330 likes | 548 Views
แนวทางการรณรงค์ให้วัคซีน dT ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. พญ. อรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง กลุ่มโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. โรงแรม กรีน โฮเต็ล แอนด์ รี สอร์ต วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๗. ๑. กำหนดการรณรงค์ เป้าหมายโครงการ และประชากรกลุ่มเป้าหมาย.
E N D
แนวทางการรณรงค์ให้วัคซีน dTในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พญ. อรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง กลุ่มโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค โรงแรมกรีนโฮเต็ลแอนด์รีสอร์ต วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๗
๑. กำหนดการรณรงค์ เป้าหมายโครงการ และประชากรกลุ่มเป้าหมาย กำหนดช่วงเวลาการรณรงค์ • วันที่ 1 ตุลาคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2557 • โดย ๑ เดือนแรกเป็นช่วงที่มีการรณรงค์แบบเข้มข้นในเชิงรุก และ ๑ เดือนหลังเป็นช่วงเก็บตก
๑. กำหนดการรณรงค์ เป้าหมายโครงการ และประชากรกลุ่มเป้าหมาย เป้าหมายของโครงการ • Coverage > 85 % (ในระดับตำบล) ในประชากรอายุ ๒๐ ถึง ๕๐ ปี (ผู้ที่เกิดระหว่างมกราคม ๒๕๐๗ ถึง ธันวาคม ๒๕๓๗) วิธีการคำนวณ • ตัวตั้ง ใช้จำนวนประชาชนที่ได้รับวัคซีนตามกลุ่มเป้าหมายที่ระบุไว้ตามทะเบียนสำรวจ* (โดยไม่ต้องถามประวัติการได้รับวัคซีน) • ตัวหารตามทะเบียนสำรวจ *ในการนี้ไม่นับรวมประชาชนที่ได้รับ dTที่ใช้ทดแทน TT, ไม่นับรวมหญิงตั้งครรภ์และคนที่เคยได้วัคซีนช่วงที่มีการระบาด ที่ได้รับวัคซีนตั้งแต่ ๒ เข็มขึ้นไป/หรือ ได้รับ ๑ เข็มมาในระยะเวลา ๑ ปี
๑. กำหนดการรณรงค์ เป้าหมายโครงการ และประชากรกลุ่มเป้าหมาย เป้าหมายโครงการ • ได้ข้อมูลสำคัญเพื่อเป็นบทเรียนในการนำไปต่อยอดสำหรับขยายโครงการในภาคอื่นๆ เช่น การยอมรับวัคซีน การบริหารจัดการวัคซีน การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มหรือลดความครอบคลุม เป็นต้น
๑. กำหนดการรณรงค์ เป้าหมายโครงการ และประชากรกลุ่มเป้าหมาย ประชากรเป้าหมาย • ประชากรที่มีอายุ ๒๐ ถึง ๕๐ ปี ที่มารับบริการในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ผู้ที่เกิดระหว่างมกราคม ๒๕๐๗ ถึง ธันวาคม ๒๕๓๗)ทั้งบุคคลชาวไทยและชาวต่างชาติ และเพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบในชุมชนให้ครอบคลุมมากที่สุด ขอให้เจ้าหน้าที่ฉีดวัคซีน dTแก่กลุ่มเป้าหมายทุกคน ๆ ละ 1ครั้ง
๒. บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมควบคุมโรค สปสช. สสจ. สคร. เขตบริการสุขภาพ สสอ. รพสต. ชุมชน ชุมชน ชุมชน ชุมชน ชุมชน
การดำเนินงาน ก่อนการรณรงค์ ช่วงที่มีการรณรงค์ หลังการรณรงค์ • การสำรวจประชากรเป้าหมาย • การจัดทำแผนปฏิบัติงานและ • กลไกการติดตามการดำเนินงาน • สถานที่ให้บริการวัคซีน • การจัดเตรียมวัคซีน/อุปกรณ์ต่างๆ • และระบบลูกโซ่ความเย็น • การระดมความร่วมมืออาสาสมัคร • การอบรมอาสาสมัคร • การประชาสัมพันธ์ • จัดเตรียมอุปกรณ์ให้เพียงพอ/พร้อมใช้งาน • กำหนดผังจุดบริการ • กิจกรรม • -การให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ • -ชี้แจงประชาชนให้ทราบถึงประโยชน์ • -อาการข้างเคียงจากวัคซีน/แนวทางการดูแล • แจกเอกสารแผ่นพับ • การให้วัคซีน • บันทึกการให้วัคซีนในแบบฟอร์ม • การสังเกตอาการภายหลังได้รับวัคซีน • After Action Review • การรายงานผลการปฏิบัติงาน • การติดตามให้วัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมายที่ • พลาดในวันรณรงค์ • การเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับวัคซีน • แนวทางการตอบสนองและประสานงาน • กรณี AEFI ร้ายแรง • After Action Review
๓. การเตรียมการก่อนการรณรงค์ ๓.๑ การสำรวจประชากรเป้าหมาย • ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลประชากรของจังหวัด และอาจมอบหมายให้บุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ ตรวจสอบประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จริงอีกครั้ง เพื่อสรุปเป็นรายชื่อทั้งหมดในทะเบียนที่จะใช้รณรงค์ • บุคลากรในพื้นที่จะรับผิดชอบประชากรในพื้นที่ ในกรณีที่มีการขอรับวัคซีนในหน่วยบริการนอกพื้นที่ แต่ละพื้นที่จะประสานตรวจสอบ ยืนยันการได้รับวัคซีน ตามทะเบียนสำรวจของเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
๓. การเตรียมการก่อนการรณรงค์ *สำหรับในบางจังหวัดที่เคยมีการรณรงค์ไปแล้ว ในช่วงที่มีการระบาดของโรคคอตีบ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องสำรวจประชากรเช่นเดียวกัน เพื่อจะได้ทราบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและสามารถให้การรณรงค์ได้ครอบคลุม ครบถ้วน
๓.๒ การจัดทำแผนปฏิบัติงานและกลไกติดตามการดำเนินงาน • อย่างน้อย ๑ ถึง ๒ เดือนก่อนรณรงค์ ควรจัดทำแผนปฏิบัติการรณรงค์ให้วัคซีนให้ชัดเจนในภาพรวมและทุกระดับ โดยมีรายละเอียดในเรื่องพื้นที่ที่ดำเนินการ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลาปฏิบัติงาน ผู้รับผิดชอบ การควบคุมกำกับ ตลอดจนวิธีบริการแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก และประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย • ควรมีกลไกประสานการดำเนินงานรณรงค์ โดยอาจเป็นรูปแบบคณะทำงานเฉพาะกิจ หรือคณะกรรมการที่มีอยู่แล้ว
๓.๒ การจัดทำแผนปฏิบัติงานและกลไกติดตามการดำเนินงาน • กระบวนการติดตามอาจกำหนดเป้าหมายความครอบคลุมทุกระยะของการรณรงค์ เช่น มีการกำหนดเป้าหมายทุก ๑ สัปดาห์ในช่วงที่มีการรณรงค์เข้มข้น เช่น อาจกำหนดเป้าหมายความครอบคลุมร้อยละ 30 ในสัปดาห์แรก และร้อยละ 50 ในสัปดาห์ที่ 2 เพื่อให้แต่ละหน่วยงานมีเป้าหมายเดียวกัน และให้มีการรายงานเป้าหมายเพื่อติดตามผลการดำเนินงานทุกสัปดาห์ (ตามความเหมาะสม) จนกว่าจะสิ้นสุดการรณรงค์
๓.๓ รูปแบบการรณรงค์ • เร่งรัดการดำเนินงานในระยะที่ไม่นานจนเกินไป • ๒ เดือน (๑ เดือนแรกแบบเข้มข้น ๑ เดือนหลังเก็บตก) • เขตเมือง เชิงรุกไปตามแหล่งชุมชนต่างๆ
๓.๔ สถานที่ให้บริการวัคซีน กรณี เป็นหน่วยบริการเคลื่อนที่ • ควรเป็นที่มีอากาศถ่ายเทดี เป็นบริเวณที่ร่ม มีบริเวณกว้างขวางเพียงพอที่จะรองรับผู้มารับบริการและอาสาสมัครที่มาให้บริการ และควรมีการจัดบริเวณสำหรับปฐมพยาบาลกรณีมีเหตุฉุกเฉิน และบริเวณสังเกตอาการสำหรับผู้มารับบริการภายหลังรับวัคซีน การคมนาคมสะดวกต่อผู้มารับบริการและสะดวกต่อการส่งต่อผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน มีอุปกรณ์ที่จำเป็นพร้อม ตามมาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
๓.๕ การจัดเตรียมวัคซีน ระบบลูกโซ่ความเย็นและวัสดุอุปกรณ์ วัคซีน • การเบิกและการรับวัคซีน การเตรียมอุปกรณ์ระบบลูกโซ่ความเย็นให้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติปกติ ตามมาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค • สสจ.รวบรวมผลการจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายและศักยภาพของหน่วยบริการในการเก็บรักษาวัคซีน (โดยเฉพาะความจุและสภาพตู้เย็น) ส่งให้กรมควบคุมโรค
๓.๕ การจัดเตรียมวัคซีน ระบบลูกโซ่ความเย็นและวัสดุอุปกรณ์ • องค์การเภสัชกรรมจะต้องส่งวัคซีนให้แก่หน่วยบริการภายใน ๑๕ กันยายน ๒๕๕๗ • วัสดุอุปกรณ์อื่นๆ • ให้หน่วยบริการประสานสสจ. ในการเบิกวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมอย่างน้อย ๑ ถึง ๒ สัปดาห์ ก่อนการรณรงค์ • อุปกรณ์ เช่น เข็มฉีดยา กระบอกฉีดยา พลาสเตอร์ กระติกสำหรับใส่วัคซีน สำลี แอลกอฮอล์ ยาแก้ปวดลดไข้ เป็นต้น
๓.๖ การระดมความร่วมมือของอาสาสมัครก่อนการรณรงค์ • ประมาณ ๑ ถึง ๒ เดือนก่อนการรณรงค์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ ควรประสานงานกับหน่วยงานองค์กร และกลุ่มบุคคลในท้องถิ่น เพื่อขอความร่วมมือในการส่งอาสาสมัคร ร่วมสนับสนุนกิจกรรมในวันรณรงค์ รวบรวมรายชื่อให้แน่ชัดเพื่อเตรียมการฝึกอบรม และเตรียมอุปกรณ์ให้เพียงพอ
๓.๖, ๓.๗ การระดมความร่วมมือ การอบรมแนะนำอาสาสมัคร • บทบาทสำคัญของอาสาสมัครในช่วงที่มีการรณรงค์คือ การให้คำแนะนำชักชวนประชาชนให้มารับบริการวัคซีนและเป็นทีมงานช่วยในการให้บริการวัคซีน • ๓ สัปดาห์ก่อนเริ่มรณรงค์ สสจ. จัดให้มีการประชุมชี้แจงแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เป็นผู้รับผิดชอบหลักในแต่ละพื้นที่ • ๑ ถึง ๒ สัปดาห์ก่อนเริ่มโครงการ เจ้าหน้าที่สธ. ที่รับผิดชอบแต่ละพื้นที่ควรจัดการฝึกอบรม พร้อมทั้งมีการสาธิตและซักซ้อมวิธีการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ร่วมคณะ
๓.๘ การประชาสัมพันธ์โครงการ • ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงในประเด็นรายละเอียดเกี่ยวกับการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์กับประชาชน • ประมาณ ๑ เดือนก่อนการรณรงค์ ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้เรื่องการรณรงค์และให้ความร่วมมือในการรับบริการ โดยผ่านทางสื่อมวลชน สื่อชุมชน และสื่อบุคคลทุกช่องทาง * อาจพิจารณาให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีอายุ ๒๐ ถึง ๕๐ ปี รับวัคซีนก่อนเริ่มการรณรงค์ จะทำให้สามารถอธิบายแก่กลุ่มเป้าหมายได้ดี และเป็นปัจจัยสำคัญในการยอมรับวัคซีนของกลุ่มเป้าหมาย
กรอบเนื้อหาที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์กรอบเนื้อหาที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ • ความสำคัญของปัญหาคอตีบ ที่มีอยู่ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบาดใหญ่ของโรคคอตีบในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง • ผู้ใหญ่สามารถติดเชื้อได้และมีความเสี่ยงเนื่องจากส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับภูมิคุ้มกัน • โรคคอตีบเป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน • การให้วัคซีนคอตีบ-บาดทะยักจะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับวัคซีน (ป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก)และการป้องกันโรคแก่ส่วนรวมในวงกว้าง • จะมีการรณรงค์ในระหว่างวันที่ ๒๔ มีนาคม ถึง ๓๐ เมษายน สามารถไปรับบริการได้ตามจุดบริการต่างๆ • สำหรับผู้ที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักแล้ว จะต้องมารับวัคซีนในวันรณรงค์ด้วยเช่นกัน เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ
๔. การปฏิบัติงานในวันรณรงค์ • จัดเตรียมอุปกรณ์ให้เพียงพอและพร้อมใช้งาน • กำหนดผังจุดบริการให้มีพื้นที่เพียงพอและสะดวกต่อการปฏิบัติงาน กิจกรรมประกอบด้วย • การให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ แจกเอกสารแผ่นพับ ชี้แจงประชาชนให้ทราบถึงประโยชน์ของการรณรงค์ อาการข้างเคียงและแนวทางการดูแล • การให้วัคซีน • บันทึกการให้วัคซีนในแบบฟอร์ม • การสังเกตอาการภายหลังได้รับวัคซีนอย่างน้อย ๓๐ นาที • ให้ยาแก้ปวดลดไข้ สำหรับบรรเทาอาการปวดและลดไข้
การแนะนำล่วงหน้า • การแนะนำล่วงหน้ามีลักษณะคล้ายกับการให้ความรู้หรือการแนะนำโดยตรง แต่ข้อมูลที่ใช้สื่อสารเป็นข้อมูลที่คาดว่าอาจเกิดขึ้นกับผู้รับบริการในอนาคต ตัวอย่างการแนะนำล่วงหน้า • “หลังฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก คุณอาจมีไข้ได้นะคะ ส่วนใหญ่ไข้จะขึ้นหลังได้รับวัคซีน ๑ ถึง ๒ ชั่วโมงและเป็นอยู่ไม่เกิน ๒ วัน ให้รับประทานยาลดไข้ บางคนอาจมีอาการปวดบวม แดงร้อน บริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดอาการภายใน ๒ ถึง ๖ ชั่วโมง ให้ประคบเย็นและรับประทานยาบรรเทาอาการปวด”
ลักษณะทั่วไปของวัคซีน/รูปแบบการบรรจุลักษณะทั่วไปของวัคซีน/รูปแบบการบรรจุ • รูปแบบหลายโด๊ส ต่อ ๑ ขวด (๑๐ โด๊ส, ๕ ซีซี) วัคซีนมีลักษณะเป็นของเหลวแขวนตะกอนสีเทาขาว (Greyish-white suspension) • ขนาดและวิธีใช้ : 0.5ซีซี ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ • ข้อห้ามใช้ • ผู้ที่มีประวัติการแพ้รุนแรง หรือมีปฏิกิริยารุนแรงภายหลังได้รับวัคซีนชนิดนี้ หรือวัคซีนที่มีส่วนประกอบของท็อกซินบาดทะยัก หรือคอตีบมาก่อน • ผู้ที่มีประวัติแพ้ต่อสารชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นส่วนประกอบของวัคซีนนี้
การเตรียมวัคซีนและเทคนิคการฉีดการเตรียมวัคซีนและเทคนิคการฉีด • กระบอกฉีดยาขนาด ๑ ซีซี หรือ ๓ ซีซี • ขนาดเข็มฉีดขนาด 23-26 G ยาว ๑-๒ นิ้ว (ในผู้ใหญ่ควรใช้เข็มที่ยาวเพียงพอที่จะลงลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะผู้รับวัคซีนที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน)
การฉีดวัคซีน • ดึงผิวหนังให้ตึงเฉียงลง เป็น Z-track จะช่วยลดความเจ็บปวดขณะฉีดได้ เข็มตั้งตรง 90 องศา สังเกตอาการภายหลังได้รับวัคซีนอย่างน้อย 30 นาที
การดูแลรักษาวัคซีนในขณะให้บริการการดูแลรักษาวัคซีนในขณะให้บริการ • ควรให้บริการในที่ร่ม • เก็บวัคซีนในกระติกหรือกล่องโฟมที่มีอุณหภูมิอยู่ในช่วง +2 ถึง +8 องศาเซลเซียส • วางขวดวัคซีนให้ตั้งตรง • ห้ามวางขวดวัคซีนสัมผัสกับ icepack หรือน้ำแข็งโดยตรง • ห้ามปักเข็มคาขวดวัคซีน ในระหว่างรอบริการ • หลังเปิดใช้แล้วไม่ควรเก็บไว้นานเกิน ๘ ชั่วโมง • เปิดกระติกเท่าที่จำเป็นเท่านั้นและปิดฝาให้สนิท
การลงบันทึกและรายงานผลการปฏิบัติงานการลงบันทึกและรายงานผลการปฏิบัติงาน
After Action Review (AAR) • ควรมีการทำ AAR ทุกครั้งหลังออกปฏิบัติงาน เพื่อทบทวนการปฏิบัติงานในแต่ละครั้ง รวบรวมปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับครั้งต่อไป และบันทึกสรุปประเด็นสำคัญเพื่อเป็นประโยชน์กับการรณรงค์หรือการทำงานอื่นๆ ต่อไป และนำมาแลกเปลี่ยนใน AAR ที่จะจัดพร้อมกันในระดับจังหวัด
๕. การปฏิบัติงานหลังวันรณรงค์ • การลงบันทึกและรายงานผลการปฏิบัติงาน • การติดตามให้วัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมายที่พลาดวัคซีนในวันรณรงค์ • ผู้รับผิดชอบเขตพื้นที่บริการควรตรวจสอบประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีรายชื่อตามทะเบียนสำรวจและยังไม่ได้รับบริการ วางแผนติดตามและดำเนินการเก็บตกให้วัคซีน ภายใน ๑ สัปดาห์หลังช่วงที่มีการรณรงค์แบบเข้มข้น หรือตามแผนปฏิบัติการของแต่ละพื้นที่
๕.๓ การเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับวัคซีน ระบบปกติ AEFI
๕.๔ แนวทางการตอบสนองและประสานงานกรณี AEFI ร้ายแรง • การสื่อสาร • การสื่อสารและดูแลเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้ฉีดวัคซีนแก่ผู้ป่วย • แนวทางการสอบสวนสาเหตุ • กระบวนการสอบสวนทางระบาดวิทยาประกอบด้วย การสอบสวนผู้ป่วยที่รายงาน การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชน รวมผู้ได้รับวัคซีนในรุ่นเดียวกัน การตรวจสอบการบริหารจัดการวัคซีน การตรวจวิเคราะห์วัคซีนในห้องปฏิบัติการ • การสรุปสาเหตุจากคณะผู้เชี่ยวชาญที่กระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้งขึ้น • การจัดทำข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
After Action Review • วัตถุประสงค์สำคัญเพื่อนำบทเรียนที่ได้จากการดำเนินโครงการนำร่องมาพัฒนาแนวทางการดำเนินงานเพื่อขยายทั่วประเทศ • ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกกสธ. ทีมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สคร. ตัวแทนผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดมุกดาหารทุกระดับ
After Action Review • กรอบการอภิปรายในการประชุม • ผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ (coverage, cold chain management,การแก้ปัญหาต่างๆ ระหว่างดำเนินงาน, คุณภาพการให้บริการ, อาการข้างเคียงจากการรับวัคซีน) • การวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน สาเหตุของการไม่ได้รับวัคซีน ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไข ผลผลิต • สรุปผลการดำเนินงานโครงการนำร่องและข้อเสนอเพื่อการพัฒนาและขยายผล
Coming together is a beginning. Keeping together is progress. Working together is success. "I can do things you cannot, you can do things I cannot; together we can do great things.”