1 / 66

“ หลักปฏิบัติราชการ เกี่ยวกับการพัสดุ : บรรทัดฐานจากคดีปกครอง ”

“ หลักปฏิบัติราชการ เกี่ยวกับการพัสดุ : บรรทัดฐานจากคดีปกครอง ”. อนุชา ฮุนสวัสดิกุล ตุลาการศาลปกครองกลาง. การนำเสนอ. ศาลปกครอง : คดีปกครองที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง หลักการปฏิบัติงานการพัสดุ และความรับผิด กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

Download Presentation

“ หลักปฏิบัติราชการ เกี่ยวกับการพัสดุ : บรรทัดฐานจากคดีปกครอง ”

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. “หลักปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการพัสดุ : บรรทัดฐานจากคดีปกครอง” อนุชา ฮุนสวัสดิกุล ตุลาการศาลปกครองกลาง

  2. การนำเสนอ • ศาลปกครอง : คดีปกครองที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง • หลักการปฏิบัติงานการพัสดุ และความรับผิด • กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง • ความสัมพันธ์ระหว่างขั้นตอนการคัดเลือกคู่สัญญากับการทำสัญญา • ขั้นตอนการคัดเลือกคู่สัญญา และลักษณะข้อพิพาท • คำสั่งทางปกครองในกระบวนการคัดเลือกคู่สัญญา : คดีปกครอง • กรณีศึกษาคดีปกครอง • คดีเกี่ยวกับการพัสดุพื้นฐาน • คดีเกี่ยวกับการพัสดุเฉพาะกรณี • คดีปกครองเกี่ยวกับการพัสดุทั่วไป

  3. ศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษา“คดีปกครอง”ศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษา“คดีปกครอง”

  4. คดีปกครองที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง • คู่กรณี (เป็นคดีพิพาทระหว่าง) • หน่วยงานทางปกครอง/เจ้าหน้าที่ของรัฐ กับเอกชน • หน่วยงานทางปกครอง/เจ้าหน้าที่ของรัฐ ด้วยกันเอง • ลักษณะคดีพิพาท (พิพาทในเรื่อง) • หน่วยงานฯ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจากการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่น • หน่วยงานฯ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ ละเลยต่อหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร • ละเมิดเจ้าหน้าที่ และความรับผิดอย่างอื่น • สัญญาทางปกครอง • กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานฯ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง • กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

  5. ลักษณะการกระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายลักษณะการกระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย • ออกกฎ คำสั่ง หรือกระทำการอื่นใด เนื่องจาก • ไม่มีอำนาจ • นอกเหนืออำนาจ • ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย • ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ • ไม่สุจริต • เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม • สร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น • สร้างภาระเกินสมควร • ใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ

  6. ออกกฎ คำสั่ง หรือกระทำการอื่นใด เนื่องจาก • ไม่มีอำนาจ • กระทำโดยไม่มีอำนาจเลย • ออกโดยเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีอำนาจ (ออกโดยเจ้าหน้าที่อื่น/เจ้าหน้าที่ ไม่ได้รับมอบอำนาจ/การมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย) • ออกโดยเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนได้เสีย • ออกคำสั่งฯ เมื่อขาดอายุความการใช้สิทธิเรียกร้อง ตามที่กฎหมายกำหนด (คำสั่งตามมาตรา 12 ละเมิด) • นอกเหนืออำนาจ • เกินกว่าที่กฎหมายให้อำนาจ

  7. ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย • เนื้อหาของคำสั่งฯขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย • ออกกฎหรือคำสั่งฯ ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด • ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็น สาระสำคัญ • รูปแบบตามที่กฎหมายกำหนด (ทำเป็นหนังสือ, เหตุผลประกอบคำสั่งฯ,รายการไม่ครบ ฯลฯ) • ขั้นตอนและวิธีการ (การรับฟังคู่กรณี,ไม่แจ้งข้อเท็จจริง,ไม่ให้โอกาสโต้แย้ง, ไม่ผ่านขั้นตอนความเห็นชอบ ฯลฯ) • ไม่สุจริต • เป็นการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตัว (เฉพาะกรณีมีดุลพินิจ)

  8. เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม • ขัดต่อหลักความเสมอภาค • สร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระเกินสมควร • เกินขอบเขตแห่งความจำเป็นตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด • กระทำการโดยขัดต่อหลักความได้สัดส่วน • ใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ • ใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สาธารณะอื่นนอกเหนือจากกฎหมายที่ให้อำนาจ • ใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยเหตุผล

  9. การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย ๓. เนื้อหาของการกระทำชอบหรือไม่  ๒. ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการ เงื่อนไข หรือรูปแบบอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่  ๑. มีอำนาจตามกฎหมายหรือไม่

  10. ลักษณะความไม่ชอบด้วยกฎหมายลักษณะความไม่ชอบด้วยกฎหมาย • มีอำนาจกระทำการหรือไม่ • ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย • นอกเหนืออำนาจ • ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ • ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ • เนื้อหาของคำสั่ง/การกระทำชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ • ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย • ไม่สุจริต • เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม • สร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น สร้างภาระเกินสมควร • ใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ

  11. ข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการพัสดุข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการพัสดุ • ฟ้องว่าการกระทำหรือคำสั่งทางปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น • ฟ้องว่า ประกาศประกวดราคาไม่ชอบด้วยกฎหมาย • ฟ้องว่า คำสั่งไม่รับคำเสนอราคาไม่ชอบด้วยกฎหมาย • ฟ้องว่า คำสั่งยกเลิกการประกวดราคาไม่ชอบด้วยกฎหมาย • ฟ้องว่าหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร เช่น • ฟ้องว่า หน่วยงานฯ พิจารณาผลการประกวดราคาล่าช้าเกินสมควร • ฟ้องว่าหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดอันเกิดจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร เช่น • ฟ้องว่า หน่วยงานฯ ออกคำสั่งยกเลิกการประกวดราคาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้ได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนคำสั่งยกเลิกการประกวดราคา หรือขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย

  12. ความทั่วไปเกี่ยวกับการพัสดุความทั่วไปเกี่ยวกับการพัสดุ

  13. การพัสดุ หมายความว่า • การจัดทำเอง • การซื้อ • การจ้าง • การจ้างที่ปรึกษา • การจ้างออกแบบและควบคุมงาน • การแลกเปลี่ยน • การเช่า • การควบคุม • การจำหน่าย และ • การดำเนินการอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้

  14. หลักการคัดเลือกคู่สัญญาหลักการคัดเลือกคู่สัญญา • ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาพัสดุ แต่ละขั้นตอนต้องดำเนินการ • เปิดเผย • ตรวจสอบได้ • เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม • คำนึงประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ • สามารถอธิบายได้อย่างมีเหตุมีผล รับฟังได้

  15. ความรับผิดตามระเบียบพัสดุฯความรับผิดตามระเบียบพัสดุฯ

  16. การปฏิบัติหน้าที่ กับความรับผิดของเจ้าหน้าที่ การปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้อง ชอบด้วยกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย “ศาล”ตรวจสอบความชอบฯ • ไม่มีความรับผิด • ความรับผิดอย่างอื่น เป็นเหตุพ้นจากตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น /สมาชิกสภาท้องถิ่น ทำให้เกิดความเสียหาย เข้าเหตุตามมาตรา 81-85 เจตนาทุจริต กลั่นแกล้ง ให้เสียหาย รับผิดทางอาญา รับผิดทางละเมิด รับผิดทางวินัย

  17. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 • ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 • ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2538 • พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 • พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 • พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 • ระเบียบ คตง. ว่าด้วยวินัยทางงบประมาณและการคลัง พ.ศ. 2544

  18. ขั้นตอนการคัดเลือกคู่สัญญาขั้นตอนการคัดเลือกคู่สัญญา • ขั้นตอนการประกาศจัดซื้อ/จ้าง • ขั้นตอนก่อนการเปิดซอง • ขั้นตอนการพิจารณาผล • ขั้นตอนอนุมัติสั่งซื้อ สั่งจ้าง • ขั้นตอนของการทำสัญญา

  19. ลักษณะข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นลักษณะข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้น • ขั้นตอนการประกาศจัดซื้อจัดจ้าง • ล็อคสเปก • กำหนดผลงานสูงเกินสมควร • ไม่ประกาศให้ทราบโดยเปิดเผย • ไม่ยอมขายแบบ

  20. ขั้นตอนก่อนการเปิดซองขั้นตอนก่อนการเปิดซอง • ไม่รับซองเสนอราคา (ยื่นเกินกำหนด/เอกสารไม่ครบ ฯลฯ) • การพิจารณาว่า ผู้เสนอราคามีผลประโยชน์ร่วมกัน • การพิจารณาว่า มีการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม • ขั้นตอนการพิจารณาผล • รู้ผลการพิจารณาของคณะกรรมการเป็นการภายใน • ยกเลิกการประกวดราคา (อ้างมีการฮั้วราคา ทางราชการต้องการแก้ไขเงื่อนไขการประกวดราคาใหม่ ฯลฯ) • ไม่คืนหลักประกันซอง • กรณีไม่ผ่านข้อเสนอทางเทคนิค

  21. ขั้นตอนอนุมัติสั่งซื้อ สั่งจ้าง • การยกเลิกการประกวดราคา • การสั่งซื้อสั่งจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย • การยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง • ขั้นตอนของสัญญา • การบอกเลิกสัญญา • เงินค่าปรับ • การให้ทำงานพิเศษ • ค่า K • มติ ครม. ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบฯ • การสั่งเป็นผู้ทิ้งงาน

  22. ความสัมพันธ์ระหว่างการพัสดุและสัญญาความสัมพันธ์ระหว่างการพัสดุและสัญญา • ทำสัญญาซื้อหรือจ้าง • หาตัวคู่สัญญา การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุฯ ผูกพันตามสัญญา และปฏิบัติตามระเบียบพัสดุ/กฎหมาย ความรับผิดก่อนสัญญา การพิจารณาทางปกครอง คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองหรือละเมิด คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำโดยไม่ชอบฯ / ละเลยล่าช้า / ละเมิด ประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง “คำสั่งทางปกครอง”

  23. คำสั่งทางปกครอง หมายความว่า (๑) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ (๒) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

  24. ลักษณะทั่วไป การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง การรับจดทะเบียน มีผลสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล/กระทบสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล มีผลเฉพาะ “กรณีใด หรือบุคคลใด” เป็นการกระทำที่มีผลไปสู่ภายนอกโดยตรง (2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 การดำเนินการเกี่ยวกับการ จัดหาหรือให้สิทธิประโยชน์ ในกรณีดังนี้ การสั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน ให้เช่า ซื้อ เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ การอนุมัติสั่งซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ การสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณาคำเสนอหรือการดำเนินการอื่นใดในลักษณะเดียวกัน การสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน การให้หรือไม่ให้ทุนการศึกษา คำสั่งทางปกครอง

  25. ข้อสังเกต • กรณีการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัสดุ ในส่วนที่เป็น “การพิจารณาทางปกครอง” และ “คำสั่งทางปกครอง”จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ด้วย • คำสั่งในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง.......................เป็น.......คำสั่งทางปกครองทั่วไป ......................เป็น........การกระทำทางปกครอง • คำสั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขายหรือจ้าง.....เป็น.....คำสั่งทางปกครอง • คำสั่งอนุมัติซื้อหรือจ้าง...........................เป็น.....คำสั่งทางปกครอง • คำสั่งยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง..................เป็น.....คำสั่งทางปกครอง • คำสั่งเป็นผู้ทิ้งงาน..................................เป็น.....คำสั่งทางปกครอง • เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการจัดหาพัสดุจึงต้องมีรู้ความเข้าใจกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเป็นอย่างดีด้วย

  26. คดีปกครองเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองในคดีพัสดุคดีปกครองเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองในคดีพัสดุ

  27. ฟ้องเพิกถอนคำสั่งจ้างต้องอุทธรณ์ก่อน (หจก.ประภาพร)(ไม่อุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำเสนอราคาก่อนฟ้องคดี) • ผู้ฟ้องคดียื่นซองประกวดราคา เสนอราคาต่ำเป็นลำดับที่ ๒ แต่ผู้เสนอราคาต่ำสุดเสนอผิดเงื่อนไข คณะกรรมการพิจารณาผลฯจึงมีความเห็นให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ชนะการประกวดราคา และเรียกไปต่อรองราคาแล้ว • ผวจ.ให้คณะกรรมการพิจารณาผลฯพิจารณาใหม่ให้ผู้เสนอราคาต่ำสุดชนะการประกวดราคา และเรียกไปลงนามในสัญญาจ้างแล้ว • ศาลปกครองเห็นว่า การที่ ผวจ. ให้ผู้เสนอราคาต่ำสุดเป็นผู้ชนะ เป็นการอนุมัติสั่งซื้อ หรือจ้าง หรือให้สิทธิประโยชน์เป็นคำสั่งทางปกครอง เมื่อผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องโดยไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวก่อน ถือว่าไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายฯก่อนนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดี ศาลจึงไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๒๒๑/๒๕๔๕

  28. พรบ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๒ • มาตรา ๗ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวงหรือกระทำการโดยวิธีอื่นใดเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเข้าทำการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมหรือให้มีการเสนอราคาโดยหลงผิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสูงสุดระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดนั้นหรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า • มาตรา ๑๐ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใดซึ่งมีอำนาจหรือหน้าที่ในการอนุมัติ การพิจารณา หรือการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอราคาครั้งใด รู้หรือมีพฤติการณ์ปรากฏแจ้งชัดว่าควรรู้ว่าการเสนอราคาในครั้งนั้นมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ละเว้นไม่ดำเนินการเพื่อให้มีการยกเลิกการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอราคาในครั้งนั้น มีความผิดฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

  29. การยกเลิกการประกวดราคาโดยไม่ชอบฯ(งานนี้ สจ. ขอ – ไม่ให้สิทธิโต้แย้งตามมาตรา 30) • ออป. ประกาศประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างเพื่อปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวพื้นที่สวนป่าเขากระยาง โดย • ข้อ 6.5 กำหนดว่า ออป.ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะพิจารณายกเลิกการประกวดราคาและลงโทษผู้เสนอราคาให้เป็นผู้ทิ้งงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้เสนอราคาที่ได้รับการคัดเลือกหรือไม่ก็ตาม หากมีเหตุที่เชื่อได้ว่าการเสนอราคากระทำไปโดยไม่สุจริตหรือมีการสมยอมกันในการเสนอราคา • ข้อ 6.6 กำหนดว่า ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงภายหลังการเปิดซองฯ ว่า ผู้เสนอราคาที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกตามที่ประกาศรายชื่อไว้เป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่น ณ วันประกาศสอบราคา หรือเป็นผู้เสนอราคาที่กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ออป. มีอำนาจจะตัดรายชื่อผู้เสนอราคาที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกออกจากประกาศรายชื่อ และ ออป. จะพิจารณาผู้เสนอราคารายนั้นเป็นผู้ทิ้งงาน ในกรณีนี้ หาก ออป. พิจารณาเห็นว่าการยกเลิกการเปิดซองใบเสนอราคาที่ได้ดำเนินการไปแล้วจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการอย่างยิ่ง ออป. มีอำนาจยกเลิกการเปิดซองใบเสนอราคาได้ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.๖๑/๒๕๕๒

  30. ยื่นซองเวลา 9.00-10.30 น. มีผู้ยื่นซอง 5 ราย รวมทั้งผู้ฟ้องคดีด้วย ผ่านคุณสมบัติทุกราย • ผู้ฟ้องคดีเสนอราคาต่ำสุด ๖.๕ ล้านบาท (ราคากลาง ๖.๕๗๖ ล้านบาท) ต่อรองราคาเหลือ ๖.๔๗ ล้านบาท คณะกรรมการเปิดซองฯ เสนอว่าเห็นควรเลือกผู้ฟ้องคดีเป็นผู้รับจ้างก่อสร้าง • นาย ส. จนท. รายงานว่า ระหว่างเวลา 13.00-14.00 น. ตนไปสังเกตการณ์การยื่นซองฯ พบว่ามีการกระทำในลักษณะสมยอมในการเสนอราคาโดยมีกลุ่มบุคคล 10 คน (ชาย 8 หญิง 3) ยืนกีดกันไม่ให้มีการยื่นซองโดยพูดว่า “งานนี้ สจ.ขอ” และพูดว่าได้จ่ายค่าฮั้วรายละ 30,000 บาท แล้ว จึงเชื่อว่ามีพฤติกรรมในการฮั้วประมูล

  31. ออป. จึงยกเลิกการประกวดราคาโดยให้เหตุผลว่า ได้รับรายงานซึ่งเชื่อว่ามีการกระทำในลักษณะสมยอมเสนอราคาและมีพฤติการณ์ต่าง ๆ อันทำให้มิได้มีการแข่งขันกันเสนอประโยชน์สูงสุดให้แก่ ออป. ซึ่งเป็นการกระทำผิดตาม พรบ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐฯ • ผู้ฟ้องคดีทราบประกาศเมื่อ 11 เมษายน 2546 จึงอุทธรณ์คำสั่งเมื่อ 21 เมษายน 2546 ว่า วันยื่นซองไม่ปรากฏพฤติการณ์ดังกล่าว ตนเสนอราคาต่ำสุดและต่ำกว่าราคากลางโดยมีการต่อรองราคากันแล้ว ขอให้ยกเลิกประกาศยกเลิกฯ และเรียกให้ตนทำสัญญาต่อไป • ออป. ยืนยันว่าประกาศเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว • ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง

  32. ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า • ประกาศยกเลิกการประกวดราคาเป็นคำสั่งทางปกครองตามกฎฯ ๑๒ • ผู้ฟ้องคดีได้ซื้อเอกสารประกวดราคาฯ เข้ายื่นซอง และเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดจนคณะกรรมการเปิดซองฯ เรียกมาเจรจาต่อรองและรายงาน ออป. ว่าควรเลือกผู้ฟ้องคดีให้เป็นผู้รับจ้างแล้ว • จึงถือว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิเข้าทำสัญญาฯ • เมื่อ ออป. ยกเลิกการประกวดราคาฯ จึงถือว่าสิทธิของผู้ฟ้องคดีได้รับผลกระทบ ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นคู่กรณี • การที่ ออป. จะยกเลิกการประกวดราคาอันเป็นการกระทบสิทธิผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงต้องแจ้งข้อเท็จจริงให้ผู้ฟ้องคดีทราบอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนตามมาตรา ๓๐ วิปฏิบัติฯ

  33. การที่ ออป.ยกเลิกการประกวดราคาโดยอาศัยเพียงรายงานลับของนาย ส. โดยมิได้มีการสอบสวนพยานบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์ เช่น คณะกรรมการรับซองหรือคณะกรรมการเปิดซองฯ ฯลฯ เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณา ทั้ง ๆ ที่ ออป. เองก็ไม่แน่ใจว่าข้อความตามรายงานลับจะเป็นจริงหรือไม่ จนไม่อาจนำความเข้าแจ้งความกล่าวโทษต่อ พสส. ได้ ดังคำให้การของ ออป. ที่ยื่นต่อศาล • นอกจากนั้น ออป. ก็มิได้รวบรวมข้อเท็จจริงที่จะใช้เป็นเหตุผลในการประกาศยกเลิกฯ แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบและให้โอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนและนำหยานหลักฐานจากทั้งสองฝ่ายมาพิจารณาเปรียบเทียบกันว่า ฝ่ายใดน่าเชื่อถือกว่ากัน จึงจะวินิจฉัยไปตามนั้น • และการไม่แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวก็มิใช่กรณีที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะอันจะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา ๓๐ วรรคสาม • การประกาศยกเลิกฯ จึงไม่ถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น คำสั่งประกาศยกเลิกการประกวดราคาจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

  34. การที่ ออป. อ้างในคำอุทธรณ์ว่า บริษัท พรหมพิรามฯ (1 ในกิจการร่วมค้า) ได้มอบอำนาจให้ผู้แทนเข้ายื่นซองประกวดราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ ออป. และเสนอราคา ๔.๒๓๖ ล้านบาท และได้รับเลือกเป็นคู่สัญญา โครงการนี้ จึงเท่ากับผู้ฟ้องคดียอมรับผลของการยกเลิกการประกวดราคาฯ และสละสิทธิที่จะดำเนินการทางกฎหมายต่อไปนั้น เป็นข้อเท็จจริงใหม่ มิได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลปกครองชั้นต้น และไม่เป็นปัญหาความสงบเรียบร้อย หรือปัญหาเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจรับไว้วินิจฉัยได้ และข้อเท็จจริงนี้ไม่อาจทำให้ประกาศของ ออป. ที่เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบฯ กลับมามีผลเปลี่ยนแปลงไป • จึงพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งยกเลิกการประกวดราคาโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่มีประกาศดังกล่าว

  35. ขั้นตอนการประกาศจัดซื้อ/จ้าง- ประกาศจัดซื้อ/จัดจ้างชอบหรือไม่- การส่ง/ปิดประกาศชอบหรือไม่

  36. การส่งประกาศจัดซื้อจัดจ้าง (นายจิโรจน์ฯ/อบจ.นครศรีฯ) • ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือขอให้ อบจ.ส่งประกาศจัดซื้อจัดจ้างให้ตนทาง ปณ. ทุกโครงการ โดยยินดีจ่ายค่าใช้จ่าย แต่ไม่เคยส่งให้เลย จึงร้องเรียน ผวจ. เพื่อขอให้สั่งการ อบจ. ให้ดำเนินการ แต่ก็ไม่มีการส่งให้ • ขณะดำเนินคดีได้ไปขอตรวจดูเอกสารการประกาศจัดซื้อ/จ้าง แต่ จนท.บ่ายเบี่ยง จึงร้อง คขร. จึงได้รับอนุญาตและทราบว่ามีการจัดจ้างไป ๖๖ โครงการ จึงเห็นว่าการไม่ส่งประกาศฯให้ เป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ ทำให้ตนเสียหายไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารฯ ไม่มีโอกาสเข้าแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม นอกจากนั้น ตนเคยไปดูประกาศที่สำนักงานฯ ทุกสัปดาห์ ปรากฏว่า ไม่มีการปิดประกาศ สอบถามแล้ว จนท.ก็แจ้งว่าไม่มีการประกาศจัดซื้อ/จ้างแต่อย่างใด • ขอให้ส่งประกาศฯ ทาง ปณ.ให้ผู้ฟ้องคดีทุกโครงการจนกว่าจะบอกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษร โดยยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๓๓๓/๒๕๔๘

  37. ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ข้อ ๓๔ (๑) กำหนดให้เจ้าหน้าที่พัสดุ 1) ประกาศเผยแพร่การสอบราคาและเอกสารฯไปยังผู้มีอาชีพขาย/รับจ้างทำงานนั้นโดยตรง หรือทาง ปณ. ลงทะเบียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กับ 2) ให้ปิดประกาศเผยแพร่ไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของ อปท. นั้นเห็นว่า ระเบียบฯ ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ที่จะต้องจัดส่งประกาศสอบราคาให้แก่ผู้มีอาชีพรายหนึ่งรายใดโดยเฉพาะ กำหนดเพียงว่าให้จัดส่งฯ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้กรณีจึงเป็นการให้ดุลพินิจแก่ อปท. ในการจัดส่งประกาศเผยแพร่การสอบ • ดังนั้น การที่ อบจ. ไม่จัดส่งประกาศให้ผู้ฟ้องคดี จึงหาได้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) ไม่

  38. ที่อ้างว่า หนังสือ ที่ มท ๐๓๑๘/ว๒๒๕๒ ลว ๒๖ สค ๔๕ ที่กำหนดว่า การซื้อ /จ้างโดยวิธีสอบราคาทุกครั้ง หากมีผู้ประกอบการแสดงความจำนงต่อ อบต.เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อขอรับประกาศสอบราคาฯ อบต.ควรจัดส่งไปยังผู้ร้องขอทุกรายเพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างกว้างขวาง เป็นกรณีเดียวกับ อบจ. สามารถนำมาเทียบเคียงกันได้ เห็นว่า หนังสือ มท. ไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย เป็นเพียงคำแนะนำภายในเพื่อให้เจ้าหน้าที่และหน่วยงานในสังกัดถือเป็นแนวทางปฏิบัติเท่านั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่/หน่วยงานสามารถใช้ดุลพินิจในการจัดส่งประกาศสอบราคาและเอกสารฯได้ ที่ศาลปกครองชั้นต้นไม่รับคำฟ้องจึงชอบแล้ว

  39. การส่งประกาศฯ (หจก. สุจรรยา/อบต. แซงบาดาล และ อบต.หนองแวง) • เมื่อ อบต. ได้ดำเนินการประกาศสอบราคาครบถ้วนตามที่ระเบียบข้อ ๒๗(๑) กำหนดแล้ว การที่ไม่ได้ส่งประกาศสอบราคาให้ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ถือเป็นการปฏิบัติที่ผิดระเบียบ เพราะไม่มีกฎหมายระเบียบใดที่กำหนดให้ต้องแจ้งให้ผู้ใดโดยตรงเป็นการเฉพาะ และถือเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ต้องติดตามข้อมูลการประกาศประกวดราคาของหน่วยงานราชการด้วยตนเองเพราะมีผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก หน่วยงานราชการไม่สามารถจัดส่งให้แก่ผู้ประกอบการได้เป็นการเฉพาะราย • ประกอบกับไม่ปรากฏว่า ได้มีการดำเนินการโดยไม่ชอบนอกจากข้อกล่าวหาของผู้ฟ้องคดี และโครงการได้ดำเนินการเสร็จก็มิได้มีการร้องเรียนจากประชาชนในท้องที่แต่อย่างใด • ดังนั้น การออกประกาศสอบราคาจ้างจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๒๕๒/๒๕๔๙

  40. การประกาศสอบราคาไม่ชอบด้วยกฎหมาย(หจก. พ.บุญมี ที่ ๑ กับพวกรวม ๗ คน / อบต. หินเหล็กไฟ) • อบต. ออกประกาศสอบราคาโครงการก่อสร้างประปากำหนด • ออกประกาศสอบราคาเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๔ • ซื้อแบบ/เอกสารฯ ณ ที่ทำการ อบต. ตั้งแต่ ๒๘ มิถุนายน - ๘ กรกฎาคม ๒๕๔๔ • ยื่นซองวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๔ • เปิดซองวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔ • ผู้ฟ้องคดีไปขอซื้อแบบฯ เมื่อ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๔ แต่ปิดทำการ จึงเห็นว่า ระยะเวลาขายแบบตรงกับวันหยุด ๖ วัน เหลือเวลาขายแบบเพียง ๕ วัน ซึ่งไม่ถูกต้องตามระเบียบที่กำหนดให้มีช่วงเวลาการขายแบบไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน แต่ผู้รับเหมาบางรายที่รู้จักกับปลัด อบต. สามารถโทรศัพท์ซื้อแบบฯได้ในวันหยุดราชการ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.138/2549

  41. การขายแบบฯ ต้องไม่น้อยกว่า 10 วันทำการ มิถุนายน กรกฎาคม ประกาศสอบราคาฯ1. ติดต่อขอซื้อแบบฯ ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน – 8 กรกฎาคม ในวันและเวลาราชการ (วันที่ 5-6 เป็นวันมาฆะบูชา-วันเข้าพรรษา)2. ยื่นซองฯ 9 กรกฎาคม3. เปิดซองฯ 10 กรกฎาคม

  42. การกระทำของ อบต.มีลักษณะเป็นการสมยอมและปกปิดเพื่อช่วยเหลือผู้รับเหมาบางรายที่เป็นพวกพ้อง ทำให้ผู้ฟ้องคดีซื้อแบบตามเวลาที่กำหนด และรัฐสูญเสียรายได้ค่าซื้อแบบฯ • อบต. อ้างว่า ได้ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบแล้ว เพราะได้ประกาศขยายเวลาการขายแบบฯ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ กรกฎาคม – ๘ กรกฎาคม ๒๕๔๔ โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ รวมทั้งมีคำสั่งให้ หน.ส่วนการคลังมาปฏิบัติงานในวันหยุดราชการเพื่อขายแบบฯ ซึ่งผู้รับเหมาหลายรายสามารถซื้อแบบฯ ได้ในวันหยุดราชการดังกล่าว • ผวจ.ส่งเอกสารสำนวนการสอบสวนการทุจริตโครงการดังกล่าวตามคำสั่งศาล และผู้แทน อบต. และปลัด อบต. ชี้แจงว่า จนท.ผู้พิมพ์ประกาศให้การว่าประกาศขยายเวลาฯ จัดทำขึ้นภายหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาในการขายแบบแล้วประธาน อบต. ให้ถ้อยคำว่า มิได้เป็นผู้ลงนามอนุมัติให้ผู้เสนอราคาต่ำสุดเป็นผู้ชนะการสอบราคา และไม่ได้ลงชื่อในฐานะผู้ว่าจ้างตามสัญญาจ้าง

  43. ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า การกระทำของ อบต. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลเพิกถอนประกาศสอบราคาโครงการพิพาท และให้มีการสอบราคาใหม่ • ศาลปกครองสูงสุดวินิจแล้วเห็นว่า ระเบียบ • ข้อ ๒๗ วรรคหนึ่ง กำหนดว่า การซื้อ/จ้างโดยวิธีสอบราคา ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ก่อนวันเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน ให้เจ้าหน้าที่พัสดุส่งประกาศเผยแพร่การสอบราคาและเอกสารสอบราคาไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง หรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กับให้ปิดประกาศเผยแพร่การสอบราคาไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการ อบต. และที่ว่าการอำเภอนั้น • วรรคสอง กำหนดว่า การให้/ขายเอกสารสอบราคาซึ่งรวมทั้งคุณลักษณะเฉพาะ หรือรายละเอียด ให้ถือปฏิบัติตามการให้/ขายเอกสารของวิธีการประกวดราคาโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้เริ่มดำเนินการให้/ขาย ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศสอบราคาจนถึงก่อนวันเปิดซองสอบราคา

  44. ข้อ ๓๒ วรรคหนึ่ง กำหนดว่า การให้/ขายเอกสารประกวดราคาซึ่งรวมทั้งคุณลักษณะเฉพาะ หรือรายละเอียดให้กระทำ ณ ที่ทำการ อบต. หรือสถานที่ที่สามารถติดต่อได้โดยสะดวกและไม่เป็นเขตหวงห้ามกับจะต้องจัดเตรียมไว้ให้มากพอสำหรับความต้องการของผู้มาขอรับ/ซื้อ ที่มีอาชีพขาย/รับจ้างทำงานนั้นอย่างน้อยรายละ ๑ ชุด โดยไม่มีเงื่อนไขอื่นในการให้/ขาย ทั้งนี้ ให้เริ่มให้/ขายก่อนวันรับซองไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน และให้มีช่วงเวลาในการให้/ขายไม่น้อยกว่า ๑๐ วันด้วย • ข้อ ๓๓ วรรคหนึ่ง กำหนดว่า ก่อนวันเปิดซองประกวดราคา หากมีความจำเป็นที่จะต้องชี้แจงหรือให้รายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์แก่ อบต. หรือมีความจำเป็นต้องแก้ไขคุณลักษณะเฉพาะหรือรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญซึ่งมิได้กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคามาแต่ต้น ให้จัดทำเป็นประกาศและเอกสารประกวดราคาเพิ่มเติม และดำเนินการตามข้อ ๓๑ โดยอนุโลม กับแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ที่ขอรับ/ซื้อเอกสารประกวดราคาไปแล้วทุกรายด้วย

  45. ประกาศสอบราคามีลักษณะเป็น “คำสั่งทั่วไปของฝ่ายปกครอง” ที่มิได้กำหนดตัวผู้รับคำสั่งไว้โดยเฉพาะ เพียงแต่กำหนดคุณสมบัติกว้าง ๆ ไว้เพื่อให้ผู้ที่มีคุณสมบัติตามคำสั่งที่ประสงค์จะเสนอตัวเข้าเป็นคู่กรณีกับหน่วยงานของรัฐทราบ และมีสิทธิที่จะเสนอราคาตามเงื่อนไขและเวลาที่กำหนด เมื่อฟ้องว่าประกาศดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และผู้ฟ้องคดีมิใช่คู่กรณีตามคำสั่งทางปกครองจึงสามารถนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองโดยไม่ต้องอุทธรณ์คำสั่งก่อน • เมื่อ อบต. ประกาศขายแบบฯ โดยเป็นหยุด ๖ วัน และมีเวลาขายเพียง ๕ วัน เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ประกาศสอบราคาฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับกำหนดวันขายแบบจึงมีกำหนดระยะเวลาที่ไม่เป็นไปตามข้อ ๓๒ วรรคหนึ่ง ประกอบกับข้อ ๒๗ วรรคสอง และมีผลกระทบต่อเนื่องไปทำให้กำหนดวันยื่นซองและกำหนดเปิดซองสอบราคาที่กำหนดไว้ในวันที่ ๙ และ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔ ไม่ชอบด้วยระเบียบไปด้วย

  46. ที่อ้างว่า ได้ออกประกาศขยายเวลาโดยขายไม่เว้นวันหยุดราชการ เพื่อให้เป็นไปตามข้อ ๓๒ และเป็นประโยชน์แก่ทางราชการมีปัญหาว่าได้มีการออกประกาศดังกล่าวจริงหรือไม่ เพราะผู้ฟ้องคดีอ้างว่าไม่เคยพบเห็น และเข้าใจว่าเป็นการทำประกาศเพื่อป้องกันความผิด ประธาน อบต. ชี้แจงว่า เป็นผู้ลงนามในประกาศดังกล่าว แต่ไม่ทราบว่ามีการปิดประกาศหรือไม่ ปลัด อบต. ชี้แจงว่า มีการออกประกาศทั้ง ๒ ฉบับ โดยยืนยันว่าได้มีการปิดประกาศประกาศฉบับแรกแล้ว แต่ไม่ได้กล่าวถึงประกาศขยายเวลาว่ามีการปิดประกาศหรือไม่ จนท.ให้ถ้อยคำในการสอบสวนว่า จนท.ผู้พิมพ์ประกาศขยายเวลาให้การว่าประกาศขยายเวลาจัดทำขึ้นภายหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาขายแบบฯ โดยปลัดเป็นผู้ร่างประกาศฯกรณีจึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติว่า ได้มีการอกประกาศขยายเวลาจริงหรือไม่แต่ไม่ว่าจะมีการประกาศจริงหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่มีพยานคนใดยืนยันว่า ได้มีการปิดประกาศโดยเปิดเผยและส่งประกาศแก่ผู้มีอาชีพตามข้อ ๓๓ วรรคหนึ่ง โดยชอบแล้ว

  47. ดังนั้น การขยายเวลาขายแบบฯ ไม่ว่าจะมีประกาศจริงหรือไม่ จึงยังไม่เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการเพื่อแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องหรือบุคคลทั่วไปได้ทราบถึงการมีประกาศขยายเวลา ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญในการสอบราคาตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ เป็นเหตุให้ประกาศสอบราคาที่วินิจฉัยแล้วว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายยังคงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอยู่เช่นเดิม ดังนั้น อุทธรณ์ของ อบต. ที่ว่า ได้ดำเนินการตามระเบียบแล้ว จึงไม่อาจรับฟังได้ • และแม้ได้มีการออกประกาศขยายเวลาจริง การที่มิได้ปิดประกาศโดยเปิดเผยและส่งประกาศตามระเบียบ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการออกประกาศสอบราคาแล้ว หาได้มีผลกระทบต่อความชอบด้วยกฎหมายของประกาศสอบราคา เพียงแต่เป็นเหตุให้ประกาศขยายเวลาไม่มีผลเป็นการขยายเวลาขายแบบในวันหยุดราชการ กรณัจึงไม่ต้องเพิกถอนประกาศขยายเวลา • พิพากษาให้เพิกถอนประกาศสอบราคาของ อบต.

  48. ประกาศประกวดราคาล๊อคสเปค (หจก.แม่ฮ่องสอนคอนกรีต/ทม.แม่ฮ่องสอน) • ทม.ประกาศประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างระบุต้องปูพื้นแบบ Cobble Stone หรือมาตรฐานเทียบเท่า ซึ่งเป็นชื่อสินค้าของ บ.ซีแพ็ค ไม่ใช่ มอก. ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถเข้าแข่งขันได้ เพราะสินค้าดังกล่าวใน จ.เชียงใหม่ มีราคาสูง และทำให้สินค้า มอก. ที่ผลิตใน จ.แม่ฮ่องสอน ไม่มีโอกาสจำหน่าย ผู้ฟ้องคดีได้ชี้แจงและขอให้แก้ไขแล้ว แต่ ทม. เพิกเฉยและยังได้สอบราคาต่อไป • ขอให้เพิกถอนประกาศประกวดราคาฯ และให้ระงับการสอบราคาชั่วคราว • ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ประกาศฯแม้จะใช้กับบุคคลทั่วไปที่สมัครใจจะเข้าเสนอราคา เฉพาะการจ้างเหมาเฉพาะรายไม่ใช่เป็นการทั่วไป ประกาศจึงมีสถานะเป็นเพียงการชี้ชวน โดยมีการกำหนดคุณลักษณะของสิ่งของ และกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าเสนอราคาเท่านั้น คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ ๘๐๖/๒๕๔๘

  49. ประกาศฯแม้จะกำหนดเกณฑ์ของวัสดุ แต่ก็เป็นวัสดุที่ผู้เข้าแข่งขันทุกรายสามารถที่จะหาได้ในสถานะเท่าเทียมกันในขณะเสนอราคา หาได้มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ฟ้องคดีโดยเฉพาะแต่อย่างใด • ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายตามมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่งฯ และที่อุทธรณ์ว่า ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายเพราะไม่สามารถหาวัสดุที่กำหนดไว้ได้ เห็นว่า การกำหนดวัสดุฯจะมีผลกระทบต่อผู้ชนะการประกวดราคาและได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นผู้รับจ้างเท่านั้น หากใช้เป็นผลโดยตรงจากประกาศดังกล่าว • ผู้ฟ้องคดีเป็นเพียงผู้ซื้อแบบแปลนยังไม่ได้เป็นผู้ชนะการประกวดราคา จึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง จึงไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา

More Related