1 / 28

การตั้งเรื่องกล่าวหา

การตั้งเรื่องกล่าวหา. การกำหนดประเด็น. การตั้งเรื่องกล่าวหา. พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ลักษณะ 4 หมวด 7 การดำเนินการทางวินัย. 1. การสืบสวน 2. การตั้งเรื่องกล่าวหา 3. การสอบสวน (พักราชการ, ให้ออกไว้ก่อน) 4. การพิจารณาความผิด และการกำหนดโทษ 5. การลงโทษ

alec-ingram
Download Presentation

การตั้งเรื่องกล่าวหา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การตั้งเรื่องกล่าวหา การกำหนดประเด็น

  2. การตั้งเรื่องกล่าวหา

  3. พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ลักษณะ 4 หมวด 7 การดำเนินการทางวินัย 1. การสืบสวน 2. การตั้งเรื่องกล่าวหา 3. การสอบสวน (พักราชการ, ให้ออกไว้ก่อน) 4. การพิจารณาความผิด และการกำหนดโทษ 5. การลงโทษ 6. การรายงานการดำเนินการทางวินัย

  4. ร้องเรียน/กล่าวหา/กล่าวโทษร้องเรียน/กล่าวหา/กล่าวโทษ ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 รีบดำเนินการหรือมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับต่ำลงไป ปฏิบัติแทนตามที่ ก.พ.กำหนด ดำเนินการสืบสวนเอง มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สืบสวน ตั้งคณะกรรมการสืบสวน รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการร้องเรียน ทำรายงานการสืบสวนว่ากรณีมีมูลเป็นความผิดวินัยหรือไม่ มีมูลความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา 92 หรือ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ไม่มีมูลให้ยุติเรื่อง ตามมาตรา 91 มีมูลความผิดวินัยร้ายแรง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ตามมาตรา 93

  5. การร้องเรียน 1. ร้องเรียนด้วยวาจา 2. ร้องเรียนเป็นลายลักษณ์อักษร -หนังสือกล่าวโทษที่ระบุชื่อผู้ถูกกล่าวหา -บัตรสนเท่ห์

  6. หลักเกณฑ์แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ การร้องเรียนกล่าวโทษที่บัตรสนเท่ห์ (มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2541 และ 17 กันยายน 2547 -เมื่อผู้บังคับบัญชาได้รับเรื่องราวกล่าวโทษข้าราชการในเบื้องต้น ให้ถือว่าเป็นความลับของทางราชการ - หากเป็นบัตรสนเท่ห์ ให้พิจารณาเฉพาะรายที่ระบุหลักฐาน กรณีแวดล้อมปรากฏชัดแจ้งตลอดจนชี้พยานบุคคลแน่นอน เท่านั้น

  7. การตั้งเรื่องกล่าวหา การตั้งเรื่องกล่าวหา หมายถึง การตั้งเรื่องดำเนินการทาง วินัยแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือพนักงานราชการ เป็นขั้นตอนแรกที่จำเป็นในการดำเนินการทางวินัยแก่ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือพนักงานราชการไม่ว่า จะเป็นกรณีความผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือไม่ร้ายแรง ก็ตาม

  8. เรื่องที่กล่าวหา หมายถึง การกระทำหรือพฤติการณ์ แห่งการกระทำที่กล่าวอ้างว่าผู้ถูกกล่าวหา กระทำผิดวินัย (ไม่ใช่ฐานความผิด)

  9. การตั้งเรื่องกล่าวหาควรกระทำเมื่อการตั้งเรื่องกล่าวหาควรกระทำเมื่อ ผู้บังคับบัญชาได้สืบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหา แล้วเห็นว่า กรณีมีมูลที่ควรดำเนินการทางวินัย ไม่ควรตั้งเรื่องกล่าวหาโดยยังไม่สืบสวน ให้เห็นว่ากรณีมีมูลเสียก่อน เพราะจะเป็นทางเสียหายแก่ผู้นั้น

  10. ความสำคัญของ การตั้งเรื่องกล่าวหา 1. เพื่อผู้ถูกกล่าวหาได้รู้ตัวและ มีโอกาสชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา 2. เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่า ผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการ ทางวินัย

  11. กรณีความผิดวินัยไม่ร้ายแรงกรณีความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ดำเนินการโดย 1. ทำบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยมีสาระสำคัญ คือ - ระบุชื่อผู้ถูกกล่าวหา - เรื่องกล่าวหา 2.แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน

  12. กรณีความผิดวินัยอย่างร้ายแรงกรณีความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดำเนินการอย่างไร ตั้งคณะกรรมการสอบสวน กรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง เป็นการตั้งเรื่องกล่าวหา โดยในคำสั่งแต่ง ตั้งคณะกรรมการสอบสวนจะระบุชื่อ ผู้ถูกกล่าวหา และ “เรื่องที่กล่าวหา”

  13. ข้อกล่าวหา หมายถึง รายละเอียดแห่งการกระทำ หรือ พฤติการณ์แห่งการกระทำที่กล่าวอ้างว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย ซึ่งข้อกล่าวหา จะต้องอยู่ในกรอบของเรื่องที่กล่าวหา โดยอธิบาย เรื่องที่กล่าวหาให้ชัดเจนขึ้นว่าผู้ถูกกล่าวหา ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำอย่างไร เพื่ออะไร

  14. การตั้งเรื่องกล่าวหา 1. ควรตั้งให้กว้างไว้ เพียงเพื่อให้รู้ว่าเขา ทำอะไรที่เป็นความผิด 2. ไม่ควรเอาฐานความผิด หรือ มาตรา ที่ระบุความผิดไปเป็นเรื่องกล่าวหา เพราะจะ ทำให้เรื่องที่กล่าวหาอยู่ในวงแคบ

  15. องค์ประกอบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนองค์ประกอบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน 1. ชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา 2. เรื่องที่กล่าวหา 3. ชื่อและตำแหน่งของคณะกรรมการอบสวน (การระบุชื่อและตำแหน่ง ให้ระบุชื่อตัว ชื่อสกุล ตำแหน่งทางการบริหาร ตำแหน่งในสายงาน และระดับตำแหน่ง)

  16. การแจ้งและอธิบายข้อกล่าวหาการแจ้งและอธิบายข้อกล่าวหา การแจ้งข้อกล่าวหา คือ การแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบเรื่อง ที่หาว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดตามที่ปรากฏในคำสั่งแต่งตั้ง กรรมการสอบสวน การอธิบายข้อกล่าวหา คือการอธิบายให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้าใจ ในรายละเอียดว่าผู้ถูกกล่าวหาทำอะไร ทำที่ไหน ทำเมื่อใด และทำอย่างไรที่เป็นความผิดด้วย

  17. การกำหนดประเด็นสอบสวนการกำหนดประเด็นสอบสวน

  18. ประเด็น หมายถึง จุดสำคัญที่จะต้องพิสูจน์ หรือวินิจฉัยเพราะเป็นจุดที่ยังโต้เถียงกันอยู่ หรือยังไม่ได้ความกระจ่างชัด หากเป็นที่กระจ่างชัด หรือรับกันแล้วก็ไม่เป็นประเด็นที่จะต้องพิสูจน์หรือวินิจฉัย

  19. ประเด็นสอบสวน มี 3 ลักษณะ 1. ประเด็นข้อกล่าวหา 2. ประเด็นที่ฝ่ายกล่าวหาอ้าง 3. ประเด็นที่ฝ่ายถูกกล่าวหายกขึ้นโต้เถียง หรือยกขึ้นกล่าวอ้าง

  20. กรณีที่ถือว่าเป็นประเด็นกรณีที่ถือว่าเป็นประเด็น ถ้อยคำหรือพยานหลักฐานฝ่ายกล่าวหารับกันเรียกว่า ข้อเท็จจริง เมื่อเป็นข้อเท็จจริงแล้วก็ไม่มีประเด็นที่จะต้องพิสูจน์ ข้อสังเกต ประเด็นนั้น จะเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลาตาม คำรับ คำปฏิเสธ ตามข้อต่อสู้ หรือตามข้อมูลที่เพิ่มขึ้น

  21. การกำหนดประเด็นสอบสวนการกำหนดประเด็นสอบสวน - เป็นการกำหนดจุดสำคัญที่จะต้องพิสูจน์ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยตามข้อกล่าวหาในกรณีใด อย่างไรหรือไม่ - เป็นการวางแผนในการสอบสวนล่วงหน้าเพื่อให้การสอบสวนดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมายที่มุ่งพิสูจน์ อย่างมีทิศทางถูกต้อง และรวดเร็ว

  22. การตั้งหรือการกำหนดประเด็นการตั้งหรือการกำหนดประเด็น 1. ถูกต้อง คือ ประเด็นที่กำหนดต้องได้แก่ หรือ ประกอบด้วย ประเด็นหลัก 2. ครบถ้วน คือ ประเด็นที่กำหนดต้องเพียงพอในการ ให้ ข้อยุติ 3. ชัดเจน คือ ประเด็นที่กำหนดต้องมีความชัดเจนสอดคล้อง สมเหตุสมผล

  23. แนวทางการกำหนดประเด็นสอบสวนวินัยแนวทางการกำหนดประเด็นสอบสวนวินัย ศึกษาจาก 1. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน 2. เอกสารหลักฐานและข้อมูลเบื้องต้นที่มีอยู่ 3. คำชี้แจงเบื้องต้นที่มีอยู่ 4. บทกฎหมายว่าด้วยวินัยในส่วนที่เกี่ยวกับ ข้อกล่าวหา

  24. การกำหนดประเด็นสอบสวน ต้องการทำเพื่อให้ * สามารถชี้ผิดชี้ถูกได้ * ปรับบทความผิดได้ * กำหนดระดับโทษได้

  25. การกำหนดประเด็นสอบสวนการกำหนดประเด็นสอบสวน เป็นการกำหนดจุดสำคัญที่จะต้องพิสูจน์ว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย - ตามข้อกล่าวหากรณีใด - ตามข้อกล่าวหาอย่างไร - ตามข้อกล่าวหาหรือไม่

  26. จุดสำคัญที่จะต้องพิสูจน์จุดสำคัญที่จะต้องพิสูจน์ ในการดำเนินการทางวินัย 1. ประเด็นเกี่ยวกับการกระทำในเรื่องที่กล่าวหา จะต้องพิสูจน์ว่าผู้ถูกกล่าวหา ทำอะไร ทำที่ไหน ทำเมื่อไร ทำอย่างไร เพราะเหตุใด เพื่อใช้ในการวินิจฉัยว่าได้กระทำผิดวินัยหรือไม่

  27. จุดสำคัญที่จะต้องพิสูจน์ในการดำเนินการทางวินัย ต่อ 2. ประเด็นเกี่ยวกับกรณีความผิดจะต้องพิสูจน์ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิด ในกรณีใดเพื่อใช้ในการวินิจฉัยปรับบทลงโทษว่าได้กระทำผิดตามมาตราใด 3. ประเด็นเกี่ยวกับความร้ายแรงแห่งกรณีจะต้องพิสูจน์ว่าการกระทำ ของผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์ร้ายแรงเพียงใดหรือเสียหายแก่ทางราชการ ร้ายแรงเพียงใด เพื่อใช้ในการวินิจฉัยกำหนดระดับโทษหนัก หรือเบา ที่จะลงแก่ผู้ถูกกล่าวหา

  28. ประโยชน์ของการกำหนดประเด็นสอบสวน 1. เป็นเครื่องนำทางให้การสอบสวนเป็นไปตามเรื่องที่กล่าวหา 2. ทำให้การสอบสวนเป็นไปโดยรอบคอบ รัดกุม รวดเร็ว และได้ความจริง 3. ทำให้ได้ข้อเท็จจริงโดยละเอียด ครบถ้วน 4. ผู้ถูกกล่าวหาสามารถชี้แจงแสดงพยานหลักฐาน และแก้ข้อกล่าวหาได้โดยไม่หลงข้อต่อสู้

More Related