960 likes | 2.27k Views
สาระการเรียนรู้. สาระหน่วยนี้ นักเรียนจะได้ ศึกษาเกี่ยวกับ “ ทัศน ธาตุ ” ในด้านลักษณะและคุณสมบัติ ซึ่งเป็นมูลฐานศิลปะที่สำคัญที่สุด เมื่อนักเรียนเอาองค์ประกอเหล่านี้มาสร้างสรรค์ ร่วมกันจ ก่อให้เกิดงานศิลป์ที่มีคุณค่ายิ่ง. ทัศน ธาตุ ( VISAUL ELEMENT ).
E N D
สาระการเรียนรู้ สาระหน่วยนี้ นักเรียนจะได้ ศึกษาเกี่ยวกับ “ ทัศนธาตุ ” ในด้านลักษณะและคุณสมบัติ ซึ่งเป็นมูลฐานศิลปะที่สำคัญที่สุด เมื่อนักเรียนเอาองค์ประกอเหล่านี้มาสร้างสรรค์ร่วมกันจ ก่อให้เกิดงานศิลป์ที่มีคุณค่ายิ่ง
ทัศนธาตุ(VISAUL ELEMENT) ทัศนธาตุ หมายถึง ส่วนประกอบของการมองเห็น มีทั้งสิ้น 7 อย่าง ได้แก่ จุด, เส้น, สี, น้ำหนักอ่อน-แก่, รูปร่าง-รูปทรง, พื้นผิว, พื้นที่ว่าง ผลงานทัศนศิลป์ที่มีคุณค่าความงาม สามารถสร้างอารมณ์ความรู้สึกและความประทับใจกับผู้ที่สัมผัสได้นั้น ก็เกิดมาจากการที่เรานำความรู้ ความเข้าในความหมายของคุณลักษณะทางทัศนธาตุ มาจัดตามหลักขององค์ประกอบศิลป์ทั้งสิ้น
องค์ประกอบทางทัศนธาตุองค์ประกอบทางทัศนธาตุ
จุด (Point, Dot) • จุด(Point, Dot)เป็นทัศนธาตุแม่ ที่ให้กำเนิดทัศนธาตุอื่นๆ ตามมาและนำไปสร้างสรรค์งานศิลปะที่มีสวยงามความสมบูรณ์ มีลักษณะกลม เกิดจากการจิ้ม กด กระแทก ด้วยนิ้วมือ ดินสอ ปากกา พู่กัน โดยจุดมีอยู่ 2 ประเภท คือ • 1.จุดที่เกิดจากธรรมชาติ • 2.จุดที่มนุษย์สร้างขึ้น
ยาโยอิ คุซามะ (Kusama Yayoi ) หลายคนคงไม่รู้จักเธอ แต่เมื่อบอกว่าเธอเป็นผู้ทำให้ลายจุด “Dot Infinity” ฮิตฮอทไปทั่วโลก หลังจับมือกับแบรนด์ดังอย่าง Louis Vuittonออกแบบคอลเลคชั่นพิเศษที่มีชื่อว่า “Louis Vuitton – Yayoi Kusama” ที่นำเอกลักษณ์งานศิลป์ของเจ้าแม่ลายจุดมาตีความใหม่และถ่ายทอดออกมาเป็นผล งานแฟชั่นสุดไฮโซ
เส้น(Line) • เส้น (Line)เกิดจากจุดที่เรียงต่อกัน หรือ การเคลื่อนที่ของจุดโดยการใช้ นิ้ว ดินสอ ปากกา พู่กันลาก • เส้นมีมิติเดียวมีเพียงความยาว ไม่มีความกว้าง ความลึก • เส้นคือหัวใจสำคัญในงานทัศนศิลป์ทุกแขนง เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ฯลฯ • เส้นมีความสำคัญในการสร้างรูปร่าง-รูปทรง • เส้นมี 2ลักษณะ หลัก คือ เส้นตรงกับเส้นโค้ง
เส้นตั้ง ทำให้เกิดความรู้สึก สง่าแข็งแรง เป็นระเบียบ
เส้นนอน ทำให้เกิดความรู้สึก สงบ ปลอดภัย
เส้นทแยง ทำให้เกิดความรู้สึก รวดเร็ว มีพลัง
เส้นโค้ง ทำให้เกิดความรู้สึก อ่อนโยน เป็นมิตร
เส้นโค้งอิสระ ทำให้เกิดความรู้สึก เจริญเติบโต
เส้นโค้งขดหอย ทำให้เกิดความรู้สึก เคลื่อนไหว คลี่คลาย
เส้นคลื่น ทำให้เกิดความรู้สึก เคลื่อนไหวต่อเนื่อง
เส้นหยัก ทำให้เกิดความรู้สึก รุนแรง ตื่นเต้น
เส้นประ ทำให้เกิดความรู้สึก วุ่นวาย ไม่มั่นคง อันตราย
รูปร่าง(Shape)และรูปทรง(Form)รูปร่าง(Shape)และรูปทรง(Form) • รูปร่าง (Shape)หมายถึง การบรรจบกันของเส้น ทำให้เกิดขอบเขตของวัตถุที่มองเห็นเป็น 2มิติ คือ มีความกว้างและความยาว • รูปทรง (Form)หมายถึงรูปลักษณะที่มองเห็นเป็น3 มิติ คือ มีความกว้างความยาวและความหนาลึก ให้ความรู้สึกมีปริมาตรความหนาแน่น มีมวลสาร ที่เกิดจากการใช้ค่าน้ำหนัก • รูปร่างและรูปทรงที่ในทัศนศิลป์มี3 ลักษณะ คือ - แบบอิสระ(Free Form) - แบบอินทรีย์(Organic Form) - แบบเรขาคณิต(Geometric Form)
1. แบบอิสระ(Free Form) • รูปอิสระ(Free Form) เกิดขึ้นอย่างอิสระ ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน เป็นไปตามอิทธิพลและการกระทำจากสิ่งแวดล้อมเช่น รูปก้อนเมฆก้อนหินแอ่งน้ำ หมอกควัน ซึ่งให้ความรู้สึกที่เคลื่อนไหว • รูปอิสระจะมีลักษณะขัดแย้งกับรูปเรขาคณิต แต่คล้ายคลึงกับรูปอินทรีย์ • รูปอิสระอาจเกิดจากรูปเรขาคณิตหรือรูปอินทรีย์ ที่ถูกกระทำจนมีรูปลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น รถยนต์ที่ถูกชนจนยับเยินหรือ ซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยผุพัง
2.แบบอินทรีย์(Organic Form) • รูปอินทรีย์(Organic Form) เป็นรูปของสิ่งที่มีชีวิต หรือ คล้ายกับสิ่งมีชีวิตที่สามารถเจริญเติบโตเคลื่อนไหวและสามาเปลี่ยนแปลงรูปได้ เช่น รูปของคนสัตว์พืช
3.แบบเรขาคณิต(GeometricForm) • รูปเรขาคณิต(Geometric Form)มีรูปที่เป็นมาตรฐาน สามารถวัดหรือคำนวณได้ เกิดจากการสร้างของมนุษย์ เช่น รูปสี่เหลี่ยมรูปสามเหลี่ยม รูปวงกลม • นอกจากนี้หมายถึงรูปทรงของสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้น ขึ้นอย่างมีแบบแผนแน่นอนเช่น รถยนต์เครื่องจักรกลเครื่องบินสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ • รูปเรขาคณิตเป็นรูปที่ใช้สร้างสรรค์โครงสร้างของรูปร่างและรูปทรงอื่นๆ
แสงและเงา (Light & Shade) • แสงและเงาเกิดจากการร่องรอยของดินสอ ปากกาหรืออื่นๆ ด้วยการควบคุมน้ำหนักผ่อนหนักเบาในการ ขีด เขียน เกลี่ย ปาด ทับ ไขว้ และใช้รอยเหล่านี้สร้างน้ำหนักให้เกิดลักษณะผิวของธรรมชาติ หรือหุ่นที่ใช้ในการเขียน • การแรเงาจึงเป็นการสร้างความเข้มด้วยระยะต่างๆ ของรูปทรง • น้ำหนักที่ไล่เรียงจากอ่อนไปหาแก่อย่างสม่ำเสมอนี้ เรียกว่า (VALUE)ของสีหรือน้ำหนักที่ระบาย มีระยะอ่อน กลาง แก่
แสงและเงา เป็นองค์ประกอบของศิลป์ที่แยกออกจากกันไม่ได้แสงเมื่อตกกระทบกับวัตถุ จะทำให้เกิดเงา • ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสง ในที่ที่มีแสงสว่างมาก เงาจะเข้มขึ้นและในทางกลับกันที่ที่มีแสงสว่างน้อย เงาจะไม่ชัดเจน ในที่ที่ไม่มีแสงสว่าง • เงาจะอยู่ในทางตรงข้ามกับแสงเสมอ และมีรูปลักษณะเป็นไปตามลักษณะของวัตถุ
ความสำคัญของแสง-เงา 1. ให้ความแตกต่างระหว่างรูปและพื้น หรือรูปทรงกับที่ว่าง 2. ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว 3. ทำให้รูปร่าง ( 2 มิติ ) กลายเป็น รูปทรง 3 มิติ 4. ทำให้เกิดระยะความตื้น - ลึก และระยะใกล้ - ไกลของภาพ 5. ทำให้ภาพเกิดความกลมกลืนสวยงาม
ระยะของแสง-เงา • แสง-เงา หลัก มีอยู่ 3 ระดับ คือ อ่อน กลาง แก่ • แสง-เงา แบบละเอียด มี 9 ระดับ
สี (Color) สี หมายถึง ลักษณะความเข้มของ แสงในระดับต่างๆที่ตกกระทบเข้าสู่ สายตามนุษย์และสีมีอิทธิพลต่อ ความรู้สึกอารมณ์ และจิตใจ มากกว่าองค์ประกอบอื่นๆ
สีทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกสีทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก • เหลืองสว่าง สดใส • แดงร้อนแรง ตื่นเต้น เร้าใจ อันตราย • ชมพูอ่อนนุ่มนวล อ่อนโยน • เขียวสดชื่น ปลอดภัย เจริญเติบโต • น้ำเงินหนักแน่น สภาพ เงียบขรึม สงบ • ม่วงเยือกเย็น เศร้าโศก มีเสน่ห์ ลึกลับ • เทาสง่า ฉลาด สุขุม • น้ำตาลอบอุ่น แห้งแล้ง • ขาวสะอาด เรียบร้อย บริสุทธิ์ กว้าง • ดำเศร้าโศก หวาดกลัว เหงา
วรรณะร้อน (warm tone color) ได้แก่ สีเหลือง เหลืองส้ม ส้ม ส้มแดง แดง แดงม่วง ม่วง และยังรวมถึงสีที่ ชมพูที่สดใสสีน้ำตาลที่อบอุ่น แห้งแล้ง วรรณะเย็น (cool tone color) ได้แก่ สีเหลือง เหลืองเขียว เขียว น้ำเงินเขียว น้ำเงิน น้ำเงิน ม่วง ม่วง และยังรวมถึงสีที่สบายตา เช่น ขาว เทา ดำ
วงจรสีธรรมชาติ(color circle) มี 12สี ดังนี้
สีขั้นที่ 1 แม่สีวัตถุธาตุ
สีขั้นที่ 2 แม่สีวัตถุธาตุ
สีขั้นที่ 3 แม่สีวัตถุธาตุ
พื้นที่ว่าง(Space) • พื้นที่ว่าง คือ พื้นที่ว่างเปล่าของกระดาษ ผ้าใบ ผนัง ที่ยังไม่มีภาพหรือร่องรอยใด ๆ ปรากฏอยู่ หรืออากาศที่อยู่รอบ ๆ งานประติมากรรมหรือสถาปัตยกรรม • ในทางทัศนศิลป์ถ้ามีพื้นที่ว่างมาก จะให้ความรู้สึก โดดเดี่ยว อ้างว้าง • ในทางกลับกันถ้ามีพื้นที่ว่างน้อย จะให้ความรู้สึกแน่น อึดอัด • ชะลูด นิ่มเสมอ (2531) ได้กล่าวว่า Spaceหมายถึง สิ่งที่ขยายกว้างออกโดยไม่มีขอบเขต เป็นที่ซึ่งสิ่งทั้งปวงดำรงอยู่ ระยะห่างระหว่างรูปทรง ช่วงเวลา อวกาศ
พื้นที่ว่างโดยรอบวัตถุ เรียกว่า บริเวณว่างลบ (Negative Space) • พื้นที่ว่างในตัววัตถุ เรียกว่า บริเวณว่างบวก (Positive Space)
พื้นผิว(Texture) • พื้นผิว หมายถึง ลักษณะของบริเวณผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ ที่เมื่อสัมผัสแล้วสามารถรับรู้ได้ว่ามีลักษณะอย่างไร คือรู้ว่า หยาบ นุ่มลื่น มัน เรียบ เป็น • พื้นผิวหยาบจะให้ความรู้สึกหนักแน่น มั่นคง แข็งแรง ถาวร • ผิวเรียบ จะให้ความรู้สึกเบา สบาย • การผสมผสานลักษณะของพื้นผิวที่มีความขัดแย้งเอาไว้ด้วยกันในสัดส่วนที่พอเหมาะจะเกิดความสวยงามเช่น อาคารคอนกรีตมีลักษณะหยาบแต่ติดกระจกที่เรียบเงา
ลักษณะพื้นผิวมี 2 ประเภท 1. พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยมือหรือกายสัมผัส พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยมือหรือกายสัมผัส เป็นลักษณะพื้นผิวที่มีจริง ของผิวหน้าของวัสดุซึ่งสามารถสัมผัสได้จากงานประติมากรรม และงานสถาปัตยกรรม 2. พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยสายตา พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยสายตา แต่ไม่ใช่ลักษณะผิวที่แท้จริงของวัสดุ เช่น การวาดภาพลายเนื้อไม้ รอยยับของผ้า เป็นการสร้างพื้นผิวลวงตาให้สัมผัสได้ด้วยการมองเห็นเท่านั้น