340 likes | 471 Views
นโยบายการขยายโอกาสการทำงานแก่อาจารย์เกษียณอายุ ในสถาบันอุดมศึกษา : แนวโน้มในอนาคต. โดย นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอุดมศึกษา. บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวม. ตารางที่ 1 จำนวนบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา. บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวม.
E N D
นโยบายการขยายโอกาสการทำงานแก่อาจารย์เกษียณอายุ ในสถาบันอุดมศึกษา : แนวโน้มในอนาคต โดย นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอุดมศึกษา
บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวมบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวม ตารางที่ 1 จำนวนบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา
บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวมบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวม
โครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาโครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
โครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาโครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
อายุเฉลี่ยของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาอายุเฉลี่ยของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
จำนวนผู้เกษียณอายุราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2556 – 2560)
จำนวนผู้เกษียณอายุราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2556 – 2560)
โครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จำแนกตามประเภทสถาบันอุดมศึกษา
โครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จำแนกตามประเภทสถาบันอุดมศึกษา จากแผนภูมิดังกล่าวสรุปได้ดังนี้ • ช่วงอายุต่ำกว่า 24 ปี ไม่มีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา • ช่วงอายุ 25 – 29 ปี - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้มากที่สุด จำนวน 11 คน - สถาบันอุดมศึกษาของรัฐเท่ากับมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 4 คน - และสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้น้อยที่สุด จำนวน 1 คน • ช่วงอายุ 30 – 34 ปี - มหาวิทยาลัยราชภัฏมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้มากที่สุด จำนวน 80 คน - สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 73 คน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 72 คน ตามลำดับ - สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้น้อยที่สุด จำนวน 20 คน
โครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จำแนกตามประเภทสถาบันอุดมศึกษา • ช่วงอายุ 35 – 39 ปี - สถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้มากที่สุด จำนวน 1,895 คน - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 776 คน - สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ จำนวน 765 คน ตามลำดับ - ส่วนมหาวิทยาลัยราชภัฏมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้น้อยที่สุดจำนวน 630 คน • ช่วงอายุ 40 -44 ปี - สถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้มากที่สุด จำนวน 3,110 คน - สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ จำนวน 1,472 คน , มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 1,113 คน - ส่วนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้น้อยที่สุด จำนวน 919 คน
โครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จำแนกตามประเภทสถาบันอุดมศึกษา • ช่วงอายุ 45 – 49 ปี - สถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้ มากที่สุด จำนวน 3,742 คน - สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ จำนวน 1,615 คน - มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 946 - ส่วนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้น้อยที่สุด จำนวน 685 คน • ช่วงอายุ 50 – 54 ปี - สถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้มากที่สุด จำนวน 4,188 คน - สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ จำนวน 1,319 คน - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 1,179 คน - ส่วนมหาวิทยาลัยราชภัฏมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้น้อยที่สุด จำนวน 1,096 คน
โครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จำแนกตามประเภทสถาบันอุดมศึกษา • ช่วงอายุ 55 – 59 ปี - สถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้มากที่สุด จำนวน 3,136 คน - มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 957 คน - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 792 คน - ส่วนสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้น้อยที่สุด จำนวน 763 คน • ช่วงอายุ 60 – 65 ปี - สถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้มากที่สุด จำนวน 447 คน - มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 140 คน - สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ จำนวน 122 คน - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้น้อยที่สุด จำนวน 31 คน
โครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จำแนกตามตำแหน่งวิชาการ จำนวนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาจำแนกตามตำแหน่งวิชาการ
โครงสร้างอายุข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการโครงสร้างอายุข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ
โครงสร้างอายุข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการโครงสร้างอายุข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ • ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งอาจารย์ มีอายุเฉลี่ย 46.13 ปี โดยส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงอายุ 40 – 44 ปี จำนวน 2,100 คน ช่วงอายุ 35 – 39 ปี จำนวน 1,838 คน ช่วงอายุ 50 – 54 ปี จำนวน 1,373 คน ช่วงอายุ 45 – 49 ปี จำนวน 1,311 คน ช่วงอายุ 55 – 59 ปี จำนวน 955 คน ช่วงอายุ 30 – 34 ปี จำนวน 155 คน ช่วงอายุ 60 – 65 ปี จำนวน 36 คน และช่วงอายุ 25 – 29 ปี จำนวน 8 คน ตามลำดับ • ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ มีอายุเฉลี่ย 49.23 ปี โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 50 – 54 ปี จำนวน 1,884 คน ช่วงอายุ 55 – 59 ปี จำนวน 1,592 คน ช่วงอายุ 45 – 49 ปี จำนวน 1,516 คน ช่วงอายุ 40 – 44 ปี จำนวน 618 คน ช่วงอายุ 60 – 65 ปี จำนวน 67 คน ช่วงอายุ 35 – 39 ปี จำนวน 13 คน และช่วงอายุ 30 - 34 ปี จำนวน 1 คน ตามลำดับ ส่วนช่วงอายุ 25 – 29 ปีไม่มีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ • ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งรองศาสตราจารย์ มีอายุเฉลี่ย 53.36 ปี โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 55 – 59 ปี จำนวน 1,093 คน ช่วงอายุ 50 – 54 ปี จำนวน 956 คน ช่วงอายุ 45 – 49 ปี จำนวน 610 คน ช่วงอายุ 60 – 65 ปี จำนวน 524 คน ช่วงอายุ 40 – 44 ปี จำนวน 441 คน ช่วงอายุ 35 – 39 ปี จำนวน 99 คน ช่วงอายุ 30 - 34 ปี จำนวน 1 คน ตามลำดับ ส่วนช่วงอายุ 25 – 29 ปีไม่มีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งรองศาสตราจารย์ • ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งศาสตราจารย์ มีอายุเฉลี่ย 56.10 ปี โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 55 – 59 ปี จำนวน 120 คน ช่วงอายุ 50 – 54 ปี จำนวน 114 คน ช่วงอายุ 40 – 44 ปี จำนวน 89 คน ช่วงอายุ 45 – 49 ปี จำนวน 85 คน ช่วงอายุ 60 – 65 ปี จำนวน 54 คน ช่วงอายุ 35 – 39 ปี จำนวน 28 คน ตามลำดับ ส่วนช่วงอายุ 25 – 29 ปี และช่วงอายุ 30 – 34 ปี ไม่มีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งศาสตราจารย์
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาจำแนกตามสายงานข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาจำแนกตามสายงาน
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาจำแนกตามสายงานข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาจำแนกตามสายงาน
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาจำแนกตามสายงานข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาจำแนกตามสายงาน จากแผนภูมิดังกล่าวสรุปได้ดังนี้ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ จำนวน 19,228 คน โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 50 – 54 ปี จำนวน 4,349 คน ช่วงอายุ 40 – 44 ปี จำนวน 4,116 คน ช่วงอายุ 55 – 59 ปี จำนวน 3,754 คน ช่วงอายุ 45 – 49 ปี จำนวน 3,537 คน ช่วงอายุ 35 – 39 ปี จำนวน 2,589 คน ช่วงอายุ 60 – 65 ปี จำนวน 684 คน ช่วงอายุ 30 – 34 ปี จำนวน 185 คน ตามลำดับ ส่วนช่วงอายุที่มีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการน้อยที่สุด คือช่วงอายุ 25 – 29 ปี จำนวน 14 คน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน จำนวน 12,875 คน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 45 – 49 ปี จำนวน 3,451 คน ช่วงอายุ 50 -54 ปี จำนวน 3,433 คน ช่วงอายุ 40 – 44 ปี จำนวน 2,498 คน ช่วงอายุ 55 – 59 ปี จำนวน 1,894 คน ช่วงอายุ 35 – 39 ปี จำนวน 1,477 คน ช่วงอายุ 30 – 34 ปี จำนวน 60 คน ช่วงอายุ 60 – 65 ปี จำนวน 56 คน ตามลำดับ ส่วนช่วงอายุที่มีข้าราชการพลเรือนสายสนับสนุนน้อยที่สุด คือช่วงอายุ 25 – 29 ปี จำนวน 6 คน
นโยบายการขยายโอกาสการทำงานแก่อาจารย์เกษียณอายุในสถาบันอุดมศึกษานโยบายการขยายโอกาสการทำงานแก่อาจารย์เกษียณอายุในสถาบันอุดมศึกษา ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2550
ที่มา : มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้บัญญัติให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป เมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในสิ้นปีงบประมาณ อาจให้รับราชการเพื่อทำหน้าที่สอนหรือวิจัยต่อไปได้จนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ ซึ่ง ก.พ.อ. ได้ออกหลักเกณฑ์ในการขยายเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อขยายเวลาราชการกับข้าราชการที่เกษียณอายุราชการตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป และเมื่อนำไปปฏิบัติแล้ว เกิดปัญหาเกี่ยวกับผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการพิจารณาต่อเวลาราชการ ว่าจะใช้จำนวนทั้งหมดเท่าไร ก.พ.อ. จึงออกหลักเกณฑ์ในการขยายเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ ๒๕๔๙ เพื่อขยายเวลาราชการกับข้าราชการที่เกษียณอายุราชการตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ เป็นต้นไป และเมื่อนำไปปฏิบัติแล้วยังพบปัญหาเกี่ยวกับความเข้าใจผิดว่าการขยายเวลาราชการเป็นสิทธิของผู้ที่เกษียณอายุราชการ รวมทั้งประเภทของผลงานที่ใช้ประกอบการขยายเวลาราชการ มีน้อยไม่ครอบคลุมผลงานทุกประเภทที่คณาจารย์ทำ ก.พ.อ. จึงออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2550 ข้อ 5 ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ที่ได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการ ต้องมีคุณสมบัติ • ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ หรือ รองศาสตราจารย์ อยู่ก่อนหรือ ณ วันที่ 31 มีนาคม ของปีที่เกษียณอายุราชการ หากดำรงตำแหน่งหลังจากนี้ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณารับเข้าปฏิบัติงานต่อในแนวทางอื่นๆ • เป็นผู้เกษียณอายุราชการตาม พรบ.บำเหน็จ บำนาญ ข้าราชการ พ.ศ. 2494 และฉ.แก้ไขเพิ่มเติม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไป • เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ผ่านการตรวจสุขภาพโดยมีใบรับรองแพทย์จากสถาบันของรัฐรับรองและรับรองไว้ไม่เกิน 1 ปี • ทำหน้าที่สอนหรือวิจัย • มีภาระงานและมีผลงานวิชาการย้อนหลัง 3 ปี จนถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีที่เกษียณอายุราชการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2550 (ก) ตำแหน่งศาสตราจารย์ (ก ๑) ปฏิบัติตามมาตรฐานภาระงานขั้นต่ำในฐานะอาจารย์ผู้สอนในสถาบัน อุดมศึกษา ตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด และ (ก ๒) มีผลงานทางวิชาการ ดังต่อไปนี้ (ก ๒.๑) ตำราที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๑ เล่ม หรือ (ก ๒.๒) หนังสือที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๑ เล่ม หรือ (ก ๒.๓) งานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๑ เรื่อง หรือ (ก ๒.๔) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่ได้รับการเผยแพร่เฉลี่ยปีละ ๑ รายการ หรือ (ก ๒.๕) บทความทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๓ เรื่อง การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนดกรณีที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ไม่ครบ ๓ ปี ก่อนเกษียณอายุราชการ ให้ใช้ผลงาน ทางวิชาการที่เคยเสนอกำหนดตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์มานับรวมได้ (ข) ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ (ข ๑) ปฏิบัติตามมาตรฐานภาระงานขั้นต่ำในฐานะอาจารย์ผู้สอนในสถาบัน อุดมศึกษา ตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด และ (ข ๒) มีผลงานทางวิชาการ ดังต่อไปนี้ (ข ๒.๑) ตำราที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๑ เล่ม หรือ
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2550 (ข ๒.๒) หนังสือที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๑ เล่ม หรือ (ข ๒.๓) งานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๑ เรื่อง หรือ (ข ๒.๔) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่ได้รับการเผยแพร่เฉลี่ยปีละ ๑ รายการ หรือ (ข ๒.๕) บทความทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๒ เรื่อง การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด กรณีที่ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ไม่ครบ ๓ ปี ก่อนเกษียณอายุราชการ ให้ใช้ผลงาน ทางวิชาการที่เคยเสนอกำหนดตำแหน่งเป็นรองศาสตราจารย์มานับรวมได้
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2550 ข้อ ๖การพิจารณาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้ต่อเวลาราชการ (๑) สถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดจำนวนและตัวบุคคลของคณาจารย์ที่จะเกษียณอายุราชการ และจะให้ปฏิบัติงานต่อด้วยแนวทางต่างๆ รวมทั้งแนวทางการต่อเวลาราชการ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขฉบับนี้ ทั้งนี้เฉพาะในสาขาวิชาที่ได้วิเคราะห์แล้วว่ามีความขาดแคลนและจำเป็นต้องรักษาคณาจารย์ให้ปฏิบัติงานต่อภายหลังเกษียณอายุราชการเท่านั้น (๒) สถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษา พิจารณาดำเนินการอนุมัติต่อเวลาราชการแก่คณาจารย์ที่ผ่านการพิจารณาในข้อ ๖ (๑) ซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ข้อ ๕ และต้องได้รับคำยินยอมจากผู้นั้นด้วย ทั้งนี้ ให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการให้ต่อเวลาราชการให้แล้วเสร็จก่อนที่ข้าราชการผู้นั้นจะเกษียณอายุราชการไม่น้อยกว่า ๖ เดือน
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2550 ข้อ ๘ ข้าราชการที่ได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการ ให้รับราชการต่อไปได้จนถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ ข้อ ๙ ข้าราชการที่ได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการ และได้รับคำสั่งให้รับราชการ ต่อไป ต้องปฏิบัติหน้าที่เฉพาะการสอนหรือวิจัยเท่านั้น ไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการบริหารได้ ในกรณีที่ภาระงานใดอาจถือว่าเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนหรือวิจัย หรือไม่นั้น ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสภาสถาบันอุดมศึกษา
การปรับปรุงประกาศ ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ... ความเห็นของ อ.ก.พ.อ. ระบบฯ และ อ.ก.พ.อ. กฎหมายฯ ของร่างประกาศ ก.พ.อ.ฯ รวมทั้งข้อสังเกตของที่ประชุม ก.พ.อ. ใน ๕ ประเด็น ดังต่อไปนี้
การปรับปรุงประกาศ (ร่าง) ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ... ประเด็นที่ ๑ เรื่องระยะเวลาการดำเนินการต่อเวลาราชการได้จนถึง วันสิ้นปีงบประมาณ ประเด็นที่ ๒ เรื่องคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ที่ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ประเด็นที่ ๓ เรื่องการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ประเด็นที่ ๔ เรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานหลังได้รับการต่อเวลาราชการ ประเด็นที่ ๕ การดำรงตำแหน่งและการปฏิบัติหน้าที่หลังจากที่ได้รับการต่อ เวลาราชการแล้ว
(ร่าง) ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ... ข้อ ๖ ข้าราชการที่จะได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ หรือรองศาสตราจารย์ ซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาเอก หรือเทียบเท่าภายในวันสิ้นปีงบประมาณของปีที่เกษียณอายุราชการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ซึ่งได้ยื่นคำขอดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ไว้แล้วก่อนยื่นคำขอต่อเวลาราชการ ก็ให้มีสิทธิยื่นได้ แต่สถาบันอุดมศึกษาจะต่อเวลาราชการให้บุคคลนั้นได้ก็ต่อเมื่อประกาศแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์นั้นได้ก่อนสิ้นปีงบประมาณที่เกษียณอายุราชการ (๒) เป็นผู้เกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘เป็นต้นไป (๓) คุณสมบัติอื่นที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด (๔) มีภาระงานและมีผลงานทางวิชาการย้อนหลัง ๓ ปี จนถึงวันสิ้นปีงบประมาณของ ปีที่เกษียณอายุราชการ ดังนี้
(ร่าง) ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ... (ก) ปฏิบัติงานตามมาตรฐานภาระงานขั้นต่ำในฐานะอาจารย์ผู้สอนใน สถาบันอุดมศึกษา ตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด และ (ข) มีผลงานทางวิชาการ อันได้แก่ ตำรา หนังสือ งานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ในลักษณะอื่น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเฉลี่ยปีละหนึ่งเล่มหรือรายการ หรือบทความทางวิชาการ เฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่าสามเรื่อง ทั้งนี้เฉพาะที่ได้รับการเผยแพร่และมีคุณภาพตามหลักเกณฑ์ ที่ ก.พ.อ.กำหนด ในกรณีที่ผู้ขอต่อเวลาราชการดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ให้ลดบทความ ทางวิชาการเหลือเฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่าสองเรื่อง ในกรณีที่ผู้ขอต่อเวลาราชการดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์หรือรองศาสตราจารย์ ไม่ครบสามปี ให้นำผลงานทางวิชาการในขณะดำรงตำแหน่งก่อนหน้านั้นมานับรวมได้
(ร่าง) ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ... ข้อ ๗ ข้าราชการผู้ใดประสงค์จะขอต่อเวลาราชการ ให้ยื่นคำขอตามวิธีการ แบบ และภายในระยะเวลาที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ข้อ ๘ ในการพิจารณาต่อเวลาราชการให้แก่ข้าราชการ ให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ให้สถาบันอุดมศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการต่อเวลาราชการ ให้แก่ข้าราชการคณะหนึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นประธาน อธิการบดี เป็นรองประธาน และกรรมการอื่นตามจำนวนที่สภาสถาบันอุดมศึกษาเห็นสมควร (๒) ให้คณะกรรมการตาม (๑) พิจารณาคำขอต่อเวลาราชการ และเสนอแนะ ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาว่าจะสมควรอนุมัติต่อเวลาราชการให้ผู้ใดหรือไม่ (๓) ให้สถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการ ต่อเวลาราชการให้แก่ข้าราการให้แล้วเสร็จก่อนสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการนั้นจะเกษียณอายุ การอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ต่อเวลาราชการของสภาสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นที่สุด
(ร่าง) ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ... ข้อ ๙ ให้สถาบันอุดมศึกษาประเมินผลการปฏิบัติงานข้าราชการที่ได้รับการต่อเวลาราชการเป็นรายปีตามมาตรฐานภาระงานทางวิชาการที่ ก.พ.อ. กำหนด ในกรณีที่ข้าราชการดังกล่าวไม่ผ่านการประเมินในปีใด ให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ เพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๕๗ ข้อ ๑๐ ข้าราชการที่ได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการ ให้รับราชการต่อไปได้จนถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์
(ร่าง) ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ... ข้อ ๑๑ ข้าราชการที่ได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการ และได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ต้องปฏิบัติหน้าที่เฉพาะการสอนหรือวิจัยเท่านั้น จะดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ตามมาตรา ๑๘(ข) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และงานบริหารอื่นที่ ก.พ.อ. กำหนดมิได้