630 likes | 1.1k Views
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. นโยบายรัฐบาล. 1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก 1.2 กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหา ยาเสพติด เป็น “วาระแห่งชาติ”
E N D
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
นโยบายรัฐบาล • 1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก 1.2 กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” 1.5 เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจน ยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด
นโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ 4 ปีของรัฐบาล • 2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ 2.3 พัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ.....รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อระงับยับยั้งและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติและยาเสพติดให้หมดไป
2.5 เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดองค์กรอาชญากรรมการค้ามนุษย์ ผู้หลบหนีเข้าเมือง แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และบุคคลที่ไม่มีสถานะชัดเจน
4.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต4.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต 4.3 นโยบายการพัฒนาสุขภาพของประชาชน 4.3.6 “ส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและพลานามัยที่ดี สร้างนิสัยความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นมั่วสุมกับอบายมุขและยาเสพติด”
“ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดิน เอาชนะยาเสพติด”
วัตถุประสงค์ • วัตถุประสงค์หลักของยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด คือ ยุติสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด ที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงและความสงบสุขของประชาชนและสังคมให้ได้อย่างรวดเร็วต่อเนื่องและยั่งยืน โดยพลังแผ่นดินทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันลดความรุนแรงของปัญหายาเสพติดจนไม่ส่งผลกระทบต่อความเดือดร้อนของประชาชน ภายในระยะเวลา 1 ปี (ปี 2555)
กลยุทธ์การดำเนินงานของรัฐบาลกลยุทธ์การดำเนินงานของรัฐบาล โดยใช้ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด เป็นยุทธศาสตร์หลัก กำหนดกลยุทธ์สำคัญที่จะดำเนินการ คือ 7 แผน 4 ปรับ 3 หลัก 6 เร่ง
7 แผน ประกอบด้วย • แผนที่ 1 การสร้างพลังสังคมและพลังชุมชนเอาชนะยาเสพติด • แผนที่ 2 การแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) • แผนที่ 3 การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด (Potential Demand) • แผนที่ 4 การปราบปรามยาเสพติดและบังคับใช้กฎหมาย (Supply) • แผนที่ 5 ความร่วมมือระหว่างประเทศ • แผนที่ 6 การสกัดกั้นยาเสพติด • แผนที่ 7 การบริหารจัดการแบบบูรณาการ
4 ปรับ ประกอบด้วย • ปรับที่ 1 ปรับปรุงข้อมูล การข่าวให้ถูกต้อง ทันสมัย • ปรับที่ 2 ปรับบทบาท พฤติกรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ • ปรับที่ 3 ปรับกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ • ปรับที่ 4 ปรับทัศนคติของสังคมและชุมชนมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด
3 หลัก ประกอบด้วย • หลักที่ 1 หลักการแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักเมตตา ความรักในเพื่อนมนุษย์ อยากเห็นคนผิดกลับตัวเป็นคนดี คืนความรักให้ครอบครัว คืนสุขให้ชุมชน • หลักที่ 2 ยึดหลักนิติธรรม ใช้การบำบัด ป้องกัน ควบคู่ การปราบปราม • หลักที่ 3 หลักแก้ปัญหาโดยยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง หรือ Area Approach
6 เร่ง ประกอบด้วย • เร่งที่ 1 เร่งดำเนินการในด้านข้อมูล ปัญหา • เร่งที่ 2 เร่งลดจำนวนผู้เสพยาจากหมู่บ้าน/ชุมชน • เร่งที่ 3 เร่งแสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศและการสกัดกั้นยาเสพติด • เร่งที่ 4 เร่งปราบปรามผู้ค้า ลดความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหายาเสพติด • เร่งที่ 5 เร่งแก้ไขปัญหาเยาวชนกลุ่มเสี่ยงทั้งในและนอกสถานศึกษา • เร่งที่ 6 เร่งสร้างหมู่บ้าน/ชุมชนให้มีความเข้มแข็ง
แผนงานที่ 2 การแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
การบำบัดรักษาในระบบต้องโทษการบำบัดรักษาในระบบต้องโทษ 1.พัฒนากระบวนการบำบัดฟื้นฟูฯผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดให้ได้ตามมาตรฐานการฟื้นฟูฯผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข 2.กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการบำบัดฟื้นฟูฯในระบบต้องโทษเพื่อให้สามารถให้การดูแลผู้ต้องหาคดียาเสพติดได้อย่างเหมาะสม 3.มอบให้หน่วยงานที่ดำเนินงานบำบัดฟื้นฟูฯผู้ติดยาเสพติดในสังกัดกรมราชทัณฑ์ และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน รายงานข้อมูล ผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูฯในระบบรายงาน บสต.ผ่านเครือข่าย Internet
ภารกิจของกรมพินิจในการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด พ.ศ. 2555
1.พัฒนาประสิทธิภาพการรายงานข้อมูลผู้เข้าบำบัดฟื้นฟูฯ ผ่านระบบรายงาน บสต.
2.จัดทำข้อมูลเด็กและเยาวชนที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน2.จัดทำข้อมูลเด็กและเยาวชนที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
3. สนับสนุนสถานที่ในการควบคุมตัว เพื่อการตรวจพิสูจน์หาสารเสพติด แรกรับตัวเพื่อจำแนกผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
4.บำบัดรักษา แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในระบบต้องโทษ
การพัฒนาประสิทธิภาพการรายงานข้อมูล ผู้เข้าบำบัดฟื้นฟูฯ ผ่านระบบรายงาน บสต. กระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพฯ 1. การจำแนกปัญหาด้านยาเสพติด • กลุ่มเสี่ยง • กลุ่มเสพ • กลุ่มติด • กลุ่มติดรุนแรง
2. การบำบัดแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชน ผู้เสพ และผู้ติด ตามผลการจำแนก • เด็กและเยาวชนที่ถูกควบคุมตัวจะได้รับการบำบัด แก้ไขฟื้นฟูด้านยาเสพติดตามโปรแกรมบำบัดของกรมพินิจฯ • กรณีที่เด็กและเยาวชนที่ได้รับการประกันตัว/ปล่อยตัว สถานพินิจฯจะดำเนินการส่งต่อเด็กและเยาวชนเข้ารับการบำบัด ในระบบสมัครใจของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่
3. การรายงานข้อมูลผู้เข้าบำบัดฟื้นฟูฯ ผ่านระบบรายงาน บสต. เมื่อดำเนินการจำแนก/คัดกรองและบำบัดตลอดจนติดตามผลการบำบัดแล้วจะมีการนำเข้าข้อมูลในระบบ บสต.เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลด้านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพและผู้ติดยาเสพติดของประเทศในภาพรวม(บสต.2-5)
การจัดทำข้อมูลเด็กและเยาวชนที่เข้ารับการบำบัดรักษา ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้ความร่วมมือและเข้าร่วมดำเนินการในภารกิจเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้ความร่วมมือและเข้าร่วมดำเนินการในภารกิจเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด • โดยทำหน้าที่จัดเก็บและรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดจากกลุ่มผู้ติด/ผู้ค้ายาเสพติดที่เข้าสู่สถานพินิจและศูนย์ฝึกฯในแต่ละเดือนอย่างต่อเนื่อง
การสนับสนุนสถานที่ในการควบคุมตัว เพื่อการตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดแรกรับตัวเพื่อจำแนกผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
“มาตรา ๑๘ ในกรณีที่เห็นสมควร ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศใน ราชกิจจานุเบกษากำหนดให้สถานพยาบาล สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สถานที่ของราชการหรือสถานที่อื่นใดเป็นสถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด หรือการควบคุมตัว นอกเหนือจากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีอำนาจกำหนดให้ผู้ควบคุมสถานที่นั้นมีอำนาจหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด เช่นเดียวกับผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามมาตรา ๑๗ ได้ตามที่เห็นเหมาะสมกับสถานที่ดังกล่าว...”
การบำบัดรักษา แก้ไข ฟื้นฟู เด็ก และเยาวชนผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ในระบบต้องโทษ
เมื่อเด็กและเยาวชนได้รับการจำแนกตามปัญหาการใช้ยาหรือสารเสพติดแล้ว จะได้รับกิจกรรมการบำบัดตามโปรแกรมบำบัดกรมพินิจ ดังนี้
1.โปรแกรมสำหรับเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยง ใช้ระยะเวลา 10 คาบ/ สัปดาห์ 2.โปรแกรมสำหรับเด็กและเยาวชนกลุ่มเสพ ใช้ระยะเวลา 10 คาบ/ สัปดาห์ 3. โปรแกรมสำหรับเด็กและเยาวชนกลุ่มติด ใช้ระยะเวลา 20 คาบ/สัปดาห์
4. โปรแกรมสำหรับเด็กและเยาวชนกลุ่มติดรุนแรง ดำเนินการโดยวิธีชุมชนบำบัด (Therapeutic Community)
5. โปรแกรมบำบัด ฟื้นฟู แบบไป-กลับ สำหรับกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ได้รับการประกันตัว และมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระทำผิดซ้ำ ,เด็กและเยาวชนที่ต้องรับการบำบัด ฟื้นฟู ตามเงื่อนไขของมาตรา 86 ,เด็กและเยาวชน ที่ศาลพิพากษาให้รับการบำบัด ฟื้นฟูแบบไป-กลับ
การจัดกิจกรรมบำบัดตามโปรแกรมบำบัดกรมพินิจ ดำเนินการโดยใช้คู่มือ 5 เล่ม เป็นแนวปฏิบัติในการบำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชน ได้แก่ 1.คู่มือการส่งต่อเด็กและเยาวชน ผู้ติด/ผู้เสพ เพื่อเข้ารับการบำบัด ฟื้นฟูยาเสพติด/ ติดตามผลการบำบัดรักษา 2.คู่มือการจัดกิจกรรมบำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนแบบไป-กลับ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 3.คู่มือการจัดกิจกรรมบำบัด ฟื้นฟูด้านยาเสพติดในสถานแรกรับเด็กและเยาวชน 4.คู่มือการจัดกิจกรรมบำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน 5.คู่มือการปฏิบัติงานชุมชนบำบัด (Handbook for Therapeutic Community)
นอกจากนี้ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนยังได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยกิจกรรมทางเลือกได้แก่
1.ค่ายเยาวชนห่างไกลยาเสพติด1.ค่ายเยาวชนห่างไกลยาเสพติด • เป็นการดำเนินโครงการเพื่อให้เด็กและเยาวชนที่อยู่ระหว่างการควบคุมดูแลของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติด ตลอดจนพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนในทางที่เสียหาย มีความคิดยึดในสิ่งที่ผิดให้กลับมายึดในสิ่งที่ถูกต้อง ดีงามและเกิดเจตคติที่ดีต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม รวมทั้งเสริมสร้างความภาคภูมิใจให้กับเด็กและเยาวชนและส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีทักษะการแก้ไขปัญหาโดยไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
2.กิจกรรม To be number one friend corner มีวัตถุประสงค์ในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การเฝ้าระวังป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชน และเพื่อให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยให้เด็กและเยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรมชมรมต่างๆ
3.กิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด 26 มิถุนายน เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในวันต่อต้านยาเสพติด
4.โครงการเป็นหนึ่งด้วยกีฬาไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด4.โครงการเป็นหนึ่งด้วยกีฬาไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด • การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการบำบัด แก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้กิจกรรมกีฬาและนันทนาการเป็นสื่อ เป็นการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชน ได้แสดงออกในความสามารถในทางที่ถูกต้องเหมาะสม และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยไม่เกี่ยวข้องกับ ยาเสพติดและนอกจากนี้เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะทั้งเด็กและเยาวชน และเจ้าหน้าที่
1.การพัฒนาหน่วยบำบัดนำร่องเพื่อเข้าสู่การรับรองคุณภาพการบำบัดด้านยาเสพติดในระบบต้องโทษ (HA) • เพื่อให้หน่วยงานมีการประเมินและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและเป็นมาตรฐาน
2.การพัฒนาบุคลากรด้านยาเสพติด2.การพัฒนาบุคลากรด้านยาเสพติด • เพื่อให้บุคลากรได้รับการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาพยาบาลเด็กและเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับยาและสารเสพติดที่เกิดภาวะเจ็บป่วย รวมถึงการบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนขณะอยู่ในสถานควบคุม และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการดูแลเด็กและเยาวชน ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณแบบองค์รวม
3.การพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชนแบบองค์รวมโดยใช้เครือข่ายเป็นฐาน • เพื่อนำไปสู่การพัฒนานโยบาย มาตรการ ตลอดจนการปฏิบัติงานด้านยาเสพติดของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เช่น ชุมชน ภาคประชาสังคมรวมทั้งการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแก่เด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน