421 likes | 979 Views
การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในระบอบรัฐสภา. การปกครอง ( Government). การดูแล การคุ้มครอง การระวังรักษา การบริหาร ( Administration) ราชบัณฑิตยสถาน 2542 : 646. ประชาธิปไตย ( Democracy).
E N D
การปกครองระบอบประชาธิปไตยการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในระบอบรัฐสภา
การปกครอง (Government) การดูแล การคุ้มครอง การระวังรักษา การบริหาร (Administration) ราชบัณฑิตยสถาน 2542 : 646
ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นระบอบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ การถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่ ประชา + อธิปไตย (ประชา = ประชาชน) (อธิปไตย = อำนาจสูงสุด,ความเป็นใหญ่ยิ่ง) ประชาธิปไตย = อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน
พระมหากษัตริย์ไทย ในลักษณะที่เป็นสถาบัน (Institution) - สมัยสุโขทัย (พ่อขุน) - สมัยอยุธยา (สมมติเทพ) - สมัยรัตนโกสินทร์ (ธรรมราชา) 2. ในลักษณะเป็นบุคคล (นักรบ / จอมทัพ / ผู้นำ)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ม.2ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ม.3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้น ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติกรรม
อำนาจอธิปไตย อำนาจนิติบัญญัติ (รัฐสภา) อำนาจบริหาร (คณะรัฐมนตรี) อำนาจตุลาการ (ศาล)
พระมหากษัตริย์ ม.8องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่ เคารพ สักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหา หรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ ม.9 พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็น อัครศาสนูปถัมภก ม.10 พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้จำแนกลักษณะหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ไว้ 5 ลักษณะ คือ พระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าแผ่นดิน เจ้าชีวิต ธรรมราชา พระมหากษัตริย์ (นักรบ / จอมทัพที่ยิ่งใหญ่)
ทศพิศราชธรรม (ราชธรรม 10 ประการ) ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก 1) ทาน (การให้) 2) ศีล (ความประพฤติดีงาม) 3) ปริจจาคะ (การบริจาค) 4) อาชชวะ (ความซื่อตรง) 5) มัททวะ (ความอ่อนโยน) 6) ตปะ (ความทรงเดช) 7) อักโกธะ (ความไม่โกรธ) 8) อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน) 9) ขันติ (ความอดทน) 10) อวิโรธนะ (ความไม่คลาดในธรรม)
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475จนถึงปัจจุบันนี้ รวมเวลา 80ปีแล้ว
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในระบอบประชาธิปไตยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในระบอบประชาธิปไตย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
รัฐสภา (Parliament)ม.88 สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) 400คน เลือกตั้งแบบแบ่งเขต 80คน เลือกตั้งแบบสัดส่วน (ม.93 – 110) • วุฒิสภา • (House of Senate) • 150คนจากการเลือกตั้งและ • สรรหา (ม.111-121)
ม.128 พระมหากษัตริย์ทรงเรียกประชุมรัฐสภา ทรงเปิดและทรงปิดประชุม พระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำรัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญทั่วไปครั้งแรกตามมาตรา 127วรรคหนึ่งด้วยพระองค์เอง หรือจะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระรัชทายาทซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว หรือผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้แทนพระองค์ มาทำรัฐพิธีก็ได้ เมื่อมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พระมหากษัตริย์จะทรงเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญก็ได้ ภายใต้บังคับมาตรา 129การเรียกประชุม การขยายเวลาประชุมและการปิดประชุมรัฐสภาให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา
ม.129 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาทั้งสองสภารวมกัน หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้นำความกราบบังคมทูล เพื่อมีพระบรมราชโองการประการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้ คำร้องดังกล่าวในวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อประธานรัฐสภา ให้ประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูล และลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
การเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรกในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขการเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรกในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ 28มิถุนายน 2475ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม (นคร พจนวรพงษ์ และ อุกฤษพจนวรพงษ์2549 : 57)
การเลือกตั้งทั่วไป การเลือกตั้ง ส.ส. พร้อมกันทั้งประเทศเรียกว่า “การเลือกตั้งทั่วไป” นับตั้งแต่ 2476เป็นต้นมา มีมาแล้ว 25ครั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อ 3ก.ค.2554 การเลือกตั้งครั้งแรก 15พฤศจิกายน 2476เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม โดยให้ราษฎรเลือกผู้แทนตำบล แล้วผู้แทนตำบลเลือก ส.ส. เมื่อ 9ธันวาคม 2476
รัฐธรรมนูญ ระดับชั้นของกฎหมาย กฎหมายให้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก ประมวลกฎหมาย พ.ร.บ. พ.ร.ก. ประกาศพระบรมราชโองการ ฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก พ.ร.ฎ. กฎกระทรวง กฎหมายที่ อปท.มีอำนาจออก เทศบัญญัติข้อบัญญัติเมืองพัทยา ข้อบัญญัติเมือง กทม. ข้อบัญญัติ อบต./อบจ.
ขั้นตอนของการตรากฎหมายขั้นตอนของการตรากฎหมาย วาระที่ 1 รับหลักการ วาระที่ 2 แปรญัตติ วาระที่ 3 ลงมติ
ประเภทของกษัตริย์ กษัตริย์ระบบฟิวคัล (Feudal Monarchy)แพร่หลายในยุโรปยุค ค.ศ. 5 – 14ภายใต้แนวคิดว่า กษัตริย์เป็นประมุขที่มีอำนาจเหนือพื้นที่และประชาชนที่อาศัย กษัตริย์ในลัทธิเทวสิทธิ (Divine Rights Monarchy) การเป็นกษัตริย์เป็นโองการจากสวรรค์ หรือจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กษัตริย์เป็นผู้รับผิดชอบต่อพระเจ้า กษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย (Constitutional Monarchy)
สถาบันกษัตริย์ในสังคมไทยสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย ระบบพ่อขุนในสมัยสุโขทัย ระบบเทวราชาในสมัยอยุธยา ระบบผสมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ - กษัตริย์เป็นผลจากการสั่งสมบุญญาบารมีและคุณงามความดีจากอดีตชาติ ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา ครองแผ่นดินโดยธรรม ทศพิธราชธรรม
กษัตริย์ในสมัยประชาธิปไตยกษัตริย์ในสมัยประชาธิปไตย ในฐานะองค์พระประมุขของชาติ รับรองตามรัฐธรรมนูญ บทบาททางการเมือง การปกครอง - พระราชอำนาจ พระราชบัญญัติ พ.ร.ก.พ.ร.ฎ. - บทบาทในการเมือง - สิทธิในการพระราชทานคำปรึกษา - มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งบุคคลให้ดำรง ตำแหน่งสำคัญ ๆ 3. ในฐานะบทบาททางสัญลักษณ์ (Symbolic)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ม. 8 - 25 (18 มาตรา)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ม.70บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ม.77รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จำเป็น และเพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อการพัฒนาประเทศ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ม.90ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่าง พระราชบัญญัติจะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดย คำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเมื่อ พระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยหรือถือเสมือน ว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธยตามรัฐธรรมนูญนี้แล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็น กฎหมายต่อไป
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ม.107 เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้ มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการ เลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายใน สี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่อายุของสภาผู้แทนราษฎร สิ้นสุดลง และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวัน เดียวกันทั่วราชอาณาจักร
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ม.108พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทน ราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการ เลือกตั้งทั่วไปภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันแต่ไม่เกิน หกสิบวันนับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎร และวันเลือกตั้งนั้น ต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร การยุบสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้เพียงครั้งเดียวใน เหตุการณ์เดียวกัน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ม.110(วรรค 4) ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรย่อมพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติดังกล่าวในวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง และให้นำบทบัญญัติมาตรา 125วรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีเช่นนี้พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ม.127(วรรค 3) สมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสมัยหนึ่ง ๆ ให้มีกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขยายเวลาออกไปก็ได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ม.128พระมหากษัตริย์ทรงเรียกประชุมรัฐสภา ทรงเปิดและทรงปิดประชุม (วรรค 3) เมื่อมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พระมหากษัตริย์จะทรงเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญก็ได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ม.150ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ม.151ร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนว่าพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยแล้ว
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ม.153(วรรค 1) ในกรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหรือบรรดาร่างพระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา ให้เป็นอันตกไป
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (11 ก.ย. 26) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ฯ เชียงใหม่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน ฯ สกลนคร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินย้อย ฯ ฉะเชิงเทรา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน ฯ จันทบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย ฯ เพชรบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ฯ นราธิวาส