1.43k likes | 3.85k Views
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการศึกษา. ลักษณะเครื่องมือวัดทางด้านพุทธิพิสัย 1. ข้อสอบแบบถูก-ผิด (True-false) 2. ข้อสอบแบบจับคู่ (Matching) 3. ข้อสอบแบบเลือกตอบ (Multiple choice) 4. ข้อสอบแบบตอบสั้น (Short answer) 5. ข้อสอบแบบความเรียง (Essay).
E N D
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการศึกษา ลักษณะเครื่องมือวัดทางด้านพุทธิพิสัย 1. ข้อสอบแบบถูก-ผิด (True-false) 2. ข้อสอบแบบจับคู่ (Matching) 3. ข้อสอบแบบเลือกตอบ (Multiple choice) 4. ข้อสอบแบบตอบสั้น (Short answer) 5. ข้อสอบแบบความเรียง (Essay)
การใช้เครื่องมือวัดทางด้านพุทธิพิสัยการใช้เครื่องมือวัดทางด้านพุทธิพิสัย 1. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Achievement test) 2. แบบทดสอบวินิจฉัย (Diagnostic test) 3. แบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาและความถนัด (Intelligence and aptitude test)
ลักษณะของเครื่องมือวัดจิตพิสัยลักษณะของเครื่องมือวัดจิตพิสัย 1. แบบมาตรวัดประมาณค่า (Rating scale) 2. แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) 3. แบบบันทึกพฤติการณ์ (Anecdotal record) การใช้เครื่องมือวัดจิตพิสัย 1. แบบสำรวจความสนใจ (Interest inventory) 2. แบบวัดเจตคติ (Attitude test)
ขั้นตอนการสร้างและพัฒนาแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ขั้นตอนการสร้างและพัฒนาแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ขั้นตอนที่ 1. กำหนดความมุ่งหมายของการสอบ 1.1 สอบทำไม เป้าหมายของการสอบ 1.2 สอบอะไร เนื้อหาและน้ำหนักความสำคัญ 1.3 สอบอย่างไร วิธีการสอบ ชนิด รูปแบบของแบบสอบ และเวลาที่ใช้ ในขั้นนี้ผู้สอนต้องทำการวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของหลักสูตร การเรียนรู้ วิเคราะห์เนื้อหา และกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียน
ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบการสร้างแบบสอบ ประกอบด้วย 2.1 วางแผนการทดสอบ เป็นการวางแผนการวัดผลตลอดทั้งภาคเรียน เช่น การทดสอบ ก่อนสอน ระหว่างสอน (สอบย่อย,กลางภาค) หลังสอน (ปลายภาค) ว่าจะมีการทดสอบทั้งหมดกี่ครั้ง แต่ละครั้งวัดอะไร ใช้เวลาเท่าใด 2.2 กำหนดรูปแบบของแบบสอบ เป็นการกำหนดว่าจะใช้แบบทดสอบรูปแบบใด ชนิดใด เป็นแบบเขียนตอบ แบบถูกผิด หรือแบบเลือกตอบ เป็นต้น 2.3 สร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร
2.4 สร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร
3.1 ร่างข้อสอบ (item drafting) โดยวัดเนื้อหาและพฤติกรรม ตามตารางวิเคราะห์หลักสูตร 1. พลอยได้คะแนนกลางภาควิชาการหลักการวัดและประเมินผล 40 คะแนน มีความหมายเหมือนกับข้อใด ก การวัด ข การประเมิน ค การสอบ ง แบบสอบ ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ/แบบสอบ 4.1 ตรวจสอบความสอดคล้องและเหมาะสมของข้อสอบด้วยวิธีการเชิงเหตุผล (ความตรงเชิงเนื้อหา)
4.2 นำแบบสอบไปทดลองใช้และตรวจสอบคุณภาพเชิงประจักษ์ (ความยากง่าย อำนาจจำแนก ความเที่ยง ความตรง) 4.3 ปรับปรุงและจัดทำเป็นแบบสอบฉบับสมบูรณ์
ความรู้ความจำ (Knowledge) เป็นความสามารถในการระลึกหรือจำเรื่องราวที่เคยเรียนรู้มาแล้วทั้งจากในห้องเรียนและประสบการณ์ทั่วไป จำแนกเป็น 1. ความรู้ในเรื่องเฉพาะ ได้แก่ ศัพท์และนิยามต่างๆ และความจริงเฉพาะอย่าง 2. ความรู้ในแนวทางและวิธีการดำเนินงาน ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน วิธีการ ลำดับขั้นตอน แนวโน้มของเหตุการณ์ การจัดประเภท หมวดหมู่ เกณฑ์ 3. ความรู้ในหลักสากลและนามธรรม ได้แก่ ความรู้ในเรื่องหลักเกณฑ์และข้อสรุปทั่วไป ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง
ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถในการเรียนรู้ จำ และสื่อสาร ความรู้นั้นออกมา ได้อย่างถูกต้อง • การแปลความ (Translation) การบอกความหมายตามนัยของคำ เหตุการณ์ หรือกิจกรรม • การตีความ (Interpretation) การนำผลการแปลความมาเปรียบเทียบ เป็นข้อยุติ • การขยายความ (Extrapolation) เปรียบเทียบ ความหมายของคำ เหตุการณ์ หรือกิจกรรม ให้กว้างไกลออกไปจากเดิม
การนำไปใช้ (Application) ความสามารถในการนำความรู้ ความเข้าใจที่มีอยู่ไปใช้ในการแก้ปัญหา ในสถานการณ์ใหม่ ตย. ข้อสอบวัดการนำไปใช้ การวัด “ความซื่อสัตย์” ควรดำเนินการอย่างไร ก. กำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการของความซื่อสัตย์ ข. เขียนข้อคำถามตามพฤติกรรมบ่งชี้และ ตรวจสอบคุณภาพของข้อคำถาม ค. ถูกเฉพาะข้อ ก ง. ถูกทั้ง ก และ ข
การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะองค์รวมของสิ่งต่างๆ ออกเป็น ส่วนประกอบย่อยๆ ประกอบด้วย • การวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Analysis of Element) แยกแยะคุณลักษณะขององค์รวมเป็นส่วนประกอบย่อย • การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของส่วนประกอบ (Analysis of Relationship) แยกแยะคุณลักษณะขององค์รวมเป็นส่วนประกอบย่อยที่สัมพันธ์กัน • การวิเคราะห์แบบเชื่อมโยงโครงสร้างของหลักการ (Analysis of Organizational Principles) แยกแยะคุณลักษณะขององค์รวมเป็นโครงสร้างของส่วนประกอบที่สัมพันธ์กัน
การสังเคราะห์ (Synthesis) ความสามารถในการผสมผสานส่วนประกอบย่อยเข้าด้วยกันเป็นองค์รวมใหม่ที่กลมกลืนอย่างมีความหมาย ประกอบด้วย • การสังเคราะห์ข้อความ (Production of a unique communications) รวบยอดข้อความเป็นข้อสรุปสำคัญ • การสังเคราะห์แผนงาน(Production of plan or operations) รวมส่วนประกอบย่อยเข้าเป็นแผนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมาย • การสังเคราะห์แนวคิด (Derivation of Abstract Relation) ผสมผสานความรู้ต่างๆ เป็นแนวคิดอย่างเป็นระบบ
การประเมิน (Evaluation) ความสามารถในการตีค่าหรือตัดสินคุณค่าของสิ่งต่างๆ ตามเกณฑ์หรือมาตรฐาน ที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย • การประเมินค่าโดยใช้เกณฑ์ภายใน (Judgments in terms of internal criteria) ตัดสินคุณค่าตามเกณฑ์ภายในที่กำหนดไว้เกี่ยวกับเรื่องนั้น • การประเมินค่าโดยใช้เกณฑ์ภายนอก (Judgments in terms of ฎExternal criteria) ตัดสินคุณค่าตามเกณฑ์ภายนอกที่กำหนดได้อย่างเป็นมาตรฐาน
การสร้างเครื่องมือวัดด้านจิตพิสัยการสร้างเครื่องมือวัดด้านจิตพิสัย จิตพิสัย หมายถึง ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งสามารถแสดงออกในรูปของความเชื่อ ความรู้สึก และเจตนาที่จะกระทำ ที่มีต่อบุคคล วัตถุสิ่งของ สถาบันฯลฯ แบ่งได้เป็นหลายระดับ ดังนี้ • ขั้นรับรู้ (receiving) • ขั้นยอมรับ (responding) • ขั้นเห็นคุณค่า (valuing) • ขั้นจัดระบบคุณค่า (organizing) • ขั้นสร้างคุณลักษณะ (characterizing)
การแสดงออกถึงคุณลักษณะด้านจิตพิสัย แสดงออกได้ 3 ทางคือ • ทางความคิด คือ การแสดงออกของความรู้สึกผ่านทางความคิดและความเชื่อ • ทางความรู้สึก คือ การแสดงออกของความรู้สึกโดยตรงอย่างชัดเจน เช่น มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม • ทางการกระทำ คือ การแสดงออกซึ่งเจตนารมย์ที่จะกระทำผ่านทางการปฏิบัติ เช่น เข้าเรียนตรงเวลา
วิธีการวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัยวิธีการวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย • ให้ผู้อื่นประเมิน เช่น การสังเกตโดยครู เพื่อน • การประเมินตนเอง เช่น การตอบแบบวัดเจตคติ การตอบแบบสำรวจความสนใจในวิชาชีพ
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะด้านจิตพิสัยขั้นตอนการสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะด้านจิตพิสัย • กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการวัด • กำหนดตัวบ่งชี้ถึงคุณลักษณะที่ต้องการวัด • กำหนดวิธีการวัดและสร้างเครื่องมือ • กำหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายผลการวัด
เครื่องมือวัดด้านจิตพิสัยเครื่องมือวัดด้านจิตพิสัย • แบบสังเกต (Observation form) เป็นเครื่องมือที่สามารถวัดได้ตรงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด เป็นวิธีการวัดที่ให้ผู้อื่นประเมินแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบคือ 1.1 แบบสังเกตที่มีโครงสร้าง (structured observation form) เป็นแบบสังเกตที่ประกอบด้วยรายการข้อคำถามแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.1.1) แบบตรวจสอบรายการ (check-list) จะประกอบด้วยรายการที่ให้ผู้สังเกตระบุเพียงสองทางเลือกเช่น มีหรือไม่มี เกิดหรือไม่เกิด ใช่หรือไม่ใช่ รวมทั้งการระบุความถี่ของการวัด
1.1.2) แบบมาตรประเมินค่า (rating scale) จะประกอบด้วยรายการที่ให้ผู้สังเกตระบุว่าสิ่งที่สังเกตได้มีปริมาณมากน้อยเพียงใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด (หรือ) ทุกครั้ง บ่อยๆ บางครั้ง นานๆ ครั้ง 1.2 แบบสังเกตที่ไม่มีโครงสร้าง(unstructured observation form) เป็นแบบสังเกตที่มีแต่หัวข้อ ไม่มีรายละเอียด ข้อมูลที่ได้จะตรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความชำนาญของผู้สังเกต
ขั้นตอนการสร้างแบบสังเกตขั้นตอนการสร้างแบบสังเกต • กำหนดจุดมุ่งหมายของการสังเกต พิจารณาจากจุดมุ่งหมายการเรียนรู้และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ว่าต้องการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนในด้านใด เช่น ความสุขในการเรียน • กำหนดกรอบเนื้อหาหรือประเด็นที่ต้องการสังเกต กำหนดรายละเอียดที่ต้องการสังเกตว่ามีอะไรบ้าง เช่น ความสุขในการเรียน มีตัวบ่งชี้คือ สีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส เข้าเรียนสม่ำเสมอ ตั้งใจฟังสิ่งที่ครูสอน • กำหนดรูปแบบของการสังเกต แบบสังเกตที่มีโครงสร้างหรือไม่มีโครงสร้าง • เขียนรายการสังเกตและตรวจสอบคุณภาพ รายการที่สังเกตต้องครอบคลุมประเด็นที่ต้องการสังเกต
ตย. แบบสังเกตที่มีโครงสร้าง แบบสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
ตย. แบบสังเกตที่ไม่มีโครงสร้าง ชื่อผู้ถูกสังเกต_____________________________ชั้น_______ คาบเรียนรายวิชา________________________เวลา______ชื่อผู้สังเกต____ ___________________________________ ___________________________________ ___________________________________ ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
2. มาตรวัดความสนใจ (Interesting Test) เป็นเครื่องมือที่ให้ผู้ตอบประเมินตนเอง ประกอบด้วยข้อความที่แสดงถึงกิจกรรม เกี่ยวกับสิ่งที่มุ่งประเมิน โดยการวัดความสนใจจะพิจารณาจากความถี่ของการเกิด พฤติกรรมดังกล่าว มาตรวัดความสนใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
3. แบบสอบถามความคิดเห็น เป็นแบบสอบถามที่ให้ผู้ตอบประเมินตนเอง ประกอบด้วยข้อคำถามที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการถาม ลักษณะของคำถาม มี 2 รูปแบบคือ 1) คำถามปลายปิด จะมีข้อคำถามและคำตอบให้ผู้ตอบได้เลือกตอบตามความเป็นจริง 2) คำถามปลายเปิด จะมีเพียงข้อคำถามแล้วให้ผู้ตอบสร้างคำตอบด้วยตนเอง
4. แบบวัดเจตคติ เป็นเครื่องมือที่ให้ผู้ตอบประเมินตนเองประกอบด้วยข้อความ ที่แสดงถึงความรู้สึกต่อสิ่งที่มุ่งวัด โดยข้อความจะประกอบด้วยข้อความทางบวกและทางลบต่อสิ่งที่มุ่งวัดนั้นๆ แล้วให้ผู้ตอบแสดงความรู้สึกต่อข้อความแต่ละข้อว่าอยู่ในระดับใด ใน 5 ระดับ คือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ตย. แบบวัดเจตคติต่อวิชาชีพครู
5. แบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับใช้เก็บข้อมูลเชิงลึก และใช้สำหรับเก็บข้อมูลกับกลุ่มที่ไม่สามารถอ่านออก เขียนได้ โดยแบบสัมภาษณ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ • แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จะประกอบด้วย • รายการข้อคำถามและคำตอบให้ผู้ตอบเลือกตอบคล้าย • กับแบบสอบถาม • 2) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง จะประกอบด้วย • ข้อคำถามที่ถามเฉพาะประเด็นหลักๆ ส่วนคำตอบขึ้น • อยู่กับผู้ตอบเป็นหลัก
ขั้นตอนการสร้างแบบสัมภาษณ์ขั้นตอนการสร้างแบบสัมภาษณ์ • กำหนดจุดมุ่งหมายของการสัมภาษณ์ • กำหนดกรอบเนื้อหาหรือประเด็นของการสัมภาษณ์ • การเขียนหัวข้อที่สัมภาษณ์ • การตรวจสอบคุณภาพและการปรับปรุงแก้ไข
ตย. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 1. เพศ หญิง ชาย 2. อายุ_______ปี 3. อาชีพ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน อื่นๆ (โปรดระบุ)__________ ตย. แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง 1. ท่านรู้สึกอย่างไรต่อข่าวการวางระเบิด 2. ท่านคิดว่าเหตุการณ์วางระเบิดจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ เพราะเหตุใด
เครื่องมือวัดด้านทักษะพิสัยเครื่องมือวัดด้านทักษะพิสัย ทักษะพิสัย (Psychomotor domain) เป็นความสามารถของ ผู้เรียนในการใช้กล้ามเนื้อเพื่อการเคลื่อนไหวต่างๆ ได้อย่าง คล่องแคล่ว ว่องไว การวัดทักษะพิสัยจะวัดใน 2 ส่วนดังนี้ 1. วัดกระบวนการทำงาน (process) 2. วัดผลผลิต (product)
เกณฑ์การให้คะแนน (Rubric Scoring) เป็นแนวทางการให้คะแนนที่จะแยกแยะระดับต่างๆ ของความสำเร็จในการเรียน หรือการปฏิบัติของผู้เรียนได้อย่างชัดเจนจากดีมากไปจนถึงต้องปรับปรุงแก้ไข เกณฑ์การให้คะแนนมี 2 วิธี คือ 1. เกณฑ์การให้คะแนนในภาพรวม (Holistic Scoring) คือ แนวทางการให้คะแนนโดยพิจารณาจากภาพรวมของชิ้นงาน โดยแบ่งตามคุณภาพออกเป็นกองหรือกำหนดระดับความผิดพลาด ซึ่งจะมีคำอธิบายลักษะณะของงานในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจน ส่วนใหญ่ประกอบด้วย 3-6 ระดับ
เกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกส่วน (Analytic Scoring) คือ แนวทางการให้คะแนนโดยพิจารณาจากแต่ละส่วนของงาน ซึ่งแต่ละส่วนจะต้องกำหนดแนวทางให้คะแนน โดยมีคำนิยามหรือคำอธิบายลักษณะของงานในส่วนนั้นๆ ในแต่ระระดับไว้อย่างชัดเจน
ตย. เกณฑ์การให้คะแนนในภาพรวม (Holistic Scoring)
ตย. เกณฑ์การให้คะแนนในภาพรวม (Holistic Scoring)