500 likes | 813 Views
ปฏิบัติการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์. By Juthawut Chantharamalee. Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science). บทที่ 7 การ ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์. บทที่ 2. Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science). บทนำ.
E N D
ปฏิบัติการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ By Juthawut Chantharamalee Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
บทที่ 7การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ บทที่ 2 Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
บทนำ • เมื่อเริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หากเข้าสู่ขั้นตอนการกำหนดค่าไบออส จะมีรายการในไบออสรายงานเกี่ยวกับอุปกรณ์ให้ทราบโดยอัตโนมัติ ในการกำหนดค่าหากไม่ต้องการกำหนดค่าใดเป็นพิเศษผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องกำหนดคุณสมบัติใดๆ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ได้กำหนดคุณสมบัติของเครื่องได้โดยอัตโนมัติไว้แล้ว หาก แต่เมื่อต้องการนำอุปกรณ์พิเศษเข้ามาใช้กับเครื่องแล้วมีความจำเป็นอย่าง ยิ่งที่ต้องกำหนดคุณสมบัติใหม่เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้อุปกรณ์ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
ความหมายของBIOS • BIOS ย่อมาจาก Basic Input/Output System เป็นชื่อโปรแกรมชุดหนึ่งซึ่งจะควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS เป็นตัวตรวจสอบอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องที่กำลังติดตั้งอยู่นั้นสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่ BIOS เกี่ยวข้องกับการนำข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกและการนำไปแสดงผล BIOS เป็นชิปตัวหนึ่งที่สร้างมาให้อยู่บนเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า "รอม" (ROM) เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจะอ่านคำสั่งในไบออสก่อนที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนต่อไป Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
ความหมายของBIOS การปฏิบัติการเกี่ยวกับ BIOS เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรู้จักอุปกรณ์ที่ติดตั้งเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ 2. เพื่อเป็นการกำหนดค่าให้ถูกต้องให้กับอุปกรณ์ในกรณีที่ไบออสกำหนดค่าเริ่มต้นให้ยังไม่ถูกต้อง 3. ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 4. เป็นตัวกลางประสานงานระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
หน้าที่หลักของBIOS หน้าที่หลักของไบออสเป็นตัวที่ทำให้คอมพิวเตอร์รู้จักอุปกรณ์ที่นำมาใช้ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยสรุปหน้าที่หลักของ BIOS ได้แก่ 1. ไบออสเป็นตัวตรวจสอบอุปกรณ์หลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีเหมือนกันได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ ฟล๊อปปี้ดิสก์ ซีดีรอม แรม คีย์บอร์ด เมาส์ การ์ดแสดงผล เมื่อเริ่มเปิดเครื่องไบออสจะเริ่มทำหน้าที่ในการตรวจสอบหากตรวจพบจะ แสดงข้อความออกมาให้ทราบว่าอุปกรณ์ใดที่ยังไม่มีหรือมีแต่ชำรุดไบออสจะตรวจ สอบว่าไม่พบอุปกรณ์ดังกล่าว มีอุปกรณ์บางอย่างจะส่งเสียงให้ทราบว่าไม่มีอุปกรณ์นั้นได้แก่แรม โดยจะ ส่งเสียง ปิ๊บๆๆ เป็นต้น Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
หน้าที่หลักของBIOS 2. กำหนดค่าให้กับอุปกรณ์ที่นำมาติดตั้งให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยไบออสจะตรวจพบอุปกรณ์โดยอัตโนมัติ 3. แสดงผลการตรวจพบหรือไม่พบอุปกรณ์ให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทราบรวมถึง คุณสมบัติของอุปกรณ์นั้นๆ ด้วย 4. ไบออสเป็นโปรแกรมเพื่อโหลดโปรแกรมระบบปฏิบัติการจากไดรฟ์ที่ถูกกำหนด ในขั้นตอนการสร้างพาร์ติชันมาปฏิบัติงาน Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
ขั้นตอนการกำหนดค่าBIOS ไบออสมีบริษัทที่ผลิตออกมาจำหน่ายในท้องตลาดได้แก่ Award , AMI และ Phoenix หากไบออสที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุดเป็นของบริษัท Award เนื่องด้วยสามารถใช้งานได้โดยง่ายไม่ว่าจะเป็นไบออสของบริษัทใดก็ตามวิธีการกำหนดมีส่วนที่เหมือนกัน คล้ายกันหรือยึดหลักการเดียวกัน จึงสามารถประยุกต์กำหนดค่าต่างๆ ในไบออสได้เช่นเดียวกัน Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
ขั้นตอนการกำหนดค่าBIOS การกำหนดค่าไบออสของไบออสยี่ห้อ Award ซึ่งมีวิธีการกำหนดค่าดังต่อไปนี้ 1. เปิดเครื่อง ขณะเปิดเครื่องให้สังเกตที่จอภาพจะมีข้อความภาษาอังกฤษแสดงที่จอภาพด่านล่าง เช่น Press Del to Enter Setup หรือ F10 to Setup เป็นต้น หมายถึงอย่างประโยคแรก Press Del to Enter Setup หมายถึงให้กดคีย์ Del เพื่อเข้าสู่การกำหนดค่าไบออส ส่วนข้อความ F10 to Setup นั้นให้กดคีย์ F10 เพื่อ Setup BIOS เช่นเดียวกัน ในบางเครื่องอาจ จะไม่ใช่กดคีย์นี้อาจจะเป็นคีย์ Insert ผู้ใช้เครื่องที่ต้องการเซ็ตระบบดังกล่าวควรได้สังเกตที่จอภาพด้านล่างขณะที่ทำการเปิดเครื่อง 2. ที่จอภาพจะมีรายการของ BIOS มาให้เลือกดังนี้ Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
ขั้นตอนการกำหนดค่าBIOS ROM PCI / ISA BIOS (2A69JD1C) POWER MANAGEMENT SETUP AWARD SOFTWARE. INC. STANDARD CMOS SETUP INTERGATED PERIPHERALS BIOS FEATURES SETUP PASSWORD SETING CHIPSET FEATURES SETUP IDE HDD AUTO DETECTION POWER MANAGEMENT SETUP SAVE & EXIT SETUP PNP / PCI CONFIGURATION EXIT WITHOUT SAVING LOAD SETUP DEFAULTS ESC : Quit : Select Item F10 : Save & Exit Setup (Shift) F2 : Change Color Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
ขั้นตอนการกำหนดค่าBIOS จากรายการเมนูที่มีให้เลือกสามารถใช้คีย์ลูกศร เลื่อนไปมาเพื่อเลือกรายการที่ต้องการได้ ถ้าต้องการออกจากรายการ Setup Menu ให้คลิกที่คีย์ ESC เพื่อออกจากรายการ Setup BIOS และกดคีย์ Shift + F2 (กดคีย์ Shift พร้อมกับคีย์ F2) สำหรับเปลี่ยนสีของตัวอักษรในแต่ละรายการเมนูมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
ขั้นตอนการกำหนดค่าBIOS Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
จากรายการต่างๆ ที่แสดงที่จอภาพนั้นมีรายละเอียดดังนี้ • เกี่ยวกับวันที่เวลา มีรายละเอียดังนี้ • Date (mm :dd : yy) : Sun, Mar 16 1997 เป็นรายการที่จะให้ป้อนวันที่ปัจจุบันควรจะแก้ไขให้ตรงเมื่อมีการใช้งานเช่น การเขียนโปรแกรมให้แสดงวันที่ปัจจุบันโดยที่ไม่ต้องป้อน ก็จะแสดงได้ถูกต้องด้วย • Time(hh : mm : ss) : 10 : 25 :18 เป็นการกำหนดเวลาปัจจุบันควรตั้งค่าให้ตรง เพื่อประโยชน์ที่ชัดเจนสุดก็คือสามารถดูเวลาขณะที่กำลังทำงานในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยจะแสดงที่แถบสถานะล่างสุดของจอภาพ Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
จากรายการต่างๆ ที่แสดงที่จอภาพนั้นมีรายละเอียดดังนี้ เกี่ยวกับHARD DISK มีรายละเอียดดังนี้ HARD DISK TYPE SIZE CYLS HEAD PRECOM LANDZ SECTOR MODE ในรายการนี้จะเป็นหัวข้อของรายละเอียดของฮาร์ดดิสก์ซึ่งรายการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์จะอยู่ในบรรทัดถัดมา ดังนี้ Primary Master : User 22000 1023 64 0 4094 63 LBA เป็นรายละเอียดของฮาร์ดดิสก์ตัวที่ 1 หรือตัวหลักของการงานของเครื่องนี้ Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
จากรายการต่างๆ ที่แสดงที่จอภาพนั้นมีรายละเอียดดังนี้ Primary Slave: None 0 00000 เป็นฮาร์ดดิสก์ที่เป็นตัวพ่วงจากตัวหลัก และต่อสายแพเดียวกันกับตัวหลัก การติดตั้งทุกครั้งจะต้องสังเกตุการติดตั้งJumperให้ถูกต้องโดยจะดูได้ทีฝาของฮาร์ดดิสก์จะมีตารางการติดตั้งไว้แล้ว Secondary Master : None0 0 0 0 0 0 เป็นฮาร์ดดิสก์ถ้านับจำนวนคงเป็นตัวที่ 3 ถ้าฮาร์ดดิสก์ Primary Slave เสียบอยู่ ฮาร์ดดิสก์ตัวนี้จะเสียบสายแพคนละเส้นกับสายแพฮาร์ดดิสก์หลัก Secondary Slave : None000000 เป็นฮาร์ดดิสก์ที่พ่วงจากSecondary Master หรือเป็นฮาร์ดดิสก์ตัวที่ 4ซึ่งเครื่องในปัจจุบันสามารถใช้งานฮาร์ดดิสก์พร้อมกันได้ถึง 4 ตัว Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)
จากรายการต่างๆ ที่แสดงที่จอภาพนั้นมีรายละเอียดดังนี้ เกี่ยวกับ Disk Drive มีรายละเอียดดังนี้ Drive A : 1.44 M, 3.5 in เป็นการติดตั้ง Disk Drive ช่อง A มีความจุ 1.44 MB และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 นิ้ว Drive B : None ไม่มีการติดตั้ง Disk Drive ช่อง B เกี่ยวกับจอภาพ มีรายละเอียดดังนี้ Video : EGA/VGA เป็นการติดตั้งการใช้รุ่นของจอภาพของคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ (Computer Science)
จากรายการต่างๆ ที่แสดงที่จอภาพนั้นมีรายละเอียดดังนี้ เกี่ยวกับสื่อสารอาการขัดข้องของเครื่องคอมพิวเตอร์มีรายละเอียดดังนี้ Halt On : All Errors ต้องการให้คอมพิวเตอร์สื่อสารกับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ว่ามีข้ออาการความบกพร่องของอุปกรณ์ชิ้นใดหรือไม่ All Errors หมายถึงเป็นการให้แสดงทุกข้อผิดพลาดที่ตรวจพบ เกี่ยวกับหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียดดังนี้ Base Memory : 640 K เป็นหน่วยความจำของระบบปฏิบัติการ MS-DOS มีขนาด 640 K Extended Memory: 31744K เป็นหน่วยความจำขยายมีขนาด31744K (Computer Science)
จากรายการต่างๆ ที่แสดงที่จอภาพนั้นมีรายละเอียดดังนี้ Other Memory: 384Kเป็นหน่วยความจำอื่นๆมีขนาด384K Total Memory: 32768K เป็นหน่วยความจำรวมทั้งหมดมีขนาด 32768K สำหรับรายการข้างล่างของจอภาพยังคงเหมือนเดิมในหลายรายการมีรายการขึ้นมาเพิ่มคือ PU / PD / + / - : Modify หมายถึงถ้าต้องการแก้ไขในรายการใดให้กดคีย์ Page Up , Page Up ,+ , - เพื่อเลื่อนหาคุณสมบัติที่ตรงกับอุปกรณ์ที่เรามีอยู่ (Computer Science)
BIOS FEATURES SETUP • เมื่อเลื่อนเคอเซอร์มาที่ตำแหน่ง BIOS FEATURES SETUP แล้วเลือกด้วยการกดคีย์ Enter ที่จอภาพจะแสดงรายการต่างดังนี้ (Computer Science)
จากรายการต่างๆ ที่แสดงที่จอภาพนั้นมีรายละเอียดดังนี้ Virus Warning เป็นทางเลือกสำหรับให้โปรแกรมในเมนบอร์ดตรวจสอบและป้องกันไวรัสในเครื่องไม่ซึ่งมีทางเลือก 2 ทางคือ - Enabled เป็นการให้ตรวจสอบ - Disabled เป็นการไม่ให้ตรวจสอบ CPU Internal Cache เป็นทางเลือกสำหรับให้ใช้หน่วยความจำภายใน CPU ว่าต้องการใช้หรือไม่ซึ่งมีทางเลือก 2 ทางคือ - Enabled เป็นการให้ใช้หน่วยความจำภายใน - Disabled เป็นการไม่ให้ใช้หน่วยความจำภายใน (Computer Science)
จากรายการต่างๆ ที่แสดงที่จอภาพนั้นมีรายละเอียดดังนี้ External Cache เป็นทางเลือกสำหรับใช้หน่วยความจำขยายเพิ่มเติมจากภายนอกซึ่งมีทางเลือก 2 ทางคือ - Enabled เป็นการใช้หน่วยความจำขยายเพิ่ม - Disabled เป็นการไม่ใช้หน่วยความจำขยายเพิ่ม Quick Power On Self Test เป็นการตรวจสอบกำลังของไฟฟ้าของระบบทุกครั้งหรือไม่ซึ่งมีทางเลือก 2 ทางคือ - Enabled เป็นการให้ตรวจสอบ - Disabled เป็นการไม่ไม่ให้ตรวจสอบ (Computer Science)
จากรายการต่างๆ ที่แสดงที่จอภาพนั้นมีรายละเอียดดังนี้ Boot Sequence เป็นการเลือกลำดับของการ Boot เริ่มต้นของเครื่อง ซึ่งมีทางเลือกหลายทางว่าจะเริ่มต้นการ Boot จาก Drive A ก่อน หรือจาก Hard disk หรือ CD-ROM ก็ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการแก้ปัญหาในจุดใดเช่นถ้าฮาร์ดดิสก์เกิดใช้งานไม่ได้ก็ควรให้ Boot จาก CD-ROM ที่สามารถ Boot ได้ หรือ Drive A ก็ได้ เพื่อทำการแก้ปัญหาให้ฮาร์ดดิสก์ให้แล้วเสร็จ หลังจากนั้นอาจจะเปลี่ยนแปลงลำดับการ Boot ใหม่ตามที่ผู้ใช้เครื่องต้องการ Swap Floppy Drive การกำหนดให้ใช้วิธีการข้ามการทำงานจากดิสก์ไดรฟ์หนึ่งไปยังอีกดิสก์ไดรฟ์หนึ่งซึ่งมีทางเลือก 2 ทางคือ - Enabled เป็นการยอมให้ข้ามการทำงาน - Disabled เป็นการไม่อนุญาตให้ข้ามการทำงาน (Computer Science)
จากรายการต่างๆ ที่แสดงที่จอภาพนั้นมีรายละเอียดดังนี้ Boot Up Floppy Seek เป็นการกำหนดให้สามารถบูตจากดิสก์ไดรฟ์ A ได้ มีทางเลือก 2 ทางคือ - Enabled เป็นการให้บูตจากดิสก์ไดรฟ์ A ได้ - Disabled เป็นการไม่ให้สามารถบูตจากดิสก์ไดรฟ์ A Boot Up NumLock Status เป็นการกำหนดให้กลุ่มคีย์ตัวเลขสามารถทำงานใช้งานได้หรือเป็นการยกแคร่ของคีย์กลุ่มตัวเลข ซึ่งปกติจะมีไฟแสดงที่ข้างบนของปุ่มNumLockมีทางเลือก 2 ทางคือ On ใช้งานปุ่มได้ Off ใช้งานปุ่มไม่ได้ Boot Up System Speed เป็นการกำหนดให้เครื่องเร่งความเร็วอยู่ในระดับใดปกติจะกำหนดไว้ที่สูงสุดคือ High (Computer Science)
จากรายการต่างๆ ที่แสดงที่จอภาพนั้นมีรายละเอียดดังนี้ Gate A 20 Option ให้ตรวจสอบอุปกรณ์ที่นำมาเพิ่มให้กับเครื่องโดยจะเป็นการกำหนดทางเลือกว่าจะให้ตรวจสอบเร็วหรือช้า ปกติจะกำหนดเป็น Fast Typematic Rate Setting เป็นการกำหนดเพื่อเปรียบเทียบระดับของ Type โดยอัตโนมัติ Typematic Rate (Chars /Sec) เป็นการกำหนดให้เปรียบเทียบ Type ว่ามีความเร็วเท่าไร โดยมีความเร็วปกติเท่ากับความเร็วของ Type ต่อวินาทีของเมนบอร์ดรุ่นนี้ Typematic Delay (Msec) เป็นการกำหนดให้เมนบอร์ดทำการหน่วงเวลาในการเปรียบเทียบ Type โดยปกติจะ Set ไว้ที่ 250 ซึ่งจะมีหน่วยเป็นMsec (Computer Science)
จากรายการต่างๆ ที่แสดงที่จอภาพนั้นมีรายละเอียดดังนี้ Security Option เป็นการกำหนดให้ระบบตรวจเช็ความปลอดภัยหรือไม่โดยปกติจะกำหนดไว้ที่ Setup หมายถึงต้องการให้เช็คระบบความปลอดภัยให้กับระบบ Assign IRQ For VGA เป็นการกำหนดให้ทำการตรวจสอบ IRQ ให้เหมาะกับเมนบอร์ดที่ใช้ VGA สัญญาณแปลงสีจอภาพหรือเปล่า โดยปกติจะกำหนด Disabled คือไม่ทำการตรวจสอบ IRQ Video BIOS Shadow เป็นการกำหนดให้สัญญาณภาพทำการสร้างระบบจำลองสัญญาณขึ้นมาใหม่ โดยปกติจะกำหนดเป็น Enabled คือเป็นการกำหนดให้สัญญาณภาพทำการสร้างระบบจำลองสัญญาณขึ้นมาใหม่ (Computer Science)
จากรายการต่างๆ ที่แสดงที่จอภาพนั้นมีรายละเอียดดังนี้ รายการ C8000 – CBFFF Shadow: Disabled CC000 – CFFFF Shadow: Disabled D0000 – D3FFF Shadow: Disabled D4000 – D7FFF Shadow: Disabled D8000 – DBFFF Shadow: Disabled DC000 – DFFFF Shadow: Disabled เป็นการสั่งให้ระบบตรวจสอบระบบจำลองต่าง ๆ โดยปกติจะกำหนดเป็น Disabled (Computer Science)
CHIPSET FEATURES SETUP • เมื่อเลือกรายการ CHIPSET FEATURES SETUP ที่จอภาพจะแสดงรายการดังนี้ (Computer Science)
POWER MANAGEMENT SETUP • รายละเอียดต่าง ๆ เป็นค่าการกำหนดค่าเกี่ยวกับระบบพลังงานไฟฟ้าเพื่อความประหยัดของไฟฟ้าและดูแลรักษาอุปกรณ์ หากต้องการเปลี่ยนแปลงใดก็สามารถกระทำได้ตามต้องการ (Computer Science)
PNP / PCI CONFIGURATION • จากรายละเอียดเป็นการกำหนดค่าเกี่ยวกับการส่งถ่ายข้อมูลหรือระบบบัส ปกติโปรแกรมไบบอสได้กำหนดค่าที่ถูกต้องไว้แล้ว ให้กดคีย์ ESC เพื่อออกจากการกำหนดค่า (Computer Science)
LOAD SETUP DEFAULTS (Computer Science)
จากรายการต่างๆ ที่แสดงที่จอภาพนั้นมีรายละเอียดดังนี้ ในการเลือกปฏิบัติในรายการนี้เป็นการโหลดค่าเดิมที่ได้เคยกำหนดไว้ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ใช้ในกรณีที่ได้กำหนดค่าให้กับในไบออสผิด ต้องการโหลดค่าเดิมขึ้นมาใช้งาน ให้เลือกรายการ LOAD SETUP DEFAULTS ด้วยการเลื่อนเคอเซอร์มา ณ. ตำแหน่งนั้นแล้วกด Enter ที่จอภาพจะมีข้อความที่จอภาพว่า ให้ผู้ใช้เครื่องกดตัวอักษร Y แล้วตามด้วยกดคีย์ Enter การปฏิบัติการก็เสร็จสิ้น (Computer Science)
INTERGATED PERIPHERALS • จากรายละเอียดข้างบนนี้จะเป็นการกำหนดในค่าที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงยกเว้นเป็นการกำหนดรายละเอียดของบางรายการเช่น ฮาร์ดดิสก์ อาจต้องการกำหนดคุณสมบัติให้เป็น SCSI (Computer Science)
PASSWORD SETING (Computer Science)
จากรายการต่างๆ ที่แสดงที่จอภาพนั้นมีรายละเอียดดังนี้ จากรายละเอียดข้างบนนี้เป็นการตั้งค่ารหัสผ่านให้กับการเข้าสู่การกำหนดค่าให้กับไบออส ในการตั้งค่ามีข้อดีคือเป็นการป้องกันไม่ให้คนอื่นแก้ไขคุณสมบัติที่ได้กำหนดไว้แล้ว แต่ข้อเสียก็คือหากมีการลืมรหัสผ่านจะต้องเสียเวลาในการแก้ไข ในการแก้ไขกรณีที่ลืมรหัสผ่านนั้นมีวิธีการของเมนบอร์ดแต่ละรุ่นไม่เหมือนกันดังนี้ การให้ถอดแบตเตอรี่ Backup BIOS ออกสักระยะหนึ่งแล้วทำการ Reset CMOS โดยการถอด Jumper ที่เมนบอร์ดออก เป็นการทำให้เมนบอร์ดลบความจำเดิมที่มีอยู่ เมื่อใช้งานไปสักระยะก็ให้เสียบ Jumper คืนในตำแหน่งเดิมการปฏิบัติงานในครั้งต่อไปรหัสผ่านก็จะไม่มีอีกแล้ว ยกเว้นจะมีการกำหนดอีกครั้ง การReset Jumper บนเมนบอร์ดซึ่งมีวิธีการอย่างละเอียดแล้วในคู่มือการใช้เมนบอร์ด (Computer Science)
IDE HDD AUTO DETECTION (Computer Science)
SAVE & EXIT SETUP • จากรายละเอียดข้างบนเป็นการสอบถามความต้องการของผู้ใช้ว่ามีความต้องการเลือกสิ่งใดระหว่าง เลือก y หมายถึงต้องการบันทึกการแก้ไขทุกคุณสมบัติที่ได้กำหนดไว้ก่อนออกจากการปฎิบัติการถ้าไม่ต้องการบันทึกก่อนออกก็ให้กดคีย์ n (Computer Science)
EXIT WITHOUT SAVING • เป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้เครื่องระหว่างการกดคีย์ y หมายถึงต้องการออกจากการแก้ไข BIOS CMOS เพราะไม่ต้องการแก้ไขส่วนใดอีกแล้วใน BIOS CMOS เพื่อให้เครื่องปฏิบัติการในรายการต่อไป ถ้ากดคีย์ n หมายถึงต้องการกลับเมนู BIOS MENU อีกครั้ง (Computer Science)
The EndUnit 7 Suan Dusit Rajabhat University (Computer Science)