440 likes | 850 Views
กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค. นายอัมพร เหลียงน้อย. โดย อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง 8 สำนักงานคดีแพ่ง. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง - พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 - พ.ร.บ.วิธีพิจารณาผู้บริโภค พ.ศ. 2551 - พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551. ความเป็นมา.
E N D
กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค นายอัมพร เหลียงน้อย โดย อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง 8 สำนักงานคดีแพ่ง
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง- พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522- พ.ร.บ.วิธีพิจารณาผู้บริโภค พ.ศ. 2551- พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
ความเป็นมา ความสะดวก ความรวดเร็ว ความเป็นธรรม การเยียวยา อายุความ
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 คดีผู้บริโภค - คดีแพ่งระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ - คดีแพ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
อำนาจเจ้าพนักงานคดี - ไกล่เกลี่ยคดีผู้บริโภค - ตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐาน - บันทึกคำพยาน - ดำเนินการให้มีการคุ้มครองสิทธิของคู่ความทั้งก่อนและระหว่างการพิจารณา (มาตรา 4)
ผู้บริโภคสามารถฟ้องบังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้ได้ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือตามกฎหมาย (มาตรา 10)
ประกาศ โฆษณา คำรับรอง หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ของผู้ประกอบธุรกิจ ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา สามารถนำสืบพยานบุคคลได้(มาตรา 11)
ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย โดยผลของสารที่สะสมอยู่ในร่างการของผู้บริโภค หรือต้องใช้เวลาในการแสดงอาการ สามารถฟ้องคดีภายใน 3 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบธุรกิจ แต่ไม่เกิน 10 ปี (มาตรา 13)
ถ้ามีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหายระหว่างผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภค อายุความสะดุดหยุดอยู่จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้บอกเลิกการเจรจา (มาตรา 14)
การฟ้องคดี ผู้ประกอบธุรกิจจะฟ้องผู้บริโภคได้เฉพาะศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิลำเนาอยู่ ได้เพียงแห่งเดียว (มาตรา 17)
การฟ้องคดี(ต่อ) ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจได้โดยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่รวมถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุด (มาตรา 18 วรรคแรก)
การฟ้องคดี(ต่อ) ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจโดย - ไม่มีเหตุผลอันสมควร - เรียกร้องค่าเสียหายเกินสมควร - ประพฤติตนไม่เรียบร้อย - ประวิงคดี ศาลมีอำนาจสั่งให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วน (มาตรา 18 วรรคสอง)
การฟ้องคดี(ต่อ) ผู้บริโภคฟ้องคดีด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ หากศาลเห็นว่าคำฟ้องไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญ ศาลอาจมีคำสั่งให้แก้ไขคำฟ้องก็ได้ (มาตรา 20)
การพิจารณาคดี ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็ว และออกหมายเรียกจำเลยให้มาศาลตามกำหนดนัด เพื่อไกล่เกลี่ย ยื่นคำให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน (มาตรา 24)
การพิจารณาคดี (ต่อ) ผู้ประกอบธุรกิจมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการผลิต การประกอบ การออกแบบ หรือส่วนผสมของสินค้า การให้บริการ หรือการดำเนินการใดๆ ซึ่งอยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรา 29)
การพิจารณาคดี (ต่อ) ภายหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว มีการฟ้องผู้ประกอบธุรกิจรายเดียวกันอีก โดยข้อเท็จจริงที่พิพาทเป็นอย่างเดียวกัน ศาลในคดีหลังอาจมีคำสั่งให้ถือว่าข้อเท็จจริงในประเด็นนั้นเป็นอันยุติเช่นเดียวกับคดีก่อนโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐาน (มาตรา 30)
การพิจารณาคดี (ต่อ) ศาลมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร (มาตรา 33)
การพิจารณาคดี (ต่อ) การสืบพยาน - ศาลเป็นผู้ซักถามพยาน - คู่ความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาล (มาตรา 34)
คำพิพากษาและคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีคำพิพากษาและคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลเห็นว่าจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ถูกต้องหรือวิธีการบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขเยียวยาความเสียหายตามฟ้อง ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้อง หรือกำหนดวิธีการบังคับให้เหมาะสม (มาตรา 39)
คำพิพากษาและคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี (ต่อ) ศาลอาจพิพากษาให้สงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง กรณีที่ขณะมีคำพิพากษาไม่อาจหยั่งรู้ได้แน่ว่าความเสียหายเกิดขึ้นแก่ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยนั้นมีแท้จริงเพียงใด (มาตรา 40)
คำพิพากษาและคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี (ต่อ) ในกรณีที่ฟ้องขอให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้า ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เปลี่ยนสินค้าใหม่แก่ผู้บริโภคแทนการแก้ไขซ่อมแซมสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง ถ้าความชำรุดบกพร่องมีอยู่ในขณะส่งมอบสินค้าและไม่อาจแก้ไขให้กับคืนได้ หรืออาจเกิดอันตรายแก่ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย (มาตรา 41)
คำพิพากษาและคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี (ต่อ) การกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษไม่เกิน 2 เท่า ของค่าเสียหายที่แท้จริง ถ้าผู้ประกอบธุรกิจ - กระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม - จงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย - ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง - ไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภค กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน (มาตรา 42)
คำพิพากษาและคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี (ต่อ) ศาลมีอำนาจออกคำสั่ง 1. ให้ผู้ประกอบธุรกิจประกาศและรับสินค้าที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย ของผู้บริโภคคืนเพื่อทำการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ โดยค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบธุรกิจ หรือให้ใช้ราคา (มาตรา 43)
คำพิพากษาและคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี (ต่อ) ศาลมีอำนาจออกคำสั่ง 2. ห้ามผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่เหลืออยู่และให้เรียกเก็บสินค้าที่ยังไม่จำหน่ายกลับคืนจนกว่าจะได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสินค้าดังกล่าวให้มีความปลอดภัยหรือทำลายสินค้าที่เหลือ (มาตรา 43)
คำพิพากษาและคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี (ต่อ) ศาลมีอำนาจออกคำสั่ง 3. หากมีการฝ่าฝืนตาม 1 และ 2 ศาลมีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังผู้ประกอบธุรกิจไว้จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่ง (มาตรา 43)
คำพิพากษาและคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี (ต่อ) ศาลมีอำนาจเรียกหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น หรือบุคคลที่มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของนิติบุคคลเข้ามาเป็นจำเลยร่วม - ผู้ประกอบธุรกิจเป็นนิติบุคคล ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นหรือดำเนินการโดยไม่สุจริต - มีพฤติกรรมฉ้อฉลหลอกลวงผู้บริโภค - มีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของนิติบุคคลไปเป็นประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และทรัพย์สินของนิติบุคคลมีไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ (มาตรา 44)
พ.ร.บ. ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 “สินค้าที่ไม่ปลอดภัย” หมายความว่า สินค้าที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุจากความบกพร่องในการผลิตหรือออกแบบ หรือไม่ได้กำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า หรือกำหนดไว้แต่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ชัดเจนตามสมควร
“ความเสียหายต่อจิตใจ” หมายความว่า ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน ความหวาดกลัว ความวิตกกังวล ความเศร้าโศกเสียใจ ความอับอาย หรือความเสียหายต่อจิตใจอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
“ผู้ประกอบการ” หมายความว่า (1) ผู้ผลิต หรือผู้ว่าจ้างให้ผลิต (2) ผู้นำเข้า (3) ผู้ขายสินค้าที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้าได้ (4) ผู้ซึ่งใช้ชื่อ ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมาย ข้อความ หรือแสดงด้วยวิธีใดๆ อันมีลักษณะที่จะทำให้เกิดความเข้าใจได้ว่าเป็นผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิตหรือผู้นำเข้า
ความรับผิดของผู้ประกอบการความรับผิดของผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการทุกคนต้องร่วมกับรับผิดต่อผู้เสียหายในความเสียหารที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และสินค้านั้นได้มีการขายให้แก่ผู้บริโภคแล้ว ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการหรือไม่ (มาตรา 5 )
ข้อตกลงระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการที่ได้ทำไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดความเสียหาย และประกาศหรือทำแจ้งความของผู้ประกอบการเพื่อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ประกอบการต่อความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย จะนำมาอ้างเป็นข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไม่ได้ (มาตรา 9)
ค่าสินไหมทดแทน ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด (ป.พ.พ. มาตรา 443) กรณีตาย ได้แก่ ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่าง ถ้ามิได้ตายในทันที ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
ค่าสินไหมทดแทน (ต่อ) กรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย - ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป - ค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน ทั้งในเวลาปัจจุบันและในเวลาอนาคต
ค่าสินไหมทดแทน (ต่อ) บุคคลภายนอกมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายได้ ถ้าผู้เสียหายซึ่งตายหรือเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย มีความผูกพันตามกฎหมายจะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่ตนในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมของบุคคลนั้น
ค่าสินไหมทดแทน (ต่อ) ค่าเสียหายต่อจิตใจ - ผู้เสียหายได้รับความเสียหายต่อร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย - หากผู้เสียหายตาย สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดารชอบที่จะได้รับค่าเสียหายต่อจิตใจ มาตรา 11 (1)
ค่าสินไหมทดแทน (ต่อ) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง ผู้ประกอบการ - ผลิต นำเข้า หรือขายสินค้า โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย - มิได้รู้เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง - รู้ว่าสินค้าไม่ปลอดภัย แล้วไม่ดำเนินการใดๆตามสมควรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย มาตรา 11 (2)