280 likes | 390 Views
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์. วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คอมพิวเตอร์ (Computer). คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานตามชุดคำสั่งอย่าง อัตโนมัติ โดย จะทำการคำนวณข้อมูล เปรียบเทียบตรรกะของข้อมูล และให้ผลลัพธ์ออกมาตามที่กำหนด. ประเภทของคอมพิวเตอร์. Mainframe computer.
E N D
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์ (Computer) • คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานตามชุดคำสั่งอย่างอัตโนมัติ โดยจะทำการคำนวณข้อมูล เปรียบเทียบตรรกะของข้อมูล และให้ผลลัพธ์ออกมาตามที่กำหนด
ประเภทของคอมพิวเตอร์ Mainframe computer • เมนเฟรม คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก • เมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี • ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง
เมนเฟรม คอมพิวเตอร์ ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วง ค.ศ.1942-1946 มีชื่อเรียกว่าอีนีแอค ENIAC ( Electronic Numerical Integer and Calculator ) เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกที่ใช้หลอดสุญญากาศ จำนวน 18,000 หลอด จึงต้องใช้กำลังไฟฟ้าค่อนข้างมาก มีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ๆ ต้องวางไว้ในห้องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์เมนเฟรมที่ถูกนำมาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM 1620 เมื่อปี พ.ศ. 2506 โดยได้รับมอบจากมูลนิธิ เอ ไอ ดี และ บริษัท IBM ซึ่งติดตั้งที่ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันหมดอายุการใช้งานนำไปเก็บรักษาไว้ที่ศูนย์บริภัณฑ์การศึกษาท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพฯ
ประเภทของคอมพิวเตอร์ Mini computer • ในช่วงปี ค.ศ. 1965-1970 ได้มีการนำวงจรรวม หรือ เรียกว่าไอซี (IC : Integrated Circuit) จึงทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมแต่ความเร็วในการทำงานสูงขึ้น • ตัวอย่างคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ได้แก่ IBM 360 เป็นหนึ่งในคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมที่สามารถทำงานได้ทั้งการประมวลผลแฟ้มข้อมูล และวิเคราะห์ค่าทางคณิตศาสตร์ • คอมพิวเตอร์ ชื่อ PDP1 เป็น มินิคอมพิวเตอร์(Minicomputer) ของบริษัท DEC (Digital Equipment Corporation) เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในกลุ่มของนักวิทยาศาสตร์ นักวิศวกร และนักวิจัยตามมหาวิทยาลัย
ประเภทของคอมพิวเตอร์ Micro computer • ไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างจากการนำเอาวงจรรวมหรือไอซี มารวมกันเป็นวงจรขนาดใหญ่ เรียกว่า VLSI (Very Large Scale Integration) ลงในชิปแต่ละอัน ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง จนตั้งไว้ที่โต๊ะได้ • นำไปสู่การเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่เรียกว่า PC หรือ Personal Computer) คอมพิวเตอร์ PC ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1975 โดยบริษัทIBM ได้กลายเป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อยอดรุ่นหลัง ๆ ถัดมา
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผลกลาง หน้าที่ของ CPU ควบคุมให้การทำงานเป็นไปตามคำสั่ง วิเคราะห์ข้อมูลที่ป้อนเข้า จัดการปฏิบัติงาน ส่งข้อมูลไปจัดเก็บ • CPU หรือ Central Processing Unitมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบและปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรม • ประกอบด้วยหน่วยย่อย ๆ อีก 2 หน่วย ได้แก่ หน่วยคำนวณเลขคณิต และตรรกวิทยา (ALU หรือ Arithmetic and Logical Unit) และ หน่วยควบคุม (CU หรือ Control Unit)
หน่วยความจำ (Memory unit) • ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล เพื่อเตรียมส่งออกหน่วยแสดงข้อมูลต่อไป • หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ประเภท • หน่วยความจำหลัก (Main memory) • หน่วยความจำแรม (RAM : Random Access Memory) • หน่วยความจำรอม (ROM : Read Only Memory) • แคช (Cache) • หน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory) • หน่วยความสำรอง (Secondary Storage)
อุปกรณ์รับข้อมูล / แสดงผลข้อมูล • Input / Output Unit • อุปกรณ์รับข้อมูล(Input devices) ทำหน้าที่ในการรับโปรแกรม และข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ตัวอย่าง ของอุปกรณ์ที่ใช้รับข้อมูลเข้า ได้แก่ แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด (Keyboard) เครื่องสแกนต่าง ๆ • อุปกรณ์แสดงผล (Output devices) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผล เช่น จอภาพเครื่องพิมพ์ ลำโพง
องค์ประกอบส่วนฮาร์ดแวร์องค์ประกอบส่วนฮาร์ดแวร์
Rom bios • Basic Input / Output System เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมขนาดเล็กที่ซีพียูใช้เมื่อเปิดเครื่องให้คอมพิวเตอร์ทำงานจะคอยควบคุมหรือจัดการข้อมูลที่วิ่งระหว่างระบบปฏิบัติการกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ นอกจากนี้ยังใช้เก็บข้อมูลพื้นฐานสำหรับเครื่องนั้น ๆ • หน้าที่หลักของ BIOS • ตรวจสอบอุปกรณ์ภายในเครื่องว่ามีอะไรบ้าง • กำหนดการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด • ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างระบบปฏิบัติการหรือ application program กับฮาร์ดแวร์
ขนาดข้อมูล • การนำเลขฐานสองตั้งแต่หนึ่งหลักขึ้นไปเรียกว่า บิต (bit) • 4 bit จะเท่ากับ 1 nibble • 8 bit จะเท่ากับ 1 byte • 2 byte จะเท่ากับ 1 word • 2 word จะเท่ากับ 1 double word • หน่วยวัดความจุ (ของหน่วยความจำ ฮาร์ดดิสก์) ที่ได้ยินบ่อย ๆ คือ กิโลไบต์, กิกกะไบต์ มีความหมายเป็นตัวเลขดังนี้ • 1 kB (kilobyte) = 1024 byte ( 210 ) • 1 MB ( Megabyte) = 1,048,576 byte (220) • 1 GB (Gigabyte) กิกะไบต์ = 1,073,741,824) (230) byte • 1 TB (Terabyte) เทอราไบต์ = 1.099,511,627,776 (240) byte
รหัสข้อมูล • รหัสข้อมูล (Data representation) ได้แก่รหัสที่ใช้แทนตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ต่าง ๆ โดยนำเลขฐานสองมาเรียงต่อกันเป็นกลุ่ม • รหัส BCD (Binary Code Decimal) • รหัส EBCDIC (Extended Binary Coded Decimal Interchange Code) • รหัสข้อมูลที่นิยมใช้ได้แก่ รหัส ASCII (American National Standard Institute) ประกอบด้วยเลขฐานสองจำนวน 1 byte แทนตัวอักษร 1 ตัวสามารถสร้างจำนวนตัวอักษรได้ 256 ตัวอักษร • รหัส UTF-8 เริ่มเป็นที่นิยมใช้กันมากขึ้นสามารถรองรับการทำงานระบบหลายภาษา (Multi language) หรือที่เรียกว่า Unicode จะใช้เนื้อที่ในการเก็บตัวอักษร 1 ถึง4 ไบต์ ต่อตัวอักษร 1 ตัว ตัวอักษรของทุกชาติ ทุกภาษาจะถูกเก็บรวมไว้ในรหัสนี้ทั้งหมด
ซอฟแวร์ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ • ซอฟต์แวร์ (Software) คือ โปรแกรมคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน • ในการสร้างซอฟต์แวร์ ผู้สร้างจะต้องรู้ภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปใช้ในการเขียนซอฟต์แวร์ เราแบ่งภาษาคอมพิวเตอร์ออกเป็นยุคสมัย ดังต่อไปนี้ • ภาษายุคที่ 1 (1GL) ภาษาเครื่อง • ภาษายุคที่ 2 (2GL) ภาษา Assembly หรือ ภาษาระดับต่ำ • ภาษายุคที่ 3 (3GL) ภาษาระดับสูง • ภาษายุคที่ 4 (4GL) • ภาษายุคที่ 4 ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลดจำนวนคำสั่งให้เหลือน้อยลง และมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่เคยเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษา 3GL สามารถเขียนโปรแกรมได้ภาษายุคที่ 4 ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึง (Access) ฐานข้อมูล (Database) ภาษา 4GL ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือภาษา SQL (Structured Query Language) ซึ่งคิดค้นโดย บริษัท IBM
ระบบปฏิบัติการ (os : operation system) • โปรแกรมที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างฮาร์ดแวร์ (อาจผ่านทางไบออสหรือโดยตรง) และโปรแกรมที่ผู้ใช้กำลังใช้งาน หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ • ควบคุมการทำงานของโปรแกรมและอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์รับข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ (Input/Output Device) และ ให้ผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก • จัดสรรทรัพยากรซึ่งใช่ร่วมกัน (Shared Resource) หน้าที่นี้จะเห็นได้ชัดในเครื่องเมนเฟรม (Mainframe) มีการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ร่วมกัน
โปรแกรมประยุกต์ • โปรแกรมที่โปรแกรมเมอร์เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ • โปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล (DBMS : Data Base Management System) เช่น FoxPro, ORACLE, INFORMIX, MySQLและ Access เป็นต้น • โปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับการจัดพิมพ์เอกสาร เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปประเภทประมวลผลคำ (Word Processing) • โปรแกรมสำเร็จรูปแบบตารางคำนวณหรือ Spreadsheet เหมาะสำหรับจัดการข้อมูลที่อยู่ในรูปของตาราง จะเหมาะสมเป็นอย่างมากถ้าข้อมูลนั้นเป็นตัวเลขและใช้ในการคำนวณ • โปรแกรมสำเร็จรูปด้านกราฟิก ซอฟต์แวร์ด้านนี้มีความสามารถในการสร้าง แก้ไข หรือดัดแปลงภาพ • โปรแกรมสำเร็จรูปประเภทอรรถประโยชน์ (Utility ) ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ใช้ในงานด้านการควบคุม ตรวจสอบ และปรับปรุงการทำงานของระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ลิขสิทธิ์ซอฟแวร์ • ใน พ.ศ. 2445 มีการกำหนดลิขสิทธิ์เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมเรื่อง "วชิรญาณวิเศษ" • พ.ศ. 2457 ได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายใหม่ในสมัย รัชกาลที่ 6 แต่ยังคงเน้นงานด้านวรรณกรรม • พ.ศ. 2474 ในสมัยรัชกาลที่ 7 มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้ครอบคลุมงานอื่นๆ เช่น งานคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และผลงานของชาวต่างชาติ แต่กฎหมายฉบับนี้มีบทลงโทษในสถานเบา • พ.ศ. 2521 ได้เพิ่มงานสื่อ ภาพ-เสียงและวีดีโอลงไปในตัวของกฎหมาย • พ.ศ. 2534 รัฐบาลได้ประกาศขยายความครอบคลุมงานด้านวรรณกรรม ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรม ได้ออกเป็นพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2538
งานที่สามารถมีลิขสิทธิ์ได้งานที่สามารถมีลิขสิทธิ์ได้ • งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม งานภาพยนตร์ หรืองานอื่นใดในแขนงวิทยาศาสตร์ • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Program หรือ Computer Software) คือ ชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน • งานฐานข้อมูล (Database) คือ ข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ
งานที่ไม่สามารถมีลิขสิทธิ์ได้งานที่ไม่สามารถมีลิขสิทธิ์ได้ • ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดีแผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ • รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย • ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น • คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ • คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 1 ถึง 4 ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ หรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น
การละเมิดลิขสิทธิ์ • การทำซ้ำหรือดัดแปลง • การเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ • การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว
การกระทำที่ได้รับการยกเว้นไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์การกระทำที่ได้รับการยกเว้นไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ • มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตาม พ.ร.บ. นี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ • (1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร • (2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท • (3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น • (4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น • (5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายหรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว • (6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร • (7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร • (8) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
การกระทำที่ได้รับการยกเว้นไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์การกระทำที่ได้รับการยกเว้นไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ • มาตรา 35 การกระทำแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตาม พ.ร.บ. นี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้ • (1) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น • (2) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น • (3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น • (4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น • (5) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย • (6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายหรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
การกระทำที่ได้รับการยกเว้นไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์การกระทำที่ได้รับการยกเว้นไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ • (7) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ • (8) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้ • (9) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรบการอ้างอิง หรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน
open source • ประเทศไทยมักจะถูกประเทศมหาอำนาจทำการกีดกันทางการค้า โดยมีข้ออ้างอยู่ 3 ข้อคือ ละเมิดสิทธิมนุษยชน มีการทำลายสิ่งแวดล้อม และมีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา • ซอฟแวร์ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย • Shareware หรือ Freeware เป็นโปรแกรมที่ใช้งานฟรี แต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขหรือข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ผู้พัฒนาหรือผู้จำหน่ายกำหนดไว้ เช่นให้ทดลองใช้ก่อน • Open source ซอฟต์แวร์ ที่สามารถนำไป ใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และมี source code ติดมาให้ อนุญาตให้เผยแพร่ตัวโปรแกรมและ source code ได้อย่างเสรี แต่ก็มี license เหมือนซอฟต์แวร์ทั่วไป • open-source license (เช่น GPLGeneral Public License, BSD)