1 / 23

นางสาวสยาม ไชยทิพย์ กลุ่มวางแผนการใช้ที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 4

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรดิน และสภาพการใช้ที่ดิน ในเขตการใช้ที่ดินพื้นที่พรุ จังหวัดนราธิวาส. นางสาวสยาม ไชยทิพย์ กลุ่มวางแผนการใช้ที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 4. พื้นที่พรุ.

adli
Download Presentation

นางสาวสยาม ไชยทิพย์ กลุ่มวางแผนการใช้ที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 4

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรดินและสภาพการใช้ที่ดินในเขตการใช้ที่ดินพื้นที่พรุ จังหวัดนราธิวาส นางสาวสยาม ไชยทิพย์กลุ่มวางแผนการใช้ที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 4

  2. พื้นที่พรุ • พื้นที่ราบลุ่มที่มีน้ำแช่ขังอยู่เกือบตลอดเวลาและมีลักษณะเป็นดินหยุ่น เกิดจากการงอกของชายฝั่งทะเล ทำให้เกิดแอ่งระหว่างสันทราย ในแอ่งนี้จะมีน้ำทะเลขังอยู่ หรือมีทางออกสู่ทะเล ต่อมาเมื่อมีตะกอนดินมาทับถมอยู่เรื่อยๆ ส่วนที่ตื้นเขินก็เริ่มมีป่าชายเลนเกิดขึ้น เมื่อทางออกทะเลดังกล่าวเกิดมีสันทรายมาปิดกั้น น้ำทะเลไม่อาจไหลเข้าได้อีก ป่าชายเลนจึงค่อยๆ ตาย น้ำเค็มเริ่มแปรสภาพเป็นน้ำกร่อยและต่อมากลายเป็นน้ำจืด เนื่องจากมีน้ำฝนตกลงมาและน้ำที่ไหลมาจากลำน้ำ ทำให้ความเค็มค่อยๆเจือจางลง ต่อมามีพืชพรรณเกิดขึ้นแล้วตายลงก็เน่าเปื่อยสลายตัวผุพังทับถมกัน และแปรสภาพเป็นดินอินทรีย์หรือดินพีท

  3. ขั้นตอนการเกิดพรุบาเจาะขั้นตอนการเกิดพรุบาเจาะ ขั้นตอนการเกิดพรุโต๊ะแดง

  4. เขตการใช้ที่ดินในพื้นที่พรุเขตการใช้ที่ดินในพื้นที่พรุ พื้นที่พรุ จังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่รวมกันประมาณ 261,860 ไร่ • พื้นที่พรุบาเจาะประมาณ 52,736 ไร่ • และพรุโต๊ะแดง(รวมพื้นที่พรุเล็กพรุน้อย ได้แก่พรุกาบแดง พรุสะปอมและพรุปิเหล็ง) มีเนื้อที่ประมาณ 209,124 ไร่

  5. แบ่งเขตการใช้ที่ดินออกเป็น 3 เขต ได้แก่ • เขตพัฒนา มีเนื้อที่ประมาณ 95,015 ไร่ • เขตอนุรักษ์ มีเนื้อที่ประมาณ 109,938 ไร่ • และเขตสงวน มีเนื้อที่ประมาณ 56,907 ไร่

  6. การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรดินและสภาพการใช้ที่ดินในพื้นที่พรุ จังหวัดนราธิวาส ขอบเขตการใช้ที่ดินในพื้นที่พรุ ซ้อนทับกับแผนที่ดินสองช่วงเวลา และแผนที่สภาพการใช้ที่ดินสามช่วงเวลา • แผนที่ดินที่ได้ทำการสำรวจใน ปี 2527 กับแผนที่ดินจังหวัดนราธิวาสปรับปรุงใหม่ในปี 2542 โดยกองสำรวจและจำแนกดิน • แผนที่สภาพการใช้ที่ดิน ปี 2528 ปี 2545 และปี 2550

  7. วัตถุประสงค์ • 1. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรดินและสภาพการใช้ที่ดินในเขตการใช้ที่ดินพื้นที่พรุ จังหวัดนราธิวาส • 2.เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรดินที่มีการใช้ที่ดินเปลี่ยนแปลงไป ในเขตการใช้ที่ดินพื้นที่พรุ • 3 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงเขตการใช้ที่ดินพื้นที่พรุ

  8. ผลการศึกษา • 1.การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรดินเขตการใช้ที่ดินในพื้นที่พรุ (1) ดินที่ลุ่มที่เป็นดินเปรี้ยวจัดระดับตื้น ได้แก่ ดิน Cyi&Mu, Cyi, Cyi-Oi, Mu และ Tkt มีแนวโน้มลดลง จากปี 2527 มีเนื้อที่ 41,035 ไร่ และปี 2542 มีเนื้อที่ 37,853 ไร่ พื้นที่ลดลง 3,182 ไร่ (2) ดินที่ลุ่มที่เป็นดินเปรี้ยวจัดระดับลึกปานกลาง ได้แก่ ดิน Pil, Pti, Ra, Ra-Oi, Ts, Ts-Oi ,Ra&Mu และ Tan มีแนวโน้มลดลง จากปี 2527 มีเนื้อที่ 36,476ไร่ และปี 2542 มีเนื้อที่ 28,949 ไร่ พื้นที่ลดลง 7,527 ไร่ (3) กลุ่มดินอินทรีย์หนาปานกลาง Kd, Nw-bs และ Nw-mtkp มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปี 2527 มีเนื้อที่ 35,663 ไร่ และปี 2542 มีเนื้อที่ 54,980 ไร่ มีพื้นที่เพิ่มขึ้น 19,317 ไร่

  9. 1.การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรดินเขตการใช้ที่ดินในพื้นที่พรุ(ต่อ)1.การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรดินเขตการใช้ที่ดินในพื้นที่พรุ(ต่อ) • (4) กลุ่มดินอินทรีย์หนาถึงหนามาก ได้แก่ดิน Nw มีแนวโน้มลดลง จากปี 2527 มีเนื้อที่ 131,735 ไร่ และปี 2542 มีเนื้อที่ 113,286 ไร่ พื้นที่ลดลง 18,449 ไร่ • (5) กลุ่มดินที่ลุ่มที่เป็นดินทรายแป้งและเป็นกรดจัดมาก ได้แก่ดิน Ta มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปี 2527 มีเนื้อที่ 2,305 ไร่ และปี 2542 มีเนื้อที่ 5,886 ไร่ มีพื้นที่เพิ่มขึ้น 3,581 ไร่ • (6) กลุ่มชุดดินในที่ลุ่มที่เป็นดินทราย ได้แก่ ดิน Dt-pd และ Bh-pd มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย จากปี 2527 มีเนื้อที่ 3,536ไร่ และปี 2542 มีเนื้อที่ 3,458ไร่

  10. 1.การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรดินเขตการใช้ที่ดินในพื้นที่พรุ(ต่อ)1.การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรดินเขตการใช้ที่ดินในพื้นที่พรุ(ต่อ) • (7) กลุ่มชุดดินในที่ลุ่มที่เป็นดินร่วนและดินเหนียว ได้แก่ ดิน Ba&Tsl,Cb, Tsl, Ko และ Sng มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย จากปี 2527 มีเนื้อที่ 817 ไร่ และปี 2542 มีเนื้อที่ 604 ไร่ • (8) กลุ่มดินที่ดอน ได้แก่ดิน Bc, Bh, Bu, Chl, Dt, Knk, Ro-mw, Tg และYg มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปี 2527 มีเนื้อที่ 8,507 ไร่ และปี 2542 มีเนื้อที่ 12,087 ไร่ มีพื้นที่เพิ่มขึ้น 3,580 ไร่ • (9) พื้นที่เบ็ดเตล็ด ได้แก่ AP(สนามบิน), SC, U, W มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปี 2527 มีเนื้อที่ 1,786 ไร่ และปี 2542 มีเนื้อที่ 4,757 ไร่ มีพื้นที่เพิ่มขึ้น 2,971 ไร่

  11. เมื่อนำข้อมูลมาซ้อนทับกับข้อมูลเขตการใช้ที่ดิน สามารถสรุปการเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้ • (1) กลุ่มดินอินทรีย์หนาถึงหนามากในพื้นที่เขตอนุรักษ์และเขตสงวนลดลง 18,449 ไร่ • (2) กลุ่มดินอินทรีย์หนาปานกลางในพื้นที่เขตอนุรักษ์และเขตสงวนเพิ่มขึ้น 19,317 ไร่ • (3) กลุ่มชุดดินอื่นๆ ในพื้นที่ลุ่ม มีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลง

  12. สาเหตุที่ทำให้ความหนาของชั้นวัสดุดินอินทรีย์บางลง • (1) การระบายน้ำในพื้นที่พรุมีมากเกินไป ทำให้วัสดุดินอินทรีย์เกิดการสูญเสียน้ำ แห้งและยุบตัว สมบัติของวัสดุดินอินทรีย์นี้ เมื่อมีการสูญเสียน้ำไปแล้ว ไม่สามารถดูดซับน้ำได้เท่ากับก่อนสูญเสียน้ำ แสดงว่า เมื่อวัสดุดินอินทรีย์เกิดการยุบตัวแล้ว ไม่สามารถขยายหรือขยายตัวได้มาก • (2) วัสดุดินอินทรีย์ที่แห้ง มีสมบัติที่ติดไฟได้ง่าย ดับยากและครุกรุ่นในชั้นดินล่าง • (3) วัสดุดินอินทรีย์ที่แห้งและไม่มีน้ำขังจะเกิดการย่อยสลายผุพังตามธรรมชาติเร็วกว่าดินอินทรีย์ที่อยู่สภาพน้ำขังจากกิจกรรมของจุลินทรีย์และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดิน

  13. 2.การใช้ที่ดินในเขตการใช้ที่ดินพื้นที่พรุ จังหวัดนราธิวาส • เปรียบเทียบแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน ปี 2528 ปี 2545 และปี 2550 • การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเขตการใช้ที่ดินในพื้นที่พรุ จังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่ปี 2528 ถึงปี 2550 (ช่วงระยะเวลารวม 22 ปี) • (1) มีการใช้ที่ดินเพื่อทำการเกษตรเพิ่มขึ้น จากปี 2528 มีเนื้อที่ 23,658 ไร่ ปี 2543 มีเนื้อที่ 35,421 ไร่ และปี 2550 มีเนื้อที่ 55,754 ไร่ แสดงให้เห็นว่ามีพื้นที่เกษตรกรรมเพิ่มขึ้น • (2) พื้นที่ป่าไม้ลดลง จากปี 2543 มีเนื้อที่ 188,892 ไร่ และปี 2550 มีเนื้อที่ 128,578 ไร่ • (3) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่แหล่งน้ำ บ่อขุดและเหมืองแร่เพิ่มขึ้น จากปี 2528 มีเนื้อที่ 5,414 ไร่ ปี 2543 มีเนื้อที่ 6,157 ไร่ และปี 2550 มีเนื้อที่ 7,693 ไร่

  14. ตั้งแต่ปี 2528 ถึงปี 2543 (ช่วงระยะเวลา 15 ปี) หลังจากมีการขุดคลองระบายน้ำและควบคุมน้ำในพื้นที่พรุ พบว่า • - มีการใช้ที่ดินเพื่อทำการเกษตร และสร้างพื้นที่แหล่งน้ำเพิ่มขึ้น • - เกิดพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมขึ้น • เมื่อทำการศึกษาข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน ปี 2550 เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินต่อไป พบว่า • - พื้นที่ทำการเกษตรยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการปลูกพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ยางพารา มะพร้าว และปาล์มน้ำมัน • - พื้นที่ป่าไม้มีการเปลี่ยนแปลง จากป่าสมบูรณ์กลายสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมเพิ่มขึ้น • - พื้นที่ทุ่งหญ้าธรรมชาติและที่ลุ่ม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

  15. 3.การใช้ที่ดินในแต่ละประเภทของกลุ่มทรัพยากรดิน เขตการใช้ที่ดินในพื้นที่พรุ จังหวัดนราธิวาส • เมื่อทำการศึกษาข้อมูลที่ได้จากการซ้อนทับข้อมูลการใช้ที่ดิน กับข้อมูลทรัพยากรดิน พบว่า • -มีแนวโน้มการใช้ที่ดินเพื่อทำการเกษตร บนพื้นที่ที่เป็นกลุ่มดินอินทรีย์หนามาก เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการปลูกพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ยางพารา มะพร้าว และปาล์มน้ำมัน • - พื้นที่กลุ่มดินอินทรีย์หนามาก มีแนวโน้มลดลง สอดคล้องกับการใช้ที่ดิน ที่มีการทำการเกษตรเพิ่มขึ้นและพื้นที่ป่าพรุสมบูรณ์ลดลง

  16. 4.สภาพการใช้ที่ดินกับกลุ่มทรัพยากรดินประเภทต่างๆ เขตการใช้ที่ดินในพื้นที่พรุจังหวัดนราธิวาส 1) ในเขตอนุรักษ์และเขตสงวนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นของกลุ่มดินอินทรีย์หนาปานกลาง • 2) ในเขตอนุรักษ์และเขตสงวนมีแนวโน้มลดลงของกลุ่มดินอินทรีย์หนามาก สอด คล้องกับการใช้ที่ดินที่มีการทำการเกษตรเพิ่มขึ้นและพื้นที่ป่าพรุสมบูรณ์ลดลง • 3) พื้นที่ทำการเกษตร บนกลุ่มทรัพยากรดินเปรี้ยวจัดและดินอินทรีย์หนาปานกลางถึงหนามากมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น • 4) พื้นที่ป่าไม้มีแนวโน้มลดลง ทั้งในพื้นที่กลุ่มทรัพยากรดินเปรี้ยวจัดและดินอินทรีย์หนาปานกลางถึงหนามาก • 5) พื้นที่ลุ่มและทุ่งหญ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น • 6) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่แหล่งน้ำ บ่อขุดและเหมืองแร่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

  17. 5. แนวทางในการปรับปรุงเขตการใช้ที่ดินในพื้นที่พรุ • การกำหนดเขตการใช้ที่ดิน เพื่อป้องกันปัญหาจากผลกระทบการใช้ที่ดินในพื้นที่พรุ แบ่งออกเป็น 3 เขต ได้แก่ เขตสงวน เขตอนุรักษ์ และเขตพัฒนา โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ • -เขตพัฒนา เป็นเขตที่มีการชักน้ำออกและถูกหักล้างถางพง เพื่อใช้เป็นที่ทำกินของราษฎร • -เขตอนุรักษ์ เป็นเขตที่พืชพรรณธรรมชาติถูกทำลายไปมากแล้ว แต่ยังไม่มีโครงการพัฒนาเพื่อทำกิน แต่ควรให้ความสำคัญต่อการฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ เพื่อให้ป่าไม้กลับสู่สภาพเดิม และเป็นแนวกันชนระหว่างเขตพัฒนาและเขตสงวน • -เขตสงวน ต้องเป็นบริเวณป่าที่มีสภาพสมบูรณ์ หรือถูกรบกวนน้อยที่สุด ดินที่พบทั้งหมดจะต้องเป็นดินอินทรีย์ที่มี เขตนี้จะต้องมีการสงวนไว้อย่างเข้มงวด เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ในพื้นที่พรุให้มากที่สุด

  18. 5. แนวทางในการปรับปรุงเขตการใช้ที่ดินในพื้นที่พรุ(ต่อ) • เพื่อให้การแบ่งเขตการใช้ที่ดินพื้นที่พรุ ถูกต้องตามสภาพพื้นที่จริงในปัจจุบัน สามารถนำผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในทรัพยากรดินประเภทต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลง ไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงเขตการใช้ที่ดินได้ โดยการวิเคราะห์ภาพรวมการใช้ที่ดิน ในดินประเภทต่างๆ จากอดีตจนถึงปัจจุบันสรุปได้ดังนี้ • 1) เขตพัฒนามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยล้ำเข้าในเขตอนุรักษ์ เพราะมีพื้นที่การพัฒนาแหล่งน้ำเพิ่มขึ้น มีการใช้ที่ดินเพื่อทำการเกษตรเพิ่มขึ้น • 2) เขตอนุรักษ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยล้ำเข้าในเขตเขตสงวน เพราะพื้นที่ป่าสมบูรณ์ลดลง มีพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเพิ่มมากขึ้น เนื้อที่ของดินอินทรีย์ที่มีชั้นวัสดุอินทรีย์หนาปานกลางเพิ่มขึ้น เนื้อที่ของดินอินทรีย์ที่มีชั้นวัสดุอินทรีย์หนาถึงหนามากลดลง • 3) เขตสงวนมีแนวโน้มลดลง เพราะมีการใช้ที่ดินเพื่อทำการเกษตรล้ำเข้าไปในเขตเพิ่มขึ้น พื้นที่ป่าสมบูรณ์ลดลง มีพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเพิ่มมากขึ้น เนื้อที่ของดินอินทรีย์ที่มีชั้นวัสดุอินทรีย์หนาถึงหนามากลดลง

  19. วิจารณ์ • เมื่อมีโครงการพัฒนาพื้นที่หรือจัดสรรที่ดินทำกิน แล้วขาดความรู้ความเข้าใจหรือความรู้ทางด้านวิชาการสำหรับนำมาใช้ในการจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม จะก่อให้เกิดผลกระทบมากมายที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่เสื่อมโทรม สมดุลธรรมชาติเสียไป • กรมพัฒนาที่ดินมีข้อมูลแผนที่ทรัพยากรดินและสภาพการใช้ที่ดิน ซึ่งได้ดำเนินการและจัดทำไว้ทั้งในรูปแบบเอกสารวิชาการ ข้อมูลแผนที่ หรือฐานข้อมูลในรูปดิจิตอล นักวิชาการหรือผู้ที่สนใจสามารถนำไปศึกษา วิเคราะห์พื้นที่ เพื่อทำความเข้าใจในลักษณะเฉพาะของพื้นที่นั้นๆ เพื่อหาแนวทางการจัดการให้กับพื้นที่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะลดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติลงได้ ยังประโยชน์ให้กับองค์กรและประชาชน อีกทั้งตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้มีการบูรณาการ การใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและคุ้มค่า

  20. Thank

More Related