270 likes | 458 Views
ธรรมาภิบาลในการจัดการศึกษาและแนวทาง ในการบริหารจัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายคุณธรรมนำความรู้ ชุดที่4 คุณธรรมนำความรู้ถึงนักเรียนถึงโรงเรียน. โดย ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในการประชุมโครงการกฎหมายสำหรับผู้บริหารตามหลักธรรมาภิบาล จัดโดยสำนักงานก.ค.ศ.
E N D
ธรรมาภิบาลในการจัดการศึกษาและแนวทางในการบริหารจัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายคุณธรรมนำความรู้ชุดที่4 คุณธรรมนำความรู้ถึงนักเรียนถึงโรงเรียน โดย ดร.จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในการประชุมโครงการกฎหมายสำหรับผู้บริหารตามหลักธรรมาภิบาล จัดโดยสำนักงานก.ค.ศ. วันที่ 17 กันยายน 2550 เวลา 9.00 -12.00 น โรงแรมอะเครียติค พาเลซ กรุงเทพมหานคร
ปฏิรูปการศึกษา ปี2550นักเรียนนักศึกษา 14ล้าน คน ปฏิรูปให้เกิดการเรียนรู้ปฏิรูปให้เกิดคุณธรรม
สถานการณ์เด็กไทย (ข้อมูลปี2547-2548) • 2. พฤติกรรมเสี่ยงของเยาวชน • 1) เฉลี่ยเด็ก 1 คน มี 1.8 ปัญหา • 2) ติดบุหรี่แล้ว 375,900 คนและจาก • ผู้ดื่ม 18.6 ล้านคน เป็นเด็ก 35% ที่ • ดื่มเหล้าหรือ 651,000 คน • มีโรงเรียน 9,661 แห่งจาก 30,000แห่งที่ประเมินแล้วเข้มแข็งในการต่อต้านยาเสพติด • เยาวชนมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 70,000 คน • คดีเด็ก 7 คดีต่อ 1 ชั่วโมง รวม20,218 คดี ในปี 2548 • ยกพวกตีกัน 3,051 ครั้งในรอบปี2547 • นักศึกษาเล่นการพนัน 25% หรือ • 4 แสนคนในฟุตบอลรีเมียลีก 2548 1. เด็กยากลำบากหรือ ถูก ละเมิด -เด็กยากจน 2.9 ล้านคน-ถูกทารุณและละเมิดทางเพศ 30,000 คน -แรงงานเด็ก 55,000 คน -โสเภณีเด็ก15,010 คน -เด็กไม่อยู่กับพ่อแม่ 1.2ล้านคน -เด็กบาดเจ็บ/อุบัติภัย ปีละ 3,000 คน
มุ่งไปที่ตัวเด็ก แต่ไม่แก้ไขสิ่งรอบตัวเด็ก พ่อแม่ไม่ว่างโยนให้โรงเรียน โรงเรียนดูแลไม่ทั่วถึง โทษพ่อแม่ไม่สั่งสอนต่างฝ่ายต่างโทษกัน มุมมองของ ปัญหาเด็ก แบบเดิม ส่วนราชการก็ออกนโยบาย ออกกฎระเบียบขาดการติดตาม แต่ไม่สามารถประสานได้ จึงซ้ำซ้อน ขาดเอกภาพ สื่อนำเสนอข่าวโดยไม่ระวังความเหมาะสมกับวัย สื่อจัดไว้เพื่อผู้ใหญ่แต่เด็กเข้าถึงได้ การแก้ปัญหาเด็ก จากการทำงาน แบบเดิม ที่ล้มเหลว 1. ปัญหาเด็กซับซ้อนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทำงานในระบบ ล่าช้าไม่ทันการ 2. การแก้ปัญหาในรูปคณะกรรมการ หากฝ่ายเลขานุการ ไม่นำสู่การปฏิบัติผลงานไม่เกิด 3. การทำงานต่างหน่วยต่างทำ ไม่สามารถ บังคับใช้กฎหมาย
1. สังคมเป็นอย่างไร เยาวชนเป็นอย่างนั้น จะมาโทษ เด็กฝ่ายเดียวไม่ได้ ประชาสังคมต้องช่วยตรวจสอบ การมองตัว ปัญหาเด็ก แบบใหม่ 2. พ่อแม่ต้องให้เวลาดูแลลูกเป็นต้นแบบให้ลูกในทางที่ดี 3. ครูต้องสร้างโอกาสในการเรียนรู้ให้เด็กค้นหาคำตอบได้ 4. ผู้ใหญ่ต้องเคารพสิทธิเด็ก แนะให้เด็กรู้จัก สิทธิเสรีภาพโดยมีหน้าที่ 1. มีเจ้าภาพ รับผิดชอบชัดเจน ซึ่งต้องใช้ยุทธศาสตร์ มีองค์ความรู้ และมีการอำนวยการ แนวทางใหม่ แก้ปัญหาเด็ก 2. สังคม เข้ามามีส่วนร่วม เรียกร้อง หน่วยงานต่าง ๆ ให้เข้ามาจัดการ 3. หน่วยงานรับเป็นภาระไปแก้ไข และเคลื่อนไหว ไปในทิศทางเดียวกัน
ต้องปรับวิธีคิดของผู้ใหญ่เกี่ยวกับตัวเด็กต้องปรับวิธีคิดของผู้ใหญ่เกี่ยวกับตัวเด็ก • เยาวชนมีแนวคิด บริสุทธิ์สดใส • เด็กที่ได้ฝึกความรับผิดชอบจะมีผลงานที่ดี • หากเด็กเข้าใจโลกแห่งความเป็นจริง เขาจะเตรียมพร้อมรับมือ • หากได้ฝึกช่วยเหลือผู้อื่น จะทำให้ตนเองมีคุณค่า • บูชาวีรบุรุษเป็นต้นแบบ พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 7
ยุทธศาสตร์กระตุ้นเยาวชนสนใจกิจกรรมยุทธศาสตร์กระตุ้นเยาวชนสนใจกิจกรรม • ต้องปรับวิธีคิดของผู้ใหญ่เกี่ยวกับตัวเด็ก มีส่วนร่วมตัดสินใจ เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ใหม่: เด็กคือสมาชิก ปัจจุบัน เดิม: เด็กคือคน ในอนาคต 6
อุปสรรคของการดึงเยาวชนมาร่วมกิจกรรมอุปสรรคของการดึงเยาวชนมาร่วมกิจกรรม • ผู้ปกครองไม่เข้าใจ คิดว่ากิจกรรมเสียเวลา ควรมุ่งวิชาการ • เด็กเองมีปัญหาชีวิต ครอบครัวแตกแยก วิตก กังวล • ขาดโอกาส เพราะยากจน ขาดการสื่อสารโลกภายนอก หรือป่วย • กิจกรรมไม่น่าสนใจ กระบวนการยุ่งยาก ขาดข้อมูล • ข้อจำกัดด้านเวลา งบประมาณ วิทยากร 8
การสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กการสร้างการมีส่วนร่วมของเด็ก • 1. บังคับ ขาดการมีส่วนร่วม • 2. กำหนดเป็นกฎระเบียบ • 3. สั่งด้วยวาจา • 4. มอบหมายโดยบอกกล่าว • 5. ให้คำแนะนำโดยบอกกล่าว • 6. ผู้ใหญ่ริเริ่มโดยฟังข้อเสนอเด็ก • 7. เด็กคิดโดยมีทิศทางให้ • 8 เด็กคิด ผู้ใหญ่ให้คำแนะนำ ระดับการมีส่วนร่วม 9
1.ผู้ใหญ่ริเริ่ม 2.ผู้ใหญ่กำหนดวาระ 3.ผู้ใหญ่ตัดสินใจ 4.ผู้ใหญ่มีข้อมูลส่วนใหญ่ 5.ผู้ใหญ่นำสู่การปฏิบัติ 6.ขึ้นกับการสั่งการของผู้ใหญ่ 7.ผู้ใหญ่มีอำนาจ 1.เด็กริเริ่ม 2.เด็กกำหนดวาระ 3.เด็กตัดสินใจ 4.เด็กมีข้อมูลส่วนใหญ่ 5 เด็กนำสู่การปฏิบัติ 6.โครงสร้างไม่เป็นทางการ 7.เด็กมีอำนาจ รูปแบบการมอบอำนาจ 10
การพัฒนาการมีส่วนร่วมไปเป็นการสร้างภาวะผู้นำให้เด็กการพัฒนาการมีส่วนร่วมไปเป็นการสร้างภาวะผู้นำให้เด็ก เด็กลงมือ ทำ เด็กมี บทบาท ทั้งหมด มัธยมปลาย มัธยมต้น ประถม กลุ่มเพื่อน และผู้ใหญ่ ร่วมคิด เด็กจัด กิจกรรม เยาวชน ตัดสินใจ เยาวชนร่วม วางแผน ผู้ใหญ่จัด เด็กเข้าร่วม ผู้ใหญ่ จัดเด็กร่วม วางแผน เด็กทำ ตามสั่ง 11
หลักการสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนหลักการสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชน • เคารพความคิดของเยาวชน • เสนอทางเลือกที่หลากหลาย • กิจกรรมท้าทายและสนุก • มีประโยชน์ได้สาระเกิดการเรียนรู้ • ได้ฝึกทักษะสังคม • รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม • รู้สึกปลอดภัย 27
งานวิจัยต่างประเทศ เสนอแนะการแก้ปัญหาสังคมในส่วนของเยาวชน 1.ต้องกำหนดคุณธรรมที่เหมาะสมกับวัย ได้แก่ วัยอนุบาล ฝึกให้รู้จักถูก ผิด ชั่ว ดี และควบคุมอารมณ์ได้ วัยประถม ฝึกให้ประหยัด มีวินัย และใฝ่เรียนรู้ ส่วนวัยรุ่นมัธยม สอนให้รู้จักอัตลักษณ์ทางเพศ และอัตลักษณ์ทางสังคม2.ต้องสอนคุณธรรมหลัก (Core Ethics) ที่เป็นพื้นฐานของคุณธรรมตัวอื่นๆ ได้แก่ ความรับผิดชอบ ความเป็นพลเมืองดี ความน่าเชื่อถือไว้ใจได้ ความซื่อสัตย์ การเคารพสิทธิผู้อื่น ความยุติธรรม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความขยันอดทนและเอาใจเขาใส่ใจเรา เมตตาเพื่อนมนุษย์3.ต้องใช้การเรียนการสอนเชิงสร้างสรรค์ ให้เด็กรู้จักคิด ลงมือทำ เกิดความรู้สึกที่ดี เน้นปรัชญาการสอนเชิงบวก"เมื่อรู้สึกต่อตนเองในทางที่ดีจะทำให้กระทำในทางสร้างสรรค์ และหาทางเลือกที่ดีเสมอไม่ว่าจะทำอะไร"
สถานการณ์พฤติกรรมเยาวชนในส่วนที่ ศธ รับผิดชอบ เป้าหมาย: ส่งเสริมคุณธรรมนักเรียนนักศึกษาในปี 2550 O W • มิติพฤติกรรมเยาวชนน่าตกใจ :ปัญหารุนแรง /ยังไม่มีมาตรการแก้ไขจริงจัง • คนมอง ศธ ในแง่ลบ: ปฏิรูปการศึกษาล่าช้า/ ปฏิรูปแต่วิชาการอ่อนด้อยทางคุณธรรม • ยังไม่ดำเนินงานตามพ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546:ยังขาดการปฏิบัติจริงจัง / จำนวนจนทส่งเสริมความประพฤติมีน้อยไม่ทั่วถึง ไม่ทันเหตุการณ์ • กระแสตื่นตัวของเครือข่ายองค์กร ชุมชน องค์กรภาคเอกชนและผู้ปกครองเข้มแข็งกว่าเดิม • สถานศึกษามีคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีในการสื่อสาร กระจายข้อมูล • นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีศธ.ให้ความสำคัญต่อการแก้ปัญหาสังคม T S • ยังขาดกลไกประสานเชื่อมโยงภายใน5องค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการเองและข้ามกระทรวง • ขาดระบบติดตาม ประเมินผล การรายงานความก้าวหน้าของสถานศึกษา • บุคลากรขาดทักษะการทำงานเชิงยุทธศาสตร์/ งานเชิงรุกเมื่อปฏิบัติจริงกลับกลายเป็นทำงานเชิงรับ/งานขาดทิศทาง • มีครู นักเรียน และผู้ปกครอง รวมแล้วกว่า 12ล้านคน ที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารถึงตัว • มีครูที่มีความรู้ เป็นต้นแบบจริยธรรมหรือ • ปูชนียบุคคลของนักเรียนนักศึกษา และครูเป็นผู้นำชุมชน เป็นที่ยอมรับนับถือจากผู้ปกครอง • . มีงบประมาณเดิมจากแผนงานยาเสพติด โรคเอดส์ งบกีฬา งบกิจกรรม จัดหาเพิ่มบางส่วนได้
วัตถุประสงค์ 1. ส่งเสริมคุณธรรมนำความรู้ถึงครูถึงนักเรียนถึงโรงเรียน 2. รณรงค์สื่อสารกับสังคม มิติเชิงตัวปัญหา 1.หนีเรียน เที่ยวเตร่สถานบันเทิง ฟุ้งเฟ้อ 2. เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด 3. เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 4. ความรุนแรงยกพวกตี กัน ฆ่าตัวตาย 5. การพนัน 6. ติด เกม อินเตอร์เน็ต 7. ครอบครัวไม่ดูแล มิติเชิงยุทธศาสตร์ 1. มีตัวยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน 2. มีเจ้าภาพ / หน่วยงานรับผิดชอบดูแลเชิงยุทธศาสตร์/ความรู้/การอำนวยการ 3. มียุทธศาสตร์เฉพาะในการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่อง เฉพาะกลุ่ม ขอบข่ายการ ขับเคลื่อนกระบวนการส่งเสริมคุณธรรมนำความรู้ของ ศธ. มิติการเคลื่อนไหวแบบบูรณาการ 1.ประเด็น/เรื่อง 2. พื้นที่ /เขต/ จังหวัด /สถานศึกษา . 3.องค์กร 4ระบบสนับสนุน
ค่านิยมต้องสร้างให้เด็กไทยค่านิยมต้องสร้างให้เด็กไทย ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ทำงานไปด้วยเรียนด้วย รู้จักคิดไม่เชื่อง่าย ไม่กินเหล้าสูบบุหรี่ก็เท่ได้ ทันสมัยฉลาดใช้เทคโนโลยี มั่นใจวัฒนธรรมและความเป็นไทย ลักษณะนิสัยประจำชาติไทย รักสงบ เคารพอาวุโส ชอบบันเทิง เมตตากรุณา ผักซีโรยหน้า เป็นคนใจกว้าง อ่อนน้อมถ่อมตัว ช่างอดช่างทน กตัญญูกตเวที ชอบมีอภิสิทธิ์ จิตใจเอื้ออารี โอนอ่อนผ่อนตาม มีความเกรงใจ ให้อภัยเสมอ เคร่งครัดเคารพพระมหากษัตริย์ ค่านิยมต้องสร้างให้พ่อแม่ ดูแลเอาใจใส่ ให้ความอบอุ่น เป็นแบบอย่างที่ดีรับฟังพร้อมให้เวลาและคำปรึกษา ชมเชยเมื่อทำดี แก้ไขเมื่อทำพลาด เป็นครูคนแรก ค่านิยมต้องสร้างให้ครูไทย อบรมสั่งสอนอย่างกัลยาณมิตร เป็นพ่อแม่คนที่สอง ฝึกทักษะชีวิต ให้คำแนะนำในการเรียน และการสร้างอนาคต
กรอบแผนแม่บทการส่งเสริมคุณธรรมนำความรู้ถึงครูถึงนักเรียนถึงโรงเรียนกรอบแผนแม่บทการส่งเสริมคุณธรรมนำความรู้ถึงครูถึงนักเรียนถึงโรงเรียน ส่งเสริมรูปคุณธรรม สถานศึกษาทุกแห่งต้องทำ รณรงค์สื่อสารกับสังคม วิสัยทัศน์ สถานศึกษาทุกแห่งมีระบบพัฒนาคุณธรรมและสื่อสารกับสังคมช่วยดูแลพฤติกรรมเยาวชน วัตถุประสงค์ หลักการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ระดับเป้าหมาย - มุ่งยกระดับการบริหารจัดการของหน่วยงานทุกระดับ ไปสู่การพัฒนาคุณธรรมt ระดับยุทธศาสตร์ - มีจุดเน้น (Focus) ไปที่การยกระดับขีดความสามารถในการดำเนินงานของสถานศึกษาทุกแห่ง ระดับปฏิบัติ - การปรับเปลี่ยนในระดับปฏิบัติ (Change Management) จะต้องสร้างค่านิยมการร่วมกันcแก้ปัญหา ยุทธศาสตร์ 1. สร้างสมมรรถนะองค์กรของศธ 2.สร้างภาคีเครือข่ายGROUND WAR 3. สื่อสารกับสังคม AIR WAR 4. การบริหารจัดการความรู้ 5. ยุทธศาสตร์ตามประเด็นเฉพาะ • กำหนดหน่วยงานเจ้าภาพใน5องค์กรหลักของศธ • -มีกรรมการดูแลยุทธศาสตร์ ความรู้และการอำนวยการ- • -มีแผนงานโครงการ • 2.มีการบริหารจัดการที่มี มีคุณภาพได้มาตรฐาน • -มีบุคลากร การเงิน เทคโนโลยี • -จัดทำฐานข้อมูล แบบรายงาน • -รับเรื่องร้องทุกข์ แก้ไข ส่งต่อ • -ผู้ตรวจราชการติดตามรายงานรายเขตและภาพรวม • พัฒนาเขตพื้นที่ สถานศึกษาตัวอย่าง • เครือข่ายการทำงาน เครือข่ายผู้ปกครอง เครือข่ายเยาวชนร่วมรณรงค์ • พัฒนาสถานศึกษาทุกแห่งมีมาตรฐานงานคุณธรรม • -ทำตามพรบ.คุ้มครองเด็ก มีระเบียบความประพฤติ มีระบบแนะแนว • -พัฒนาคุณภาพตามเกณฑ์สมศ. • -มีผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ, To Be No One • -ปรับการสอน/ฝึกจริง • ใช้สื่อรณรงค์ตามโครงการถึงเวลาเด็กไทยเป็นคนดีร่วมกับ อสมทAir War • จัดกิจกรรมGround Warร่วมไปกับเครือข่าย • จัดกิจกรรมตามเทศกาลเช่นความปลอดภัยช่วงปีใหม่ เพศสัมพันธ์ช่วงวาเลนไทน์ • ใช้ETVและสถานีวิทยุทุกมหาวิทยาลัยขับเคลื่อนสังคม • รับฟังกระแสสังคมนำสู่การกระตุ้นหน่วยงานลุกขึ้นทำจริงจัง • มีหน่วยวิชาการเครือข่ายสกัดความรู้จากงานวิจัยและสัมมนา • มีการเฝ้าระวังสถานการณ์ วิเคราะห์แนวโน้ม • .เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อโดยเฉพาะเว็บไซต์ • ให้บริการวิชาการ โทรศัพท์สายด่วน • จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ • -ประกวดเขียนโฮมเพจ เรียงความ • -สารวัตรอินเตอร์เน็ต ค้นหาเว็บดี • กำหนดแนวทางทำงานที่ต้องใช้ปัจจัยร่วมเช่นจัดระบบดูแลช่วยเหลือ มีแผนงาน • .แก้ปัญหาที่เป็นวาระแห่งชาติเช่นร่วมกับศตสแก้ยาเสพติด ร่วมกับศตจแก้จน ร่วมกับสธ เมืองไทยแข็งแรง • 3.ใช้ยุทธศาสตร์เฉพาะเรื่องเช่นแก้ปัญหาเพศสัมพันธ์ด้วยเพศศึกษา ปัญหาหอพัก • 4.ใช้ยุทธศาสตร์เฉพาะกลุ่ม • -เด็กประถมมัธยมเน้นรู้ถูกผิดชั่วดี • -นักศึกษาอาชีวะไม่ทะเลาะวิวาท จัดกิจกรรมช่วยสังคม • -นิสิต นักศึกษาเน้นเพศศึกษาจัดกิจกรรมค่ายอาสา และทำงานหารายได้ระหว่างเรียน ยุทธศาสตร์หลัก(Strategic Direction)
1.สร้างสมรรถนะองค์กร ศ.ธ. 2.ภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง 3.สื่อสาร กับสังคม สังคมร่วมดูแล 5. ยุทธศาสตร์ ตามประเด็นเฉพาะ 4. การบริหารจัดการความรู้ ยุทธศาสตร์คุณธรรมนำความรู้ถึงโรงเรียน
ยุทธศาสตร์คุณธรรมนำความรู้ถึงโรงเรียนยุทธศาสตร์คุณธรรมนำความรู้ถึงโรงเรียน ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างสมรรถนะองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ 1. กำหนดหน่วยงานเจ้าภาพใน 5 องค์กรหลักของศธ. (สกศ) - มีคณะกรรมการระดับกระทรวงดูแลเชิงยุทธศาสตร์/ความรู้/การอำนวยการ - มีแผนงาน /โครงการ / ลงมือดำเนินงาน 2. มีการบริหารจัดการของหน่วยงานที่ดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ - มีบุคลากร/การเงิน/เทคโนโลยีและมีแผนพัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ - จัดทำฐานข้อมูล/จัดทำแบบรายงานความก้าวหน้า/ จัดส่งรายงาน - รับเรื่องร้องทุกข์/ช่วยแก้ไข /ส่งต่อ /ติดตามจนยุติ - ส่งต่อผู้มีปัญหาไปให้หน่วยเกี่ยวข้องแก้ไขและช่วยเหลือ - ผู้ตรวจราชการติดตามประเมินผลรายเขต/ ภาพรวมทั้งประเทศ
ยุทธศาสตร์2 สร้างศักยภาพการทำงานของภาคีเครือข่าย 1. พัฒนาเขตพื้นที่การศึกษา/ สถานศึกษา/พื้นที่ตัวอย่าง 2. สร้างเครือข่ายการทำงาน ข้ามกระทรวง/เครือข่ายองค์กรเอกชน เครือข่ายองค์กรผู้ปกครอง/ เครือข่ายเยาวชนจัดกิจกรรมสื่อสารทางสังคม 3. พัฒนาสถานศึกษาทุกแห่ง ต้องมีมาตรฐานขั้นต่ำในงานพัฒนาคุณธรรม 1) สถานศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินงานตามหมวด 7 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก(ออกระเบียบการส่งเสริมความประพฤติ มีระบบแนะแนวนักเรียนและผู้ปกครองและระบบความปลอดภัย) สถาบันอุดมศึกษามีระเบียบนักศึกษา 2) พัฒนาคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ที่ประเมินโดยสมศ. 3) มีผู้รับผิดชอบ แผนงาน รายงานกิจกรรมคุณธรรม เช่นกิจกรรม To Be Number One/ โรงเรียนวิถีพุทธ/ โรงเรียนสร้างเสริมสุขภาพ /ค่ายอาสาพัฒนาชนบทของมหาวิทยาลัย 4) ปรับปรุงการเรียนการสอนคุณธรรมด้วยการฝึกปฏิบัติ จัดกิจกรรมเยาวชน
ยุทธศาสตร์3 การสื่อสารกับสังคม 1. ใช้สื่อรณรงค์สร้างกระแสสังคม 2. เครือข่ายการทำงาน เครือข่ายข้ามกระทรวง /เครือข่ายองค์กรเอกชน เครือ ข่ายองค์กรผู้ปกครอง/ เครือข่ายเยาวชนร่วมจัดกิจกรรม 3. จัดกิจกรรมคุณธรรมตามเทศกาลเช่นรณรงค์ความปลอดภัยในเทศกาลปีใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ในวันเด็ก เรื่องเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ ความอบอุ่น ครอบครัวช่วงสงกรานต์ วันต่อต้านบุหรี่โลก วันต่อต้าน ยาเสพติดสากล(26 มิ.ย.) หรือตามเหตุการณ์เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน 4. ใช้ETVและสื่อทุกชนิดขององค์กรหลักของศธ. รวมสถานีวิทยุของสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศร่วมขับเคลื่อน 5. รับฟังกระแสสังคมนำสู่การกระตุ้นหน่วยงานรับผิดชอบลุกขึ้นทำจริงจัง
ยุทธศาสตร์ 4 การบริหารจัดการความรู้ 1. มีหน่วยงานวิชาการจากเครือข่ายร่วมกันสกัดองค์ความรู้จากงานวิจัยและสัมมนาที่ตกผลึกเป็นแก่นหลักในการแก้ปัญหา 2. มีการเฝ้าระวังสถานการณ์ รายงานแนวโน้มสถานการณ์ 3. เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะเว็บไซต์ 4. ให้บริการทางวิชาการ เช่นโทรศัพท์สายด่วน 1579 ให้บริการข้อมูล 5. จัดกิจกรรมทางวิชาการ - ประกวด/แข่งขันทางวิชาการและคุณธรรมเรียงความ เขียนโฮมเพจเว็บไซต์ฯลฯ - กิจกรรมสารวัตรอินเตอร์เน็ตปราบเว็บลามก ค้นหาเว็บดีร้าน Good Net Cafe ฯลฯ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์ตามประเด็นพฤติกรรมเฉพาะ 1. กำหนดแนวทางป้องกันปัญหาที่มีปัจจัยร่วมกันเช่นจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษา มีแผนงานกิจกรรมคุณธรรม มีการรายงานผล 2. การแก้ปัญหาแบบบูรณาการร่วมตามยุทธศาสตร์ที่เป็นวาระแห่งชาติ 3. ใช้ยุทธศาสตร์เฉพาะเรื่อง เช่นการแก้ปัญหาเพศสัมพันธ์ด้วยเพศศึกษา ยุทธศาตร์แก้พนันฟุตบอล ยุทธศาสตร์แก้ปัญหามั่วสุมที่หอพัก ยุทธศาสตร์โรงเรียนปลอดภัย 4. ใช้ยุทธศาสตร์เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย - นักเรียนประถมมัธยมเน้นรู้ผิดถูกชั่วดี ห่างไกลเหล้า บุหรี่ - นักศึกษาอาชีวะ ไม่ยกพวกตีกัน จัดกิจกรรมสร้างซ่อมเสริมช่วยสังคม - นิสิตมหาวิทยาลัยจัดค่ายพัฒนาชนบท เพศศึกษาที่ปลอดภัยและดีงาม
มหาวิทยาลัยอิลลินอย สหรัฐอเมริกาใช้ตัวชี้วัด 11 ตัวให้สถานศึกษาประเมินตนเองในความสำเร็จของการเรียนการสอนคุณธรรม • ตัวชี้วัดตัวที่ 1 ส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรมขั้นพื้นฐาน • ตัวชี้วัดตัวที่ 2 จัดการเรียนการสอนคุณธรรมให้ครอบคลุมทั้งการคิด พฤติกรรมที่ลงมือกระทำ และเกิดเป็นความรู้สึก • ตัวชี้วัดตัวที่ 3 ใช้วิธีส่งเสริมแบบบูรณาการให้เกิดความคิดในเชิงบวก • ตัวชี้วัดตัวที่ 4 สร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อมรอบโรงเรียนที่อบอุ่น
ตัวชี้วัด 11 ตัวให้สถานศึกษาประเมินตนเองในความสำเร็จของการเรียนการสอนคุณธรรม • ตัวชี้วัดตัวที่ 5 สร้างโอกาสการเรียนรู้เชิงคุณธรรมให้แก่นักเรียน • ตัวชี้วัดตัวที่ 6 การสอนทุกวิชาให้สอนอย่างมีความหมาย สอดแทรกคุณธรรม และให้เกียรตินักเรียน • ตัวชี้วัดตัวที่ 7 กระตุ้นให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ • ตัวชี้วัดตัวที่ 8 กระตุ้นครูทุกคนเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์
ตัวชี้วัด 11 ตัวให้สถานศึกษาประเมินตนเองในความสำเร็จของการเรียนการสอนคุณธรรม • ตัวชี้วัดตัวที่ 9 สร้างกิจกรรมนักเรียนในการเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม • ตัวชี้วัดตัวที่ 10 ขอความร่วมมือผู้ปกครองและชุมชน สนับสนุนการทำดีของลูก • ตัวชี้วัดตัวที่ 11 การประเมินความสำเร็จของโรงเรียนให้ประเมินจากพฤติกรรมของเด็กนักเรียน
วัดผลความสำเร็จของการสร้างคุณธรรมของโรงเรียนได้จากพฤติกรรมนักเรียนวัดผลความสำเร็จของการสร้างคุณธรรมของโรงเรียนได้จากพฤติกรรมนักเรียน