1.08k likes | 1.44k Views
การควบคุมภายใน. โดย สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง. ขอบเขตวิชา. การควบคุมภายใน การประเมินผลระบบการควบคุมภายใน การจัดทำรายงานการควบคุมภายใน. Input. Process. Output. การควบคุมภายใน. ประสิทธิภาพ / ประสิทธิผล / คุ้มค่า. การประเมินผลการควบคุมภายใน. ความหมาย.
E N D
การควบคุมภายใน โดย สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
ขอบเขตวิชา • การควบคุมภายใน • การประเมินผลระบบการควบคุมภายใน • การจัดทำรายงานการควบคุมภายใน
Input Process Output การควบคุมภายใน ประสิทธิภาพ / ประสิทธิผล / คุ้มค่า การประเมินผลการควบคุมภายใน
ความหมาย ความหมาย ตามCOSO “Internal Control is a process, effected by an entity’s board of directors, management and other personnel, designed to provide reasonable assurance regarding the achievement of objectives in the following categories - Effectiveness and efficiency of operations - Reliability of financial reporting - compliance with applicable laws and regulations” ความหมาย ตาม คตง. “การควบคุมภายใน หมายความว่า กระบวนการปฏิบัติงานที่ผู้กำกับดูแล ฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยรับตรวจจัดให้มีขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า การดำเนินงานของหน่วยรับตรวจจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกันหรือลดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล การสิ้นเปลือง หรือการทุจริตในหน่วยรับตรวจ ด้านความเชื่อถือได้ของรายงานการทางการเงิน และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรี
แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมภายในแนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมภายใน • เป็น “ กระบวนการ ” ที่รวมไว้หรือเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติงานตามปกติ • เกิดขึ้นได้โดย “ บุคลากร” ในองค์กร • ทำให้เกิด “ ความมั่นใจในระดับที่สมเหตุสมผล” เท่านั้น ว่าการปฏิบัติงานจะบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด ฝ่ายบริหาร –จัดให้มีระบบ และติดตามผล ผู้ปฏิบัติงาน -ปฏิบัติตามระบบ
ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร การควบคุมภายในเป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารนำมาใช้เพื่อให้ความมั่นใจอย่าง สมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานจะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด • ผู้บริหารระดับสูง มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการกำหนดหรือออกแบบและประเมินผลการควบคุมภายใน • ผู้บริหารระดับรองลงมาทุกระดับ มีหน้าที่กำหนดหรือออกแบบการควบคุมภายในของส่วนงานที่แต่ละคนรับผิดชอบ ผู้บริหารควรตระหนักว่าโครงสร้างการควบคุมภายในที่ดีเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการควบคุมเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของหน่วยรับตรวจ
คำถาม ตามที่กำหนดให้หน่วยรับตรวจจัดวางระบบการควบคุมภายในนั้น ต้องจัดทำในลักษณะใด เช่น เป็นคู่มือการควบคุมภายใน หรือคู่มือการปฏิบัติงานแยกเป็นแผนก ๆ หรือต้องรวมคู่มือการปฏิบัติงานหลาย ๆ แผนก หลาย ๆ งาน คำตอบ -
องค์ประกอบของการควบคุมภายในองค์ประกอบของการควบคุมภายใน 5. การติดตามประเมินผล 2. การประเมิน ความเสี่ยง 3. กิจกรรม การควบคุม 4. สารสนเทศ และการสื่อสาร นโยบาย/วิธีปฏิบัติ ระบุปัจจัยเสี่ยง การกระจายอำนาจ วิเคราะห์ความเสี่ยง การสอบทาน การจัดการความเสี่ยง ฯลฯ จริยธรรม บุคลากร ปรัชญา โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ การบริหารงานบุคคล 1. สภาพแวดล้อมการควบคุม
สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control Environment) หมายถึงปัจจัยต่างๆซึ่งร่วมกันส่งผลให้มีการควบคุมขึ้นในหน่วยรับตรวจหรือทำให้การควบคุมที่มีอยู่ได้ผลดีขึ้น ในทางตรงกันข้ามก็อาจทำให้การควบคุมย่อหย่อนลงได้ ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของการควบคุม - ปรัชญาและรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร - ความซื่อสัตย์และจริยธรรม - ความรู้ ทักษะและความสามารถของบุคลากร - โครงสร้างการจัดองค์กร - การมอบอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบ - นโยบายและวิธีบริหารบุคลากร
การควบคุมที่เป็นนามธรรม (Soft Controls) ความซื่อสัตย์ ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ ความมีจริยธรรม วัฒนธรรม ความไว้ใจ เชื่อใจ การควบคุมที่เป็นรูปธรรม (Hard Controls) กำหนดโครงสร้างองค์กร นโยบาย ระเบียบวิธีปฏิบัติ การสร้างสภาพแวดล้อมการควบคุมที่ดี
2. การประเมินความเสี่ยง หมายถึงการวัดค่าความเสี่ยง เพื่อใช้กำหนดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง ฝ่ายบริหารต้องประเมินความเสี่ยงทั้งจาก ปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยรับตรวจอย่างเพียงพอและเหมาะสม
ความเสี่ยง คืออะไร • โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดความเสียหาย • การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือ • เหตุการณ์ซึ่งไม่พึงประสงค์ ที่ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
ขั้นตอนในการประเมิน ความเสี่ยง ใช้ในการประเมินการควบคุมภายในเพื่อรายงาน กำหนด วัตถุประสงค์ระดับ องค์กร/กิจกรรม 1.การระบุปัจจัยเสี่ยง (Risk Identification) 2.การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) 3.การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
การระบุปัจจัยเสี่ยง • 1.เริ่มจากการระบุความเสี่ยง (Risk Identification) ในแต่ละขั้นตอน โดยพิจารณาความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ • การดำเนินงานที่ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล • รายงานทางการเงินหรือการรายงานข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ • การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี ฯลฯ • 2.ระบุปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุของความเสี่ยง (Risk Factor) • บรรยากาศทางจริยธรรม • ความกดดันจากฝ่ายบริหาร • ความรู้ ความสามารถของบุคลากร
การระบุปัจจัยเสี่ยง คำถามที่ใช้ในการระบุปัจจัยเสี่ยง • อะไรที่จะทำให้การดำเนินกิจกรรมนั้นๆ ไม่บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์/เป้าหมาย • การกระทำหรือเหตุการณ์ใดที่ขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมไม่ให้บรรลุผลสำเร็จ • อะไรที่จะทำให้เกิดความเสียหาย การสูญเปล่า การรั่วไหล หรือความผิดพลาด
การประเมินความเสี่ยง ความเสี่ยง ตัวอย่างการระบุปัจจัยเสี่ยง Input Process Output * บุคลากร (จำนวน ความรู้ ทักษะ การปฏิบัติงาน) * งบประมาณ (จำนวน เหมาะสม) * เครื่องมือ อุปกรณ์ ทรัพย์สิน (จำนวน การใช้งาน) * ข้อมูล (ครบถ้วน ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน) * ปริมาณ * คุณภาพ * ระยะเวลา * การใช้จ่าย * การใช้ประโยชน์ (เป็นไปตามวัตถุประสงค์/เป้าหมายของงาน/โครงการ) * โครงสร้างองค์กร/มอบหมายงาน (เหมาะสม ตรงตามตำแหน่ง) * กฎหมาย/มาตรฐานงาน (ครอบคลุม ชัดเจน ปฏิบัติได้) * ระบบงาน (ชัดเจน เพียงพอ เหมาะสม) * การบริหารจัดการ (เป็นระบบ ชัดเจน โปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้) * การสื่อสาร/ประสานงาน/ประชาสัมพันธ์ (ช่องทาง สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง) * เทคโนโลยี (เพียงพอ เหมาะสม ปฏิบัติงานได้จริง)
การวิเคราะห์ความเสี่ยงการวิเคราะห์ความเสี่ยง เทคนิคการวิเคราะห์ความเสี่ยงมีหลายวิธี โดยทั่วไปจะ วิเคราะห์ความเสี่ยงโดยประเมินความถี่ที่จะเกิดหรือ โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood)และผลกระทบ ของความเสี่ยง (Consequences)โดยการให้คะแนน ดังนี้ :-
การวัดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) เป็นการประเมินความเป็นไปได้/โอกาสในการเกิดเหตุการณ์ ต่างๆ ว่ามีมากน้อยเพียงใด พิจารณาในรูปของ ความถี่ (Frequency) หรือระดับความเป็นไปได้/โอกาส โดยแบ่งเป็น 5 ระดับ
ตัวอย่างโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงตัวอย่างโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยง
ตัวอย่างโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงตัวอย่างโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยง
การวัดผลกระทบ(Impact) เป็นการพิจารณาถึงความรุนแรงของเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดความเสียหาย/ผลกระทบต่อองค์กร ซึ่งมีทั้ง ผลกระทบในเชิงปริมาณ (คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียได้) และในเชิงคุณภาพ
ตัวอย่างผลกระทบต่อองค์กร (ด้านการเงิน)
ตัวอย่างผลกระทบต่อองค์กร (ด้านเวลา) • ด้านชื่อเสียง - ด้านลูกค้า • ดานความสำเร็จ - ด้านบุคลากร
การจัดลำดับความเสี่ยงการจัดลำดับความเสี่ยง • คำนวณระดับความเสี่ยง (Risk Exposure)เท่ากับผลคูณของคะแนนระหว่างโอกาสที่จะเกิดกับความเสียหายเพื่อจัดลำดับความสำคัญ และใช้ในการตัดสินใจว่าความเสี่ยงใดควรเร่งจัดการก่อน • จัดทำแผนภูมิความเสี่ยงเพื่อให้ผู้บริหารและคนในองค์กรได้เห็นภาพรวมว่าความเสี่ยงมีการกระจายตัวอย่างไร
แผนภูมิความเสี่ยง (Risk Profile) 5 4 สูง มาก ผล กระ ทบ 3 สูง 2 ปาน กลาง 1 ต่ำ 1 2 3 4 5 โอกาสที่จะเกิด
การประเมินความเสี่ยง (ต่อ) ตัวอย่างแผนภูมิความเสี่ยง (Risk Profile) ผลกระทบ (Impact) Risk Appetite Boundary โอกาสที่จะเกิด(likelihood)
การตอบสนองความเสี่ยง (Risk Responses) Pre - Event Control ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง ลดผลกระทบของความเสี่ยง Post - Event Control แสวงหาผลประโยชน์จากความเสี่ยง Emerging Opportunity
การบริหารความเสี่ยง • การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง • การลดหรือควบคุมความเสี่ยง • การยอมรับความเสี่ยง • การแบ่งปันหรือถ่ายโอน ความเสี่ยง
การประเมินความเสี่ยง (ต่อ) การจัดการความเสี่ยง : การหลีกเลี่ยง (Avoiding)เป็นการหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง • ปฏิเสธและหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง โดยการหยุด ยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงกิจกรรมหรือโครงการที่จะนำไปสู่เหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยง เช่น การเปลี่ยนแผนการสร้างรถไฟฟ้าเป็นรถBRT ในเส้นทางที่ไม่คุ้มทุน การยกเลิกโครงการที่สร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมให้ชุมชน • ข้อเสียคือ อาจส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแผนงานขององค์กรมากจนเกินไปจนไม่สามารถมุ่งไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้
การประเมินความเสี่ยง (ต่อ) การจัดการความเสี่ยง : การแบ่งปัน (Sharing)เป็นการแบ่งความรับผิดชอบให้ผู้อื่นร่วมรับความเสี่ยง • ยกภาระในการเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่เป็นความและการจัดการกับความเสี่ยงให้ผู้อื่น • มิได้เป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น แต่เป็นการรับประกันว่าเมื่อเกิดความเสียหายแล้วองค์กรจะได้รับการชดใช้จากผู้อื่น เช่น - การทำประกัน - การใช้บริการจากภายนอก เป็นต้น
การประเมินความเสี่ยง (ต่อ) การจัดการความเสี่ยง : การลด (Reducing)เป็นการลดหรือควบคุมความเสี่ยงโดยใช้กระบวนการควบคุมภายใน • พยายามลดความเสี่ยงโดยการเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงขั้นตอนบางส่วนของกิจกรรมหรือโครงการที่นำไปสู่เหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยง • ลดความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงจะเกิดขึ้น เช่น การฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้เพียงพอ การกำหนดผู้จัดจ้างและผู้รับมอบงานให้แยกจากกัน • ลดระดับความรุนแรงของผลกระทบเมื่อเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงเกิดขึ้น เช่น การติดตั้งเครื่องดับเพลิง การback upข้อมูลเป็นระยะๆ การมี serverสำรอง
การประเมินความเสี่ยง (ต่อ) การจัดการความเสี่ยง : การยอมรับ (Accepting) • องค์กรยอมรับความเสี่ยงนั้น ในกรณีที่ • องค์กรมีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ • มีระบบข้อมูลที่เพียงพอที่จะใช้ในการตัดสินใจ • มีความเข้าใจความเสี่ยงเป็นอย่างดี • ต้นทุนการจัดการความเสี่ยงสูงกว่าผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • แต่ควรมีมาตรการติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อรองรับผลที่จะเกิดขึ้น
3. กิจกรรมการควบคุม หมายถึง นโยบายและวิธีการต่าง ๆที่ฝ่ายบริหารกำหนดให้บุคลากรของหน่วยรับตรวจปฏิบัติเพื่อลดหรือควบคุมความเสี่ยง และได้รับการสนองตอบโดยมีการปฏิบัติ • ควรแฝงอยู่ในกระบวนการทำงานตามปกติ • สามารถลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับยอมรับได้ • ต้นทุนคุ้มกับประโยชน์ที่ได้รับ • เพียงพอเหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป • มีการติดตามประเมินผลเป็นระยะ
ตัวอย่างกิจกรรมการควบคุมตัวอย่างกิจกรรมการควบคุม -การอนุมัติ -การสอบทาน -การดูแลป้องกันทรัพย์สิน -การบริหารทรัพยากรบุคคล -การบันทึกรายการและ เหตุการณ์อย่างถูกต้องและทันเวลา -การกระทบยอด -การแบ่งแยกหน้าที่ -การจัดทำเอกสารหลักฐาน -การควบคุมเอกสาร - การใช้ทะเบียน
4. สารสนเทศและการสื่อสาร • สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสารทางการเงิน และข้อมูล ข่าวสารอื่น ๆ เกี่ยวกับการ ดำเนินงานของหน่วยรับตรวจ ไม่ว่าเป็นข้อมูลจากแหล่งภายใน หรือภายนอก • การสื่อสารหมายถึง การส่งสารสนเทศระหว่างบุคลากร • ฝ่ายบริหารต้องจัดให้มีสารสนเทศอย่างพอเพียงและสื่อสารให้ฝ่ายบริหารและบุคลากรอื่นๆที่เหมาะสมทั้งภายในและภายนอกหน่วยรับตรวจ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ สารสนเทศนั้นในรูปแบบที่เหมาะสมและทันเวลา
5. การติดตามประเมินผล ( Monitoring) INPUTPROCESSOUTPUT CONTROL การติดตามผล หมายถึง การสอดส่องดูแลกิจกรรมที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน เพื่อให้ เกิดความมั่นใจว่าการดำเนินงานเป็นไปตามระบบการควบคุมภายในที่กำหนด การประเมินผล หมายถึง การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับระบบการควบคุมภายใน ที่กำหนดไว้ว่ามีความสอดคล้องหรือไม่ เพียงใด และประเมินระบบการควบคุมภายในที่ กำหนดไว้ว่ายังเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันหรือไม่ ภารกิจ ฝ่ายบริหารต้องจัดให้มีการติดตามประเมินผลการควบคุมภายใน ติดตามระหว่างการปฏิบัติงาน ประเมินผล * ด้วยตนเอง (CSA) * อย่างอิสระ (ผู้ตรวจสอบภายใน / อื่นๆ) ต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง
การติดตามผล(Monitoring) ใช้สำหรับมาตรการหรือระบบการควบคุมภายในที่อยู่ระหว่างการออกแบบหรือการนำออกสู่การปฏิบัติ 41
การประเมินผล(Evaluation) ใช้สำหรับมาตรการหรือระบบการควบคุมภายในที่ได้ใช้ไปแล้วเป็นระยะเวลานานพอสมควรที่จะได้รับการประเมินว่ายังมีความเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เปลี่ยนไปอยู่อีกหรือไม่ 42
การควบคุมภายใน : สรุปองค์ประกอบ การควบคุมภายใน สภาพแวดล้อมของการควบคุม >>> ปรัชญา/ลักษณะการทำงานของผู้บริหาร โครงการ/งาน >>> กระบวนการปฏิบัติงาน ประเมินความเสี่ยง >>> กำหนดวัตถุประสงค์ ระบุปัจจัยเสี่ยง วิเคราะห์ความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง กิจกรรมการควบคุม >>> นโยบาย มาตรการ วิธีการ ความซื่อสัตย์/จริยธรรม โครงสร้างการจัดองค์กร ความรู้ ความสามารถ ทักษะของบุคลากร สารสนเทศ/การสื่อสาร >>> จัดเก็บข้อมูลและสื่อสารทั่วองค์กร ติดตาม/ประเมินผล >>> ติดตามระหว่างการปฏิบัติงาน ประเมินตนเอง ประเมินอิสระ การมอบหมายอำนาจหน้าที่/ความรับผิดชอบ นโยบาย/การบริหารบุคลากร
การประเมินผลการควบคุม : ความหมายและวัตถุประสงค์ ความหมาย:- การพิจารณาถึงผลสัมฤทธิ์ของระบบการควบคุมภายในที่มีอยู่ในหน่วยงาน วัตถุประสงค์:- สามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยง บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ปรับปรุง/แก้ไขเหมาะสมและทันเวลา
กระบวนการประเมินผล และจัดทำรายงานการควบคุมภายใน
กระบวนการประเมินผลและจัดทำรายงานกระบวนการประเมินผลและจัดทำรายงาน • กำหนดผู้รับผิดชอบ • กำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการประเมิน • ศึกษาและทำความเข้าใจโครงสร้างการควบคุมภายใน • จัดทำแผนการประเมินผล • ดำเนินการประเมินผลการควบคุมภายใน • สรุปผลการประเมินและจัดทำรายงานการประเมิน
การกำหนดผู้รับผิดชอบ ผู้บริหารสูงสุด พิจารณาผลการประเมินระดับหน่วยรับตรวจ • เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโส/ • คณะทำงาน • อำนวยการและประสานงาน • จัดทำแผนการประเมินองค์กร • สรุปภาพรวมการประเมินผล • จัดทำรายงานระดับหน่วยรับตรวจ • ผู้บริหารระดับส่วนงานย่อย • และผู้ปฏิบัติงาน • ประเมินการควบคุม • ด้วยตนเอง • ติดตามผล • สรุปผลการประเมิน • จัดทำรายงาน • ผู้ตรวจสอบภายใน • ประเมินการควบคุม • ด้วยตนเอง • สอบทานการประเมิน • สอบทานรายงาน • จัดทำรายงาน • แบบ ปส.
2. กำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการประเมิน 2.1 การประเมินผลระบบควบคุมภายในจะดำเนินการ ทุกระบบทั้งหน่วยงาน หรือ จะประเมินผลเฉพาะบางส่วนงานที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อหน่วยงานเป็นอย่างมาก 2.3 คณะผู้ประเมิน ร่วมประชุม และนำเสนอ ผู้บริหาร ให้ความเห็นชอบ ก่อนดำเนินการ ในขั้นตอนต่อไป 2.2 กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินว่า จะมุ่งประเมินในเรื่องใด ตามวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน (3 วัตถุประสงค์ :O F C)
3. ศึกษาและทำความเข้าใจโครงสร้างการควบคุมภายใน • พิจารณาว่าโครงสร้างการควบคุมภายในเป็นไปตามที่ออกแบบไว้หรือไม่ • ใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น สอบถาม ศึกษาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
4. จัดทำแผนการประเมินผล • เรื่องที่จะประเมิน • วัตถุประสงค์ในการประเมิน • ขอบเขตการประเมิน • ผู้ประเมิน • ระยะเวลาในการประเมิน • วิธีการประเมิน • อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน