E N D
การค้ามนุษย์ หมายถึง • การค้ามนุษย์ หมายถึง การจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่อาศัย หรือการรับไว้ซึ่งบุคคลด้วยวิธีการขู่เข็ญ หรือด้วยการใช้กำลัง หรือด้วยการบีบบังคับในรูปแบบอื่นใด ด้วยการลักพาตัว ด้วยการฉ้อโกง ด้วยการหลอกลวง ด้วยการใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือด้วยการใช้สถานะความเสี่ยงภัยจากการค้ามนุษย์โดยมิชอบ หรือมีการให้ หรือรับเงินหรือผลประโยชน์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจควบคุมบุคคล
องค์ประกอบสำคัญของการค้ามนุษย์องค์ประกอบสำคัญของการค้ามนุษย์ การกระทำ ได้แก่ เป็นธุระจัดหา ล่อไป ชักพาไป ซื้อ ขาย จำหน่าย นำเข้า พามาจาก ส่งออกไป รับไว้ หน่วงเหนี่ยวกักขัง ซ่อนเร้น- วิธีการ ได้แก่ การใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กำลัง บีบบังคับ ลักพาตัว หลอกลวง ฉ้อโกง ใช้อำนาจโดยมิชอบ ใช้สถานะความเสี่ยงภัยจากการค้ามนุษย์โดยมิชอบ ให้หรือรับเงินหรือผลประโยชน์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจควบคุมบุคคลอื่น อุบาย หลอกลวง บังคับ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม ขู่เข็ญ ใช้กำลัง ประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำ ผิดคลองธรรม ข่มขืนใจ- วัตถุประสงค์ คือ เพื่อแสวงประโยชน์โดยมิชอบ ได้แก่ บังคับค้าประเวณีแสวงประโยชน์ทางเพศในรูปแบบต่างๆ การบังคับใช้แรงงานหรือให้บริการ การเอาคนลงเป็นทาสหรือเป็นทาส การทำให้ตกอยู่ใต้บังคับ
สิ่งบ่งชี้บางประการว่าอาจเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ไม่มีเอกสารหลักฐานแสดงตน หรือเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่มีเอกสารหนังสือเดินทาง- ทำงานเกินกว่าชั่วโมงการทำงานตามปกติมาก- ไม่ได้รับเงินค่าจ้างหรือได้รับแต่ไม่เหมาะสมกับปริมาณงาน- อาศัยรวมกันเป็นจำนวนมากในสถานที่คับแคบและแออัด- พักอาศัยอยู่กับนายจ้าง-มีรอยบาดแผล เช่น รอยถูกของมีคมบาดบริเวณใบหน้า มีร่องรอยถูกน้ำร้อนลวก หรือไฟไหม้ที่สามารถสังเกตเห็นได้- ไม่มีการตรวจรักษาแม้จะเจ็บไข้ได้ป่วย มีแผลติดเชื้อ หรือเป็นโรคติดต่ออันเนื่องมาจากการมีเพศสัมพันธ์สภาพร่างกายทรุดโทรม ปรากฏร่องรอยของการขาดการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายเช่น เป็นหิด กลากเกลื้อน หรือโรคผิวหนัง- ยอมทำตามคำสั่งผู้อื่นโดยง่ายหรือแสดงอาการหวาดผวาเมื่ออยู่ต่อหน้าบุคคล เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี แต่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้าประเวณีเตร็ดเตร่อยู่ตามแหล่งบันเทิง สำหรับผู้ใหญ่
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์ • พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539- พระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2550- พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546- พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522- พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับ 2) พ.ศ.2523- บันทึกข้อตกลง เรื่อง แนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันออก พ.ศ.2550 (ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา
ที่มา สาเหตุ ของการค้ามนุษย์ ปัจจัยผลัก- พบว่าปัญหาสำคัญเกิดจากความไม่มั่นคงทางการเมืองของประเทศต้นทาง - การขาดสิทธิทางพลเมือง เช่น การไม่มีสัญชาติ ขาดการศึกษา ขาดการเหลียวแลจากรัฐ - ความยากจน ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ- ไม่มีงานทำ- กระแสค่านิยมจากลัทธิบริโภคนิยม- กระแสความต้องการเป็นคนทันสมัยเป็นที่ยอมรับในสังคม- วัฒนธรรมและความเชื่อในสังคมที่ผิดๆ โดยเฉพาะเรื่องความเป็นชาย ความเป็นหญิง
ปัจจัยดึง- สภาพที่ดีกว่าของประเทศปลายทางที่มีสถานะรับ ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม- ความต้องการแรงงานราคาถูก แรงงานประมง แรงงานบ้าน แรงงานชั้นล่างในประเทศ ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยดึงดูดให้มีการอพยพย้ายถิ่นของผู้คนจากประเทศที่ต้องการแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าเข้า มาหาโอกาสในประเทศที่ดีกว่า โดยเฉพาะกรณีที่ประเทศปลายทางมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวหรือนโยบายด้านแรงงาน โดยไม่ได้คิดถึงการป้องกันผลกระทบทางลบต่อกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและมีความเสี่ยงสูงต่อการตกเป็นเหยื่อของขบวน การค้ามนุษย์ ซึ่งมักพบการเติบโตทางธุรกิจลักลอบขนคนเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายธุรกิจบริการทางเพศทั้งทางโดยตรงและแอบแฝง ส่งผลให้การเคลื่อนย้ายแรงงานกลายเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นไปโดยสะดวกยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะถูกกฎหมายหรือไม่เปิดช่องทางให้เกิดการค้าทาสรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้าง ขวาง นอกจากนี้ด้วยสื่อที่ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิเด็กและผู้หญิงมากมาย
สิทธิและการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ กล่าวโดยรวมแล้วผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ทั้งเด็กและผู้หญิงย่อมมีสิทธิในฐานะที่เป็นมนุษย์ เช่น - สิทธิในชีวิตร่างกาย - ความมั่นคงปลอดภัย - สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองโดยไม่ถูกสื่อมวลชนนำไปเสนอข่าว- สิทธิที่จะไม่ถูกดำเนินคดีในกรณีที่ตนเองเป็นเหยื่อ- สิทธิในการได้รับการฟื้นฟูทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ- สิทธิในการได้รับการฝึกอาชีพเพื่อกลับคืนสู่สังคมเดิม- สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครองในฐานะพยาน- สิทธิที่จะกล่าวโทษดำเนินคดีกับผู้ค้ามนุษย์และพรรคพวก- สิทธิที่แสดงความคิดเห็นในการรับความช่วยเหลือและรับรู้ข้อมูลสิ่งที่ตนถูกดำเนินการ