1 / 76

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ งานคลัง

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ งานคลัง. หลักสูตร “สารวัตรงบประมาณ การเงินและพัสดุ” ๓๐ เม.ย.๒๕๕๗. หัวข้อการการบรรยาย. 1. ความหมายของ “งานคลัง” และ “การเงิน” 2. กฎหมายการเงินการคลัง 3. ที่มาของกฎหมายการเงินการคลัง 4. กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง. ที่มาของกฎหมายการเงินการคลัง. ความหมาย.

Download Presentation

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ งานคลัง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงานคลังความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงานคลัง หลักสูตร “สารวัตรงบประมาณ การเงินและพัสดุ” ๓๐ เม.ย.๒๕๕๗

  2. หัวข้อการการบรรยาย 1. ความหมายของ “งานคลัง” และ “การเงิน” 2. กฎหมายการเงินการคลัง 3. ที่มาของกฎหมายการเงินการคลัง 4. กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

  3. ที่มาของกฎหมายการเงินการคลังที่มาของกฎหมายการเงินการคลัง ความหมาย - ความหมายของ “งานคลัง” - ความหมายของ “การเงิน”

  4. ความหมายของ “การคลัง” “การคลัง” หมายความว่า การดำเนินการเกี่ยวกับการเงินของรัฐบาล หรือการรับจ่ายเงินและบัญชีของแผ่นดิน

  5. ความหมายของ “การเงิน” “การเงิน” หมายความว่า กิจกรรมที่ดำเนินการเกี่ยวกับเงิน ซึ่งประกอบด้วย การเบิกเงิน การจ่ายเงิน การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง

  6. ที่มาของกฎหมายการเงินการคลังที่มาของกฎหมายการเงินการคลัง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 167 วรรคสาม กำหนดให้มีกฎหมายการเงินการคลังของรัฐ เพื่อกำหนด - กรอบวินัยการเงินการคลัง - หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการวางแผนการเงินระยะปานกลาง - การจัดหารายได้

  7. -การกำหนดแนวทางในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน - การบริหารเงินและทรัพย์สิน การบัญชี กองทุน สาธารณะ - การก่อหนี้หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สิน หรือภาระทางการเงินของรัฐ - หลักเกณฑ์การกำหนดวงเงินสำรองจ่ายเพื่อ กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น - การอื่นที่เกี่ยวข้อง

  8. เจตนารมณ์ของมาตรา 167 วรรคสาม 1. ใช้เป็นกรอบในการจัดหารายได้ 2. กำกับการใช้จ่ายเงินตามหลักการรักษา เสถียรภาพ 3.พัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และ ความเป็นธรรมในสังคม

  9. มาตรา 170 “เงินรายได้ของหน่วยงานของรัฐใดไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินให้หน่วยงานของรัฐ นั้นทำรายงานการรับและการใช้จ่ายเงินดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อสิ้นปีงบประมาณทุกปีและให้คณะรัฐมนตรีทำรายงาน เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป การใช้จ่ายเงินรายได้ตามวรรคหนึ่งต้อง อยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังตามหมวดนี้”

  10. เจตนารมณ์ของมาตรา 170 เพื่อกำหนดให้ตรวจสอบการรับและการ ใช้จ่ายเงินรายได้ของหน่วยงานของรัฐ ซึ่ง เป็นเงินนอกงบประมาณที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน อันนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ทางการเงินการคลังที่สมบูรณ์และ สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงด้านการเงินของประเทศ

  11. การดำเนินการยกร่างกฎหมายการเงินการคลังของรัฐการดำเนินการยกร่างกฎหมายการเงินการคลังของรัฐ มาตรา 303 กำหนดให้ ค.ร.ม. ที่เข้าบริหาร ราชการแผ่นดินภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเป็น ครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ดำเนินการจัดทำหรือ ปรับปรุงกฎหมายตามมาตรา 167 วรรคสาม ภายในสองปี นับแต่วันที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา

  12. ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายการเงินการคลังที่ครอบคลุม บทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ แต่ก็มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกรอบวินัยการเงินการคลัง กระจัดกระจายอยู่ในกฎหมายหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ. เงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม และ พ.ร.บ. บริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548

  13. กรมบัญชีกลางได้มีการตั้งคณะทำงานพิจารณาร่างกฎหมายการเงินการคลังใน ส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารการเงินและทรัพย์สิน การกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบัญชีการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนสาธารณะ

  14. กรอบวินัยการเงินการคลังตาม พ.ร.บ. เงินคงคลัง - มาตรา 4 การหักเงินที่ต้องนำส่งคลังไว้ใช้จ่าย - มาตรา 6 หลักเกณฑ์การจ่ายเงินจากคลัง - มาตรา 7 การสั่งจ่ายเงินจากคลังได้ก่อนที่มี กฎหมาย อนุญาตให้จ่าย - มาตรา 8 เงินที่จ่ายจากคลัง - มาตรา 12 การจ่ายเงินเป็นทุนหรือทุนหมุนเวียน

  15. มาตรา 4 พ.ร.บ. เงินคงคลัง ฯ ให้นำเงินที่จัดเก็บหรือรับไว้ส่งคลังตามกำหนดเวลาและข้อบังคับที่ รมว.กค. กำหนด โดยไม่หักไว้เพื่อการใด ๆ เลย แต่ รมว.กค. มีอำนาจกำหนดข้อบังคับอนุญาตให้หักเงินที่จะต้องส่งคลังนั้นได้ ในกรณี ดังนี้ - เป็นรายจ่ายที่มีกฎหมายอนุญาตให้จ่าย - จ่ายเป็นสินบนรางวัลหรือค่าใช้จ่าย - จ่ายคืนให้บุคคลเพราะไม่พึงต้องชำระให้รัฐบาล

  16. มาตรา 6 พ.ร.บ. เงินคงคลัง ฯ ภายใต้บังคับ มาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 12 การจ่ายเงินจากคลังให้กระทำได้เฉพาะตาม - พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี - พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม - พ.ร.บ. โอนเงินในงบประมาณ - มติให้จ่ายเงินไปก่อน - พ.ร.ก. ที่ออกตามบทรัฐธรรมนูญ

  17. มาตรา 7 พ.ร.บ. เงินคงคลัง ฯ จ่ายเงินจากคลังได้ก่อนมีกฎหมายอนุญาตได้ในกรณี ดังนี้ - ตั้งงบประมาณไว้แล้ว แต่ไม่พอ มีเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องจ่ายโดยเร็ว เช่น ราคาวัสดุขึ้นราคา เป็นต้น - มีการตรากฎหมายใหม่ ทำให้ต้องจ่ายเงิน เช่น กฎหมายช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เป็นต้น

  18. - มีข้อผูกพันกับรัฐบาล หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ - เพื่อไถ่ถอนพันธบัตรเงินกู้ - เพื่อซื้อเงินตราต่างประเทศ หลักทรัพย์ พันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ

  19. มาตรา 8 พ.ร.บ. เงินคงคลัง ฯ “เงินต่อไปนี้ ให้สั่งจ่ายจากบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 2 หรือคลังจังหวัดได้ คือ (1) เงินยืมทดรองราชการ (2) เงินฝาก (3) เงินขายบิล (4)เงินที่จำเป็นต้องจ่ายคืนภายในปีงบประมาณที่นำส่งแล้ว เพราะเป็นเงินอันไม่พึงต้องชำระให้รัฐบาล”

  20. เงินยืมทดรองราชการ หมายถึงเงินทดรองราชการตาม พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ “เงินทดรองราชการ” หมายความว่า เงินที่กระทรวงการคลังจ่ายและอนุญาตให้ ส่วนราชการมีไว้ตามจำนวนที่เห็นสมควร เพื่อทดรองเป็นค่าใช้จ่ายตามระเบียบหรือ ข้อบังคับของกระทรวงการคลัง

  21. เงินฝาก “เงินฝาก” หมายความว่า เงินที่ กค.รับฝากไว้และ จ่ายคืนตามคำขอของผู้ฝากตามข้อบังคับ และระเบียบของ กค. เงินฝากเป็นเงินนอกงบประมาณประเภทหนึ่ง ที่ส่วนราชการได้รับไว้ และมีกฎหมายอนุญาตให้นำไปใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน เช่น เงิน-บูรณะทรัพย์สิน เงินบริจาค เงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์ให้ใช้จ่ายในกิจการ เป็นต้น

  22. เงินขายบิล “เงินขายบิล” หมายความว่าเงินที่กระทรวงการคลังรับไว้ ณ ที่แห่งหนึ่งเพื่อโอนไปจ่าย ณ ที่อีกแห่งหนึ่งตามข้อบังคับ และระเบียบของกระทรวงการคลัง

  23. เงินขายบิล ใช้กับเงินนอกงบประมาณ โดยปกติเป็นเงินนอกงบประมาณของส่วน-ราชการหนึ่งในกรุงเทพฯนำส่งคลังเพื่อโอน ไปจ่ายให้กับส่วนราชการในต่างจังหวัด หรือจะเป็นการโอนระหว่างส่วนราชการใน ต่างจังหวัดให้ส่วนราชการในกรุงเทพฯ หรือโอนระหว่างส่วนราชการในจังหวัดให้ ส่วนราชการอีกจังหวัดหนึ่งก็ได้

  24. มาตรา 12 พ.ร.บ. เงินคงคลัง ฯ “การจ่ายเงินเป็นทุนหรือเป็นทุนหมุนเวียน เพื่อการใดให้กระทำได้แต่โดยกฎหมาย”

  25. เงินทุนหมุนเวียน “เงินทุนหรือเงินทุนหมุนเวียน” ได้แก่เงินที่จ่ายให้ส่วนราชการเป็นทุนเพื่อดำเนินกิจการอย่างใด อย่างหนึ่ง โดยยอมให้ส่วนราชการนำรายรับจาก กิจการนั้นๆ สมทบเพื่อไว้ใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องนำ ส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

  26. การจัดตั้งเงินทุนหรือทุนหมุนเวียนการจัดตั้งเงินทุนหรือทุนหมุนเวียน การตั้งเงินทุนหรือเงินทุนหมุนเวียน จะ กระทำได้แต่โดยกฎหมายเท่านั้น อาจเป็น กฎหมายพิเศษ เช่น พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 หรือ กำหนดไว้เป็น รายการหนึ่งในเอกสารงบประมาณประจำปีและรัฐสภาได้อนุมัติงบนั้น เช่น เงินทุน หมุนเวียนเพื่อซื้อขายรถจักรยานยนต์ ผ่อนส่ง เป็นต้น

  27. เงินทุนหมุนเวียน แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1. ทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืม 2. ทุนหมุนเวียนเพื่อการจำหน่าย 3. ทุนหมุนเวียนเพื่อการบริการ 4.ทุนหมุนเวียนเพื่อการสงเคราะห์และ สวัสดิการสังคม 5. ทุนหมุนเวียนเพื่อการสนับสนุนส่งเสริม

  28. ทุนหมุนเวียนเพื่อการสนับสนุนส่งเสริมทุนหมุนเวียนเพื่อการสนับสนุนส่งเสริม เป็นกลุ่มที่มีวัตถุประสงค์ใช้เงินเพื่อสนับสนุน และส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่ง ประโยชน์สุขโดยรวมของประชาชน เช่น กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา

  29. กรอบวินัยการเงินการคลังตาม พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ มาตรา 9 ทวิ การกู้เงินกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ มาตรา 16 การใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อน มาตรา 17 การใช้งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม มาตรา 29 ทวิ เงินทุนสำรองจ่าย

  30. มาตรา 9 ทวิ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณฯ เมื่อ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีใช้ บังคับแล้ว ถ้ารายจ่ายสูงกว่ารายได้ ให้ กค.มี อำนาจกู้เงินได้ตามความจำเป็นในปีหนึ่งๆ ต้องไม่เกิน (1) ร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปี (2) ร้อยละแปดสิบของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้ง ไว้สำหรับชำระคืนเงินกู้

  31. วิธีการกู้เงินตาม มาตรา 9 ทวิ จะใช้วิธีออกตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตราสารอื่น หรือทำสัญญากู้ก็ได้ การออกตั๋วเงินคลังให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยตั๋วเงินคลัง แต่การออกพันธบัตร ตราสารอื่น หรือ การทำสัญญากู้ ต้องได้รับอนุมัติจาก ค.ร.ม.ก่อน

  32. มาตรา 16 พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณฯ ถ้า พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี ออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อนได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้อำนวยการกำหนดโดยอนุมัตินายกรัฐมนตรี

  33. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายปีที่ล่วงแล้วไปพลางก่อนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายปีที่ล่วงแล้วไปพลางก่อน - ใช้ได้เพียงบางส่วน - รายจ่ายเงินเดือน ค่าตอบแทน ใช้สอย วัสดุ ใช้ได้ไม่เกิน 1 ใน 3 ของยอดเงินที่ ตั้งไว้ในปีที่แล้ว

  34. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายปีที่ล่วงแล้วไปพลางก่อนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายปีที่ล่วงแล้วไปพลางก่อน - รายจ่ายงบลงทุน ใช้ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณี ต้องจ่ายตามข้อผูกพัน ให้จ่ายได้ - กรณีจำเป็นและเร่งด่วน สำนักงบประมาณ อาจอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินตามงบประมาณ ปีที่แล้วเกินกำหนดก็ได้ แต่ไม่เกินงบปีที่แล้ว

  35. มาตรา 17 พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณฯ ในกรณีจำเป็นจะต้องจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพัน เกินกว่าหรือนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี ค.ร.ม. อาจเสนอร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมต่อรัฐสภาได้ และให้แสดงถึงเงินที่พึงได้มาสำหรับจ่ายตามงบ ประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่ขอตั้งด้วย ...

  36. เหตุผลของการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมเหตุผลของการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม -งบประจำปีไม่พอ และจะเสียหายถ้าไม่ได้รับงบเพิ่ม - โอนงบจากส่วนราชการอื่นหรืองบอื่นมาไม่ได้ - รัฐบาลมีรายได้จากภาษีอากร หรือรายได้อื่นสูง กว่าที่ประมาณการไว้

  37. ปัญหาของการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปัญหาของการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม โดยหลักการแล้ว จะไม่กระทำ เพราะ - อาจใช้จ่ายโดยไม่ระมัดระวัง - หากไม่มีรายได้สูงกว่าประมาณการ ก็ต้อง เก็บภาษีเพิ่มหรือกู้เงิน - รัฐสภาควบคุมยาก - แสดงถึงความไม่รอบคอบในการตั้ง งบประมาณ

  38. มาตรา 29 ทวิ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณฯ ให้มีเงินทุนจำนวนหนึ่งโดยรัฐมนตรีจ่ายจากคลัง เรียกว่า “เงินทุนสำรองจ่าย” เป็นจำนวนหนึ่งร้อย ล้านบาท เงินทุนนี้ให้นำไปจ่ายในกรณีที่มีความ จำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการแผ่นดิน โดยอนุมัติ คณะรัฐมนตรี และเมื่อได้จ่ายไปแล้ว ให้ขอตั้ง รายจ่ายชดใช้เพื่อสมทบทุนนั้นไว้จ่ายต่อไป

  39. เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามมาตรา 10 พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณฯ กำหนดให้มีงบกลางแยกต่างหากจากงบประมาณ รายจ่ายของส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจก็ได้ และจะกำหนดให้มีรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อ กรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็นในงบกลางนั้นด้วยก็ได้

  40. ข้อแตกต่างของเงินทุนสำรองจ่ายกับเงินสำรองจ่ายข้อแตกต่างของเงินทุนสำรองจ่ายกับเงินสำรองจ่าย 1. เงินทุนสำรองจ่ายเป็นเงินนอกงบประมาณ เพราะมิได้กำหนดไว้ในพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ส่วนเงินสำรองจ่ายเป็นรายการหนึ่งในพ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี ทุกปี 2. ตอนต้นปีเงินทุนสำรองจ่ายมีเต็ม 100 ล้านบาท เสมอ แต่เงินสำรองจ่ายมีตามวงเงินที่ตั้งในแต่ละปี 3. เงินทุนสำรองจ่ายใช้ได้ไม่มีกำหนด แต่เงินสำรองจ่ายต้องใช้ภายในปีงบประมาณ

  41. โครงสร้างรายรับของรัฐบาลโครงสร้างรายรับของรัฐบาล รายรับรัฐ รายจ่ายสาธารณะ รายได้ ไม่ใช่รายได้ เงินกู้ เงินคงคลัง ภาษี อากร รายได้อื่น ๆ - เงินช่วยเหลือ - เงินบริจาค รัฐพาณิชย์ (รัฐวิสาหกิจ) การขายสิ่งของ บริการของรัฐ

  42. รายจ่ายสาธารณะ “รายจ่ายสาธารณะ” หมายถึง การใช้จ่ายของ รัฐบาลเพื่อรักษาระดับการดำเนินงานของรัฐ และ เพื่อผลประโยชน์ของสังคมโดยส่วนรวม “รายจ่ายรัฐบาล หรือ รายจ่ายสาธารณะ” เป็นคำที่ใช้แทนกันได้ หมายถึง รายจ่ายที่รัฐบาลได้ใช้จ่ายไปเพื่อการบริหารงานอันเป็นภาระหน้าที่ ของรัฐโดยทั่วไป และเพื่อจัดให้มีสินค้าและ บริการอันเป็นประโยชน์แก่ประชาชนโดยรวม

  43. รายจ่ายนอกงบประมาณ “รายจ่ายนอกงบประมาณ” หมายถึง รายจ่าย สาธารณะลักษณะหนึ่งที่รัฐบาลใช้จ่ายไปโดยไม่รวมอยู่ในงบประมาณแผ่นดิน การใช้จ่ายเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบเฉพาะ โดยไม่ต้องจัดทำผ่านระบบงบประมาณแผ่นดินและไม่ต้องนำไปจัดทำเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปีในกระบวนการงบประมาณแผ่นดิน

  44. รายจ่ายนอกงบประมาณ มี 7 ลักษณะ 1) รายจ่ายจากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ 2) รายจ่ายจากเงินกู้จากต่างประเทศ 3) รายจ่ายของรัฐวิสาหกิจ 4) รายจ่ายของหน่วยการปกครองท้องถิ่น 5) เงินทุนหมุนเวียน หรือ เงินกองทุน 6) เงินบำรุงสถาบันการศึกษาและสาธารณสุข 7) เงินบริจาคหรือผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์

  45. เงินคงคลัง “เงินคงคลัง” หมายถึง เงินสด หรือสิ่งที่ใกล้เคียงกับเงินสดที่รัฐบาลมีไว้เพื่อการใช้จ่ายประจำวันและหมายความรวมถึงเงินฝากกับธนาคารต่างๆ เช่น เงินฝากธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่ง กค.ได้นำฝาก ไว้ที่สำนักงานใหญ่ และที่สาขาเพื่อวัตถุประสงค์ในการเบิกจ่ายเงินของรัฐบาลให้สะดวกและปลอดภัยและรวมถึงเงินสดที่ได้นำฝากธนาคารพาณิชย์อื่นๆไว้ด้วย

  46. กระแสรายรับ รายรับเงินงบประมาณ - รายได้จากภาษีอากร - รายได้จากรัฐวิสาหกิจ - รายได้จากการขายสิ่ง ของและบริการ - รายได้อื่น - เงินกู้เพื่อชดเชยการ ขาดดุล รายรับเงินนอกงบประมาณ - เงินฝาก - เงินทุนหมุนเวียน กระแสรายจ่าย รายจ่ายเงินงบประมาณ - รายจ่ายเงินงบประมาณ ปีปัจจุบัน - รายจ่ายเงินงบประมาณ ปีก่อน (เหลื่อมปี เงินกัน เงินขยาย) รายจ่ายเงินนอกงบประมาณ - เงินฝาก - เงินทุนหมุนเวียน

  47. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับจ่ายเงินของรัฐกับเงินคงคลัง รายรับในงบ รายรับนอกงบ รายจ่ายในงบรายจ่ายนอกงบ เงินคงคลัง

  48. ความสัมพันธ์ระหว่างเงินคงคลัง เงินงบประมาณ การขาดดุลเงินในงบประมาณ และการกู้เงิน 1) ถ้ารัฐบาลใช้หลักการขาดดุลเงินงบประมาณ โดยการกู้เงิน สมการ รายจ่ายของรัฐบาล รายได้ของรัฐบาล เงินกู้

  49. 2) ถ้ารัฐบาลต้องนำเงินคงคลังมาใช้ในกรณี รัฐใช้จ่ายแบบขาดดุลและกู้เงินมาแล้วก็ตามรายจ่ายยังมากกว่ารายรับ สมการ การขาดดุลงบประมาณ สมการ รายจ่ายรัฐบาล รายได้ของรัฐบาล เงินกู้เงินคงคลัง รายจ่ายรัฐบาล รายได้รัฐบาล เงินกู้ เงินคงคลัง

  50. หนี้สาธารณะ “หนี้สาธารณะ” หมายถึง หนี้ที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ เป็นผู้กู้ เหตุผลที่ไม่เรียกหนี้รัฐบาล 1. ผูกพันรัฐบาลทุกรัฐบาลที่เข้าบริหารประเทศ 2. ผู้รับภาระชำระคือประชาชนผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีอากร 3. เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญ ทำให้สำนึก ถึงหน้าที่และหันมาสนใจการเมืองมากขึ้น

More Related