610 likes | 1.07k Views
เป้าหมายกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. เป้าหมายกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก มุ่งเน้นที่การลงโทษ กระบวนการยุติธรรมทางเลือก กระบวนการยุติธรรมเชิง สมานฉันท์ (Restorative Justice ) กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน (Juvenile Justice).
E N D
เป้าหมายกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป้าหมายกระบวนการยุติธรรมทางอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
เป้าหมายกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป้าหมายกระบวนการยุติธรรมทางอาญา • กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก • มุ่งเน้นที่การลงโทษ • กระบวนการยุติธรรมทางเลือก • กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์(Restorative Justice) • กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน (Juvenile Justice) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
“กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์” (Restorative Justice) • หมายถึง “การอำนวยความยุติธรรมที่ต้องการทำให้ทุกฝ่ายซึ่งได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมได้กลับคืนสู่สภาพดีเช่นเดิม อันเป็นการสร้าง ‘ความสมานฉันท์ในสังคม’ เป็นเป้าหมายสุดท้าย” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
หลักเกณฑ์สำคัญ 5 ประการของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ • 1.เน้นที่ความเสียหายและความต้องการของผู้เสียหายอันเป็นผลต่อเนื่องมาจากความเสียหายที่เกิดจากความเสียหายนั้น รวมทั้งความต้องการของชุมชนและความต้องการของผู้กระทำความผิด • 2.จัดการกำหนดภาระหน้าที่ในการแก้ไขซึ่งเป็นผลมาจากการทำให้เกิดความเสียหายนั้น (ได้แก่ภาระหน้าที่ของผู้กระทำผิด รวมทั้งภาระหน้าที่ของชุมชนและของสังคมในการแก้ไขเยียวยาความเสียหายด้วย) • 3.ใช้กระบวนการเปิดให้เข้ามามีส่วนร่วม และเป็นกระบวนการที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมมือในกระบวนการนั้น • 4.ให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนได้เสียในสถานการณ์นั้นเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งรวมทั้งผู้เสียหาย ผู้กระทำผิดสมาชิกของชุมชนและสังคม • 5.พยายามหาทางทำสิ่งที่เสียหายไปให้กลับคืนดีดังเดิม กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
การดำเนินคดีเด็กและเยาวชน (Juvenile Justice) แตกต่างจากการดำเนินคดีอาญาผู้ใหญ่ที่กระทำผิด(Criminal Justice) ดังนี้ • 1. มีการแยกห้องพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนออกต่างหากจากห้องพิจารณาผู้ใหญ่ และเป็นการพิจารณาลับ • 2. การพิจารณาไม่เคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (Informal and Flexible) และมีผู้พิพากษาสมทบ ซึ่งมาจากผู้มีความรู้ด้านเด็กและเยาวชน ร่วมเป็นองค์คณะกับผู้พิพากษาอาชีพในการพิจารณาพิพากษาคดี • 3. มีบริการคุมประพฤติ เพื่อสืบเสาะข้อเท็จจริงและสอดส่องความประพฤติในเกือบทุกคดี • 4. มีบริการสถานแรกรับ เพื่อแยกการควบคุมตัวในระยะแรก ไม่ปะปนกับผู้ใหญ่ระหว่างสอบสวนหรือพิจารณาคดี กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
5. มีบริการของแพทย์และจิตแพทย์เพื่อตรวจพิเคราะห์ทางกายและทางจิตแก่เด็กและเยาวชน รวมทั้งการจำแนกประเภทเด็กและเยาวชน (Classification) • 6. มีรายงานประกอบการพิจารณาของศาล ทั้งด้านกฎหมายและประวัติครอบครัวรวมทั้งสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน • 7. มีบริการสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เด็กและเยาวชน รวมทั้งครอบครัว • 8. คำพิพากษาหรือคำสั่งให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้เสมอ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ระบบการดำเนินคดีอาญา • การดำเนินคดีอาญาระบบไต่สวน และระบบกล่าวหา ระบบไต่สวน ไม่มีการแยกองค์กรที่ทำหน้าที่สอบสวนฟ้องร้อง กับหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีออกจากกัน ผู้ถูกดำเนินคดีไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิ (ผู้ถูกดำเนินคดีเป็นกรรมคดี) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ระบบกล่าวหามีการแยกองค์กรที่ทำหน้าที่สอบสวนฟ้องร้อง กับหน้าที่พิจารณาพิพากษาออกจากกัน ผู้ถูกดำเนินคดีได้รับความคุ้มครอง ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบ และมีสิทธิอย่างเต็มที่ที่จะต่อสู้คดี(ผู้ถูกดำเนินคดีถูกยกขึ้นให้เป็นประธานแห่งคดี) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ประเภทของคดีอาญา คดีความผิดต่อส่วนตัว (ความผิดอันยอมความได้) ความผิดที่เกิดขึ้นแล้ว มีผลกระทบต่อบุคคลที่ถูกกระทำเท่านั้น ส่วนบุคคลอื่น(รัฐ)ไม่ได้รับความเสียหายด้วย คดีความผิดอาญาแผ่นดิน ความผิดที่เกิดขึ้นแล้ว นอกจากจะมีผลกระทบต่อ ผู้ถูกกระทำแล้วยังส่งผลกระทบต่อรัฐด้วย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ความสำคัญของประเภทของคดีความสำคัญของประเภทของคดี 1.ใครเป็นผู้มีสิทธิดำเนินคดี ? ( ผู้เสียหาย ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดต่อส่วนตัว บุคคลที่นำคดีมาสู่ กระบวนการ จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดนั้น เท่านั้น ป.วิ.อ. ม. 2(7) “คำร้องทุกข์” หมายความถึง การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทำความผิดเกิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระผิดหรือไม่ ก็ตาม...” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ป.วิ.อ. ม. 28 “บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล (1) พนักงานอัยการ (2) ผู้เสียหาย” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
คำพิพากษาฎีกาที่ 87/2506 (ญ) ผู้รับฝากเงินมีอำนาจ เอาเงินที่รับฝากไปใช้จ่ายได้ และมีหน้าที่คืนเงินแก่ผู้ฝาก ให้ครบจำนวน ฉะนั้น การที่ผู้รับฝากจ่ายเงินให้จำเลยไป เพราะถูกจำเลยหลอกลวง ต้องถือว่าผู้รับฝากเป็นผู้เสียหาย ส่วนผู้ฝากไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ เมื่อปรากฏว่า ผู้รับฝากไม่ได้ร้องทุกข์ ผู้ว่าคดี(อัยการ)ไม่มีอำนาจฟ้อง ในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 (ความผิดต่อส่วนตัว) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
2. ความผิดต่อส่วนตัว มีอายุความร้องทุกข์ภายในกำหนดเวลา 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิด ตาม ป.อ.มาตรา 96 ป.อ. ม. 96 “ภายใต้บังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
คำพิพากษาฎีกาที่ 239/2523 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืน แต่ขอให้ลงโทษตาม ม. 362,364 ซึ่งเป็นบทความผิดอันยอมความได้โดยมิได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีโจทก์จึงขาดอายุความ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
หลักการดำเนินคดีอาญา • หลักการดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน (private prosecution) • ให้เอกชนซึ่งเป็นผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีต่อศาลได้ • หลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ(public prosecution) • เฉพาะรัฐเท่านั้นที่ฟ้องคดีต่อศาล • หลักการดำเนินคดีอาญาโดยประชาชน (popular prosecution) • ให้ประชาชนทุกคนฟ้องคดีที่เกิดขึ้นได้ทุกคน แม้จะมิได้เป็นผู้ถูกกระทำก็ตาม กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
หลักการดำเนินคดีอาญา • หลักการดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน (private prosecution) • -มีความคิดเริ่มต้นที่การแก้แค้นตอบแทนผู้ละเมิด • เพื่อลดความอาฆาตมาดร้ายของบุคคลในสังคม หรือผู้เสียหาย • -การควบคุมความสงบเรียบร้อยจึงอยู่ที่เอกชน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
หลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ(public prosecution) • -กฎหมายมีจุดมุ่งหมายในการแก้ไขผู้กระทำผิดให้สามารถกลับเข้าอยู่ในสังคมของเขาได้อย่างเป็นสุข จำกัดโอกาสกระทำผิดของผู้ที่กระทำผิดติดนิสัย และการป้องกันหรือปราบปรามผู้กระทำความผิดนั้น • -การควบคุมการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเป็นหน้าที่ของรัฐหาใช่ของเอกชนไม่ • -ความผิดอาญาเป็นความผิดต่อสังคมหรือมหาชน สังคมหรือมหาชนเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย ผู้ตกเป็นเหยื่อของการกระทำความผิดหาใช่ผู้เสียหายไม่ • -เอกชนจึงไม่มีอำนาจฟ้องร้องขอให้ศาลลงโทษผู้กระทำผิดด้วยตนเอง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
หลักการดำเนินคดีอาญาโดยประชาชน (popular prosecution) • -ถือว่าการรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นของประชาชนทุกคน ประชาชนทุกคนจึงฟ้องคดีอาญาได้โดยไม่คำนึงว่าผู้ฟ้องจะเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงหรือไม่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ผู้เสียหาย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
รูปแบบการดำเนินคดีอาญารูปแบบการดำเนินคดีอาญา • การดำเนินคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มี 2 ลักษณะ • การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ • เป็นการดำเนินการโดยเจ้าพนักงานของรัฐ (พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ) ทั้งความผิดที่รัฐและเอกชนเป็นผู้เสียหาย • ในความผิดที่เอกชนเป็นผู้เสียหาย รัฐจะดำเนินคดีแทนเอกชนได้ต่อเมื่อ ผู้เสียหายได้มอบคดีให้รัฐดำเนินคดีแทน โดยการร้องทุกข์ให้รัฐดำเนินคดีแทนตนเอง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ ราชทัณฑ์ ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ผู้เสียหาย อัยการ ศาล คุมประพฤติ ผู้เสียหาย สถานพินิจและ คุ้มครองเด็ก กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
การฟ้องคดีอาญา • การดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน(ผู้เสียหาย) • เป็นการดำเนินคดีโดยผู้เสียหายโดยการฟ้องคดีอาญาให้ศาลลงโทษผู้ต้องหาด้วยตนเอง ซึ่งอาจจะเกิดจากผู้เสียหายไม่ประสงค์ให้รัฐดำเนินคดีแทนตนเอง หรือมีเหตุที่เจ้าพนักงานจะไม่ดำเนินคดีแทน ฟ้อง ศาล ผู้เสียหาย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ผู้เสียหาย ป.วิ.อ. ม.2(4) “บุคคลผู้ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6” • จากมาตราข้างต้นผู้เสียหาย จึงมี 2 ประเภท • 1. ผู้เสียหายที่แท้จริง หมายถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง(โดยตรง) • 2. ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย หมายถึง บุคคลที่ไม่ใช่ผู้เสียหายที่แท้จริง แต่กฎหมายให้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่แท้จริงได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ผู้มีอำนาจดำเนินคดี กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
หลักเกณฑ์การพิจารณาการเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงหลักเกณฑ์การพิจารณาการเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง • พิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ • 1. มีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น • ประการแรกต้องพิจารณาว่า การกระทำของผู้กระทำมีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด(อาญา) หรือไม่ • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดอาญา กฎหมายสาร บัญญัติ (ประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ. ที่มีโทษทางอาญาอื่นๆ) อาจมีผู้เสียหายที่แท้จริง ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดอาญา ไม่มีผู้เสียหายทางอาญา อาจมีผู้เสียหายในทางแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
2. บุคคลนั้นได้รับความเสียหายอันเนื่องจากการกระทำความผิดนั้น • เมื่อพบว่ามีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ก็พิจารณาต่อไปว่า บุคคลใดเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดนั้น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
เป็นผู้ได้รับความเสียหายเป็นผู้ได้รับความเสียหาย อาจเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง ไม่เป็นผู้ได้รับความเสียหาย อาจเป็นผู้ได้รับความเสียหายในทางแพ่ง (ม.420) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
แนวทางการวินิจฉัยการเป็นผู้เสียหาย ในที่นี้จะนำเสนอ 2 แนวทาง คือ • แนวทางของ ดร.คณิต ณ นคร • แนวทางของศาลยุติธรรม การพิจารณาการเป็นเสียหายตามแนวของ อ.คณิต ณ นคร • อ.คณิต ณ นคร ให้พิจารณาจากคุณธรรมของกฎหมายในเรื่องนั้นๆว่า คือ อะไร • คุณธรรมทางกฎหมาย ได้แก่ สิ่งที่กฎหมายมุ่งจะคุ้มครอง • ผู้เสียหาย คือ บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของคุณธรรมทางกฎหมาย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
เช่น ก. ใช้ปืนยิง ข. หนึ่งนัด ถูกต้นขาแต่ไม่ถูกอวัยวะสำคัญรักษา 30 วันก็หายเป็นปกติ • การกระทำของ ก. เป็นการกระทำความผิดต่อชีวิต ร่างกาย • ความผิดต่อชีวิต ร่างกาย กฎหมายมุ่งคุ้มครองอะไร กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
นาย ก. ยืมรถของนาย ข. ไปซื้อตั๋วรถที่สถานีรถไฟระหว่างจอดรถเพื่อลงไปซื้อตั๋ว นาย ค. ได้ขโมยรถคันดังกล่าวไป • เช่นนี้ถ้า นาย ก. เป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้ติดตามจับกุมนาย ค. มาดำเนินคดีหรือไม่ • มีการการะทำผิดอาญาหรือไม่ • ตอบ มี ความผิดฐานลักทรัพย์ • ความผิดฐานลักทรัพย์ มีสิ่งที่กฎหมายมุ่งประสงค์จะคุ้มครองอะไรบ้าง(คุณธรรมทางกฎหมาย) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
คุณธรรมทางกฎหมายในความผิดฐานลักทรัพย์คุณธรรมทางกฎหมายในความผิดฐานลักทรัพย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
สรุป แนวทางของอาจารย์คณิต • ต้องรู้ว่า ความผิดแต่ละเรื่อง แต่ละฐานความผิด มีวัตถุประสงค์คุ้มครองเรื่องอะไร • ความผิดเรื่องหนึ่ง ฐานหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องมีคุณธรรมทางกฎหมายเรื่องเดียวเท่านั้น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
การพิจารณาการเป็นผู้เสียหายตามแนวการวินิจฉัยของศาลการพิจารณาการเป็นผู้เสียหายตามแนวการวินิจฉัยของศาล • ศาลพิจารณาจากประเภทของกฎหมาย • ก. กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองสิทธิของเอกชน เช่น ชีวิต ร่างกาย อนามัย ชื่อเสียง ทรัพย์สิน เสรีภาพ • สิ่งดังกล่าวเป็นของบุคคลใด บุคคลนั้น คือ ผู้เสียหาย • ข้อสังเกต • ความผิดที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองสิทธิเอกชนบางฐานความผิด รัฐก็เป็นผู้เสียหายได้ หากความผิดนั้นเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ข. กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ที่คุ้มครองรัฐ หรือเจ้าพนักงานของรัฐโดยเฉพาะ โดยปกติรัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เอกชนไม่อาจเป็นผู้เสียหายได้ • เช่น ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา เป็นต้น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ยกเว้นแต่เอกชนคนหนึ่งคนใดจะได้รับความเสียหายเป็นพิเศษจากการกระทำความผิดนั้นก็สามารถเป็นผู้เสียหายในความผิดนั้นได้ยกเว้นแต่เอกชนคนหนึ่งคนใดจะได้รับความเสียหายเป็นพิเศษจากการกระทำความผิดนั้นก็สามารถเป็นผู้เสียหายในความผิดนั้นได้ • ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ คือ การกระทำความผิดกระทบต่อสิทธิของปัจเจกชนในทางหนึ่งทางใด เช่น ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน หรือสิทธิในด้านใดด้านหนึ่ง • แต่ผลกระทบต่อสิทธิของปัจเจกชน นั้นจะต้องเป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำความผิดอาญานั้น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ตัวอย่าง 227/2531 • นายดำไม่พอใจที่บิดาของตน ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ พี่น้องของ นายดำ เท่าๆกัน ทั้งที่ได้เคยขอทรัพย์มรดกบางชิ้นจากบิดา แล้ว • นายดำจึงไปขอให้นายขัน ปลัดอำเภอซึ่งเป็นเพื่อนสนิท ให้ช่วยทำให้นายดำ ได้รับมรดกของบิดาเพียงคนเดียว • นายขันได้อาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าช่วยนายอำเภอทำพินัยกรรมให้ชาวบ้านให้แก่ชาวบ้าน ปลอมพินัยกรรมของบิดานายดำ ว่ายกมรดกให้แก่ นายดำ แต่เพียงผู้เดียว • หลังจากบิดาตาย นายดำ ได้นำพินัยกรรมปลอมไปรับโอนมรดกที่สำนักงานที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินไม่ทราบว่าเป็นพินัยกรรมปลอม จึงโอนที่ดินให้แก่ นายดำ แต่เพียงผู้เดียว กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ตัวอย่าง 227/2531 • การกระทำของ นายขัน มีความผิดหรือไม่ • ความผิดดังกล่าวมีคุณธรรมทางกฎหมายอะไร • ใครเป็นเจ้าของคุณธรรมดังกล่าว • พี่น้องของนายดำ เป็นผู้เสียหายในความผิดดังกล่าวหรือไม่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
คำพิพากษาฎีกาที่ 227/2531 จำเลยเป็นเจ้าพนักงานกระทำต่อหน้าที่ราชการในการปลอมแปลงพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองแล้วนำไปใช้ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมฉบับที่แท้จริงได้รับความเสียหายโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย • ความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมเอกสาร ม.161 เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มีวัตถุประสงค์คุ้มครองรัฐ ดังนั้นปกติถือว่ารัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย • แต่การปลอมพินัยกรรมยัง มีผลกระทบต่อโจทก์ ซึ่งเป็นทายาทในฉบับที่แท้จริงด้วย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ทำไม ? • กฎหมายกำหนดว่า ถ้าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมหลายฉบับมีข้อความขัดกัน ให้ถือว่าพินัยกรรมฉบับเก่าถูกเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลัง (ป.พ.พ. ม.1697) • ดังนั้นการการทำพินัยกรรมปลอมจึงมีผลกระทบต่อโจทก์ เพราะจะทำให้ถูกเพิกถอนสิทธิในการรับมรดกโดยกฎหมายดังกล่าว กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ตัวอย่าง ฏีกาที่ 9179/2547 • นาย ก. อยากได้เงินจากบริษัทประกันภัยที่ตนได้ทำประกันความรับผิดของตนเองที่มีต่อผู้อื่น(ประกันภัยค้ำจุน)ไว้ • นาย ก. จึงสร้างเรื่องว่าตนขับรถชนรถของนาย ข. บาดเจ็บซึ่งมีผลทำให้บริษัทต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ นาย ข. แทนนาย ก. ตามสัญญาประกันภัย • แต่ตามสัญญาประกันภัยจะต้องมีหลักฐานการเกิดอุบัติเหตุจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ • นาย ก. จึงไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงเรื่องดังกล่าว แล้วนำหลักฐานการแจ้งความไปขอรับเงินประกันที่บริษัทจะต้องจ่ายให้แก่นาย ข. • บริษัทไม่ทราบว่าเป็นความเท็จได้จ่ายเงินให้แก่นาย ก. ไป ต่อมาบริษัทรู้ความจริง จึงฟ้องนาย ก. ข้อหาแจ้งความเท็จตาม มาตรา 137 และ แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชน และเอกสารราชการ มาตรา 267 • บริษัทประกันภัยเป็นผู้เสียหายในความผิดทั้งสองหรือไม่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9179/2547 • จำเลยที่ 3 แจ้งความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 3 ได้ขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนจำเลยที่ 4 ได้รับบาดเจ็บ เพื่อประสงค์ให้พนักงานสอบสวนจดข้อความอันเป็นเท็จลงในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี ซึ่งเป็นเอกสารราชการเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานเท่านั้น อันเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานโดยตรง โดยจำเลยที่ 3 ไม่ได้เจาะจงว่ากล่าวถึงโจทก์เลย โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง แม้ข้อความเท็จนั้นจะครบองค์ประกอบเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267 แต่ข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งมิได้มีการกล่าวอ้างถึงการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่กระทบกระเทือนถึงโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย • ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 3 ใน ส่วนหลังเกิดขึ้นหลังจากการกระทำผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและ เจ้าพนักงานตำรวจได้จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการสำเร็จแล้ว เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ตัวอย่าง ฎีกาที่ 2415/2535 • นายเอ ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่า รถจักรยานยนต์ของตนถูกนาย บี ขโมยไป ซึ่งเป็นความเท็จ นายบี จึงเป็นโจทก์ฟ้องนาย เอ ข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 173 • นายบีเป็นผู้เสียหาย หรือไม่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415/2535 • จำเลย ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ลักทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นความ เท็จ ทำให้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญา แม้ความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137เป็นความผิดต่อเจ้าพนักงาน ซึ่งปกติรัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรงก็ตาม แต่โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จากการร้องทุกข์ของจำเลยซึ่งเป็นเท็จโจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงในข้อหาดังกล่าวและมีอำนาจฟ้อง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ความแตกต่างระหว่าง ฎีกาที่ 9179/2547 กับ ฎีกาที่ 2415/2535 • ฎีกาที่ 9179/2547 • แจ้งความ แสดงหลักฐานเท็จ ได้เงิน • ฎีกาที่ 2415/2535 • แจ้งความ ชื่อเสียง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ค. กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้กระทำ หรือมิให้กระทำการใดเพื่อประโยชน์ในทางปกครอง การฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เอกชนไม่อาจเป็นผู้เสียหาย ได้เลย • เช่น พระราชบัญญัติอาวุธปืน พระราชบัญญัติจราจรทางบก พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ตัวอย่างเช่น • นาย ก. ขับรถด้วยความประมาทชน นาย ข.ได้รับบาดเจ็บสาหัส ปรากฏว่ารถที่ นาย ก. ขับ ไม่มี พ.ร.บ. ประกันบุคคลที่ 3 และ นาย ก. ก็ไม่มีใบอนุญาต ขับรถด้วย • นาย ข. เป็นผู้เสียหายในความผิดใดบ้าง • มีการกระทำผิดกฎหมายอาญาหรือไม่ • 1. กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ป.อ. ม. 297 • 2. ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์หรือผู้อื่นได้รับความเสียหาย พ.ร.บ.จราจรทางบก • 3. ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต พ.ร.บ. จราจรทางบก • 4. ขับรถที่ไม่มี พ.ร.บ.ประกันบุคคลที่ 3 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
1. กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ป.อ. ม. 297 • คุณธรรมทางกฎหมาย ? • 2. ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์หรือผู้อื่นได้รับความเสียหาย พ.ร.บ.จราจรทางบก • คุณธรรมทางกฎหมาย ? • 3. ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต พ.ร.บ. จราจรทางบก • คุณธรรมทางกฎหมาย ? • 4. ขับรถที่ไม่มี พ.ร.บ.ประกันบุคคลที่ 3 • คุณธรรมทางกฎหมาย ? กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1