทูลิซึมในลำไส้ ( intestinal botulism ) (ต่อ) • อาการของโรคโบทูลิซึมในลำไส้ ( intestinal botulism ) ได้แก่ ท้องผูก กินอาหารได้น้อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง คออ่อน ตัวอ่อนปวกเปียก • ทารกบางราย อาจมีอาการหายใจลำบาก หรือหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตกะทันหัน
โรคโบทูลิซึมที่บาดแผล ( wound botulism ) • พบได้น้อย • เกิดจากการปนเปื้อนเกราะหุ้ม(สปอร์)ของเชื้อ ที่บาดแผลตามผิวหนัง • เชื้อจะเพิ่มจำนวนได้ หากแผลอยู่ในสภาวะที่มีออกซิเจนต่ำ • ในต่างประเทศพบในกลุ่มผู้ฉีดยาเสพติด • อาการของโรคโบทูลิซึมที่บาดแผล ( wound botulism ) จะคล้ายกับอาการทางระบบประสาทจากโรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม
การป้องกันโรคโบทูลิซึม ( Botulism ) • โรคโบทูลิซึม สามารถป้องกันได้ โดยการรักษาสุขอนามัย • การใช้ความร้อนที่เพียงพอในการถนอมอาหาร รวมทั้งการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ • ป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อและเกราะหุ้ม(สปอร์) ในการถนอมอาหารที่บรรจุในภาชนะปิดสนิท เช่น ขวด กระป๋อง ปี๊บ โดยเฉพาะพืช ผัก ที่มีความเป็นกรดต่ำ ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเพิ่มจำนวนของเชื้อและการเกิดสารพิษ โดยเลือกใช้พืช ผัก ปลา ที่สดใหม่
การป้องกันโรคโบทูลิซึม ( Botulism ) (ต่อ) • ล้างทำความสะอาดพืช ผัก ปลา ภาชนะ พื้นผิวบริเวณเตรียมอาหารอย่างทั่วถึง และต้องหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ระหว่างกระบวนการถนอมอาหารด้วย • ทำลายเกราะหุ้มที่อาจปนเปื้อนมา ในภาคอุตสาหกรรมจะใช้หม้อต้มความดันสูง ซึ่งให้ความร้อนสูงถึง 121 องศาเซลเซียส ภายใต้ความดัน 0.68 - 0.97 เอทีเอ็ม (10-15 ปอนด์/ตารางนิ้ว) ในเวลานานอย่างน้อย 20 -100 นาที แล้วแต่ปริมาณของอาหาร
การป้องกันโรคโบทูลิซึม ( Botulism ) (ต่อ) • การถนอมอาหารในระดับครัวเรือนหรือชุมชน อาจใช้การทำให้อาหารมีความเป็นกรดอ่อน ๆ ป้องกันไม่ให้เชื้อ หรือเกราะหุ้ม เจริญเติบโตได้ เช่น การผสมกรดมะนาว (กรดซิตริก) ความเข้มข้น 0.65 % ในกระบวนการผลิตหน่อไม้ปี๊บ เป็นต้น • ควรเก็บรักษาอาหารบรรจุในภาชนะ ขวด กระป๋อง หรือ ปี๊บ ฯลฯ ไว้ในตู้เย็น หรือ ห้องเย็น และไม่ควรเก็บไว้นานเกินไป • ก่อนรับประทานอาหารเหล่านี้ ควรต้มให้เดือด และสุกด้วยความร้อน 80 องศาเซลเซียสขึ้นไป นาน 30 นาที (หรือที่ 100 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที) เพื่อทำลายสารพิษที่อาจปนเปื้อนอยู่ให้หมดไป
การป้องกันโรคโบทูลิซึม ( Botulism ) (ต่อ) • เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากชัดเจน และมีหน่วยงานด้านความปลอดภัยของอาหารรับรอง เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ฯลฯ • ไม่ควรกินอาหารที่ภาชนะบรรจุมีลักษณะบวม โป่ง บุบ รั่ว มีกลิ่นบูด หรือกลิ่นผิดปกติ เป็นสนิม หมดอายุ • ไม่ควรให้เด็กทารกรับประทานน้ำผึ้ง • ไม่ฉีดสารเสพติดทุกชนิด
แจ้งการระบาดของโรคโบทูลิซึม ( Botulism ) ได้ที่.... • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และ สถานีอนามัยทุกแห่ง • สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค โทร. 0 2590 1882 , 0 2590 1775 • กองควบคุมโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2245 8106 , 0 2246 0358 , 0 2354 1836 และศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพฯทุกแห่ง