790 likes | 1.78k Views
พ.ร.บ.และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียน ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ. โดย...นางราตรี เอราวัณ. นักวิชาการศึกษาชำนาญการ. สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3. การศึกษาพิเศษ หมายถึง การจัดการศึกษารูปแบบ พิเศษเมื่อการศึกษาทั่วไปไม่สามารถตอบสนองความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลได้.
E N D
พ.ร.บ.และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนพ.ร.บ.และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียน ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ โดย...นางราตรี เอราวัณ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3
การศึกษาพิเศษ หมายถึง การจัดการศึกษารูปแบบ พิเศษเมื่อการศึกษาทั่วไปไม่สามารถตอบสนองความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลได้
กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาพิเศษในประเทศไทยกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาพิเศษในประเทศไทย • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2542 แก้ไขปี พ.ศ. 2545 • พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 • พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
สิทธิของคนพิการทางการศึกษาสิทธิของคนพิการทางการศึกษา • สิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 • สิทธิตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 • สิทธิตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 • สิทธิตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 • สิทธิตามหลักมนุษยชน
สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551
มาตรา ๕ คนพิการมีสิทธิทางการศึกษา (๑) ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอด ชีวิต พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา(๒) เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น(๓) ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล
มาตรา ๖ • ให้ครูการศึกษาพิเศษทุกสังกัดได้รับค่าตอบแทนพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด • ให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ ได้รับการ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ องค์ความรู้การศึกษา ต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๗ • ให้สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการเรียนร่วม สถานศึกษาเอกชนการกุศลที่จัดการการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ และศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ ที่ได้รับรองมาตรฐานได้รับเงินอุดหนุนและความช่วยเหลือพิเศษจากรัฐ โดยหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับเงินอุดหนุนและความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๘ • ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล • ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดและศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย • ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดสภาพแวดล้อมและระบบสนับสนุน การเรียนการสอน • ให้สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษามีหน้าที่รับคนพิการในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสม • สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษา ให้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย • ให้สถานศึกษาประสานความร่วมมือจากชุมชนและนักวิชาชีพเพื่อให้ คนพิการได้รับการศึกษาทุกระดับ
การส่งเสริมและการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการการส่งเสริมและการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ • คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (มาตรา 11) • อนุกรรมการตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับ คนพิการแต่งตั้ง • สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (มาตรา 18) • สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (มาตรา 18) • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(มาตรา 19)
กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ • คณะกรรมการบริหารกองทุน • วัตถุประสงค์และการบริหารกองทุน
นโยบายและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการนโยบายและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ • วิสัยทัศน์ คนพิการได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพทั่วถึง และเสมอภาค
มาตรการ 1. พัฒนาระบบและจัดทำฐานข้อมูลคนพิการด้านการศึกษาให้เป็นปัจจุบันและมีคุณภาพ นโยบาย ยุทธศาสตร์ ข้อที่ 1. คนพิการได้รับการศึกษา อย่างทั่วถึงและ เสมอภาค ข้อที่ 1. เพิ่มโอกาสให้คนพิการได้รับบริการทางการศึกษา 2. จัดระบบการดูแลช่วยเหลือ การคัดกรอง การวินิจฉัย และประเมินสมรรถภาพพื้นฐานของคนพิการเพื่อ เข้ารับการศึกษา 3. พัฒนารูปแบบการจัด การศึกษาที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของคนพิการ ทุกประเภทและทุกระดับ 4. เพิ่มจำนวนสถานศึกษา สาขา ห้องเรียน และเครือข่ายครอบครัว ชุมชน ในการจัดการศึกษาให้กับคนพิการอย่างหลากหลาย และครอบคลุมทุกพื้นที่ 5. กำหนดกฏ ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการ ให้คนพิการทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง
มาตรการ นโยบาย ยุทธศาสตร์ 1. พัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับคนพิการของแต่ละประเภทความพิการในทุกระบบและประเภทการศึกษา ข้อที่ 2. คนพิการได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของแต่ละประเภทความพิการในทุกระบบและรูปแบบการศึกษา ข้อที่ 2. พัฒนาหลักสูตรกระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลให้หมาะสมสำหรับ คนพิการ 2. ส่งเสริมการวิจัยพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการจัดหลักสูตร นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรุ้ และทดสอบทางการศึกษา การวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล 3.พัฒนาระบบและให้การสนับสนุนสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกบริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษสำหรับคนพิการ แต่ละประเภทในทุกระบบและรูปแบบการศึกษา 4.กำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการ เกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการศึกษา การเทียบโอนสำหรับคนพิการแต่ละประเภท ในทุกระบบและรูปแบบการศึกษา
มาตรการ นโยบาย ยุทธศาสตร์ 1. ส่งเสริมให้มีพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานคุณวุฒิ เกณฑ์การประเมินสมรรถนะวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ ข้อที่ 2. คนพิการได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของแต่ละประเภทความพิการในทุกระบบและรูปแบบการศึกษา ข้อที่ 3. พัฒนาคุณภาพครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ 2. ส่งเสริม สนับสนุน การผลิตครูการศึกษาพิเสษ ให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ ได้รับการพัฒนาศักยภาพ องค์ความรู้ การศึกษาต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษา สำหรับคนพิการแต่ละประเภทในทุกระบบและรูปแบบการศึกษา 3.ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาสมรรถนะบุคลากร ผู้ดูแลคนพิการและผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการแต่ละประเภทในทุกระบบและรูปแบบการศึกษา 4.ปรับปรุงกฏ ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่เกี่ยวกับ การพัฒนาครูการศึกษาพิเศษ ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
มาตรการ นโยบาย ยุทธศาสตร์ 1. ส่งเสริม สนับสนุน สถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรรับคนพิการให้มีระบบการประกันคุณภาพและได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา ตามระบบการประกันคุณภาพภายในและภายนอก ข้อที่ 2. คนพิการได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของแต่ละประเภทความพิการในทุกระบบและรูปแบบการศึกษา ข้อที่ 4. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและ แหล่งเรียนรู้ สำหรับ คนพิการ 2. ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีคุณภาพที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ 3. ส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้ในทุกสังกัด จัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนบริการเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้
มาตรการ 1. ส่งเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ นโยบาย ยุทธศาสตร์ ข้อที่ 3. การมีส่วนร่วมใน การจัด การศึกษาสำหรับ คนพิการ ตามมาตรฐานการศึกษา ข้อที่ 5. ส่งเสริมการ มีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษา สำหรับคนพิการ 2. ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่นให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ 3. ส่งเสริม สนับสนุน ให้ครอบครัวมีบทบาทในการพัฒนาศักยภาพคนพิการอย่างต่อเนื่อง และการเรียนรู้โดยครอบครัว 4. พัฒนากลไก การประสานงานเครือข่ายในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ
มาตรการ 1. จัดทำแผนแม่บทในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการให้ครอบคลุมทุกระดับและประเภทความพิการ นโยบาย ยุทธศาสตร์ ข้อที่ 4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาสำหรับ คนพิการ ข้อที่ 6. พัฒนาระบบ การบริหารและกลไกในการจัดการศึกษาสำหรับ คนพิการ 2. พัฒนาระบบการจัดการศึกษา ระบบการส่งต่อและระบบการสนับสนุนการจัดการศึกษา สำหรับคนพิการอย่างเป็นรูปธรรม 3. เร่งจัดทำ กฏ ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่เอื้อต่อการบริหารจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ และ พ.ร.บ. การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ 4. กำหนดนโยบายด้านการบริหาร และกลไกการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พร้อมจัดทำแผนพัฒนาสู่การปฏิบัติ 5. ส่งเสริมศักยภาพในการประชาสัมพันธ์ การประสานงาน กำกับติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาพิเศษในระดับชาติ 6. ส่งเสริมความเข้มแข็ง ในการบริหารงานของสถานศึกษา โรงเรียนดีประจำตำบล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานที่จัดการศึกาสำหรับคนพิการ
มาตรการ นโยบาย ยุทธศาสตร์ 1. เร่งรัดให้มีรายได้จากการออกสลากการกุศล และภาษีของสินค้าที่เป็นต้นเหตุแห่งความพิการเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ ข้อที่ 4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาสำหรับ คนพิการ ข้อที่ 7. ปฏิรูประบบการเงิน การคลัง และงบประมาณเพื่อการศึกษาสำหรับ คนพิการ 2. ให้รัฐบาลเพิ่มงบประมาณสนับสนุนกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการเพื่อใช้ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ 3. ส่งเสริม สนับสนุนความร่วมมือกับองค์กรภาคเอกชน ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ โดยเฉพาะระบบร่วมทุน 4. สนับสนุนเงินอุดหนุนการจัดการศึกษาสำหรับ คนพิการภาคเอกชน ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับค่าใช้จ่ายจริง
การจัดการศึกษาพิเศษในประเทศไทยการจัดการศึกษาพิเศษในประเทศไทย การศึกษาทั่วไป General Education การจัดการศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ Special Education การเรียนร่วมชั้นบางเวลา Integration/Integrated Ed การเรียนร่วม Mainstreaming Ed การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม Inclusion/Inclusive Ed
พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ • “การเรียนร่วม”หมายความว่า การจัดให้คนพิการได้เข้าศึกษาในระบบการศึกษาทั่วไปทุกระดับ และหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการจัดการศึกษา ให้สามารถรองรับการเรียนการสอนสำหรับคนทุกกลุ่มรวมทั้งคนพิการ
การขับเคลื่อนการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กพิการการขับเคลื่อนการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กพิการ
การกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ การกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ - แผนพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2555 – 2559 - แผนกลยุทธ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน • การนำนโยบายและยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ - สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพป./สพม.) - สถานศึกษา (ศูนย์การศึกษาพิเศษ/โรงเรียนเฉพาะความพิการ/ โรงเรียนเรียนร่วม)
อนาคตภาพของการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการอนาคตภาพของการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
หลักสูตรเดียวตลอดแนว ป.1-6 ม.1-3 ม..4-6 อนุบาล Entrance เข้า มหาวิทยาลัย สมัครงาน การศึกษาขั้นพื้นฐาน ลักษณะการศึกษาขั้นพื้นฐานในปัจจุบัน • จบแล้ว สมัครงานไม่ได้ • ไม่ชอบคณะที่เรียน • ฯลฯ การเรียนเพื่อมุ่งเข้ามหาวิทยาลัย แขวนอนาคตกับคณะที่สอบเข้าได้
สอศ/สกอ/WP เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ม.4-6/ปวช. หลักสูตร5 กลุ่มอาชีพหลัก สถานประกอบการ Career Orientation Career Awareness Career Exploration Secondary Career Education สถาบันอาชีวศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาส ป.1-6 อนุบาล ม.1-3 กศ.เพื่อการมีงานทำ มหาวิทยาลัย • มีการวัดแววตามหลักพหุปัญญาให้รู้จักจุดแข็งของตัวเองเพื่อความภาคภูมิใจและการต่อยอด • เน้นการสร้างคุณลักษณะผู้ทำงานที่พึงประสงค์ มีโอกาสได้เรียนรู้ภาพอนาคตของงานลักษณะต่างๆ และค้นพบความต้องการของตัวเองในการกำหนดอาชีพ เน้นเสริมสร้างพลังการเรียนรู้ทางกายและสมอง มหาวิทยาลัย วิชาการ ต่อยอด เพื่อเป็น Creative and Communicative Practitioner เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพในอนาคตอย่างมีความหมาย
รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาสรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาส IWP ITP IFSP การพัฒนาคุณภาพชีวิตและทักษะการดำรงชีวิต ประกอบอาชีพในสถานประกอบการ : การประกอบอาชีพอิสระ : ครอบครัว : ชุมชนและสังคม สถานประกอบการ : ภูมิปัญญาท้องถิ่น : สถานศึกษาวิชาชีพ : องค์กรฝึกอาชีพ : ศูนย์ฝึกอาชีพ กิจกรรมสร้างเสริมลักษณะนิสัยรักการทำงาน ประกอบอาชีพ การฝึกอาชีพ กลุ่มสนใจอาชีพ กิจกรรมบูรณาการ ครอบครัว กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ IEP = Individualized Education Program = Individualized Transition Plan การศึกษาวิชาชีพ (สายอาชีพ) หลักสูตรปฐมวัย การช่วย เหลือในระยะแรก เริ่ม (Early Intervention: EI) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา กระบวนการการจัดการเรียนรู้ = Individualized Work Plan พัฒนาทักษะ การอ่าน การเขียน การพูด เสริมทักษะทางวิชาการ มัธยมศึกษาตอนปลาย อุดมศึกษา กิจกรรมส่งเสริมทางวิชาการ (สายสามัญ) ก่อนวัยเรียน ( 3 - 5 ปี ) ปฐมวัย ( 5 - 6 ปี ) ป.1 – 3 ( 7 - 9 ปี ) ม.1 – 3 ( 13 - 15 ปี ) ป.4 – 6 ( 9 - 12 ปี ) ม.ปลาย ( 16 - 18 ปี ) การเรียนรู้ตลอดชีวิต พะโยม ชิณวงศ์